7/24/09
สถานีอนามัยนาเวียง สถานีอนามัยต้นแบบของประเทศไทย ในวันนี้
23 กรกฎาคม 2552 ประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับเขต 13 ที่ สถานีอนามัย นาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่ง นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำทีมผู้บริหารจาก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ พ.ต.อ.ชลาวุฒิ ไพรวรรณ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นายเชษฐ์ เลิศเสรี ผู้จัดการ ธ.กส. สาขาคำเขื่อนแก้ว นายคำนึง พนาจันทร์ สัตวแพทย์อำเภอคำเขื่อนแก้ว หัวหน้าส่วนราชการใน
อำเภอคำเขื่อนแก้ว นายอนุสรณ์ นาเวียง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) ตำบล กู่จาน พร้อมประชาชนบ้านนาเวียง ให้การต้อนรับ คณะกรรมการ ซึ่งเป็นคณะกรรมการ จาก เขตตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ที่ 10 นำโดย ท่านประพัทธ์ ธรรมวงศา ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เขต 10 เป็นประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการ อีก 10 ท่าน ประกอบด้วย
นายรัฐธีร์ หนองหารพิทักษ์ กรรมการ สาธารณสุขอำเภอนาวัง หนองบัวลำภู
นางถนอมศิลป์ เพชรสิงห์ กรรมการ สาธารณสุขอำเภอวังสะพุง เลย
นายบุญเทิน จันทมาตย์ กรรมการ สาธารณสุขอำเภอผาขาว เลย
นายปราโมทย์ มาตย์สุริย์ กรรมการ สาธารณสุขอำเภอน้ำโสม อุดรธานี
นายเสกสรรค์ สองจันทร์ กรรมการ สาธารณสุขอำเภอโนนสะอาด อุดรธานี
นางพัลยุภา ภาวงศ์ กรรมการ สาธารณสุขอำเภอเชียงคาน เลย
นายนพดล เลี้ยงพรหม กรรมการ สาธารณสุขอำเภอกกู่แก้ว อุดรธานี
นายสุพัฒน์ อาสนะ กรรมการ ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอกุมภวาปี อุดรธานี
นายพีระยุทธ แสงกมล กรรมการ ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอนาวัง หนองบัวลำภู
นายพยุง ศรีกงพาน กรรมการ ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอนาวัง หนองบัวลำภู
กล่าวต้อนรับ คณะกรรมการโดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำเสนอผลงานโดย นางเครือวัลย์ คนชม หัวหน้าสถานีอนามัยนาเวียง หลังจากเสร็จงาน น้องๆ ที่เป็นทีมต้อนรับ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตอนแรกคิดว่าคณะกรรมการจะมีแต่คนเหี้ยมๆ เหมือนการประเมินงานทั่วไป แต่ ใน การประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับเขตครั้งนี้ คณะกรรมการ มีแต่คน ที่มีอัธยาศรัยดี คุยสนุกสนาน และเป็นกันเอง ซึ่ง น้องๆหลายคน ต้องขอถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการ ไว้เป็นที่ระลึกในหลายๆจุด
นายเสนอเกียรติ พราวศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร บอกว่า กิจกรรมที่ บ้านนาเวียงนี้ เหมาะสมมากที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ท่านจะขอนำนักเรียนมาศึกษาดูงานที่นี่บ้างในโอกาสต่อไป
ผล การประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับเขต ในครั้งนี้ จะเป็นประการใด พวกเราก็สามารถรับได้ เพราะสิ่งที่เราได้ คือ รางวัลที่ดี จากการทำงานเป็นทีมที่ดี ในความรัก ความสามัคคีของพวกเรา และมีน้องๆ Pretty ทีมต้อนรับที่สวยงาม น่ารักๆ ...เราได้รางวัล ความสุขใจแล้วครับ...
รางวัล ที่ได้ ก่อนการประกวด สอ.ดีเด่น ที่ สอ.นาเวียง
วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว พร้อมด้วย คณะพวกเราทั้งจาก สถานีอนามัยทุกแห่ง และ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วไปช่วยเตรียมงานที่ สถานีอนามัย นาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว อีก วันนี้เป็นการเก็บรายละเอียดงานและการจัดนิทรรศการจากโซนต่างๆ รวมทั้ง จาก วัดนาเวียง จาก โรงเรียนกู่จานวิทยาคม จากโรงเรียนนาเวียง คำศิริ ด้วย
ซึ่งผมประทับใจในการทำงานเป็นทีมที่ดีมากๆของพวกเรา ทุกคนต่างช่วยซึ่งกันและกัน ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และตามภารกิจที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับการเตรียมงาน ใครคิดว่าสิ่งไหนที่จะดี จะเป็นประโยชน์ ต่างช่วยกันทำ คนละไม้คนละมือ งานที่มีอยู่มากมายก็เสร็จได้ด้วยพลังความสามัคคีของพวกเรา ... หลายท่านอยู่เป็นเพื่อนกันจนมืดค่ำ เช่น นางจำนรรจา บุญแจ้ง นางอภิญญา บุญถูก กลับบ้านดึกทุกวันเลย หนักกว่าเพื่อนๆเลย ต้องให้กำลังใจเป็นพิเศษ คือ เจ้าภาพหลัก นางเครือวัลย์ คนชม หัวหน้าสถานีอนามัยนาเวียง และทีมงาน สถานีอนามัย นาเวียง ทั้ง นายธานินทร์ ซื่อตรง นางรัศมี โซ่เงิน และ น้อง หทัยชนก จันทรากาศ ...ขอปรบมือให้ เป็นกำลังใจให้ และ ชื่นชม ชื่นชม ด้วยความจริงใจ มา ณ โอกาสนี้ ...
นายแพทย์สุรพร ลอยหา ให้กำลังใจ จนท.สอ.นาเวียง
วันที่ 21 กรกฎาคม 2552 นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ คณะพวกเราทั้งจาก สถานีอนามัยทุกแห่ง และ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วไปช่วยเตรียมงานที่ สถานีอนามัย นาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร วันนี้ นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ออกเยี่ยมติดตามและให้กำลังใจด้วยตนเอง พวกเราประทับใจในคำแนะนำที่ท่านได้แนะนำไว้ และ ประทับใจในการสนับสนุนของท่าน และทีมงานเป็นอย่างดี
ประชุมสรุปงาน เตรียม สอ.ดีเด่น นาเวียง
วันที่ 20 กรกฎาคม 2552 เช้ามอบหมายให้ นางสุภาวดี ขอสุข หัวหน้าสถานีอนามัยบกน้อย และ นางสาวประกายรุ่ง จวนสาง พยาบาลวิชาชีพ*ชำนาญการ ไปร่วมต้อนรับคณะกรรมการประกวด ที่ สถานีอนามัยปะอาว อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี : ภาคบ่ายไปอำนวยการการเตรียมงาน เพื่อรองรับการประกวด ที่ สถานีอนามัย นาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร วันนี้ นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง หัวหน้างานพัสดุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายอาคม มูลสาร นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร พร้อมทีมงานจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้ออกมาสนับสนุนการปฏิบัติงานด้วย ก่อนเลิกงาน นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ประชุมสรุปผลการเตรียมงานเพื่อหาจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ต่อไป ทั้งนี้ เป็นที่ประทับใจมาก ที่วันนี้พวกเราต่างระดม สรรพกำลังมาช่วยกันอย่างเต็มที่
เป็นวิทยากร บรรยายวิชาการ เรื่อง การจัดตั้งและการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ไปเป็นวิทยากร บรรยายวิชาการ เรื่อง การจัดตั้งและการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ยั่งยืน ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย ซึ่ง ท่านวิระมิตร บุญโถน สาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย จัดประชุมขึ้นที่ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) ตำบล ปลัด อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. หัวหน้าสถานีอนามัย และปราชญ์ในหมู่บ้าน จาก ตำบลโนนทราย(ราชมุณี) จักรพงศ์ เสาร์ทอง พี่สมบัติ บุญทศ และตำบลสงยาง น้องเป๊ะ จำนวน 60 คน : ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจ ในเนื้อหาที่บรรยายเป็นอย่างมาก ...หมายเหตุ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย จัดอาคารสำนักงาน เป็นระเบียบ สวยงามดีมาก ...สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ อาคารสำนักงานทั่วไปได้ ....จากนั้น คณะได้ เดินทางไปดูสถานที่จริง ที่ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ภาคบ่ายไปอำนวยการการเตรียมงาน เพื่อรองรับการประกวด ที่ สถานีอนามัย นาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
วันหยุด พวกเรา ไม่หยุด ช่วยกันที่ สอ.นาเวียง
วันที่ 18 วันเสาร์ กรกฎาคม 2552 พา ลูกชาย ดช. ภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ไปปลูกต้น ยางพาราที่ไร่ วันนี้ให้ช่างอำ รถไถ 0802698704 ช่างอำ รวมธรรม รถไถ 0802698704 ไปไถลงผาน 3 ให้ 2 ไร่ เพื่อเตรียมแปลงสำหรับปลูกยางพารา ทั้งตอนเช้า และตอนบ่าย วันนี้ ปลูกได้ 25 ต้น ตอนเย็น ลูกสาว กลับมาบ้าน พาไป ดูแลสวนที่ไร่ด้วย 19 อาทิตย์ กรกฎาคม 2552 ตอนเช้า พา ลูกชาย ดช. ภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ไปปลูกต้น ยางพาราที่ไร่ ต่อ
19 อาทิตย์ กรกฎาคม 2552 วันนี้ นายอุทิศ ฝูงดี หัวหน้าสถานีอนามัยกู่จาน คณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ทุกคน ประกอบด้วย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นางอภิญญา บุญถูก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นางสุภาภรณ์ เกษมณี พนักงานธุรการ พากันไปช่วยงาน ที่ สถานีอนามัยนาเวียง เพื่อเตรียมข้อมูลนำเสนอผลงานและเอกสารประกอบการเตรียมการรองรับ การประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับเขต งานวันนี้เป็นงานด้านเอกสาร และการเตรียมการให้ครบถ้วนตามตัวชี้วัดต่างๆ และการเตรียมการด้านโครงสร้าง ทั้งการก่ออิฐ รอบๆถนน การราดพื้น หน้า สถานีอนามัย เป็นต้น
พวกเราช่วยกัน ที่ สอ.ดีเด่น นาเวียง
วันที่ 17 กรกฎาคม 2552 คณะทำงานเตรียมรับการประกวดสถานีอนามัยดีเด่น ได้ช่วยกันลงพื้นที่
วันนี้ มีคุณนงลักษณ์ มาลัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยเหล่าไฮ คุณวารีลักษณ์ จันทฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยโพนสิม คุณอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัยโพนทัน คุณอาณัติ ศรีเธาว์ หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ นายบุญทศ ประจำถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน สถานีอนามัยดงเจริญ นายพรรณลิณ อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน สถานีอนามัยนาแก ภาคบ่าย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประชุมติดตามความก้าวหน้าของงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มเติม คือ นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และ นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานการเงิน สสอ.คำเขื่อนแก้ว น้องแพร นางเกษรินทร์ วงเวียน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นางสนิท สัสสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสาวประกายรุ่ง จวนสาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ที่ประชุมมีมติว่า ให้ สถานีอนามัยทุกแห่งมาช่วยกัน เตรียมความพร้อมทุกตัวชี้วัดให้เรียบร้อยในวันจันทร์นี โดยให้นำ computer Notebook ไปด้วย
เราช่วยกัน สอ.ดีเด่น ที่ สอ.นาเวียง_2
วันที่ 17 กรกฎาคม 2552 คณะทำงานเตรียมรับการประกวดสถานีอนามัยดีเด่น ได้ช่วยกันลงพื้นที่
วันนี้ มีคุณนงลักษณ์ มาลัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยเหล่าไฮ คุณวารีลักษณ์ จันทฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยโพนสิม คุณอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัยโพนทัน คุณอาณัติ ศรีเธาว์ หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ นายบุญทศ ประจำถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน สถานีอนามัยดงเจริญ นายพรรณลิณ อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน สถานีอนามัยนาแก ภาคบ่าย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประชุมติดตามความก้าวหน้าของงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มเติม คือ นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และ นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานการเงิน สสอ.คำเขื่อนแก้ว น้องแพร นางเกษรินทร์ วงเวียน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นางสนิท สัสสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสาวประกายรุ่ง จวนสาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ที่ประชุมมีมติว่า ให้ สถานีอนามัยทุกแห่งมาช่วยกัน เตรียมความพร้อมทุกตัวชี้วัดให้เรียบร้อยในวันจันทร์นี โดยให้นำ computer Notebook ไปด้วย
วันนี้ มีคุณนงลักษณ์ มาลัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยเหล่าไฮ คุณวารีลักษณ์ จันทฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยโพนสิม คุณอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัยโพนทัน คุณอาณัติ ศรีเธาว์ หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ นายบุญทศ ประจำถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน สถานีอนามัยดงเจริญ นายพรรณลิณ อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน สถานีอนามัยนาแก ภาคบ่าย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประชุมติดตามความก้าวหน้าของงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มเติม คือ นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และ นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานการเงิน สสอ.คำเขื่อนแก้ว น้องแพร นางเกษรินทร์ วงเวียน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นางสนิท สัสสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสาวประกายรุ่ง จวนสาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ที่ประชุมมีมติว่า ให้ สถานีอนามัยทุกแห่งมาช่วยกัน เตรียมความพร้อมทุกตัวชี้วัดให้เรียบร้อยในวันจันทร์นี โดยให้นำ computer Notebook ไปด้วย
เราช่วยกัน ที่ สอ.นาเวียง ภาค 1
วันที่ 16 กรกฎาคม 2552 คณะทำงานเตรียมรับการประกวดสถานีอนามัยดีเด่น ได้ช่วยกันลงพื้นที่
นำโดย นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และ นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานการเงิน สสอ.คำเขื่อนแก้ว และน้องแพร ซึ่งทั้งคู่ ได้ช่วยกันอยู่ จนมืดค่ำเลยวันนี้
คณะทำงานฝ่ายนิทรรศการ ที่ สถานีอนามัยนาเวียง ที่ประชุม คณะทำงาน ฝ่ายนิทรรศการ โดย นางมนัชยา กองทำและคณะ มีมติว่า ให้แต่ละโซน ลงงานได้ วันที่ 22 กรกฎาคม 2552
งบประมาณ จาก สถานีอนามัยภายในโซนนั้นๆ ช่วยกันตามมติ ของโซน จัดตามเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย
วันนี้ โซนดงแคนใหญ่ รวบรวมงบประมาณ สนับสนุนการจัด นิทรรศการเรียบร้อยแล้วครับ ชื่นชมๆๆ หัวหน้าโวนคนเก่ง คุณคมสัน อดกลั้น
ประชุมคณะทำงานไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ระดับอำเภอ
More than 600 schools, nurseries and job training centres in Bangkok will be closed for five days to contain the spread of the influenza A virus, but cabinet rejects a proposal to close schools nationwide
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2552 เตรียมเอกสารและหนังสือเชิญ ประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการป้องกันการและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ระดับอำเภอ
เวลา 10.29 น. ออกเยี่ยมให้กำลังใจและดูแลความเรียบร้อย การเตรียมความพร้อมการประกวด สถานีอนามัยดีเด่น ที่ สถานีอนามัย นาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ออกแบบป้ายต้อนรับ คณะกรรมการประกวด สถานีอนามัยดีเด่น และป้าย รณรงค์การป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
เย็นวันนี้ ลูกชาย ดช. ภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง กลับมาบ้าน เพราะ ชั้น ม.ปลายสอบ ม.ต้นหยุด 2 วัน
วันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เวลา 09.09 น. ประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการป้องกันการและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ระดับอำเภอ เพื่อไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้างออกไปอีก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกแห่ง และผู้นำชุมชนทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ณ หอประชุมใหม่ ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว รวม 400 คน ปรธานในที่ประชุมโดย นายสุพิศ สามารถ รักษาราชการแทน นายอำเภอค้เขื่อนแก้ว วิทยากรหลักโดย นายแพทยื จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้ร่วมประชุมจากทุกตำบล ประกอบด้วย
1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .)ทุกตำบล
2. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .)ทุกตำบล
3. กำนันทุกตำบล
4. ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน
5. ประธาน อสม. ทุกหมู่บ้าน
6. ปลัด อบต. ทุกตำบล
7. ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียน
8. หัวหน้าสถานีอนามัยทุกแห่ง
9. ผู้จัดการสถานีวิทยุชุมชนทุกสถานี
10. ครูหัวหน้าศูนย์เด็กเล็กทุกแห่ง
ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการให้ความร่วมมือการป้องกันและควบคุมโรคนี้มาก ทั้งประชาชน ผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนเป็นต้น
หลังเสร็จสิ้นการประชุมมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต่างมาให้ข้อมูลว่า แต่ละตำบล อบต. ยินดี จะสนับสนุน งบประมาณสำหรับการจัดซื้อ
1. หน้ากกากอนามัย ให้กับ ประชาชน คนละ 2 ผืน เป็นแบบที่ซักได้ โดยให้ สลับเปลลี่ยวนใส่วันละ 1 ผืน บางตำบล ให้กลุ่มแม่บ้าน กลาม OTOP เป็นคน ตัด อบต.จ่ายค่าตัดค่าผ้า เป็นต้น
2. ปรอท สำหรับ ให้ อสม. วัดไข้ คนละ 1 อัน
3. ขึ้นป้ายรณรงค์ การป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยเน้น กินของร้อน ใช้ข้อนกลาง หมั่นล้างมือ
และตำบลแคนน้อย ได้สั่งให้ขึ้น ป้ายรณรงค์ Cut Out แล้ว จำนวน 2 แผ่น โดยการประสานงานของปลัด มานพ สีหิน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .)แคนน้อย และ ผู้นำชุมชน คนเก่ง นายสี หนองเลิง
ฉีดวัคซีน กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ : สรรเพชร
วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 วันนี้ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ที่ หน้าห้องประชุมด้านล่าง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ สถานีอนามัย ในสังกัด พวกเราร่วมกันให้บริการ ฉีดวัคซีน แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ วันนี้เป็นประชาชนจากตำบลดงเจริญ และตำบลกุดกุง ซึ่งการนำประชาชนมารับบริการนั้น ได้รับความร่วมมือด้วยดี จาก นายกฯ อบต. ทุกแห่ง ในการจัดบริการรถรับส่ง ประชาชนจากบ้าน ไป- กลับ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ดี ในการทำงานร่วมกัน ของภาคีเครือข่ายการทำงานร่วมกันของพวกเรา ก่อน เลิกงาน เพื่อน สรรเพชร กวีกรณ์ และ ภรรยา คนสวย ผู้จัดการฝ่าย โรงแรม RP ยโสธร พร้อมลูกสาว มาแวะเยี่ยม พร้อมนำสมุนไพร สูตรพิเศษจาก Hong Kong มาฝาก
เวลา 13.30 น. ประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการป้องกันการและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ระดับอำเภอ เพื่อไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้างออกไปอีก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จึงมีมติเชิญคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกแห่ง และผู้นำชุมชนทุกตำบลทุกหมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมในวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เวลา 08.29 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการโรคไข้หวัดใหญ่ ศาลากลางจังหวัดยโสธร
The new strain of influenza claimed three more fatalities on Monday, bringing the death toll to 21.
The 19 th victim was a 19-year-old boy from Surat Thani province and succumbed to death in a Bangkok hospital. The 20 th was a 46-year-old woman. She died in Sakhon Nakhon province. Thai Public Health Ministry said the latest victim was a 53-year-old woman, of Bangkok.
วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 เวลา 09.00 น.เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดยโสธร ตามที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) จาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มี นายอำเภอทุกอำเภอ สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง นายกเทศมนตรีทุกตำบลแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) ทุกตำบล ประธานในที่ประชุมโดย ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เพราะปัจจุบันมีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) ในประเทศต่างๆ และในปัจจุบันได้แพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก สำหรับประเทศ มีรายผู้ป่วยยืนยัน เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ ใน 72 จังหวัด และในจังหวัดยโสธร ปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยัน 17 ราย และสถานการณ์การระบาดแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) และมาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค โดย นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร รายงาน ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดย นายแพทย์อดิเกียรติ เอี่ยมวรนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร และส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวของ รวมทั้งสื่อมาวลชนด้วย
เวลา 13.30 น. ประชุมคณะทำงานเพื่อเป็นการป้องกันการและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ระดับอำเภอ เพื่อไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้างออกไปอีก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จึงมีมติเชิญคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกแห่ง และผู้นำชุมชนทุกตำบลทุกหมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมในวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เวลา 08.29 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
7/13/09
ประชุม นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน งานสุขภาพจิต และไข้หวัดใหญ่
วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 ประชุมโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ณ ห้องประชุม โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายก อบต. ทุกตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน และ เจ้าหน้าที่ จาก สถานีอนามัยทุกแห่ง ประมาณ 100 คน วิทยากร จาก ศูนย์สุขภาพจิตอุบลราชธานี และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประสานงานการจัดการอบรมโดยหัวหน้างานคนเก่ง นางจำนรรจา บุญแจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ในการประชุมครั้งนี้ ได้ให้ความรู้เรื่อง ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H1N1) : The new strain of influenza A(H1N1)
โดย นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ซึ่ง เนื้อหาในการประชุมทั้ง 2 เรื่อง ได้รับความสนใจด้วยดีจากผู้เข้าร่วมประชุม
วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 วันนี้ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ที่ หน้าห้องประชุมด้านล่าง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ สถานีอนามัย ในสังกัด พวกเราร่วมกันให้บริการ ฉีดวัคซีน แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ วันนี้เป็นประชาชนจากตำบลสงเปือย และตำบลนาคำ ซึ่งการนำประชาชนมารับบริการนั้น ได้รับความร่วมมือด้วยดี จาก นายกฯ อบต. ทุกแห่ง ในการจัดบริการรถรับส่ง ประชาชนจากบ้าน ไป- กลับ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ดี ในการทำงานร่วมกัน ของภาคีเครือข่ายการทำงานร่วมกันของพวกเรา และจะให้บริการครอบคลุมประชาชนทั้งอำเภอ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์นี้
วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 ประสานเจ้าหน้าที่ ในสังกัด เพื่อช่วยเหลือ สถานีอนามัยนาเวียง ในการเตรียมรับการประกวด สถานีอนามัยดีเด่น ก่อนเลิกงาน ประสาน นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลคำเขื่อนแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) ทุกตำบล ให้เข้าร่วมประชุมด่วนคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A(H1N1) ตามคำสั่ง ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ในวันพรุ่งนี้ ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดยโสธร เวลา 09.00 น.
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คนไทยที่หนึ่งในโลก :เมตตาธรรม ไร้พรมแดน
วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คนไทยที่หนึ่งในโลก :เมตตาธรรม ไร้พรมแดน
คนไทยคนดีที่คนไทยไม่เคยรู้จัก...อยากให้เผยแพร่เกียรติประวัติให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนไทยและเยาวชนไทย เป็น web ที่ดี จาก http://board.palungjit.com
เภสัชกรยิปซีไทยผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ (ปัจจุบัน ขณะนี้ไทยกำลังมีปัญหากับอเมริกา เพราะข้อขัดแย้งเรื่องราคายาที่ไทยไม่ยอมอเมริกาเรื่องสิทธิบัตรยา)
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซีไทย ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ที่เร่ร่อนไปทั่วเเอฟริกาจนเป็นที่รู้จักจนอเมริกานำชีวิตเธอสร้างเป็นละครบรอดเวย์ แต่คนไทยไม่รู้จักเธอ
ชื่อ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
เป็นคนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน
พ่อเป็นหมอ คุณแม่เป็นพยาบาล
การศึกษา เป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนราชินี
ปริญญา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัย Strahclyde
ปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัย Bath ประเทศอังกฤษ
(ฐานะทางบ้านก็สบายๆ ญาติพี่น้องทำธุรกินโรงแรมที่เกาะสมุย) ชอบเล่นดนตรี เคยฝันอยากเป็น Conductor เคยอยากเปลี่ยนสายเรียนไปเป็นไบโอเคมี (ชีวเคมี) แต่เห็นว่าคณะที่เรียนอยู่ในเมืองไทยมีคนเรียนแค่ 5 คน จึงก้มหน้าก้มตาเรียนต่อไป
ปี 2535 เริ่มมีผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจาก พบในเอดส์ในไทยครั้งแรก ปี 2526 ทำไห้ตัดสินใจศึกษาวิจัยยาต้านไวรัสเอดส์ คิดค้นอยู่ 3 ปี แรก ๆ ทำงานคนเดียวหมด ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกของโลก ที่ผลิตยาชื่อสามัญว่า "ยาเอดส์"
ปี 2538 ได้โดนคดีขึ้นศาลกับบริษัทยา (ชื่อของอาจารย์ถูกบรรจุอยู่ในแบล็กลิสต์ของบริษัทยาเกือบทุกบริษัท) จากเรื่องของผลประโยชน์ เพราะถ้าผลิตยาได้สำเร็จ ยอดขายของผู้ผลิตรายอื่น ๆ ก็ต้องตกแน่นอน เพราะว่าราคาต่างกันค่อนข้างมาก ถือว่าตัวเองได้ทำหน้าที่ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างดีที่สุดแล้วไม่ได้คิดว่าจะตบหน้าใครหรือมาทำให้ยอดขายของบริษัทไหนลดลง (ก็คนกำลังจะตายอยู่แล้วไม่มีเงินซื้อยาแพง ๆ กินก็ต้องช่วยกันไป)
ยา ZIDOVUDINE(AZT) คือยาที่ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกจากแคปซูล ละ 40 บาท เหลือ 7-8 บาท อีกตัวคือจากเดิมขายแคปซูลละ 284 บาท เหลือ 8 บาท ยาที่มีชื่อเสียงมากคือ GPO-VIR สามารถทำให้ยา 3 เม็ดรวมอยู่ในเม็ดเดียวจากต้องทาน วันละ 6 เม็ด เหลือเพียง 2 เม็ดเท่านั้น
รัฐบาลไทยสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์จาก 1,000 คน เพิ่มเป็น 10,000 คน ค่ายาจากคนละ 20,000 เหลือ 1,200 บาท
ปี 2545 ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อจะไปช่วยเหลือทางแอฟริกาใต้อย่างเต็มตัว (เห็นว่าเมืองไทยเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว) ไม่มีใคร (รวมทั้งรัฐมนตรี) ยอมเซ็นใบอนุมัติการลาออกให้ มีการยื่นข้อเสนอให้เปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้น และการเอายาของเราไปขายที่แอฟริกาแทน แต่ไม่เอาด้วยเหตุผลต้องการให้พวกเขาทำเองให้พึ่งตนเอง เชื่อว่าถ้าเขาอยากกินปลาเราก็ควรสอนเขาตกปลาเอง ไมใช่ว่าเอาปลาไปให้เขากินเพราะไม่อย่างนั้นเขาจะไม่มีวันพึ่งตัวเองได้ เมืองไทยไปจำหน่ายได้ มันจะมีประโยชน์อะไร เพราะมันไม่มีความยั่งยืน (ไม่สนเงินเข้ากระเป๋าว่างั้น) เดินทางไปคองโก ไปบุกเบิกใหม่หมด วาดแปลนโรงงานที่จะผลิตยาใช้เวลา 3 ปี โรงงานดังกล่าวผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR เหมือนเมืองไทยทุกอย่างได้สำเร็จ
ปี 2546 ผลิตยาที่ทวีปแอฟริกาที่ดังมากและขายดีที่สุดในประเทศแทนซาเนีย คือ ยามาลาเรีย (THAI-TANZUNATE) ยาราคาถูกจาก 360 บาท ผลิตได้ในราคา 36 บาท เท่านั้น ประเทศด้อยพัฒนาในแอฟริกายากจนมาก สมมติว่าโรงพยาบาลหนึ่งมีเตียง 150 เตียง แต่มีคนไข้ที่มาแอดมิด 450 คน นั่นหมายถึง ใน 1 เตียง มีคนไข้ 3 คน นอนบนเตียงเดียวกัน 2 คน นอนกลับหัวกลับหางกัน และนอนใต้เตียงอีก 1 คน เวลาอยู่ที่แอฟริกา ก็ร่อนเร่ไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยมีหลักแหล่ง บางทีก็มีคนช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง บางทีออกเอง เพราะประเทศเขายากจน ไม่มีตังค์ให้หรอก
อุปสรรคชีวิตโลดโผน
เจอเครื่องบินดีเลย์ ไป 24 ชม. บางที เครื่องบินก็พาไปลงผิดประเทศ เสื้อผ้า ต้องมีติดกระเป๋าสะพายตลอดอย่างน้อย 3 ชุด เพราะชุดในกระเป๋าเดินทางที่โหลดไว้ใต้ท้องเครื่องอาจมาช้า ไม่ก็หายไปเลย ที่คองโก นอนอยู่ดี ๆ ก็มีแสงสว่างวาบ ๆ ขึ้นมา ก็คิดในใจว่า ทำไมถึงสว่างเร็วจัง ปรากฏว่าไม่ใช่แต่เป็น ระเบิดที่เขายิงมา โดยมีเป้าหมายที่บ้านพักของดิฉัน แต่เขากะพลาดไปหน่อย เลยไปตกข้าง ๆ บ้านแทน คิดว่า คงเป็นฝีมือของพวกที่เขาคิดว่าดิฉันเป็นศัตรูนั่นแหล่ะค่ะ ตอนไปช่วยเหลือที่ ไนจีเรีย ต้องเดินทางตอนตี 1 จากสนามบิน เข้าสุ่ที่พัก คนเดียว ไม่มีคนมารับ นั่งแท๊กซี่ไป ถูกคนเอาปืนมาจี้ 5 ครั้ง ในคืนเดียว รอดมาได้หมดทุกครั้ง และไม่มีใครเอาทรัพย์สินไปเลยสักคนเดียว ด้วยเหตุผล "ฉันมาช่วยคนในประเทศเธอน่ะ...อยากได้อะไรก็เอาไปเลย" เลยไม่มีคนจี้ต่อ แต่เสียเวลาไป 4 ชั่วโมง กับการเดินทาง 20 กม. เพราะมัวแต่โดนจี้ไป 5 ครั้ง
สื่อของฝรั่งเศสและเยอรมนี ชื่นชมการทำงานมาก นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์จนได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 3 รางวัล
ประเภท หนังสารคดี
ร่วมให้กำลังใจคนดี ศรีสยาม ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ร่วมให้กำลังใจคนดี ศรีสยาม ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คว้ารางวัลแมกไซไซ 2552 ครับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2552 ... ตอนปี 2547 ท่านก็ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์ และได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2551. ขอบคุณ ข่าว และเนื้อหาดีๆ จาก Dailynews.co.th
เภสัชไทยเจ๋ง! คว้ารางวัล'แม็กไซไซ'2009
วันเสาร์ ที่ 11 กรกฎาคม 2552 เวลา 15:18 น
วันนี้ (11 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิแม็กไซไซ อวอร์ด ได้คัดเลือก ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ อดีตผอ.สถาบันวิจัยแลพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ผู้คิดค้นยาต้านไวรัสเอชไอวีรวมเม็ด และขณะนี้ตระเวนไปประเทศต่างๆ ในแอฟริกา เพื่อสอนการผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีได้เอง เป็นผู้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2552
ดร.กฤษณา เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีและซาบซึ้งที่ได้รับเกียรติคัดเลือกให้เป็นผู้รับรางวัลแมกไซไซในปีนี้ และขอขอบคุณ ซึ่งโดยส่วนตัวจะยังคงมุ่งมั่นการทำงานต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้คนเข้าถึงยาไม่ว่าจะในประเทศใด เป็นเป้าหมายการทำงานที่ยึดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เพียงแต่อาจเปลี่ยนประเทศ เปลี่ยนสถานที่ทำงาน เปลี่ยนคนที่ต้องติดต่อเท่านั้น ซึ่งก็ถือเป็นกำลังใจในการทำงานให้ตน และขณะเดียวกันตนก็จะเป็นกำลังใจในการทำงานให้คนอื่นๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะมีรางวัลหรือไม่ เราก็ยังต้องทำงานต่อไป เพราะการทำงานที่ผ่านมาก็ไม่เคยหวังที่จะได้รับรางวัลใดๆ เราทำงานของเราไป แต่ก็ดีใจที่คนเห็นเรา
สำหรับประวัติของ ดร.กฤษณา เป็นชาวเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินี และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และไปศึกษาต่อปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ หลังจบการศึกษากลับมาทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนเป็นหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีในปี พ.ศ. 2524 และลาออกมาทำงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม เป็นเวลา 22 ปี ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2542 ดร.กฤษณา ได้รับเชิญจากองค์การอนามัยโลก ไปที่แอฟริกาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตยาไวรัสเอดส์ให้กับผู้ป่วยที่นั่น หลังจากได้เห็นความยากลำบากของ เธอจึงตัดสินใจลาออกจากองค์การเภสัชกรรมในปี พ.ศ. 2545 และเดินทางไปแอฟริกา เพื่อช่วยดำเนินงานจนสามารถจัดตั้งโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR ในประเทศคองโกได้เป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2548 และผลิตยารักษามาลาเรีย ชื่อ Thai-Tanzunate ในประเทศแทนซาเนีย
ก่อนหน้านี้ ดร.กฤษณา ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์ และได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2551.
และจาก bangkokpost.co.th
Hall of Fame Krisana Kraisintu. who helps poor African nations fight Aids and malaria, is named a recipient of the Ramon Magsaysay award.
7/12/09
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรอุบลดูงาน รพ.สต.ดงแคนใหญ่
วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรอุบลดูงาน รพ.สต.ดงแคนใหญ่ : วันนี้เช้าพาลูกไปปลูกต้นไม้ที่ไร่ .. ส่วนภรรยานางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พาป้าดวงมณี ลุนบุดดา ไปส่ง พลทหารป๊อดแป๊ด ที่ค่ายทหารยโสธร ภาคบ่ายร่วมต้อนรับ ดร.กษณา วุฒิสินธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิจัย อาจารย์ นิธิ ปรัสรา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี อ.รุ่งอรุณ กมุธกาญจน์ และคณะ ที่ นำนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้นรุ่น 1 จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คนมา ศึกษาดูงาน ณ สถานีอนามัยดีเด่นระดับประเทศ ที่ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ซึ่งมี นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นายบัณดิษฐ สร้อยจักร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และ นางพรรณี ลไมกิจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปฏิบัติงานในวันนี้ ในคณะนี้ มีน้องชายที่ผมรู้จัก คือ นายเกลี้ยง ชัยยุทธ ละครวงศ์ ที่เคยทำงาน ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอป่าติ้ว ...งานนี้ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว รับหน้าที่เป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อ การบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ยั่งยืน ...หลังจบการบรรยายได้รับแรงใจจากคณะ ผู้บริหารการสาธารณสุข ระดับต้นที่ร่วมรับฟังเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ แรงใจจาก ดร.กษณา วุฒิสินธิ์ และอ.รุ่งอรุณ กมุธกาญจน์ บอกว่าอยากจะให้ สถานีอนามัย และโรงพยาบาลทุกแห่ง ปรับเปลียนวิธีคิดวิธีการทำงาน ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ของประชาชนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ อย่างน้อยก็ให้ได้ คล้ายๆรูปแบบที่ ที่พวกเรากำลังทำอยู่ในขณะนี้ ณ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร วันนี้ มี คุณพ่อถวิล บุญสาร ประธาน คณะหน่วย กู้ชีพ อปพร. ดงแคนใหญ่ มาร่วมเป็นวิทยากรด้วย ....ซึ่งผู้รับฟังต่างประทับใจในลีลาที่ดีของท่านเช่นเคย ...ขอบพระคุณ คณะศึกษาดูงานคณะนี้ ที่นำฝนมาด้วย เพราะที่นี่ฝนทิ้งช่วง แห้งแล้งมานาน วันนี้มีฝนตก ชุ่มฉ่ำพอสมควร ...สถานการณ์ณ์การมาศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นั้น ปัจจุบันรับคณะศึกษาดูงานแทบทุกวัน บางวัน 3 คณะ ต้อนรับทั้ง เช้าและบ่าย พวกเราต้องสลับเปลี่ยนกันบรรยาย แต่ วิทยากรหลักยังคงเป็น นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่มีคณะมาศึกษาดูงานมาในช่วงนี้ เนื่องจาก ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการยกระดับการบริการของ สถานีอนามัย พัฒนาเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างน้อย อำเภอละ 1 แห่ง ฉะนั้น บางพื้นที่ที่ไม่เคยจัดตั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จึงต้องมาศึกษาดูงานในพื้นที่ที่เคยจัดตั้งมาก่อน และ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นั้นได้ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากทั่วประเทศ เกือบทกจังหวัด รวมทั้ง จาก ต่างประเทศ ที่เคยมา 2 ครั้ง คือ คณะจากประเทศ ภูฏาณ สาเหตุที่สำคัญเพราะโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ได้รับ รางวัลชนะเลิศ สถานีอนามัยดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2550 จากผลการดำเนินงาน โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ...ภายใต้การบรรยายที่ได้ อรรถรส ของ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ดร.กษณา วุฒิสินธิ์ อาจารย์ ผบต.15/2548
วันที่ 11 กรกฎาคม 2552 ดร.กษณา วุฒิสินธิ์ อาจารย์ ผบต.15/2548 ประสานขอศึกษาดูงานรพ.สต.ดงแคนใหญ่ ได้รับการประสานจาก ดร.กษณา วุฒิสินธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิจัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอนำนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุข ระดับต้น มา ศึกษาดูงาน ณ สถานีอนามัยดีเด่นระดับประเทศ ที่ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ในวันพรุ่งนี้ หนังสือลงนามโดย ท่าน ภรต โทนแก้วผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิจัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ดร.กษณา วุฒิสินธิ์ หรืออาจารย์เต่ง นั้นผมรู้จักและเคารพมาตั้งแต่สมัยเมื่อครั้งไปเรียน หลักสูตร ผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น ผบต. รุ่นที่ 15 เมื่อปี 2548 ...รุ่นนี้พวกเรา ผูกเสี่ยวให้ท่านดร.กษณา วุฒิสินธิ์ กับ คุณพี่หมาน้อย นางทัศนีย์ อินอ่อน จาก ยโสธร ด้วย ... สมัยนั้น ผมจำได้ว่า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มี อ.ศริ วัฒนธีรางกูร เป็น ผู้อำนวยการ มี อ.ถนอมศักดิ์ บุญสู่ วุฒิพงษ์ ไตรพิพัฒน์ และ อ.ภคิณ หรือ สิทธิชัย ไชยช่วย เป็น รอง ผอ. มี อาจารย์ ต่วย อ.วัลลภา โสตถิสวัสดิ์ อ.วัฒนา ประกอบแสง เป็นต้น ภาพเก่าๆเมื่อครั้ง อบรม ผบต. รุ่นที่ 15
ประชุมเตรียมประกวดสถานีอนามัยดีเด่น ที่ นาเวียง
วันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ประสานการสนับสนุน งบประมาณ สำหรับกิจกรรมการประกวด สถานีอนามัยดีเด่น ให้กับ สถานีอนามัยนาเวียง 11.09 น. ประชุม ร่วม คณะกรรมการ จาก สสจ.ยส. เรื่องการประกวดส้วมสาธารณะดีเด่น ที่ สถานีอนามัยนาเวียง มี คุณ อัญชลี ชคัตรัย คุณ บรรจง วัตย์รักษา และคุณ นารถฤดี ปากวิเศษ มาร่วมให้คำแนะนำด้วย เวลา 13.09 น. ประชุม คณะทำงานเตรียมความพร้อมรองรับการประกวด สถานีอนามัยดีเด่น ที่ห้องประชุม สถานีอนามัยนาเวียง เลิกประชุม เริ่มงานทันที เริ่มจากการปรับปรุงภูมิทัศน์ และการก่อสร้าง
เครื่องคอมพิวเตอร์ Note book HP ประจำกายของผม เสีย ต้องส่งซ่อมที่ศูนย์ กรุงเทพฯ ใช้เวลานานหลายวัน
ก่อนเลิกงานผมจึงจำเป็นต้องเข้าไป ร้าน AEC เพื่อสำรองข้อมูลที่จำเป็นไว้ เพื่อนำมาประกอบการทำงานต่อไป
หมายเหตุ เหตุการณ์ทั่วไป ตำบลดงแคนใหญ่ มีการตั้งโต๊ะ ล่ารายชื่อประชาชน เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กับ อดีต นายกทักษิณ ชินวัตร ส่วนฝนฟ้าอากาศ นั้น ปัจจุบัน ฝนยังไม่ตก ประชาชนยังไม่ได้ทำนาเลย ส่วนบางพื้นที่ที่พอมีน้ำบ้าง เช่น บ้านนาหลู่ บ้านปลาอีด ค่าจ้างดำนาเมื่อต้นปี วันละ 150 บาท ปัจจุบัน ค่าจ้างดำนารู หรือดำนาฤาษี หรือดนาผง ค่าจ้าง วันละ 200 บาท
แผน ปิ้ด ปี้ ปิ๊ด ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H1N1)
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ภาคบ่ายประชุมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด A (H1N1) หัวหน้างาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัย และ เจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย ทุกแห่งในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว วิทยากรโดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการรพ.คำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ซึ่ง นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการรพ.คำเขื่อนแก้ว ได้ให้ความรู้ที่เข้าใจง่ายๆว่า ไข้หวัดใหญ่ วินิจฉัยง่ายๆคือ ไข้ หวัด และ ใหญ่ ไข้ คือ ไข้ 38.5 ขึ้นไป หวัด คือ เป็น หวัดมีน้ำมูกไหล ใหญ่ คือ ไอ เจ็บคอ ส่วน ที่จะเข้าข่าย ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไม่ ต้องดู ที่องค์ประกอบอื่นๆเพิ่มเติม ที่สัมคัญคือ ประวัติการเดินทางไปหรือมาจากพื้นที่เสี่ยง เช่นจังหวัดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว กรุงเทพ การเดินทางโดยรถยนต์ปรับอากาศ ในขบวนที่มีผู้ป่วย และการสัมผัสโรค เป็นต้น
...ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009คืออะไร การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 การป้องกันไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009การควบคุมไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ...
ส่วน นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ให้นโยบาย กับเจ้าหน้าที่ทุกคน ตาม
คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)
ฉบับที่ 8 วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ดังนี้
--------------------------
ปัจจุบันการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น 1) ได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคมีความรุนแรงปานกลาง ประเทศไทยส่วนใหญ่พบในกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีรายงานมากกว่า 60 จังหวัดแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา รองมาเป็นคนวัยทำงาน
คำแนะนำทั่วไป
ประชาชนทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจโรคที่ถูกต้อง ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ โดยการติดตามข้อมูลคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุข รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ ผัก ผลไม้ ไข่ นม นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า ถ้าจำเป็นควรใช้กระดาทิชชูจะปลอดภัยกว่า ดูแลตนเองหรือคนในครอบครัวที่ป่วยได้ และป้องกันไม่แพร่เชื้อให้คนรอบข้าง โดยการหยุดเรียน หยุดงาน ปิดปากจูกเวลาไอจามด้วยกระดาษทิชชู สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด และลดผลกระทบด้านต่างๆ ได้มากที่สุด
ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะมีอาการป่วยใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่เกิดขึ้นทุกปี คือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย มีรายงานอาการสมองอักเสบ 4-5 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) จะมีอาการทุเลาขึ้นตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5-7 วัน จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยน้อยราย (5%) ที่มีอาการป่วยรุนแรงซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ (70%) เป็นกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคเลือด ไต เบาหวาน ฯลฯ) ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคมะเร็ง ฯลฯ) โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่ง (30%) ที่มีอาการรุนแรงแต่ไม่สามารถสอบสวนหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จึงต้องรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ทันที
การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้
• ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
• แจ้งสถานศึกษาหรือที่ทำงานทราบ เพื่อจะได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
• ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์
• ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง
• เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่น
• ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
• พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
• นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
• หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
การแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในบ้าน
• ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกห้องจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
• รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
• ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
• ปิดปากจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่หรือบ่อยๆ
• ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
• ผู้ดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย
• คนอื่น ๆ ควรอยู่ไกลจากผู้ป่วยประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
การปฏิบัติ ของ อสม. อำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อป้องกันและควบคุมโรคนี้ คือ ชื่อแผนปฏิบัติการ เป่านกหวีด ปิ้ด ปี้ ปิ๊ด 123
1 คือ อสม. สามารถรายงาน Case ที่น่าสงสัย ให้กับ จนท.สถานีอนามัย ภายใน 1 วัน
2 คือ อสม. ทุกคน จะต้องมี อุปกรณ์ ประจำกาย 2 อย่างคือ ปรอท วัดไข้และ หน้ากากอนามัย
3 คือ อสม. ทุกคน ต้องเชี่ยวชาญ 3 ด้าน คือ การวัดปรอทวัดไข้ การใส่หน้ากากอนามัย ที่ถูกวิธี และการล้างมือ 7 ขั้นตอน อย่างถูกวิธี