5/29/09

ธนาคารอสมสินบริการดีมาก:จ่ายค่าตอบแทนอสม.





วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 : ธนาคารอสมสินบริการดีมาก:จ่ายค่าตอบแทนอสม. เวลา 13.09 น. ทีมงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว โดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เตรียมเอกสาร เงิน และประสานงานกับ นางสุดชาดา เศรษฐาพงศ์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว นางภัทรพร ใจอ่อน ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว (0812620276) ซึ่ง ท่านและคณะพนักงาน ได้ให้การบริการที่ดีมาก ในการจัดเตรียมและอำนวยความสะดวก แก่ สถานีอนามัยทุกแห่ง และ อสม. ทุกตำบล ที่เข้ามารับ เงินค่าตอบแทน การปฏิบัติงาน คนละ 600 บาท ต่อเดือน ซึ่ง ได้รับความสะดวกสบายและรวดเร็วในการรับเงิน ทั้งนี้ภายใต้การประสานงานหลักที่ดีมาก ของ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ. คำเขื่อนแก้ว พร้อมนี้ท่านได้ให้คำแนะนำ ในการ รับเงินในเดือนต่อไปด้วย ซึ่ง ธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว กับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว นั้น ได้ร่วมกันปฏิบัติงานในฐานะเพื่อร่วมงานและกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันเสมอมา ขอขอบพระคุณ ท่านผู้จัดการ และคณะเจ้าหน้าที่ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย สอบถามรายละเอียดการบริการที่เหล่านี้ เพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว. ที่อยู่ : 110/1 เหลี่ยมประดิษฐ์ ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ยโสธร 35110. โทรศัพท์ : 045791299 และโทร045791300

ผลการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร โดย นบส. รุ่นที่ 25





วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 : ผลการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร โดย นบส. รุ่นที่ 25
เวลา 08.39 น. เข้าร่วมประชุมการนำเสนอผลงานการปฏิบัติงานภาคสนาม ครั้งที่ 2 จังหวัดยโสธร
ซึ่ง นพ.ธวัช จายนียโยธิน และคณาจารย์ นำนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง รุ่นที่ 25 / 2552 ณ ห้อง แกรนด์บอลลรูม โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัล จังหวัดยโสธร ประธาน การประชุม โดย ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ทำหน้าที่แทน ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ที่ท่านติดราชการด่วน วันนี้เป็นเวที การสรุปผลงาน ในหัวข้อ “สมมุติบทบาทว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ท่านจะพัฒนางานใน ในจังหวัด เพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ ชาติ และยุทธศาสตร์ของจังหวัด พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบบริหารแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดได้อย่างไร” ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่า ทีมงานทีมนี้ สามารถสรุปและนำเสนอข้อมูลได้ดีมากๆ ทั้ง พิธีกร โดย นบส. อารักษ์ วงศ์วรชาติ และ ผู้นำเสนอผลงานทั้ง 2 คน ประกอบด้วย 1. นบส. ดิเรก งามวาสีนนท์ และ 2 นบส. ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล โดยมีกรอบแนวคิด เรื่องสุขภาพ ใน 4 มิติ ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ คือ มิติด้าน กาย ใจ สังคม และปัญญา บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กรอบแนวคิด การวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านเสรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ซึ่ง จังหวัดยโสธร
ทั้ง 9 อำเภอ ประชากร 534,539 คน (ชาย 268,120 คน หญิง 266,419 คน) มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด GPP มูลค่า 19,633 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per Capita GPP) 32,243 บาท จัดเป็นลำดับที่ 14 ของภาค ลำดับที่ 71 ของประเทศ มีรายได้แฉลี่ย 43,739 บาท / คน / ปี ประชาชนมี หนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 78,766 บาท สาเหตุการตาย 3 อันดับแรก เป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ มีบทสรุปคือ จังหวัดยโสธร เป็นสังคมเกษตรกรรม มีจุดเด่นคือ 1) เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตร 2) เป็นแหล่งผลิตสินค้าพื้นเมือง 3) มีภูมิปัญญาที่หลากหลาย 4) ชุมชนเข้มแข็ง 5)มีประเพณีบุญบั้งไฟที่สนับสนุนการท่องเที่ยว มีจุดอ่อน คือ 1) แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนา 2)การชลประทานเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอ 3) ขาดการจัดการตลาดสินค้าเกษตร4)ขาดเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย 5) พื้นที่ไร่นามีสารเคมีตกค้าง 6) ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน มีหนี้สิน
สำหรับปัญหาสุขภาพพบว่า อายุขัยเฉลี่ยจังหวัดยโสธรตำกว่าระดับประเทศ (จังหวัดยโสธร ชาย 66.3 หญิง 70.6 ซึ่งระดับประเทศ ชาย 69.9 หญิง 77.6 ปี)
สาเหตุการตายที่สำคัญคือ คือ โรคมะเร็งทุกชนิด ( 110 ต่อแสนโดยเฉพาะมะเร็งตับและท่อน้ำดี) โรคหัวใจและหลอดเลือด (96 ต่อแสน)อุบัติเหตุ ( 39 ต่อแสน) รองลงมาได้แก่ ภาวะติดเชือในร่างกาย โรคปอดและวัณโรคปอด
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโดยใช้การบริหารงานแบบูรณาการ ในประเด็น 1) ;bสัยทัศน์ “ ยโสธรน่าอยู่ เกษตรอินทรีย์ก้าวไกล วิทยาลัยชุมชนสู่สากล” 2) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนา 5 ประเด็น ได้แก่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาการเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและศูนย์เรียนรู้ระดับสากล พัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมการเรียนรู้สู่สมดุล พัฒนาการบริหารแบบบูรณาการและสริมสร้างความสงบเรียบร้อย และ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เช่น พัฒนา แหล่งท่องเที่ยวแบบ Long Stay ที่ ชุมชนภู่ไท ตำบลห้องแซง อำเภอ เลิงนกทา โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นข้าราชการบำนาญ และชาวต่างประเทศเป็นต้น
ซึ่งบทสรุปการนำเสนอผลงาน ในวันนี้ ต้องขอยก คำพูดของ ประธานในการประชุมวันนี้ คือ ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร “ในฐานะที่ผมเป็น นบส.รุ่นพี่ ขอชื่นชม ทีมงาน นบส. รุ่นที่ 25 นี้ ที่ร่วมกันสรุปผลงานจากการศึกษาในระยะเวลาอันสั้นใน จังหวัดยโสธร ได้อย่างครอบคลุม และทุกสิ่งที่นำเสนอล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการพัฒนา จังหวัดยโสธร เป็นอย่างมาก และ จังหวัดยโสธร เราจะนำเอาผลการศึกษานี้ไปประกอบเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อการพัฒนา จังหวัดยโสธร ต่อไป ...คะแนนเต็มเท่าไร ผมไม่ทราบ แต่ หลังจากการนำเสนอผลงานแล้ว ผมให้ คะแนน A+ ครับ”

5/28/09

วัดบ้านบกน้อย ศูนย์รวมใจ(แก้ปัญหาสุขภาพจิต)




วันที่ 27 พฤษภาคม 2552 : ตื่นเช้าด้วยจิตใจที่แจ่มใส ไปตักบาตรทำบุญวันเกิด กลับมา อ่านข้อความที่ประทับใจจากลูกสาว สุขสันต์วันเกิดคะพ่อ รักนะฟันหลอ ฮิฮิ และ ข้อความอวยพรวันเกิดที่ประทับใจจาก พี่ชาย นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง หัวหน้างานพัสดุ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร วันนี้ทำงานด้วยความสบายใจ ร่างประกาศสำหรับการรับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ประจำ สถานีอนามัย จำนวน 4 อัตรา
เวลา 11.09 น. ไปกับภรรยา นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง เพื่อถวายภัตราหารเพล และ ถวายสังฆทาน ที่สำนักสงฆ์ พรปิยะ กับหลวงปู่โบราณ บ้านไผ่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอ เขื่องใน จังหวัดอุบลราชานี หลวงปู่โบราณ ท่านเป็นคนที่น่าเลื่อมใสศรัทธา มีอัธยาศัยดี วัตรปฏิบัติดี นำชาวบ้านสวดมนต์ทุกเช้าเย็น โดยเฉพาะตอนเย็นจะมีประชาชนมาร่วมไหว้พระสวดมนต์ไหว้มากมาย ขณะนี้กำลังก่อสร้างเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ภาคบ่าย จัดระบบการรับ จ่าย ค่าตอบแทน อสม. ประจำเดือน พฤษภาคม 2552 โดยมอบหมายให้ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ไปประสานงานกับ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว ซึ่งท่านได้ให้การบริการที่ประทับใจมาก โดยจะนับเงิน จำนวน 750,000 บาท แยกเป็น 17 ส่วน สำหรับ สถานบริการทั้ง 17 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ อสม. ตอนเย็น เข้าไปร่วม ไหว้พระสวดมนต์ และ ร่วมงานการสวดอภิธรรมศพ คุณยายต่อน รวมธรรม แม่ของ นายอำพร รวมธรรม นายทองปอน รวมธรรม หรือเสี่ยบู้ นายคำพันธ์ รวมธรรม และลุง จารย์หนู คำกร รวมธรรม วันนี้มี นายสินอุดม ศิลารักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดงแคนใหญ่ และ คณะ อบต. มาร่วมงานด้วย สรุปรวมความแล้ววันนี้ มีแต่เรืองดีๆ ในชีวิต ฉะนั้น จึงนอนหลับด้วยความสบายใจ เนืองในครบรอบวันเกิด 41 ปีเต็ม
วันที่ 28 พฤษภาคม 2552 : เช้าประชุม หัวหน้าสถานีอนามัยที่ ห้อง สาธารณสุขอำเภอ คณะทำงานการควบคุมโรคไข้เลือดออก นำทีมโดย นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และคณะจาก สถานีอนามัยทุกแห่งออก สุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ทั้งอำเภอ
ภาคบ่าย ประสานเอกสารและรายละเอียดกับ ธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว เรื่องเงินค่าตอบแทน อสม.
เวลา 14.29 น. ไปร่วมงาน ฌาปณกิจศพ คุณยายต่อน รวมธรรม ณ เมรุ วัดบ้านบกน้อย ตำบล ดงแคนใหญ่ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ประธาน โดย นายชื่น วงษ์เพ็ญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร
วันนี้ คณะที่ขึ้นทอดผ้าบังสุกล ร่วมกัน มี ท่านสัตวแพทย์อำเภอ นายคำนึง พณาจันทร์ และ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดงแคนใหญ่ ซึ่งคุณยายต่อนนี้ ถือเป็นบุคคลที่เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลานได้ ในการปฏิบัติศาสนกิจ เช้าตักบาตร เย็นสวดมนต์ แม้ช่วงหลังๆ ที่ไม่สามารถไปวัดได้ ก็จะออกมานั่งดูบุตรหลานใส่บาตรและ ยกมือไหว้พระ ทุกเช้า ขอให้ดวงวิญญาณของคุณยายไปสู่สุคติในสรวงสวรรค์
หมายเหตุ ...ศาลาวัดบ้านบกน้อย ขณะนี้กำลังมุงหลังคา สาธุชนท่านใดมีจิตศรัทธาท จะร่วมเป็นเจ้าภาพ สามารถ ติดต่อได้ที่ ท่านพระครูวิสณฑ์ธรรมาภรณ์ เจ้าคณะ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว และ เจ้าอาวาสวัดบ้านบกน้อย ตำบล ดงแคนใหญ่ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35180 โทร. 0818786845 ท่านพระครูวิสณฑ์ธรรมาภรณ์ เจ้าคณะ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว เป็นคนที่ประชาชน ใน จังหวัดยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดอื่นๆ ให้ความนับถือศรัทธามาก เพราะเรื่องๆต่างๆ ที่ หากประชาชนไม่สบายใจแล้ว มาปรึกษาท่าน เรื่องร้าย ๆ จะกลายเป็นดี หรือเรื่องที่ดี ก็จะดี ยิ่งขึ้น
ส่วนศาลาสวดศพ ณ วันนี้ ราดพื้นคอนกรีตแล้ว ต้องชื่นชม ประชาชนชาวบ้านบกน้อย ที่ร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคปูน คนละถุง 2 ถุง ภายใต้การประสานหลักโดยชมรมผู้สูงอายุบ้านบกน้อย โดย คุณแม่ทองคำ การุณย์ ประธานชมรม ผู้สูงอายุ สถานีอนามัยบกน้อย และคณะ ทราบว่าท่านระดมทุนเมื่อ วันศีล ที่ผ่านมานี้เอง

นักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง ณ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร





วันที่ 26 พฤษภาคม 2552: นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะ หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน หลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง วันนี้ ประทับใจ การทำงานเป็นทีมที่ดีมากๆ ของ ส่วนราชการในเขต อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ภายใต้การบริหารงานที่ดี และมีประสิทธิภาพ ของ นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่ให้เกียรติแก่คณะ โดยทุกส่วนร่วมให้ข้อมูลที่ดี และอยู่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนถึงเที่ยง โดยเฉพาะ กำนัน ประมวล เจนร่วมจิต ประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ท่านให้เกียรติร่วมเดินทางไปกับคณะศึกษาดูงาน ทุกจุด ตั้งแต่เช้า จนถึง 17.29 น. เลย ครับ ส่วนเพื่อนร่วมงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว ต่างทำหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ดีมากๆ นางจำนรรจา บุญแจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว รับผิดชอบเรื่อง อาหารว่างและอาหารกลางวัน (มี น้องแพร สุภาภรณ์ น้องนาง พนมพร น้องเอส นส.จิตร์สุดา อรจันทร์ สอ. บกน้อย นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง มาช่วยอำนวยความสะดวกด้วย ) นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว รับผิดชอบเป็นช่างภาพ ตลอดงาน นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการสสอ. คำเขื่อนแก้ว รับผิดชอบการจัดห้องประชุม และ อุปกรณ์การนำเสนอผลงาน สถานีอนามัยนาแก โดย นายคมสัน อดกลั้น หัวหน้าสถานีอนามัยนาแก กำนันสมพงษ์ กองทำ นายก อบต.นาแก นายภานุพงศ์ มุ่งงาม ปลัด อบต.นาแก จ.ส.ต.ชูวิทย์ แดงประดับ และคณะ เป็นเจ้าภาพหลักเรื่อง หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่บ้านปลาอีด ตำบลนาแก ซึ่งคณะประทับใจมาก ทั้งการเซิ้งกลองยาวต้อนรับ (คณะสมทบเป็นขวัญกำลังใจ 3,000 บาท ) การไปดูงานกลุ่มไผ่เลี้ยงหวาน กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มกิ่งพันธุ์มะม่วง เป็นต้น ซึ่งหมู่บ้านนี้เป็นแหล่งผลิตกิ่งพันธุ์ต้นไผ่เลี้ยงหวานและกิ่งพันธุ์มะม่วงให้กับจังหวัดใกล้เคียงแถวนี้ สามารถทำรายได้ปีละ หลายล้านบาท จากนั้นดูงานที่โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ กำนัน บุญสอน ทองลือ นายก อบต.ดงแคนใหญ่ นายสินอุดม ศิลารักษ์ นายขจรเกียรติ อุปยโสธรผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ และคณะ เป็นสถานที่ดูงานระดับบริการปฐมภูมิ ขอขอบพระคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน รายชื่อ คณะ นบส. ที่มา ศึกษาดูงาน ณ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประกอบด้วย
หัวหน้าทีมอาจารย์ โดย นายแพทย์ธวัช จายนียโยธิน อดีต ผู้ตรวจการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือที่ คณะ นบส. ทุกคน เรียกท่านว่า อาจารย์ปู่ อาจารย์วันทนา วุฒิภาษ จาก สบช. อาจารย์ ศุภลดา รอดอาตม์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารสาธารณสุขภูมิภาค และ คณะ นบส. ประกอบด้วย นบส.ศิววงศ์ เหมือนละมั๊ย จาก สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นบส. เพชรวรรณ พึ่งรัศมี ศูนย์วัณโรค ที่ 12 ยะลา นบส.สุขุม วิรัตติพงศ์ องค์การเภสัชกรรม นบส.ธนิต เสริมแก้ว สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสตูล นบส.วารุณี ตันติวิสุทธิ์ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดระนอง นบส.จรรยา ทวีทอง โรงพยาบาลยะลา
ซึ่ง เมื่อวานนี้ ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ได้ร่วมต้อนรับ ที่ ศาลากลางจังหวัดยโสธร ตำกำหนดการดังนี้
เวลา 09.30 – 10.15 น. - การบรรยาย เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในรูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่ โดยนายวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
เวลา 10.30 – 12.00 น.-อภิปรายหมู่ เรื่อง การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธรสู่การ ปฏิบัติ และ ผลการ
ดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้นำอภิปราย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ผู้ร่วมอภิปราย หัวหน้าสำนักงานจังหวัด
ยโสธร เกษตรจังหวัดยโสธร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร พัฒนาการจังหวัดยโสธร
พาณิชย์จังหวัดยโสธร

นักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง รุ่นที่ 25 ณ คำเขื่อนแก้ว




วันที่ 26 พฤษภาคม 2552: นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะ หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน หลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ซึ่ง นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร นำคณะมา ตามกำหนดการดังนี้
เวลา กิจกรรม
09.00 น. นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และหัวหน้าส่วนราชการ พร้อมกัน ณ ห้องประชุม
09.09 น. นักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง และ อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 12 คน เดินทางถึง ห้องประชุม
09.15 น. -
09.30 น. นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว กล่าวต้อนรับ และ บรรยายสรุป
เรื่อง การนำยุทธศาสตร์ จังหวัดยโสธร สู่การปฏิบัติ และผลการดำเนินงานในระดับอำเภอที่ผ่านมา
09.45 น.
ถึง
12.00 น.
หัวหน้าส่วนราชการ ให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่ คณะศึกษาดูงาน ตาม หัวข้อ
“สมมุติบทบาทว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ท่านจะพัฒนางานใน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว
เพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ ชาติ และยุทธศาสตร์ของจังหวัด พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบบริหารแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อำเภอได้อย่างไร”
ซึ่ง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ขอความร่วมมือให้ส่วนราชการต่างๆได้เตรียมข้อมูล ตามหัวข้อดังกล่าว ตามลำดับดังนี้
ลำดับที่ 1 การบริหารในภาพรวมของอำเภอ โดย นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 2 งานบริหารงานปกครองอำเภอ คำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนทุกแห่ง
ลำดับที่ 3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและความมั่นคง โดย ผ.กก.สภ.คำเขื่อนแก้ว และ สัสดี อำเภอ คำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 4 การเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ โดย เกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 5 ด้านการเลี้ยงสัตว์ และการประมง โดย ปศุสัตว์อำเภอคำเขื่อนแก้ว และประมง อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 6 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดย พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ สภาเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ 7 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และพัฒนาสังคมโดย ท้องถิ่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 8 การพัฒนาท้องถิ่น ในเขตเทศบาล โดยนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 9 เศรษฐกิจและการเงิน โดย ผู้จัดการ ธกส.สาขาคำเขื่อนแก้ว และ ผจก. ธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 10 ด้านการศึกษา โดย ผอ. รร.คำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ ผอ.รร.อนุบาลลุมพุกวันครู(2503)
และ ผอ .กศน. คำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 11 ด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย วัฒนธรรมอำเภอ คำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 12 การอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ป่าไม้อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 13 การค้าขายและการลงทุนในอำเภอ โดย ประธานชมรมพ่อค้า อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 14 ระบบการบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพ โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ลำดับที่ 15 การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน โดยสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว
12.00น. รับประทานอาหารที่ ร้านไก่ย่าง เชลล์ชวนชิม บ้านดงแคนใหญ่
13.30-15.น. ศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับจังหวัด ปี 2551 ณ บ้านปลาอีด ตำบลนาแก
15.-16.3น. การจัดบริการสาธารณสุขโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบโรงพยาบาลตำบล ณ รพต.ดงแคนใหญ่

พระมหา กิตติ กิตติญาโณ:หลักปฏิบัติชาวพุทธ 8


วันที่ 25 พฤษภาคม 2552 : เตรียมข้อมูล เพื่อ เพื่อเสนอ ต่อ นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ในการนำเสนอผลงานของ อำเภอ ในวันพรุ่งนี้ ประสานการขอใช้ ห้องประชุม ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ ประสาน หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เพื่อเข้าร่วมต้อนรับ คณะ นบส. ในวันพรุ่งนี้ เวลา 15.29 น. นำเสนอข้อมูล ต่อ นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่ ห้อง ทำงาน นายสันติ คณานุรักษ์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ….. ตอนเย็น ประทับใจ การเทศนา ของ พระมหา กิตติ กิตติญาโณ จากสำนักปฏิบัติธรรมแสนธรรมคีรี ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อง
หลักปฏิบัติชาวพุทธ 8 ประการ
1. ชาวพุทธต้อง หมั่นปฏิบัติที่ชอบกิจ
2. ชาวพุทธต้อง คิดแต่สร้างสรรค์
3. ชาวพุทธต้อง ทำดีทุกวี่วัน
4. ชาวพุทธต้อง ช่วยกันพัฒนา
5. ชาวพุทธต้อง ศรัทธาความถูกต้อง
6. ชาวพุทธต้อง ยกย่องพระพุทธศาสนา
7. ชาวพุทธต้อง รู้จักใช้ปัญญา
8. ชาวพุทธต้อง เมตตาผู้ยากจน
“ อาตมา ส่งเสริมคนยากจนมามากมาย ส่งเสียจนเรียนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มาหลายคน ทำโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่หวังแม้แต่คำว่าขอบคุณ จากพวกเขา ...คิดได้เช่นนี้ ใจเราก็เป็นสุข เพราะไม่หวัง เราก้ไม่ผิดหวัง การช่วยเหลือคนยากจนเหล่านั้น มีจุดประสงค์เดียว คือ หวังให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระแก่สังคม ....”

ภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ปลูก ต้นตะกู


วันที่ 21 พฤษภาคม 2552: เข้าร่วมประชุม หัวหน้าส่วนราชการอำเภอคำเขื่อนแก้ว กำนัน และ นายก อบต. ทุกตำบล ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำเสนอเรื่อง ขอความร่วมมือ ให้ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วมต้อนรับและการให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่คณะศึกษาดูงาน หลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เวลา 09.09 -11.09 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว หมายเหตุ: ตอนเย็น ได้เห็ดปลวก เห็ดโคนจากพี่พ้น ปัญญาใส จำนวนมากพอ ที่จะใช้ เป็นอาหารเย็นในวันนี้ ร่วมกับญาติๆ อร่อยดีมาก
วันที่ 23 พฤษภาคม 2552 : วันหยุด พา ลูก ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ทำความสะอากลดบ้านเรือน จากนั้นไป ปลูกต้นไม้ และกำจัดวัชพืช ที่ไร่ วันนี้ ลงต้นตะกู แปลงประตูทางเข้า แดดร้อนมาก พวกเราช่วยกันปลูก ทั้งในในภาคเช้า และภาคบ่าย ส่วนนายหน่อย เพิ่มศักดิ์ พาคณะ มากำจัดวัชพืช ที่ไร่ 11 คน ตอนเย็น ให้ ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง เพาะต้นไม้ เปลี่ยนถุง จากถุงเล็กเป็นถุงใหญ่ อีก 50 ต้น
วันที่ 24 พฤษภาคม 2552 : พา ลูก ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ไปปลูก ต้นตะกู แปลงประตูทางเข้า อีก เป็นกิจกรรมที่ให้ลูกฝึกประสบการณ์ การทำงานกลางแดด ในหลายๆรูปแบบ โตขึ้นจะไดเอาตัวรอดในสังคมได้ และดำรงชีวิตในสังคมได้โดยมีภูมิคุ้มกันในตนเองในทุกรูปแบบ เที่ยงครึ่ง ไป เยี่ยมลูกสาว ที่ จังหวัดอุบลราชธานี บ่าย 3 พาครอบครัวไปรับประทานอาหารเที่ยง ที่ หาดคูเดื่อ อาหารอร่อย และบรรยากาศดีมากๆ ช่วงนี้ กำลังสวย น้ำไม่มากเกินไป เด็กๆสามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย ขอเชิญครับ...21.29 น. นายสถิต พูลเพิ่ม ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มาแวะที่บ้าน เพื่อรับหนังสือ ไปส่งลูกๆที่ จังหวัดอุบลราชธานี เด็กๆ ลืมหนังสือไว้ที่บ้าน โชคดี ที่พ่อปาน กลับมาจากหนอง คาย จะเข้ารับการ อบรม ผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง ที่ วพ.บ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี มีน้ำใจดี มาแวะรับไปส่งให้ ต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำ ณ โรงแรมวสุ




วันที่ 22 พฤษภาคม 2552: เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำ ณ โรงแรมวสุ ริมคลองสมถวิล ตรงข้า โรงพยาบาลมหาสารคาม อำเภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม ผู้เข้าร่วมประชุม จากคณะทำงานลุ่มน้ำชี ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง จากทุกภาคส่วน จาก จังหวัดยโสธร มีคนรู้จักที่เข้าร่วมประชุมด้วย เช่น นางรัชนี ชูรัตน์ รอง นายก เทศบาลตำบลตาดทอง นายภิมณฑ์ น้อยอาษา เลขานุการนายกเทศบาลตำบลตาดทอง และ นายก อบต.ผือฮี จาก อำเภอ มหาชนะชัย เป็นต้น จัดโดย สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4 ถนน อนามัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายบุรินทร์ ตันไพบูลย์กุล ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4 และคณะ วิทยากร จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการให้ภาคประชาชน จากทุกภาคส่วน ทั้ง ประชาชน องค์กร เอกชน ภาคราชการ อปท. สถาบันการศึกษา พระ ในฐานะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการมีและไม่มี น้ำ ในการดำรงชีวิต มาร่วมวางแผนการบริหารจัดการน้ำสำหรับพวกเขาเอง เดิม การพัฒนาเรื่องน้ำ ยังคงแยกส่วนตามหน่วยงาน องค์กร และเขตพื้นที่ปกครอง ซึ่งความเป็นจริงแล้ว น้ำ ไม่มีเขตแดน ต้องการการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ เพราะประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอีสานของเรา ในเขตลุ่มน้ำชีนี้ ไม่ได้ขาดแคลนน้ำ แต่ไม่สามารถนำน้ำต้นทุน ที่มีอยู่ปีละประมาณกว่า 1.5 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้เพียงปีละ 25% เท่านั้น ที่เหลือปล่อยให้ไหลทิ้งลงทะเลไป ที่ประชุมได้แผนการบริหารจัดการน้ำภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ดีมาก หมายเหตุ วิทยากร ถ่านทอดความรู้ได้ดีมาก เช่น อาจารย์ มานะ เก่งชูวงศ์ และ อาจารย์ อาจารย์วีระกุล ชายผา weecha@kku.ac.th จาก กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จาด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น ในการประชุมครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ พระนักพัฒนา จาก วัดธาตุ พระมหาจรูญโรจน์ ปาโส 0812875993 Fax & โทร 043589424 pjaroonroj@yahoo.com ขอขอบพระคุณท่านที่ได้ให้ข้อคิดที่ดีๆในการพัฒนาหลายๆด้าน พวกเราร่วมกันระดมความคิด กัน กลุ่มลุ่มน้ำชีตอนล่างของเรา ได้ วิสัยทัศน์ ในการพัฒนาลุ่มน้ำว่า ภายในปี 2560 ลุ่มน้ำชีตอนล่างจะมี การบริหารจัดการน้ำที่ดี เกษตรอินทรีย์ ยั่งยืน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พร้อมพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ....กว่าจะเสร็จเกือบ 5 โมงเย็น … หมายเหตุ วันนี้ผูกเนคไทค์ สีแดง ลายจุดสีฟ้า ผ้าไหม ของขวัญที่ถูกใจ จาก(ท่านอัยการ) นายอินทราพร จันทร์สว่าง น้องชาย ซื้อมาฝากเมือครั้งไปดูงานที่ฮ่องกง .... กลับถึงบ้าน เกือบ 2 ทุ่ม ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง กลับมาจากโรงเรียน ทำต้มไก่ ใส่มะขามปียก(จากคุณยายชม ธรรมรัตน์ )ให้พ่อเป็น และแม่ ทานร่วมกัน อาหารเย็น อร่อยดีมาก พ่อได้ลิ้นจี่ รสดี ที่ภูมิชอบ มาเป็นของหวานด้วย

หมอตี๋ ที่อนามัย แนวคิด นวตกรรม ที่น่าประทับใจ


วันที่ 20 พฤษภาคม 2552: ทำไมต้องเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: เข้าร่วมประชุม เรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ห้องพญาแถน สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ร่วมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ประธานการประชุม โดย ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร นายมงคล สุทธิอาคาร รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ทพ.ปรัชญ์ ขวัญคำ หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ สสจ.ยส. สาธารณสุขอำเภอ และผู้รับผิดชอบงาน โรงพยาบาลตำบล ทุกอำเภอ ในการประชุม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาระบบริการปฐมภูมิ ( Primary Care Unit : PCU ) ให้ทันสมัย มีคุณภาพได้มาตรฐาน (Quality) มีประ สิทธิภาพ (efficiency) สามารถตอบสนองตรงกับสภาพความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน ที่มีพลวัตได้อย่างทันสถานการณ์ (Social Accountability ) ไม่มีความซ้ำซ้อนกับบทบาท สถานพยาบาล ในระดับอื่น รวมถึง มีความสามารถในการรับ ส่ง ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงเป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ คุณภาพบริการ และความเป็นธรรม ในการเข้าถึง บริการได้ ตามโครงการขยายเครือข่ายบริการสุขภาพใกล้บ้าน ให้ทันสมัยได้มาตรฐาน ( Mega Project ปี 2553-2556 ) หรือ โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งมีที่มาจาก สภาพปัญหา คือ คนไข้มีความแออัดที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อันเกิดจากความไม่สมดุลของแผนการพัฒนาระหว่างบริการการแพทย์เฉพาะทาง กับการพัฒนาบริการสุขภาพแบบองค์รวม และการดูแลสุขภาพพื้นฐาน การให้ความสำคัญ กับการใช้เทคนิคการแพทย์ในการให้บริการของผู้ให้บริการมากกว่าการเข้าใจมิติความเป็น คน ของผู้รับบริการ การมุ่งเน้นพัฒนาโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ให้มีเครื่องมือ ทางการแพทย์ ราคาแพงมากกว่า การพัฒนา หน่วยบริการสุขภาพขนาดเล็กคือ สถานีอนามัย ให้มีศักยภาพในการดูแล สุขภาพพื้นฐาน ของประชาชน และสามารถใช้ความใกล้ชิด ของหน่วยบริการ ในการดูแลสุขภาพที่เข้าใจในความเป็นมนุษย์ เป็นที่ปรึกษาในการดูแลสุขภาพร่วมกัน และช่วยเสริมศักยภาพการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง จังหวัดยโสธร มี สถานีอนามัย ที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งสิ้น จำนวน 37 แห่ง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ โรงพยาบาลตำบลกู่จาน สถานีอนามัยย่อ สถานีอนามัยสงเปือย สถานีอนามัยโพนทัน และ สถานีอนามัยแคนน้อย ซึ่ง สถานีอนามัยที่เข้าร่วมโครงการคาดว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุน เป็น ครุภัณฑ์ 855,000 บาท และการปรับปรุงอาคารสถานที่ 500,000 บาท รวม 1,335,000 ประทับใจแนวคิด ที่ผมถือว่าเป็น นวัตกรรม สำหรับ ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ที่ท่านได้นำเสนอต่อที่ประชุม ที่น่าประทับใจ ในการแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งประเทศ เรื่อง “ หมอตี๋ ” หรือเภสัชกร เวชปฏิบัติ สำหรับปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลตำบล เหตุผล เพราะ
1. เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถด้านยา ดีอยู่แล้ว
2. เภสัชกร กำลังตกงาน จำนวนมาก(ข้อมูลปัจจุบัน เภสัชกร จบปีละประมาณ 1,500คน กว่าครึ่งหนึ่งตกงาน)
3. เพียงฝึกอบรมหลักสูตร เวชปฏิบัติให้กับเภสัชกร และให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติงานแทนแพทย์ได้ เพื่อให้การรักษาในระดับปฐมภูมิได้
19.09 น. ตอนเย็นไปร่วมงาน ฉลองมงคลสมรส รักนี้ไม่มีวันสิ้นสุด เตย & บอย ระหว่าง นส.ฤทัยทิพย์ ทำทอง กับนายจิตกร ปองปาน (คนบ้านนาถ่ม) ที่บ้าน คุณยายยุ่น รวมธรรม ณ บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 7 บ้านบกน้อย น้องเตย คือ ลูกสาว ช่างโรย ทองพูล ทำทอง กับนางจินตนา รวมธรรม พี่สาว ของ น้องตุ๊ สุติมา สุตะคาน ของเรานี่เอง ขอให้คู่บ่าวสาวจงมีความสุขตลอดไปนะครับ

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลย่อ




วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 : เป็นกรรมการการประกวดคุ้มหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ที่บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลย่อ ในงาน ชุมชนบ้านสว่างสดใน หัวใจไม่เครียด ผลงานที่น่าประทับใจ ของ กำนันคนเก่ง นายไพบูลย์ สว่างแสง ร่วมกับชาวบ้านทั้ง 4 คุ้ม ประกอบด้วย
คุ้มคำเกษตรสมบูรณ์ หัวหน้าคุ้ม นายวิชัย สว่างแสง
คุ้มกลางสามัคคี หัวหน้าคุ้มนาย พิทักษ์ นามแก้ว
คุ้มหนองบัวแดง หัวหน้าคุ้มนาย ทองคำ ทองทศ
คุ้ม ตะวันยอแสง หัวหน้าคุ้มนาย วิชิต ก้อนผา
ภายใต้การดำเนินงานที่ดีของเจ้าภาพ หลักคือ สถานีอนามัย ย่อ โดย นางอุศมา นามแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัยย่อ
นส.อุทัยวรรณ สุภี จพ.ทันตสาธารณสุข ชำนาญงาน สอ. ย่อ นางน้ำผึ้ง คุ้มครอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการสอ. ย่อ แขกผู้มีเกียรติ ที่ร่วมในงานนี้ อาทิ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายอุดร สมจิตร นายก องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ย่อ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และ คณะกรรมการ ประกอบด้วย นายอุตส่าห์ โพธิ์ศรี หัวหน้าสถานีอนามัยกุดกุง นายสมัคร พุ่มทอง หัวหน้าสถานีอนามัยทุ่งมน นายอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัยโพนทัน
คุณแม่ พวง พิจารณ์ 79 ม. 4 ได้ให้บทกลอน คำผญา ที่ประทับใจว่า ...บ้านต่างบ้าน บ้านห่างไกลกัน ขอสัมพันธ์ความรัก ฝากไมตรีกันไว้ ...
พี่ขาว พ่อสุทิน นามแก้ว นายพิทักษ์ นามแก้ว
จากการเห็นการไปพบปะให้นโยบายและพูดคุยกับประชาชน ของนายอุดร สมจิตร นายก องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ย่อ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว แล้ว เห็นว่าบุคคลนี้ เป็นผู้บริหารหนุ่มที่มีวิสัยทัศน์ที่ดี ในการพัฒนาท้องถิ่น ดีมาก เช่นการพูดคุย สอบถามปัญหา จากประชาชน ในคุ้มต่างๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการพัฒนา รวมทั้ง ท่านเห็น ความสามัคคี ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของบ้านสว่างแล้ว ท่านประทับใจ ในปีต่อไป ท่านมีโครงการที่จะขยาย การพัฒนาเป็นทั้ง ตำบล เป็นต้น
ผลงานที่น่าประทับใจของชาวบ้านในงานวันนี้ เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน ทุกหลังคาเรือนสะอาดสะอ้าน สิ่งแวดล้อมดี มีความสามัคคีประชาชนทุกหลังคาเรือนมีส่วนร่วมและเต็มใจให้ความร่วมมือในการพัฒนาครัวเรือนและคุมของตน ต่างนำของดีประจำคุ้มออกมาแสดง ทั้งพืชผัก สวนครัว รั้วกินได้ ผักปลอดสารพิษ ผลไม้ตามฤดูกาล การเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงสัตว์ กลุ่มปลูกเห็ด ซึ่งสรุปว่า ตลาดสด ใน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว และอำเภอใกล้เคียง ส่วนมากจะได้ผักจากหมู่บ้านนี้ป้อนสู่ตลาด ถือได้ว่า บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลย่อ เป็นครัวของจังหวัดยโสธร ก็ได้ ซึ่ง ควรที่ประชาชนในหมู่บ้านนี้จะได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป ทั้งจาก ในระดับ ท้องถิ่น และในระดับจังหวัดต่อไป นอกจากนั้น มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าประทับใจ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ควรได้รับการสืบทอดหลายๆอย่าง และมีสอย ที่จำได้ เช่น สอยๆ นกแตดแต้บินข้วมปลายตาล สีแม่มาน ปานว่าอุ้มไหเหล่า ...
ส่วน อสม.เกษมศรี ตริเทพ ได้นำเสนอนวตกรรม ที่ผมประทับใจ คือ กองทุนน้ำใจ สายใยผูกพันธ์ หลักการคือ หมู่บ้านนี้ ไม่มี สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาล หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะไม่มีพาหนะ พาไป สถานพยาบาล หรือ มีบางครั้ง ก็ไม่มีเงินในการใช้จ่ายในการดังกล่าว หรือ บางคน คุณพ่อ คุณแม่ไม่อยู่ มีแต่เด็ก ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อสม. เกษมศรี ตริเทพก็จะแนะนำให้ใช้จ่ายเงินจาก กองทุนน้ำใจ สายใยผูกพัน นี้ไปก่อน พอได้ทุเลาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซึ่งเป็นแนวคิดและการปฏิบัติที่ดี สมควรได้รับการสนับสนุน และคำชื่นชม ส่วนเงินกองทุนนั้น ได้จากคนในหมู่บ้านช่วยกันออกสะสม คนละ 5 บาทบ้าง 10 บาท บ้าง 100 บาทบ้าง ตามกำลังศรัทธาและทุนทรัพย์

ทีมแม่บ้าน ร้องสรัญญะ และเพลงกล่อมลูกที่น่าประทับใจ นำโดย แม่ลออศรี สว่างแสง และทีมงาน เป็นต้น
น้องไกรสร ดงบัง 0859909129 คนดี เสียสละ มีน้ำใจมาช่วยงานประจำคุ้ม วันนี้ทำหน้าที่พิธีกร จบปริญญาตรี แล้ว ดูเป็นคนมีแวว ที่จะเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต

อาหารเย็นวันนี้ ฝากท้องไว้กับป้าณี ป้ารจ อ๋อยและลุงชาญ เพราะ ภรรยา อริยวรรณ จันทร์สว่าง ไปร่วมงานเลี้ยงรับ ส่ง จนท. ที่โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

5/18/09

มาตรการ 3 ร. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) : รั้วล้อม รุกล้ำ รักษา



วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 :มาตรการ 3 ร. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) : รั้วล้อม รุกล้ำ รักษา
เวลา 13.49 น. ประชุม หัวหน้าสถานีอนามัย ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว วาระเร่งด่วนคือ การเตรียมรับสถานการณ์ การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ เม็กซิโก หรือ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ ชื่อปัจจุบันที่เป็นทางการล่าสุด ไข้หวัดใหญ่ ชนิด A H1N1
สรุปย่อ การประชุม เช่น ส่วนมาตรการ ในระดับประเทศคือ ล้อมรั้ว รุกล้ำ รักษา หรือ จำง่ายๆว่า 3 ร. รั้วล้อม รุกล้ำ รักษา
1.ล้อมรั้ว : มาตรการสกัดกั้น การดำเนินที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศทุกแห่ง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในประเทศ รวมทั้ง ใช้ Thermo scan ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ทั้งภาคพื้นดิน และ ท่าอากาศยาน เป็นการล้อมรั้วจากนอกประเทศ ไม่ให้มี Case Import เข้ามา
2. รุกล้ำ : มาตรการค้นหาและแก้ไข การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว และให้การวินิจฉัยรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ การจัดทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอ รวมทั้งการอบรมความรู้แก่ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน และให้คำแนะนำการป้องกันโรคแก่ประชาชน และ มาตรการเตรียมความพร้อมในวงกว้าง เน้นการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันตนเองได้ เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาใกล้เปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขขอให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ และสถานศึกษา ดังนี้
3. รักษา : หากมี Case ต้อง ให้การรักษาให้ทันเวลา เตรียมพร้อมสถานพยาบาล บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และยาและเวชภัณฑ์ที่เพียงพอ
สำหรับคำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้ประชาชนมั่นใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาการที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ และที่สำคัญต้อง สร้างสุขนิสัยการป้องกันโรค โดยกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอโดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิดและสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น หากมีผู้รู้จักซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วยเป็นไข้ภายใน 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาทันที
ทั้งนี้ ให้ สถานีอนามัยทุกแห่ง ให้ความสำคัญ โดย มีศูนย์ปฏิบัติการ การเฝ้าระวังโรคในระดับ สถานีอนามัยและตำบล การรายงาน ของ สอ. ให้ รายงานหากว่า มี Case ทุกกรณี และแม้ไม่มี Case ก็ให้ สอ.ทุกแห่ง รายงาน เป็น Zero Report รายงานตามระบบที่ หัวหน้างานควบคุมโรคได้วางระบบไว้ หรือสามารถ รายงานได้ทาง โทรศัพท์ ที่ นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 045581099 หรือ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว 045771191 Criteria ในการคัดกรองเช่น ประวัติมีไข้ 38 c ขึ้นไป ร่วมกับ อาการไอ เจ็บคอ ปวดศรีษะ มีน้ำมูก เป็นต้น สำหรับ .....สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) นั้น นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว หัวหน้างานควบคุมโรค สสอ.คำเขื่อนแก้ว อ้างถึง องค์การอนามัยโลกรายงานว่า (ณ วันที่ 11พฤษภาคม 2552) พบผู้ป่วยใน 30 ประเทศ จำนวน 4,694 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย) และแนะนำผู้ที่มีไข้หรือมีอาการไม่สบาย ให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อนจนกว่าจะหายเป็นปกติ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหากมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที วิธีปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้จำกัดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ รวมทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกแสดงว่า ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่พบโดยเฉพาะที่พบนอกประเทศเม็กซิโก ไม่ได้มีความรุนแรงมากดังที่วิตกกันในช่วงแรกที่เริ่มพบการระบาด โดยมีลักษณะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ที่พบตามฤดูกาลเป็นประจำทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ส่วนผู้ป่วย 3 รายที่เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พบว่ามีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
ซึ่งสรุปข้อมูล ณ 12 พฤษภาคม 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงการพบผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) จำนวน 2 ราย ซึ่งติดเชื้อจากประเทศเม็กซิโก เริ่มมีไข้หลังจากเดินทางมาถึงประเทศไทย ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสครบชุด หายเป็นปกติไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้รับยาต้านไวรัสครบชุดและติดตามเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้ใดมีอาการป่วยแต่อย่างใด สามารถมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ

รถยนต์ใหม่ สสอ. (ดีเซล) ดับเลิ้ลแค็ป 4 ประตู ขนาด 2500 ซีซี



วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 : รถยนต์ใหม่ สสอ. (ดีเซล) ดับเลิ้ลแค็ป 4 ประตู ขนาด 2500 ซีซี
(1) ภาคเช้า เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ตามที่ที่ สถานีอนามัยย่อได้จัดซื้อ ซึ่งตรวจรับ พัสดุ ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว ตรวจรับร่วมกับคณะกรรมการ อีก 3 คน ประกอบด้วย นายอุตส่าห์ โพธิ์ศรี หัวหน้าสถานีอนามัยกุดกุง นายสมัคร พุ่มทอง หัวหน้าสถานีอนามัยทุ่งมน นายคมสัน อดกลั้นหัวหน้าสถานีอนามัยนาแก นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เจ้าหน้าที่พัสดุ นางอุศมา นามแก้วหัวหน้าสถานีอนามัยย่อ ผู้รับพัสดุ โดยมี นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ คณะ จนท. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว ร่วมเป็นสักขีพยาน รถยนต์(ดีเซล) ดับเลิ้ลแค็ป 4 ประตู ขนาด 2500 ซีซี เครื่องยนต์ดีเซล พร้อมเครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ ติดตั้งจากโรงงาน ขับเคลื่อน 2 ล้อ สีบรอนด์เงิน ส่วน กข.5212 นั้น สอ.ย่อ ได้นำไปใช้ในราชการ ที่ สอ.ย่อ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
(2) เตรียมเอกสารประกอบการจัดสรรงบประมาณ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้กับ สถานีอนามัยทุกแห่ง
(3) ไปร่วมรับประทานอาหารเที่ยงที่ สถานีอนามัยดงเจริญ เนื่องในโอกาส การประชุม เครือข่ายงานสุขภาพจิต อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ที่ นางจำนรรจา บุญแจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ คณะ จนท. สถานีอนามัยทุกแห่ง จัดขึ้นที่ สถานีอนามัยดงเจริญ นายอาณัติ ศรีเธาว์ หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ นางระพีพรรณ สว่างแสง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. ดงเจริญ นายบุญทศ ประจำถิ่น จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน สอ. ดงเจริญ จัดเตรียมสถานที่อำนวยความสะดวกแก่ทีมงานได้ดีมาก วิทยากร โดย พี่ บล จินตนา พลมีศักดิ์ จาก สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร และ คณะ จาก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

ดีใจได้ต้อนรับเพื่อนๆ มาร่วมงานบุญบั้งไฟบ้านบกน้อย

วันที่ 17 พฤษภาคม 2552 : ดีใจได้ต้อนรับเพื่อนๆ มาร่วมงานบุญบั้งไฟบ้านบกน้อย
...ต้อนรับคณะญาติและเพื่อนร่วมงานที่ มารับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน เนื่องในโอกาส บุญประจำปี งานประเพณีบุญบั้งไฟบ้านบกน้อย ภรรยา และลูก นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ช่วยกันเตรียมอาหาร และอปกรณ์สำหรับรับรองแขกที่มาเยือน เริ่ม เวลา 11.09 น. ต้องขอขอบพระคุณ ครอบครัวคุณอ้วน นายบัณดิษฐ สร้อยจักร จงจิต สร้อยจักร พร้อม น้องเบส น้อง บรูคส์ ที่มาเป็นพ่อครัว แม่ครัว ในงานครั้งนี้ พร้อมทั้ง ภาคบ่าย น้องเบส น้อง บรูคส์ ไปซื้ออุปกรณ์การเรียนที่ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ มีน้ำใจให้ ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง เดินทางกลับ จังหวัดอุบลราชธานีด้วย ซึ่ง ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง โทรมาบอกพ่อว่า น้าอ้วน กับน้าแอ๋ว พร้อม น้องเบส น้อง บรูคส์ ได้ไปส่งถึง หน้าหอพัก เลย จากนั้น คณะเพื่อนๆร่วมงานที่ให้เกียรติมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน อีก รวม 7 ครอบครัว ประกอบด้วย ครอบครัว นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นางพิไลลักษณ์ จักรวรรณพร ครอบครัว นายทรงพล พลไชย นางโสภิดา พลไชย ครอบครัว จสอ.บุญนุ่ม วงชาลี นางสุนิสา วงชาลี นายหนุ่ม และ น้องแพร สุภาภรณ์ เกษมณี ซึ่ง นายหนุ่มของเราขึ้นมะพร้าวน้ำหอมได้มากเลยทีเดียว พวกเราได้ดื่มน้ำมะพร้าวหอมๆ จาหนายหนุ่มคนเก่งของเรา นอกนั้นมี คณะ เภสัชเปิ้ล จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว มี ภก. กาญจนพงศ์ เพ็ญทองดี ภกญ. ปาน้อย น้องตุ่ย อุไรวรรณ กกจันทรื น้องช้าง ไมรตรี มุลตรีภักดิ์ เป็นต้น ภาคบ่าย ครอบครัว นายวิทยา เพชรรัตน์ กัญญารัตน์ เพชรรัตน์ น้องลูกน้ำ ตอนเย็น ครอบครัว นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง เรืองลักษณ์ จันทร์สว่าง และ ดช.พงศธร จันทร์สว่าง ซึ่งหลังรับประทานอาหารเย็น เอฟ MSN คุยกับภูมิ เรื่อง อ่านการบ้านสรุปหัวข้อข่าว Thenation และ Bangkokpost เป็นต้น

5/16/09

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒

วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 สรุปและศึกษา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารงานภายใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และ สถานีอนามัย ทุกแห่งต่อไป
สรุป รายการที่เปลี่ยนแปลง จาก
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒
……
การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อและการจ้าง
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๓๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติ
เบื้องต้น ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอย่างน้อยห้าคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความ รับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และในจำนวนนี้ต้องมีผู้ชำนาญการในเรื่องที่จัดซื้อหรือ จัดจ้างนั้นอย่างน้อยหนึ่งคน”
สรุป ไม่จำกัดระดับของข้าราชการ แต่ยังต้องแต่งตั้งข้าราชการเป็นคณะกรรมการ รวมอย่างน้อยหกคน
(แต่งตั้งลูกจ้างไม่ได้)
....ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป....เดิม ข้อ ๓๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน
โดยให้แต่งตั้งจาก ข้าราชการระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
และจะต้องมีผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย ๑ คน

การซื้อการจ้าง หมวดกรรมการ
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๓๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๕ คณะกรรมการตามข้อ ๓๔* แต่ละคณะ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย
หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการ ด้วยก็ได้”

ไม่จำกัดระดับของข้าราชการ ( ลูกจ้างไม่ได้)

* ข้อ ๓๔ มีรายละเอียดคือ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลา ในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
(๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
(๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(๔) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
(๕) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
(๖) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
(๗) คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ให้คณะกรรมการแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณา ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็น

….ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิมข้อ ๓๕ คณะกรรมการตามข้อ ๓๔ แต่ละคณะให้ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคล ที่มิใช่ข้าราชการ ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งข้าราชการ ที่มีคุณสมบัติ ดังกล่าวข้างต้น ทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน

การจ้างที่ปรึกษา การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย กรรมการ
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘๐ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๘๐ คณะกรรมการตามข้อ ๗๙ ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น
อย่างน้อยสี่คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ
โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ในกรณีจำเป็นหรือ
เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทนจากส่วนราชการอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ
ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาอีกไม่เกินสองคนเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทนจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะด้วยหนึ่งคน”

......ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิม ข้อ ๘๐ คณะกรรมการ ตามข้อ ๗๙ ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการ อย่างน้อย ๔ คน โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัด ตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทน จากส่วนราชการอื่น หรือบุคคล ที่มิใช่ข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษา เป็นกรรมการด้วย และในกรณี การจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทน จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ด้วย ๑ คน …….

การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การจ้างโดยวิธีตกลง
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๙๘ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลงแต่ละครั้ง ให้หัวหน้า
ส่วนราชการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และอาจมีผู้ชำนาญการในกิจการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าวต้องมี จำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้”
....ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิมข้อ ๙๘ ในการดำเนินการ จ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยวิธีตกลง แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลง ขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้ เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๑ คน และควรมี ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนี้ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
คณะกรรมการดังกล่าว ต้องมีจำนวน ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้ …..
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การจ้างโดยวิธีคัดเลือก
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๑๐๑ แห่งระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการรับซองเสนองาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอย่างน้อย
สองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ
โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น
อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน
ของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และอาจมี
ผู้ชำนาญการในการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย”
.......ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิม ข้อ ๑๐๑ ….คณะกรรมการรับซองเสนองาน ให้ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน คณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก ให้ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน และควรมี ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนี้ เข้าร่วมด้วย
คณะกรรมการ ดังกล่าวในข้อนี้ ต้องมีจำนวน ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้ …..
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
การตรวจและรับมอบงาน
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๑๑๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น
อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน
ของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และอาจมี
ผู้ชำนาญการในกิจการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย”
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
จนกว่าจะแล้วเสร็จ
....ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิม ข้อ ๑๑๖ ในการจ้าง ออกแบบและควบคุมงานแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน เพื่อปฏิบัติการ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน
ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน และควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าว ต้องจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้ …
ฉบับอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕ เพิ่มเติม 1 ข้อ คือ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ในข้อ 18 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
พัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
"(6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด"
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่เปลี่ยนแปลงคือ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" ในข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตร ี ว่าด้วยการพัสด ุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ข้อวามตอ่ ไป
นี้แทน
""โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" หมายความว่า โรงงานที่ได้รับการ
รับรองระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๙๐๐๑ หรือ มอก. ๙๐๐๒ ในกิจการและ
ขอบข่าย ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือหน่วยงานที่กระทรวงอุตสหกรรมให้การรับรองระบบงาน (accreditation)"
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทาง...ทั้งนี้ควรดูจากต้นฉบับจริงด้วย
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.tu.ac.th/internet/ref/regulations/gbid/
นิติกร ประจำสำนักงานของท่าน หรือ สำนักนายกรัฐมนตรีครับ...555
http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/

คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 H1N1



วันที่ 17 พฤษภาคม 2552 คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 H1N1 ช่วงนี้สิ่งเป็นข่างดังทั้งในระดับโลก และระดับประเทสคือ การระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ที่แรกเริ่มเดิมที เกิดขึ้นที่ ประเทส Mexico จนชาวโลกเรียกชื่อว่า Mexican Flu ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Noval Flu 009 ซึ่ง ได้ออก คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 เป็นระยะๆมา จนถึงปัจจุบัน ฉบับที่ 4
จากสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และในขณะนี้เริ่มพบผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแล้ว ซึ่งจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วยใน 29 ประเทศ จำนวน 3,440 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย)
กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามจัดระบบงานการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีความเข้มแข็ง สามารถรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ ได้ สำหรับการป้องกันแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ กระทรวงสาธารณสุขเน้นมาตรการสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) มาตรการสกัดกั้น การดำเนินที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศทุกแห่ง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในประเทศ 2) มาตรการค้นหาและแก้ไข การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว และให้การวินิจฉัยรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ การจัดทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอ รวมทั้งการอบรมความรู้แก่ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน และให้คำแนะนำการป้องกันโรคแก่ประชาชน และ 3) มาตรการเตรียมความพร้อมในวงกว้าง เน้นการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันตนเองได้
เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาใกล้เปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขขอให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ และสถานศึกษา ดังนี้

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
ขอให้ประชาชนมั่นใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาการที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ สร้างสุขนิสัยการป้องกันโรค โดยกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอโดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
หากมีผู้รู้จักซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วยเป็นไข้ภายใน 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาทันที

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค
• หากท่านมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อให้การดูแลท่าน และเพื่อประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบินและบนเครื่องบิน
• ประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง หากพบว่าท่านมีไข้ จะมีแพทย์ตรวจและให้การดูแลท่าน ณ จุดคัดกรอง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
• สำหรับผู้ที่ไม่มีไข้และไม่มีอาการป่วย ควรสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
• ระหว่างสังเกตอาการ หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ ร่วมกับ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์ พร้อมแสดงบัตรเตือนเรื่องสุขภาพที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป
• หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงานหรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้านหรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
• ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น

คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา
• ขอให้ทางโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง ตรวจสอบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน ขอให้สังเกตอาการตนเองจนครบ 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วยและให้การวินิจฉัยรักษา และหยุดเรียนจนกว่าจะหายดี
• ขอให้ครูประจำชั้นตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนและตรวจอาการนักเรียนในแต่ละวัน หากพบนักเรียนมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีนักเรียนขาดเรียนมากผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ หากสงสัยว่าขาดเรียนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ (เขตกรุงเทพมหานคร แจ้ง โทร. 0 2246 0358 หรือ โทร. 0 2245 8106 นอกกรุงเทพมหานคร แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์
• ขอให้โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการล้างมือ เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ฯลฯ และรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียนล้างมืออย่างถูกต้อง ซึ่งในชั้นต้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนหน้ากากอนามัยจำนวนหนึ่ง เพื่อสำรองไว้ที่ห้องปฐมพยาบาล สำหรับให้นักเรียนที่ป่วยสวมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง จาก กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 10 พฤษภาคม 2552

Thailand today : Saphan Taksin-Wong Wian Yai skytrain route



Thailand today
PM Abhisit Vejjajiva presides over a launching of new Saphan Taksin-Wong Wian Yai skytrain route on Friday before leaving for Hong Kong on a working visit.// Prasert Thepsri

New Saphan Taksin-Wong Wian Yai skytrain route which is across the river for the first time is opened for public on Friday. Passengers could have free ride for three months, starting today until August 12.//Chaiwat Pumpuang

Health officials set up thermal scans in Chiang Mai International Airport to prevent spreading of Influenza A(H1N1). The scans focused on visitors from a group of countries including Mexico, UK, USA, Spain and Canada.//Kwandao Jitpana

thanks data from thenation.co.th

วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดยโสธร


วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 (4) เข้าประชุม ที่ห้องประชุมเล็ก ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ประธานการประชุมโดย ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ผู้เข้าร่วมประชม อาทิ นพ.ศิษฎิคม เบ็ญจะขันธ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายชำนาญ มาลัยสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร เป็นต้น ... การประชุมเพื่อรับรองการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของผู้รับการฝึกอบรม หลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุข ระดับสูง รุ่นที่ 25 ประจำปี 2552 ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับ 8-9 จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีกำหนดการฝึกปฏิบัติงานในระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2552 และมีกำหนดการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 ซึ่ง ศึกษาดูงานเรื่อง การนำยุทธศาสตร์ จังหวัดยโสธร สู่การปฏิบัติ และผลการดำเนินงานในระดับอำเภอที่ผ่านมา และศึกษาดูงานในพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งผู้ที่มาศึกษาดูงานจำนวน 24 คน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะผู้บริหารในเรื่อง การทำงานเป็นทีม การพัฒนาทีมงาน การบริหารจัดการ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำเสนอการแก้ไขปัญหา และการพัฒนางานที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีประเด็นที่ศึกษาคือ สมมุติบทบาทว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านจะพัฒนางานในจังหวัดที่รับผิดชอบเพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ ชาติ และยุทธศาสตร์ของภูมิภาค พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบบริหารแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างไร อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เช่น ชุมชนเข้มแข็ง ที่ สถานีอนามัยนาเวียง กลุ่มเยาวชนเข้มแข็งที่สถานีอนามัยแคนน้อย สถานีอนามัยกู่จาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านปลาอีด หรือ การทำงานร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ โรงพยาบาลตำบลกู่จาน เป็นต้น ข้อมูลนำเข้าคือยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร

วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดยโสธร

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับบที่ 10 ( ปี 2550- 2554) มีวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดยโสธร ว่า “ยโสธร เมืองน่าอยู่ การเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ก้าวไกลสู่สากล”
ประเด็นยุทธศาตร์ การพัฒนาจังหวัดยโสธร มี 5 ประเด็น คือ
ประเด็นยุทธศาตร์ 5 ประเด็น เป้าประสงค์
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
การคมนาคมสะดวก แหล่งน้ำพอเพียง ประชาชนมีอาชีพรายได้ในระดับอยู่ดีกินดี

2. การยกระดับคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ได้รับบริการสวัสดิการสังคม ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง อย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม หมู่บ้าน ชุมชน เข้มแข็ง

3. การอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมดีมีการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ

4. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ทุกภาคส่วนและเสริมสร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย
องค์กรในจังหวัดบริหารงานตามหลักธรมาภิบาล ประชาชนพึงพอใจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

5. การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพ การผลิต เกษตรอินทรีย์ให้ครบวงจร

กลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดยโสธร 14 กลยุทธ์
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก มี 3 กลยุทธ์
1.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและระบบแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
1.2 การส่งเสริมการผลิตการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยว
ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 การพัฒนาการส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร และการมีงานทำให้มั่นคงเพื่อขจัดความยากจน

2. การยกระดับคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มี 5 กลยุทธ์
2.1 การพัฒนาระบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและการเสริมสร้างสุขภาพปราชน
2.2 การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม และการดูแลผู้ด้อยโอกาส
2.3 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 การพัฒนาแหล่งน้ำเพือการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน
2.5 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเอง
3. การอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี 2 กลยุทธ์
3.1 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 ส่งเสริมการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ทุกภาคส่วนและเสริมสร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย มี 2 กลยุทธ์
4.1 ส่งเสริมให้องค์กรทุกภาคส่วนบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และให้การบริการที่ดี
4.2 รักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
5. การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร มี 2 กลยุทธ์
5.1 ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปผลผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานปลอดภัย
5.2 ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

13 แผนงาน / โครงการ ตามแผนการตรวจราชการและนิเทศงานประจำปีงบประมาณ 2552


วันที่ 15 พฤษภาคม 2552: (1) นางจำนรรจา บุญแจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เข้าประชุมวิชาการเองโรคซึมเศร้า ณ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
(2) ประสานการปฏิบัติงานเพื่อรองรับ การตรวจราชการ รอบที่ 2 ตาม รายละเอียด การรับการตรวจราชการ รอบที่ 2 จาก กระทรวงสาธารณสุข ถึงสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ดังนี้ ซึ่งให้แต่ละอำเภอ เตรียม รายละเอียดตาม แผนการตรวจราชการจาก กระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
1. สรุปผลการดำเนินงาน ภาพรวมทั้ง จังหวัด อำเภอ ในงานปกติของท่าน
2. นำเสนอผลงานด้วยเอกสาร และ เตรียม ข้อมูล Electronic File ไว้ให้พร้อม
3. การตรวจราชการและนิเทศงาน รอบที่ 2 เน้นที่กระบวนการดำเนินงานตามแผนและผลสัมฤทธิ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยประเด็นสำคัญในการตรวจติดตาม รอบที่ 2 ให้จังหวัด อำเภอ เตรียมการนำเสนอข้อมูล ดังนี้
(1) ติดตามสถานการณ์ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา และผลผลสัมฤทธิ์ต่อการดำเนินงานตามแผนการแก้ปัญหาตามโครงการ 13 โครงการ
(2) วิเคราะห์ปัจจัย / กลยุทธ์ที่ทำให้ผลงานสำเร็จ
(3) วิเคราะห์ปัจจัย / อุปสรรค ที่ทำให้ผลงานไม่สำเร็จ
(4) สรุปผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดในแผนการตรวจราชการฯ
(5) แนวทางการดำเนินงานที่ทำให้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
6) ความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานในส่วนกลาง

13 แผนงาน / โครงการ ตามแผนการตรวจราชการและนิเทศงานประจำปีงบประมาณ 2552
4. แผนการตรวจราชการกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2552
4.1 แผนงาน/โครงการ ตามแผนการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2552 ประกอบด้วย 13 แผนงาน/งาน ได้แก่
(1) งานตามพระราชดำริฯโครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ ( / )
(2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
(3) การสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( / )
(4) การพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ( / )
(5) การลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากยาเสพติด( / )
(6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสุขภาพในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน( / )
(7) การขับเคลื่อนงานสาธารณสุขเชิงรุก( / )
(8) ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น( / )
(9) การควบคุมโรคติดต่อ( / )
(10) การควบคุมโรคไม่ติดต่อ( / )
(11) งานคุ้มครองผู้บริโภค( / )
(12) การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก( / )
(13) การสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ( / )
4.2 แผนการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วย
จำนวน 2 โครงการ คือ
(1) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
(2) โครงการดูแลสุขภาพนักเรียนเพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2552
(3) ประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ให้กับ สถานีอนามัย นาเวียง ความเดิม....ตามที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วได้พัฒนาสถานีอนามัยนาเวียงซึ่งมีการบริหารงานและการบริการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และพร้อมให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ 3 วัย สายใยรักแห่งครอบครัวต้นแบบของจังหวัดยโสธร พร้อมกันนี้สถานีอนามัยได้พัฒนาเพื่อเป็นตัวแทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เพื่อรองรับการประกวด ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น และ การประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับเขตต่อไป ซึ่งสถานีอนามัยนาเวียงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ ด้วยดี และสถานีอนามัยนาเวียงได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรให้จัดนิทรรศการโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมถ์ และเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เจริญพระชนมายุ 57 พรรษา ในปี พ.ศ.2552 ณ สถานีอนามัยนาเวียง ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2552 โดยมี นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธานในงาน ดังกล่าวนั้น
เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ และประชาชน ในเขตบริการของสถานีอนามัยนาเวียง ที่ให้ความร่วมมือในการจัดนิทรรศการฯครั้งนี้ด้วยดี และมีผลการจัดนิทรรศการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ฉะนั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จึงขอความร่วมมือมายังท่าน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร สำหรับสนับสนุนการจัดกิจกรรมดังกล่าว

ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น นาเวียง วัดนาถ่มวัส่งเสริมสุขภาพดีเด่น



วันที่ 13 พฤษภาคม 2552: (1) จนท.จาก สสอ.และสอ.ทุกแห่ง มี ประชุมวิชาการ 2 งานในวันนี้ คือ ระบบ ICD_10 ในระบบงานข้อมูลข่าวสาร ที่ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร และ ประชุมวิชาการ การเตรียมความพร้อมการใช้บัตรประชาชน แทนบัตรทอง ในงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายทศพล แสนสวาสดิ์นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เป็นวิทยากรหลักการอบรม ประชาชนในเขตทศบาล ในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาชุมชน ตามโครงการเมืองน่าอยู่และ หน้าบ้านน่ามอง ที่สำนักงานเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
(2) ประสานข้อมูลสำหรับ จังหวัดยโสธรแจ้งสำรวจรายชื่อผู้มีความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการ ปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด) ปีงบประมาณ 2553 ซึ่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว มีผู้มีความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว จำนวน 3 คน
(3) ออกแบบ แบบฟอร์ม การรายงานผลการปฏิบัติงาน ของ อสม. รายบุคคล
สรุปการรายงานผลการปฏิบัติงาน ของ อสม. รายหมู่บ้าน และแบบ สรุปการรายงานผลการปฏิบัติงาน ของ อสม. ราย สถานีอนามัย เพื่อให้เป็นแบบฟอร์มเดียวกัน ทั้ง อำเภอ ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการข้อมูล ในภาพรวม ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานต่อไป
(4) เวลา 15.09 น. ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร นำคณะผู้บริหาร จากระดับ จังหวัดและอำเภอ ทุกอำเภอ ร่วมรณรงค์ โครงการ จังหวัดยโสธรไร้พุง มุ่งสู่สุขภาพดี ที่ หน้า ศาลากลาง จังหวัดยโสธร
Today…Thier Majesties the King and the Queen, HRH Prince Maha Vajiralongkorn and HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn, visiting President of Laos Choummaly Sayasone and his wife pose for photos Tuesday. Choummaly is making a state visit to Thailand.

วันที่ 14 พฤษภาคม 2552: (1) ตรวจสอบรายละเอียดและความถูกต้อง การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2552 รอบประจำเดือน เมษายน 2552 ตามคำสั่ง จังหวัดยโสธร ที่ ลงวันที่ 2552
(2) เป็นประธานการ ประชุม คณะกรรมการชมรม อสม. อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ นายสวาท ศรชัย ประธานชมรม อสม. อำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะกรรมการ จากทุกตำบล ขอขอบพระคุณ อสม. ทุกคน ที่ได้ร่วมกันแสดงพลังการทำงาน ร่วมกันด้วยความสามัคคี จนเป็นที่ประจักษ์ และได้รับความชื่นชม จากประชาชนทั่วไป เช่นการต้อนรับ ฯพณฯวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ การจัดงาน วัน อสม. แห่งชาติ และการต้อนรับ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ณ สถานีอนามัยนาเวียง เป็นต้น ส่วนมติ ที่สำคัญ คือ การจัดทำรายงาน อสม.การประเมิน หมู่บ้านการจัดการสุขภาพ และ การออกแบบชุด อสม. ให้เป็นแบบเดียวกันทั่วทั้งอำเภอ ซึ่ง ชมรม อสม. เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ ให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา 60 วัน
(3) นายสมาน ภักดียุทธ ประธานสภาผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร นางเยาวดี ชาญศิลป์ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ ร่วมกับคณะกรรมการ จาก สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ออกประเมิน ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น ที่ สถานีอนามัย นาเวียง โดยมี นางเครือวัลย์ คนชม หัวหน้าสถานีอนามัยนาเวียง และคณะให้การต้อยรับ ..... การเตรียมพื้นที่ วัดส่งเสริมสุขภาพ ณ วัดบ้านนาถ่ม โดย พระครูประทีปธรรมาภิมณฑ์ เจ้าคณะตำบลนาคำ และ นางจำนรรจา บุญแจ้งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายทศพล แสนสวาสดิ์นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และ นส.ประกายรุ่ง จวนสาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร่วมอำนวยความสะดวก วัดบ้านนาถ่ม เป็นวัดพัฒนาทั้งด้านจิตใจแก่ประชาชน ด้านความสะอาดภายในวัด และกิจกรรมการส่งเสริมกำลังใจแก่ประชาชน เจ้าอาวาสเป็นที่เคารพศรัทธา จากประชาชนทั่วไป
(4) วิเคราะห์ข้อมูลรายงานประกอบการ จัดสรร งบประมาณรายหัว โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้กับ สถานีอนามัยทุกแห่ง
(2) ประสาน สถานีอนามัยให้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นโครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้ติดเชื้อ ผู้ด้อยโอกาส พนักงานโรงงาน อื่นๆ เป็นต้น โดย มีเงื่อนไข สถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเสนอโครงการได้ 1 สอ.ต่อ 1 โครงการ
งบประมาณ ไม่เกิน 100,000 ซึ่งเงื่อนไขโครงการ
1. เป็นโครงการสำหรับการให้การบริการและการดูแล กลุ่มเป้าหมายพิเศษเช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้ติดเชื้อ ผู้ด้อยโอกาส พนักงานโรงงาน อื่นๆ เป็นต้น
2. เป็นโครงการที่ต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่นั้นๆ เป็นเวลา 2-3 ปี
3. เป็นโครงการที่ สถานีอนามัย ปฏิบัติงานร่วมกับภาคีอื่นๆ เช่น เยาวชน กลุ่มแม่บ้าน อสม. ผู้นำนักเรียน อบต. ผู้นำชุมชน ชมรม ผู้สูงอายุ พระ หรือ กับภาคี อื่นๆ
4. หากได้รับการอนุมัติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะโอนเงิน สนุบสนุน ตรงถึง สถานีอนามัย ( โดยเร็ว)
5. หมดเขต 18 พฤษภาคม 2552 โดยให้นำส่งโครงการ ตามระบบราชการ

5/12/09

ชมถ่ายทอดสดT.V Online ผ่าน Internet อสม.ร่วมใจ เฝ้าระวังและป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009


วันที่ 12 พฤษภาคม 2552: ชมถ่ายทอดสดT.V Online ผ่าน Internet อสม.ร่วมใจ เฝ้าระวังและป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 … (1)ประสานข้อมูล และจัดทำแบบนิเทศงาน สำหรับ การนิเทศงาน สถานีอนามัยประจำปี งบประมาณ 2552 เพื่อแจ้งให้ สถานีอนามัยทุกแห่งทราบ…(2)รายงานผลการปฏิบัติงานและส่งภาพกิจกรรม ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว ที่เข้าร่วมและสนับสนุนโครงการรณรงค์ “หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง” ให้กับ ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ... (3)ประสาน เจ้าหน้าที่ ในสังกัด เพื่อ ทำเอกสาร วิชาการ เลื่อนระดับสูงขึ้น จำนวน 8 ราย
1. นางปราณี ศรีแสน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สอ.กุดกุง
2. นางนงลักษณ์ มาลัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. เหล่าไฮ
3. นางวงเดือน วงศ์อนันต์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ.แคนน้อย
4. นางสุนิสา วงชาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. นาคำ
5. นางทานตะวัน สว่างวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
6. นส. จิราภรณ์ ขอสุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. ย่อ
7. นางน้ำผึ้ง คุ้มครอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. ย่อ
8. นางสุพัตรา วิเศษโวหาร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. สงเปือย
... (4)แจ้ง สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร เพื่อแต่งตั้ง ข้าราชการเป็น เจ้าหน้าที่พัสดุ เพิ่มเติมให้กับ สถานีอนามัยในสังกัด
1. นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว
2. นายพรรณลิน อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ สถานีอนามัยนาแก
3. นางอรวรรณ แสงทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ สถานีอนามัยแคนน้อย
4. นางรัศมี โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ สถานีอนามัยนาเวียง



(5)ภาคบ่าย ประสาน สถานีอนามัยทุกแห่ง ให้ แจ้ง จนท.ในสังกัด และ อสม.ในความรับผิดชอบ เพื่อให้ติดตามดู การถ่ายทอดสด T.V Online ผ่าน Internet พร้อมกัน จากกองสุขศึกษา ที่ http://www.thaihed.com/html/ หัวข้อ อสม.ร่วมใจ เฝ้าระวังและป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดย ฯพณฯวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกัน แถลงนโยบาย ต่อบุคลากรสาธารณสุข และ อสม.ทั่วประเทศ ในเวลา 13.29 – 16.00 น.
(5) ส่งเงินสำหรับการ สนับสนุน การดำเนินงานโครงการ มวลสารมงคล “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” จำนวน 17 องค์ องค์ละ 199 บาท เป็นเงิน 3,383 บาท ( สามพันสามร้อยแปดสิบสามบาทถ้วน ) จากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า พวกเราต้องการมาก แต่มีจำนวนจำกัด อาจจะไม่พอเพียงสำหรับความต้องการ ของ จนท.ในสังกัด ซึ่งแนะนำ ว่าบุคคลที่ต้องการเพามเติม ควรติดต่อได้ที่ไปรษณีย์ ทั่วประเทศ

พระโคกินงากับหญ้า น้ำบริบูรณ์พอควร ผลาหารอุดมสมบูรณ์


วันที่ 11 พฤษภาคม 2552: พระโคกินงากับหญ้า น้ำบริบูรณ์พอควร ผลาหารอุดมสมบูรณ์
เวลาประมาณ 08.35 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน โดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ มายังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2552 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จ
ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือ นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยคำพยากรณ์ในวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปีนี้ พระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกาย หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี สำหรับการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค พระโคกินงา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินกลับ พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ฯ เมื่อเสร็จสิ้นในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พลับพลาท้องสนามหลวง แล้ว ปีนี้ กรมการข้าวได้ขอพระบรมราชานุญาตินำพันธุ์ข้าวนาสวนจำนวน 7 พันธุ์ ประกอบด้วย 1. สุพรรณบุรี 2. ปทุมธานี 80 (กข31)3. ขาวดอกมะลิ 105 4. เจ้าพัทลุง 5. ชัยนาท 80 ( กข29 ) 6. กข 6 และ7. ปทุมธานี 1 และข้าวไร่ จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ 1. ซิวแม่จัน และ2. ดอกพะยอม รวมน้ำหนัก ทั้งสิ้น 1,920 กิโกกรัม นำเข้าในพระราชพิธีฯ และบรรจุในซองพลาสติกแจกจ่ายพสกนิกรและชาวนาทั่วประเทศ
สำหรับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหรือที่เรียกสั้นๆว่า“งานแรกนาขวัญ” จัดขึ้นเป็นงานเฉพาะ เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลแก่กระบวนการผลิตพืชพันธุ์ ธัญญาหารของประเทศไทย มุ่งหมายบำรุงขวัญให้กำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เมื่อย่างเข้าสู่ต้นฤดูกาลเพาะปลูกทุกปี นับตั้งแต่โบราณจวบจนปัจจุบันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกันคือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ( พิธีไถหว่าน ) อันเป็นพิธีพราหมณ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง :ขอบพระคุณ ข้อมูลจากwww.thairath.co.th

ภูมิพันธุ์ ซ้อนมอเตอร์ไซด์ พี่น้องไป อุบล


วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 : ลูกสาว ไปเข้าค่ายวิชาการ กับ เพื่อนๆ และ นักเรียน EP รุ่นน้อง และ นอนพักค้างแรม ที่ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี หยุดราชการพักผ่อนกับครอบครัว ที่บ้าน จ่ายค่าปุ๋ยคอก 100 ถุง 3,000 บาทให้กับ เป้ง ภารกิจของ ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง เช้า กวาดบ้าน ถูบ้าน บ่าย เพาะชำกล้าไม้ ตอนเย็น ล้างโอ่งสำหรับรองรับน้ำฝน ไว้เป็นน้ำดื่ม เพราะเข้าฤดูฝนแล้ว ตอนค่ำฝนตกหนัก หลาน น้อง นส.จินตนา เหมือนทอง มาแวะพักที่บ้านก่อนจะไปเรียนหนังสือในวันพรุ่งนี้ ( นส.จินตนา เหมือนทอง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ชั้นปี ที่ 3 )
วันที่ 11 พฤษภาคม 2552: ภูมิขี่มอเตอร์ไซด์ไปอุบลกับพี่น้องในวันวันพืชมงคล: วันนี้ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง กลับไปเรียนหนังสือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ขี่รถมอเตอร์ไซด์ ไปกับ หลาน น้อง นส.จินตนา เหมือนทอง ที่มาแวะพักที่บ้านตั้งแต่เย็นวานนี้ ถึงอุบล ประมาณ 11.19 น. วันนี้ลูกชายภูมิ ภรรยานางอริยวรรณ จันทร์สว่าง ไปทำงานที่ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ไปทำงาน ที่ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ภารกิจการอบรม คุณธรรม จริยธรรม สำหรับ บุคลากรใหม่ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ที่วัดพระพุทธบาท อำเภอ มหาชนะชัย
ข่าวดี วันนี้ นายจำเนียร มูลสาร หรือ ไอ้จ่าจำเนียร หรือ บักจ่า ที่พวกเราคุ้นเคย โทรมารายงานงานตัวว่า สามารถทำลูกกับเขาได้แล้ว ฝากบอกเพื่อนๆด้วย โดยเฉพาะคุณสมคิดชื่นตา ที่เป็นห่วงว่า คุณจำเนียร จะไม่สามารถผลิตลูกกับเขาได้นั้น ตอนนี้เขาโทรมาแจ้งว่า ได้ลูกสาวแล้ว อายุ 2 สัปดาห์ ชื่อ น้องแพรว หรือ ด.ญ.เบญญาพร มูลสาร ตอนนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการฟูมฟัก ดูแลเป็นพิเศษ ตามจารีตของครอบครัว ที่ กรุงเทพฯ และ เบอร์โทร นายจำเนียร มูลสาร เปลี่ยน เป็น 0851586873 ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน

5/9/09

คุณแม่ทองดี นาเวียง หรือคุณยายกุ้ง อสม.คนดี ที่ประทับใจ





วันที่ 9 พฤษภาคม 2552 : งานต้อนรับ นพ. บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ วันนี้ นอกจาก ได้เห็นพลังความร่วมมือร่วมใจที่ของ ประชาชน ตำบลกู่จาน โดยเฉพาะบ้านนาเวียงของเราแล้ว อสม. อปพร. ผู้นำชุมชน อบต. และ ความร่วมมมือของ คณะ เจ้าหน้าที่ จาก สถานีอนามัยทุกห่งแล้ว กำลังใจที่ดีของผมวันนี้ คือกำลังใจที่ได้จาก คุณแม่ทองดี นาเวียง หรือคุณยายกุ้ง (แม่ของ อสม. ดาว หรือ นางวิจิตร มีสัจ) ซึ่งเป็น อดีต อสม. รุ่นก่อนๆ ที่ผมเคารพ รัก วันนี้ ท่านมายืนรอที่หน้าบ้าน พร้อมเตรียมถั่วให้ 1 ถุง บอกว่าให้ไว้ในรถนี้แหละ จะได้ไม่ลืม เพราะตั้งใจไว้หลายวันแล้ว แต่ผมไม่ได้ไปหาท่านที่บ้าน วันนี้ จึงนำมามอบให้ที่ ในงานนี้เลย ขอบพระคุณครับคุณแม่ ไว้ผมจะไปแวะเยี่ยมคารวะในโอกาสต่อไปนะครับ
...เสร็จงานวันนี้ บ่าย 2 โมง กว่าๆ ไปรับ ลูก กลับจากการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา ที่ วัดวังน้ำทิพย์ อำเภอเลิงนกทา เพื่อไปส่ง เข้า โรงเรียน ที่ จังหวัดอุบลราชธานี เพลงประทับใจ จากครอบครัววันี้คือ ชายในอุดมคติ และ อายแสงนีออน ร้องโดย นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง ศรีภรรยาผมเองครับ อาหารเย็นครอบครัวเราวันนี้ ที่ร้าน ก. แก้ว

นพ. บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สอ.นาเวียง







วันที่ 9 พฤษภาคม 2552 : นพ. บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สอ.นาเวียง : ตื่นแต่เช้า ไปเตรียมความพร้อม การเปิดงานโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมถ์ และเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เจริญพระชนมายุ 57 พรรษา ในปี พ.ศ.2552 โดยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีความพร้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในด้านการบริโภคอย่างถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกำหนดการเดิม นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จะเดินทางมาเป็นประธาน การดำเนินงานโครงการดังกล่าว ในวันนี้ แต่เนื่องจากท่านติดภารกิจต้องให้ข้อมูลด้านการควบคุมป้องกันโรคสำหรับภาคประชาชน โดย มี อสม. เป็นกำลังหลัก ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 แก่ คณะรัฐมนรตี สาธารณสุข อาเซียน + 3 ณ โรงแรมดุสิตธานี จึงมอบหมายให้ ท่าน นพ. บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มาเป็นประธานแทน ณ บ้านนาเวียง หมู่ที่ 6 ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ในงานวันนี้ประทับใจ ความสามัคคี ของพวกเรา ชาว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว จาก สถานีอนามัยทุกแห่ง ที่แม้จะเป็นวันวันหยุดราชการ แต่ทุกคนพร้อมกันมาปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งทำงานอย่างสอดประสานลงตัว ส่วนเจ้าภาพหลัก ยอมรับว่าหนักมาก แต่ งานที่ออกมา สมบูรณ์แบบ ต้องชื่นชม ผลงานการประสานและ บารมีที่สร้างสมของ นางเครือวัลย์ คนชม หัวหน้าสถานีอนามัยนาเวียง พร้อมทีมงานประกอบด้วย นายธานินทร์ ซื่อตรง จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน นางรัศมี โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ซึ่งทุ่มเททำงานหนักมาตลอด หลายวันที่ผ่านมา งานในวันนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือของทุกๆฝ่าย นำทีมโดย ท่านพระครูเกษมคุณากร เจ้าคณะตำบลกู่จาน และเจ้าอาวาสวัดนาเวียง และโดยเฉพาะ กัลยาณมิตรที่ดี ของพวกเราตลอดมา ถือว่าเป็นเพื่อนตายของเราเลยก็ได้ คือ อสม. และ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. ชมรม ผู้สูงอายุ ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนให้งานอันมีค่านี้บรรลุตามวัตถุประสงค์
ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร นำทีมผู้บริหารจาก สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ร่วมต้อนรับ อาทิ นางยุพิน ลอยหา คุณนายท่าน สุรพร ลอยหา นางอรวรรณ ยืนยง รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร นายมงคล สุทธิอาคาร รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร นางประชุมพร กวีกรณ์ หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสจ.ยส. นายพรชัย ทองบ่อ สาธารณสุขอำเภอ ไทยเจริญ เป็นต้น ส่วนการนำเสนอผลงานนั้น นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว บรรยายสรุปผลงานได้อย่างประทับใจ
นพ. บุญชัย สมบูรณ์สุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ให้ข้อคิดที่น่าประทับใจว่า การดำเนินงานของหมู่บ้านของเราถือว่าเป็นต้นแบบเพราะพวกเรามีการปลูกผัก และเก็บผักตามธรรมชาติ ไม่พึ่งพาผักจากตลาด จะทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆได้ ซึ่งการกินผักวันละ ครึ่งกิโลกรัมนั้น ฟังดู อาจจะเหมือนยาก แต่ พอนึกดูว่าวันหนึ่ง เราทานอาหาร 3 มื้อ เฉลี่ยแล้วตกมื้อละ 2 ขีด เท่านั้นเอง ซึ่งคนเราส่วนมากก็รับประทานผัก ในปริมาณนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ที่สำคัญ ผักนั้นต้องไม่มีสารพิษเจือปน ในปริมาณที่เกินมาตรฐานเท่านั้น ...และ บ้านนาเวียงของเรา เป็น 1 ใน 152 หมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งทั่วประเทศ มีหมู่บ้านกว่า 80,000 หมู่บ้าน ที่มีโครงการในลักษณะนี้ และ เป็น 1 ใน 2 หมู่บ้าน ของ จังหวัดยโสธร และที่สำคัญ หมู่บ้านนาเวียง อาจจะเป็นหมู่บ้านต้นแบบระดับประเทศในโอกาสต่อไป หลังจากเยี่ยมชม ศูนย์ 3 วัย ของ สถานีอนามัยนาเวียงแล้ว ท่านไปให้กำลังใจ กลุ่ม ปลูกผักพื้นบ้าน ในหมู่บ้าน ปกติส่วนใหญ่ ทุกครอบครัว จะปลูกผักที่ทุ่งนา ส่วนใครมีเนื้อที่มากก็จะปลูก ในที่ว่างข้างบ้านเรือนด้วย หรือหากมีพื้นที่มากๆ ก็จะรวมกลุ่มกันปลูกเป็นต้น เพื่อเอาไว้กินกันเองในหมู่บ้านไม่ต้องซื้อหา ..คณะรับประทาน อาหารเที่ยง ที่ ร้าน ตาถวิล บุญสาร ดงแคนใหญ่