8/31/10
ภาณุโชติ ทองยัง แบบอย่างคนดีศรีข้าราชการไทย
วันที่ 31 สิงหาคม 2553 : ภก. ภาณุโชติ ทองยัง แบบอย่างคนดีศรีข้าราชการไทย: อบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต.ประจำปี ๒๕๕๓ ณ ห้อง ชนกนันท์ โรงแรม EBINA กรุงเทพฯ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง มีโอกาสได้รับฟังแนวคิด และประสบการณ์ การทำงานของ ชายคนนี้ ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างคนดีของสังคมไทยในปัจจุบัน ภก. ภาณุโชติ ทองยัง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
ท่านเป็นผู้ที่ทุ่มเทสรรพกำลัง ทั้งหมดที่มีในตนของท่านเพื่อศักดิ์ศรีข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง.. ท่านมีจิตอาสา ที่เป็นกุศลอันน่ายกย่องยิ่งนัก... งานในหน้าที่ทำได้ดี จน ได้รับรางวัลข้าราชการสาธารณสุขดีเด่นของจังหวัดสมุทรสงคราม ๓ สมัย ในปี ๒๕๓๘ ๒๕๔๒ ๒๕๔๖ และได้รับการคัดเลือก ได้รับรางวัลข้าราชครุฑทองคำ ๓ ปี ใน ปี ๒๕๓๘ ปี ๒๕๔๒ และ ๒๕๔๖ ... ได้รับเกียรติบัตร กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะ ผู้ดำรงตนเป็นตัวอย่าง โครงการเมืองไทย เมืองคนดี ประจำปี ๒๕๔๗...ท่านมีจิตอาสาการทำงานด้านองค์กรเอกชน เพื่อพัฒนาสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภคหลายองค์กร ... เป็นอนุกรรมการเภสัชสภา คณะทำงานต่างๆของจังหวัด เขต ประเทศ ... เป็นอาจารย์พิเศษคณะเภสัชศาสตร์ ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหิดล ศิลปากร นเรศวร ขอนแก่น ศรีนครินทรวิโรฒ สงขา และอื่นๆ อีกมากมาย... ท่านอาจจะรักและเห็นความดีของ ภก. ภาณุโชติ ทองยัง หรือ นาย ภาณุโชติ ทองยัง เพิ่มมากขึ้น เมื่อได้ทราบว่า ผลงานมากมายที่ท่านได้ทุ่มเท และเสียสละ ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรี ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากมายนั้น...ขณะนี้ท่านยังเป็นหนุ่มๆ อยู่เลย และ ภก. ภาณุโชติ ทองยัง ท่านมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์เหมือนพวกเรานะครับ... แต่จิตใจและคุณงามความดีของท่าน สมบูรณ์แบบ มากกว่าพวกเราหลายร้อยพันเท่านัก...ขอชื่นชมด้วยความจริงใจครับท่าน
.. ภก. ภาณุโชติ ทองยัง .. การศึกษา
๒๕๓๐ จบเภสัชศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕๓๘ จบเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
การทำงาน ๒๕๓๐- ๒๕๓๒ โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์
๒๕๓๒-ปัจจุบัน กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
งานเพื่อสังคม กรรมการสภาเภสัชกรรม สมัยวาระที่ ๖
อนุกรรมการของสภาเภสัชกรรม ( อนุกรรมการเพื่อการศึกษาและติดตามกฎหมาย อนุกรรมการประชาสัมพันธ์ อนุกรรมการสอบสวนจรรยาบรรณ)
เลขาธิการชมรม เภสัชกร จังหวัดสมุทรสงคราม
งานภาคประชาชน
คอลัมน์นิสต์ วารสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
กรรมการมูลนิธิ เภสัชชนบท กรรมการสถาบันผู้บริโภคกิจการโทรคมนาคม ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม
ที่ปรึกษาเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดสมุทรสงคราม
คณะทำงานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพว่าด้วย พืช ผัก ผลไม้ปลอดภัย
อาสมัคร จดหมายบำบัด มูลนิธิ ศุนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
หมายเหตุ: พี่จุ๋ม ธัญญภรณ์ ทำหน้าที่ พิธีกร ได้ดีมากนะครับพี่ ขอ copy ตัวอย่างบางตอนไปใช้นะครับ
๑๑ หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต.มีอะไรบ้าง
วันที่ 29 สิงหาคม 2553 : อบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต.ที่EBINA กทม. : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เดินทางไปพร้อมกับ นางรักชนก น้อยอาษา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.ยโสธร
ณ โรงแรมเอบินาเฮาส์ ตรงข้าม โรงแรม มิราเคิล กรุงเทพ ทั้งนี้มีเพื่อนร่วมเดินทางอีก ๑ คณะ คือ ทีมงาน จาก สถานีอนามัยเซซ่ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มี น.ส.ขวัญชนก สิงคิบุตร นางดวงใจ พวงสุข ที่ไปนำเสนอผลงานวิชาการ Poster Presentation เรื่อง 4 สหายสายใยใจแก้ปัญหาสุขภาพจิต โดยมี พี่ไพทูล รับผิดชอบขับรถ โตโยตา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาจังหวัดยโสธร .. พักที่ ห้อง 708 กับ คุณ อำนาจ บุญเครือชู จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร. 0899599739 amnaj2495000016@yahoo.co.th
วันที่ 30 สิงหาคม 2553 : รมว.จุรินทร์ เปิดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต.ที่EBINA กทม. : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต.ประจำปี ๒๕๕๓ ณ ห้อง ชนกนันท์ โรงแรม EBINA กรุงเทพฯ พิธิเปิด โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานโครงการอบรม โดย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เจ้าของโครงการผู้รับผิดชอบ โดย นพ.เกษมสุข เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการสำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(สป.รพ.สต.) ... ผู้เข้าร่วมประชุม จาก สำนักประสานงานสาธารณสุข ทั้ง 18 เขต และ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด รวม 200 กว่าคน .. ผู้เข้าร่วมประชุม จาก เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 ได้แก่ ๑. นายกิตติพศ ดำบรรพ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ๒. นางรักชนก น้อยอาษา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.ยโสธร ๓. นางสถิต สายแก้ว โทร. 0810678327 ฝ่ายแผนงาน โรงพยาบาลราศีไศล ศรีสะเกษ sasaikaw@yahoo.com และ๔. นายประวุฒิ พุทธขิน (หนุ่ม) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ โทร.0897218716 mr_noom555@hotmail.com
ทั้งนี้ นายกิตติพศ ดำบรรพ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับ ชาวเรา สำนักงานสาธารณสุขเขต ๑๓ อย่างมาก เพราะนำเสนอ เรื่อง การบริหารจัดการ กำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ได้รับความสนใจจาก ที่ประชุมเป็นอย่างมาก
เป้าหมายคือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร จำนวน 2,000 แห่ง ในปีงบประมาณ 2553 ให้แล้วเสร็จ ภายใน วันที่ 30 กันยายน 2553 โดย นพ.เกษมสุข เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการสำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(สป.รพ.สต.) ได้ให้ หลักสูตรหลักไว้ ๖ หลักสูตร และหลักสูตรทางเลือก ตามความเหมาะสมไวอีก จำนวน ๕ หลักสูตรดังนี้
หลักสูตรหลักการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)
หลักสูตรที่ ๑. การบริหารจัดการเครือข่าย
หลักสูตรที่ ๒. การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
หลักสูตรที่ ๓. เวชศาสตร์ครอบครัวกับการจัดการโรคเรื้อรัง
หลักสูตรที่ ๔. การจัดการความรู้
หลักสูตรที่ ๕. ทันตสุขภาพในชุมชน
หลักสูตรที่ ๖. การคุ้มครองผู้บริโภค
หลักสูตรทางเลือก
หลักสูตรที่ ๗. การฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน
หลักสูตรที่ ๘. ระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
หลักสูตรที่ ๙. การจัดบริการการแพทย์แผนไทย ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)
หลักสูตรที่ ๑๐. การให้คำปรึกษา
หลักสูตรที่ ๑๑. อนามัยเจริญพันธ์
Pretty สาวสวยที่ผ่านการคัดเลือกให้ต้อนรับ รมว.จุรินทร์ฯ
วันที่ 28 สิงหาคม 2553 : Pretty สาวสวยที่ผ่านการคัดเลือกให้ต้อนรับ รมว.จุรินทร์ฯ
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอบันทึกความประทับใจใน ความสวยงาม ทั้งด้านรูปร่างหน้าตา และ ความสวยงามด้านการบริการที่ดี มีรอยยิ้ม จนเป็นที่ประทับใจ ของ แขกผู้มีเกียรติ ที่ได้มีโอกาสเห็นการทำงานที่ดี และมีคุณภาพของสาวสวย เหล่านี้ ที่ทุกๆท่านล้วนเสียสละเวลาในวันหยุดราชการ ให้เกียรติมาร่วมให้การต้อนรับ และทำหน้าที่ได้อย่างประทับใจ ในโอกาสที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ดงแคนใหญ่ ดังนี้
๑. นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ ทำหน้าที่หัวหน้างาน Pretty ที่มีคุณภาพของเรา
๒. นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
๓. นางสุพัตรา วิเศษโวหาร พยาบาลวิชาชีพ สอ.สงเปือย
๔. นส.จิตร์สุดา อรจันทร์ นักวิชาการสาธารณสุข สอ.บกน้อย
๕. นส.สุภาพร บุญเชื้อ นักวิชาการสาธารณสุข สอ.ทุ่งมน
๖. นส.หทัยชนก จันทรากาศ นักวิชาการสาธารณสุข สอ.นาเวียง
๗. นส. กาญจนา ไชยมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สอ.โพนสิม
๘. นส.มะลิวัลย์ ยอดเสาร์ นักวิชาการสาธารณสุข สอ. นาหลู่
๙. นส. พรทิวา ทองทา นักวิชาการสาธารณสุข สอ.กู่จาน
๑๐. นส.ราตรี ชายทอง นักวิชาการสาธารณสุข สอ.สงเปือย
๑๑. นส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข สสอ.คำเขือนแก้ว
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ในนาม นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่เป็นเจ้าภาพผู้รับผิดชอบ ขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ร่วมกันปฏิบัติงานด้วยดี จนเป็นที่ประทับใจของผู้ร่วมงานทุกคน และ ในโอกาสต่อไป มีนโยบายที่จะเปลี่ยนชุด Pretty ให้สวยงามขึ้นไปอีกนะครับ.. ฉะนั้น ท่านอื่นๆ ที่มีความสนใจ สมัครเข้าร่วมเป็นทีมงาน Pretty ได้ที่ นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว หัวหน้างาน Pretty คนใหม่ แทน คุณพี่จำนรรจา บุญแจ้ง ของเรา ที่ฝากผลงานที่ดีอันน่าประทับใจนี้ไว้ให้พวกเราต่อไปนะครับ..
กัลยาณมิตรที่มาร่วมต้อนรับ จุรินทร์ รมว.สธ.ณ รพ.สต.ดงแคนใหญ่
วันที่ 28 สิงหาคม 2553 : กัลยาณมิตรที่มาร่วมต้อนรับ จุรินทร์ รมว.สธ.ณ รพ.สต.ดงแคนใหญ่ : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอบันทึกความประทับใจใน กัลยาณมิตรของเรา ที่ให้เกียรติมาร่วมให้การต้อนรับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ดงแคนใหญ่ ตามที่ได้เรียนเชิญมาร่วมงานในครั้งนี้ แม้ว่า จะเป็นวันหยุดราชการ และกำหนดการจะเปลี่ยนจาก เวลา 09.00 น.เป็น เวลา 14.09 น. ประชาชน และ แขกผุ้มีเกียรติเหล่านี้ต่าง ให้เกียรติมาร่วมงานด้วยกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ดังนี้
๑. นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ให้เกียรติมาอำนวยการและแก้ปัญหาอุปสรรคด้วยตนเอง เนื่องจาก มีฝนตก จึงต้องเปลี่ยนเวทีจากกลางแจ้งเป็นในร่ม และ ต้องตั้งเต็นท์ รองรับเป็นที่อยู่ ที่พักของผู้ร่วมงาน จนงานสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี
๒. ท่านชื่น วงษ์เพ็ญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร
๓. พ.ต.อ.รัฐศักดิ์ สุขเจริญ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว พร้อมทีมงาน พ.ต.ท. บุญจันทร์ ประทุมถิ่น พ.ต.ท.ขวัยเมือง โพธิตา รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้วนายวิทยา ร.ต.อ.เดชระพี สาลี พร้อมทีมงานตำรวจทุกท่าน ที่ต้องอำนวยการด้านความปลอดภัยและการจราจรท่ามกลางสายฝน
๔. ท่านสุพิช สามารถ ปลัดอำเภออาวุโส อำเภอคำเขื่อนแก้ว
๕. ท่านชวดล เพ็ญชรี ผู้อำนวยการโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว พร้อมทีมงาน สาวสวย จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วทุกคน
๖. นางสาวพรทิพย์ จันทะพา พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
๗. นางสาวมฯรัตน์ สันทัดค้า หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลยโสธร
๘. นายสัตวแพทย์คำนึง พนาจันทร์ สัวตวแพทย์ประจำ สำนักงาปศุสัตว์อำเภอคำเขื่อนแก้ว
๙. ท่านประมวล เจนร่วมจิต ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอคำเขื่อนแก้ว
๑๐. ท่านสุกิจ ร่วมสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนดงแคนใหญ่
๑๑. ท่านสมชาย วัฒนาไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านผักบุ้ง
๑๒. ท่านสมาน มาลัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย
๑๓. ท่านสมพงษ์ ศรีลา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย
๑๔. ท่านสุบรรณ์ สายสวาท กำนันตำบลสงเปือย (กำนันตุ๋ย)
๑๕. ท่านคำนึง แก้วศิริ กำนันตำบลดงเจริญ
๑๖. ท่านบุญศรี เครือชาลี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ
๑๗. ท่านเสถียร แก้วศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน
๑๘. ท่านทองเจริญ เอกบุญ ปลัดเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
และเจ้าภาพหลักที่สำคัญ ๒ ท่าน ที่ทำงานร่วมกัน ด้วยความสมัคสมานสามัคคีเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ตำบลอื่นๆได้ คือ
๑๙. นายบุญสอน ทองลือ กำนันตำบลดงแคนใหญ่ ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมทีมงาน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
๒๐. นายสินอุดม ศิลารักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ พร้อมทีมงานผู้บริหาร และ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ สมาชิก อ.ปพร
๒๑. นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ และทีมงาน
๒๒. นางสุภาวดี ขอสุข หัวหน้าสถานีอนามัยบกน้อย นางเกษรินทร์ วงเวียน พยาบาลวิชาชีพ สอ.บกน้อย และทีมงาน พร้อม อสม.
๒๓. นางเดือน ตั้งจิต หัวหน้าสถานีอนามัยนาหลู่ และทีมงาน พร้อม อสม.
๒๔. นายคมสัน อดกลั้น หัวหน้าสถานีอนามัยนาแก นางปริยากร อดกลั้น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ.นาแก และทีมงาน พร้อม อสม.
๒๕. นางโสภิดา พลไชย หัวหน้าสถานีอนามัยนาคำ นายธีรวงศ์ ธรรมแก้ว พยาบาลวิชาชีพ สอ.นาคำ และทีมงาน พร้อม อสม.
๒๖. นายอุทิศ ฝูงดี หัวหน้าสถานีอนามัยกู่จานและทีมงาน พร้อม อสม.
๒๗. นางเครือวัลย์ คนชม หัวหน้าสถานีอนามัยนาเวียงและทีมงาน พร้อม อสม.
๒๘. นายพ้น ปัญญาใส หัวหน้าสถานีอนามัยเหล่าไฮ
๒๙. นายสาคร ขอสุข หัวหน้าสถานีอนามัยโพนสิม และทีมงาน พร้อม อสม.
๓๐. นายสมัคร พุ่มทอง หัวหน้าสถานีอนามัยทุ่งมน และทีมงาน พร้อม อสม.
๓๑. นางอุศมา นามแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัยย่อและทีมงาน พร้อม อสม.
๓๒. นายอาณัติ ศรีเธาว์ หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ และทีมงาน พร้อม อสม.
๓๓. นายอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัยโพนทัน และทีมงาน พร้อม อสม.
๓๔. นางป้อมเพชร สืบสอน หัวหน้าสถานีอนามัยสงเปือย และทีมงาน พร้อม อสม.
๓๕. นางปราณี ศรีแสน หัวหน้าสถานีอนามัยกุดกุงและทีมงาน พร้อม อสม.
ส่วนหัวหน้างาน ใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ของเรานั้น ทุกท่านต่างทำหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยดีกัน
๓๖. ทุกคน และร่วมกันอำนวยการตลอดงานตลอดวันด้วยกัน ทั้ง
๓๗. นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพสสอ.คำเขื่อนแก้ว
๓๘. นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
๓๙. นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
๔๐. ทศพล นิติอมรบดี หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม และคบส. สสอ.คำเขื่อนแก้ว
๔๑. นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
๔๒. นส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข สสอ.คำเขือนแก้ว
รวมทั้ง พี่น้องประชาชน และแขกผู้มีเกียรติ ที่ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไม่สามารถเอ่ยนามได้หมด ณ ที่นี้ ในนาม นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่เป็นเจ้าภาพผู้รับผิดชอบ ก็ขอให้ทุกท่านได้รับ อานิสงค์ แห่งการทำคุณงามความดี และ ความมีกัลยาณมิตร ที่ดี ต่อกันด้วยดีเสมอมา และตลอดไปนะครับ
อมรรัตน์ วิลัยศรี คนดีในใจพี่วันนี้
วันที่ 27 สิงหาคม 2553 : อมรรัตน์ วิลัยศรี คนดีในใจพี่วันนี้ : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประทับใจในความสามารถและน้ำใจ คุณงามความดีของ นส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข สสอ.คำเขือนแก้ว หรือน้องหน่อย นักวิชาการประจำโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ของเรา ... สืบเนื่องจาก วันนี้ คณะของพวกเรา ไปประชุมวิชาการที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคบ่าย ได้รับการประสานยืนยันจาก ผู้บริหารว่ากำหนดการต้อนรับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ ในวันพรุ่งนี้ เดิม เรากำหนดไว้เวลา เช้า เปลี่ยนเป็นเวลาบ่าย ฉะนั้น จึงขอให้ น้องหน่อย ช่วยโทรศัพท์ประสาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่พวกเราได้เรียนเชิญไว้ ให้ได้ทราบกันทุกคน .. ทั้งๆที่ น้องหน่อย พึ่งจะกลับมาจากการออกตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เธอนส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข รีบดำเนินการ... ซึ่งใช้เวลาไม่นานหลังจากนั้น น้องหน่อย โทรมาแจ้งรายงานว่า ตามที่ได้รับมอบหมายให้ประสานเลื่อนเวลานั้น ได้แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทุกกคนได้รับทราบแล้ว.. ทำให้ผมหมดห่วงเรื่องนี้และมีเวลาสำหรับบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆได้อีก การแจ้งเลื่อนการเคลื่อนมวลชน อสม. มาร่วมต้อนรับ... รวมทั้งการปรับแผนรองรับกรณีฝนตก การปรับแผนการรักษาความปลอดภัยและการจราจรกับทางตำรวจเป็นต้น .. ขอขอบคุณน้องหน่อย นส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข สสอ.คำเขือนแก้ว และขอยกย่องให้ น้องหน่อย เป็นหนึ่งในคนดีในความทรงจำของพี่ประจำวันนี้ครับ..
8/28/10
จุรินทร์ รมว.สธ.เยี่ยมชม รพ.สต.ดงแคนใหญ่
วันที่ 27 สิงหาคม 2553 : จุรินทร์ รมว.สธ.เยี่ยมชม รพ.สต.ดงแคนใหญ่ : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมกับ ภรรยา คุณอริยวรรณ จันทร์สว่าง ไปแต่เช้า เพื่อเรียมความพร้อม ให้การต้อนรับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ดงแคนใหญ่ พี่น้อง อสม. หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนตำบลดงแคนใหญ่ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ โดยมีคณะร่วมเดินทางมาด้วย อาทิ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 และผู้บริหารการสาธารณสุขระดับสูง ร่วมเดินทางมาร่วมงาน โดยมี นายประวัติ ถีถะแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ท่านชื่น วงษ์เพ็ญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว พ.ต.อ.รัฐศักดิ์ สุขเจริญ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ท่านชวดล เพ็ญชรี ผู้อำนวยการโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ ท่านสุกิจ ร่วมสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนดงแคนใหญ่ ท่านสมชาย วัฒนาไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านผักบุ้ง นายบุญสอน ทองลือ กำนันตำบลดงแคนใหญ่ นายสินอุดม ศิลารักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) ดงแคนใหญ่ หัวหน้าสถานีอนามัยทุกแห่ง และแขกผู้มีเกียรติ ให้การต้อนรับ ซึ่ง ฯพณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้เกียรติกับพี่น้อง อสม. เป็นพิเศษ ด้วยการร่มถ่ายรูป ร่วมกับพี่น้อง อสม.เป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่งนัก ... ส่วน คนที่มีส่วนสนับสนุนให้ ฯพณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีโอกาสมาพบปะพวกเราในครั้งนี้ ต้อง ขอขอบพระคุณ ท่าน สส.บ๊อบบี้ นางสาวณิรัฐกานต์ ศรีลาภ สส.ยโสธร เขต 1 สส.คนสวยคนเก่งของเรา
… งานของเรา สำเร็จลงได้ เพราะ พลังความรัก ความสามัคคีที่พวกเรามีต่อกันโดยแท้ ... ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆท่าน ขอจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ทุกๆคนเทอญ...
...หมายเหตุ: ตำบลดงแคนใหญ่ แล้งมาหลายเดือน เมื่อคืนนี้ ฝนตก พอให้ชาวบ้านมีน้ำสำหรับดำนาได้ อสม.หลายคนบอกว่า ถือว่า ท่านมาพร้อมกับสายฝน นำน้ำมาให้ชาวบ้านได้ทำนา นับว่าเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุดในช่วงนี้
ให้กำลังใจพี่ระพีพรรณ-สาธิต สว่างแสง
วันที่ 25 สิงหาคม 2553 ให้กำลังใจพี่ระพีพรรณ-สาธิต สว่างแสง : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ ประกอบด้วย นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพสสอ.คำเขื่อนแก้ว นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว นางลงลักษณ์ ศรีโพธิ์วัง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และ นส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข สสอ.คำเขื่อนแก้ว ณ ที่นั้น คุณพี่สาธิต สว่างแสง และคุณอาณัติ ศรีเธาว์ หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ นายบุญทศ ประจำถิ่น สอ.ดงเจริญ และทีมงานจากดงเจริญ ได้เตรียมความพร้อม รอรับอย่างอบอุ่น ผมดีใจมาก ที่ เห็น พี่อี๊ด ระพีพรรณ สว่างแสง อาการดีขึ้น และแข็งแร็งเร็วมาก สามารถนั่งคุย และเดินออกนอกบ้าน มารับ ส่งแขก ได้ ขอเป็นกำลังใจให้ พี่อี๊ดสุขภาพแข็งแรงเป้นปกติสุขในอนาคตอันใกล้ต่อไปครับ
นพ.พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง ให้กำลังใจทีมงาน รพ.สต.ดงแคนใหญ่
วันที่ 27 สิงหาคม 2553 : นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ ให้การต้อนรับ นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ที่ท่านได้มาตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำและกำลังใจ แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อม ต้อนรับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในวันพรุ่งนี้
งานในครั้งนี้ สำเร็จลงได้ด้วยความช่วยเหลือและสนับสนุนที่ดีมากๆ จาก นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ ท่านพระครูเกษมคุณากร เจ้าคณะตำบลกู่จาน เจ้าอาวาสวัดนาเวียง พร้อมทีมงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ ทุกคน ที่ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง
พร้อมกันนี้ มี ทีมงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มาเยี่ยมชมให้กำลังใจด้วย
รมว.จุรินทร์มีนโยบายดีดีที่โดนใจหมออนามัยทุกคน
วันที่ 27 สิงหาคม 2553 : รมว.จุรินทร์มีนโยบายดีดีที่โดนใจหมออนามัยทุกคน : ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการสาธารณสุข ประจำปี 2553 ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีวันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประทับใจ การมอบนโยบายที่โดนใจหมออนามัยพวกเราเป็นอย่างยิ่ง ... การพูดของท่าน ทำให้พวกเรารักท่านมากขึ้น เพราะ ท่านพูด อย่างคนรู้จริง.. ศึกษาข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี สามารถนำไปแลปลงสู่การปฏิบัติได้เลย.. นโยบายการสนับสนุนที่ชัดเจน ทั้งด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และความก้าวหน้าในวิชาชีพของพวกเราในอนาคต.. ขอสรุปสั้นๆ ไว้เพื่อเตือนความทรงจำดีดี ในครั้งนี้ดังนี้
๑. โครงการรักษาฟรี
ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายสิทธิ์ให้ประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้รับการรักษาฟรี ในโรคที่ยากและซับซ้อน เช่น โรคเอดส์ เบาหวาน คามดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคหัวใจ โรคจิต โรคไต โดยโรคไตฟรีโดยเป็นการฟอกไตทางช่องท้อง รวมทั้งหากต้องผ่าตัดเปลี่ยนไตก็ต้องผ่าตัดฟรี ส่วนการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมนั้น ปกติผู้รับบริการต้องจ่ายครั้งละ 1,500 บาท ต่อไป ก็จะให้สมทบจ่ายเพียง 500 บาทต่อครั้ง ที่เหือ รัฐบาลจะรับผิดชอบแทนประชาชน ส่วนผุ้ป่วยด้านจิตเวช สถานบริการที่รักษาสามารถให้การรักษาต่อเนื่องโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้เพียงครั้งละไม่เกิน 15 วัน ต่อไป มีนโยบายให้สามารถรับบริการฟรีเกินกว่า 15 วันได้ โดยไม่จำกัดเวลาทั้งนี้ภายใต้ดุลพินิจของแพทย์ พร้อมกันนี้ได้มีโครงการช่วยเหลือผู้พิการ โดยอบรมให้ผู้พิการตาบอดใช้ไม้เท้าขาว ให้ดำรงชีพได้ ตั้งเป้าอบรม 80,000 คนภายใน 5 ปี และอบรมล่ามภาษามือช่วยคนพิการหูหนวก ทั้งนี้ภายในเดือนก.ย.53 กระทรวงสาธารณสุขจะปรับภาพลักษณ์การรักษาฟรีให้กับประชาชนที่อยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมีประมาณ 48 ล้านคน ให้ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว แสดงสิทธิ์รักษาฟรีโดยไม่ต้องพกบัตรทองอีกต่อไป โดยจะเริ่มพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ต.ค.53 ซึ่งต้อง อยู่ภายใต้เงื่อนไข ๒ ประการคือ
๑.๑ เจ็บป่วยปกติ ให้เริ่มต้น ที่ สถานบริการที่รับขึ้นทะเบียนก่อน จากนั้นหากเกินขีดความสามารถ มีการให้บริการสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกับบริการสุขภาพในระดับอื่นที่สูงกว่า โดยสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงตามระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
๑.๒ การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน สามารถรรับการรักษาได้ทั่วประเทศ
พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ออกระเบียบให้สิทธิรักษาฟรี ผู้นำศาสนาและผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาติ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมต.สธ.ได้ลงนามออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือ ในการรักษาพยาบาลฉบับที่ 5 พ.ศ. 2553 เพื่อให้สวัสดิการการรักษาพยาบาลแก่กรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น พระภิกษุ และสามเณร รวมทั้งบุคคลที่ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติให้ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า และหากอยู่ห้องพิเศษ ก็ได้รับสิทธิส่วนลดค่าห้องพิเศษ ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้ ซึ่งครอบคลุมถึง อสม. ดีเด่นด้วย
๒. โครงการโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโรงพยาบาลให้มีความทันสมัย ๓ ด้าน ได้แก่
ด้านที่ ๑. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลให้มีบรรยากาศดี
ด้านที่ ๒. พัฒนาคุณภาพบริการทั้งบริการทางการแพทย์และบริการทั่วไป ซึ่งจะมีพนักงานต้อนรับที่แผนกผู้ป่วยนอกสวมเครื่องแบบเสื้อพื้นสีเขียวอ่อนมีรูปหน้าการ์ตูนยิ้ม 3 สี คือ สีเขียว สีฟ้า และสีส้ม ซึ่งเป็นสื่อสากลที่มีความหมาย สีเขียวหมายถึงสดชื่นแจ่มใส สีฟ้าหมายถึงให้บริการเป็นมิตร และสีส้มหมายถึงความทันสมัย อำนวยความสะดวกและประชาสัมพันธ์ระหว่างรอตรวจ หรือ จำง่ายๆ ว่า ยิ้มสดใส ยิ้มทันสมัย ยิ้มสร้างสรรค์ .. หรือ ยิ้ม ระบบ FFM : Friendly ยิ้มสดใส Fresh and new ยิ้มทันสมัย Modern and Enthusiasm ยิ้มสร้างสรรค์
ด้านที่ ๓. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและจากทุกภาคส่วน
ซึ่งโครงการนี้เปิดให้บริการประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่ วันที่ 12 สิงหาคม 2553 เป็นต้นมา
๓. มุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรคอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุที่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตราย 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและ หลอดเลือด มะเร็ง อัมพฤกษ์อัมพาต ใช้ค่ารักษาปีละกว่า ๑ แสนล้านบาท ฉะนั้น จึงต้องให้ ความสำคัญการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรคอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ลดลงให้น้อยกว่า ๑ แสนล้านบาท ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ คือ
๓.๑ ด้านพฤติกรรมการบริโภค ต้อง รณรงค์ให้ ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็ม ผัก ผลไม้ ( ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาล คนละ 30 กก.ต่อปี ซึ่งสูงกว่ามารฐานสากล คนละ 10 กก.ต่อปี )
๓.๒ ส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการดำรงชีวิต ที่ เหมาะสม ด้วย 3อ2ส. อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ งดการสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
๔. การเพิ่มระดับความฉลาดของสมองคนไทย
ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องไอโอดีนอีกครั้ง เนื่องจากผลสำรวจในปี 2552 พบตัวเลขน่าตกใจว่าเด็กไทยไอคิวต่ำลง เฉลี่ยที่ 91 จุดถือว่าต่ำมาก ซึ่งตามมาตรฐานสากลไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 90-110 จุด สาเหตุสำคัญองค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟสรุปตรงกันว่า คนไทยหรือเด็กไทยขาดไอโอดีน ดังนั้นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาในกลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม
+++กลุ่มแรกคือ หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผลการสุ่มสำรวจระดับไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีปีละ 8 แสนคน พบภาวะไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตร ร้อยละ 59 ในปี 2552 ซึ่งเกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 50 หากหญิงตั้งครรภ์ขาดไอโอดีน ลูกที่คลอดออกมามีโอกาสเสี่ยงพิการหรือปัญญาอ่อน จึงกำหนดนโยบายชัดเจนว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขให้สถานบริการสาธารณสุข ให้ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ ฟรี
+++ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มทารกแรกเกิด ซึ่งมีปีละประมาณ 8 แสนคน จะต้องตรวจเลือดทุกคนเพื่อดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งจะมีผลต่อความเฉลียวฉลาด และการเจริญเติบโตของเด็ก หากพบว่าไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ให้รีบรักษาทันที โดยฮอร์โมนไทรอยด์จะสัมพันธ์กับไอโอดีน และ
+++กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มเด็กเล็กจนถึงประชาชนทั่วไป เนื่องจากไอโอดีนมีความจำเป็นสำหรับคนทุกเพศทุกวัย สำหรับเด็กหากโตขึ้นและขาดไอโอดีนระดับไอคิวจะพร่อง ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดให้ทุกประเทศเติมไอโอดีนในเกลือ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้บังคับ
กระทรวงสาธารณสุขจะออกประกาศบังคับ กำหนดให้เกลือที่ใช้เพื่อการบริโภคที่จำหน่ายในประเทศไทย ต้องเติมไอโอดีน 30-100 มิลลิกรัมต่อเกลือ 1 กิโลกรัม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยกร่างประกาศฯ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามแล้ว จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน 180 วัน ดังนั้นโรงงานที่ผลิตเกลือบริโภคทั้งหมดต้องเร่งปรับปรุงในการเสริมไอโอดีนลงไปด้วยตามมาตรฐานกำหนด ซึ่งจะมีผลให้น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบที่คนไทยบริโภคเป็นจำนวนมาก จะมีไอโอดีนเสริมไปด้วยโดยปริยาย เพราะต้องใช้เกลือผสมไอโอดีนในการผลิต และหากบริษัทผู้ผลิตใดจะเติมไอโอดีนเข้าไปสินค้าด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้จะสนับสนุนและอนุญาตให้ใช้ตรา“เพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิว” ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการออกแบบ บรรจุลงไปในถุงได้ต่อไปในอนาคต กระทรวงสาธารณสุขจะเริ่มต้นรณรงค์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสนับสนุนให้คนไทยทั่วประเทศบริโภคเกลือและอาหารเสริมไอโอดีน แก้ปัญหาไอคิวลดต่ำลงกว่ามาตรฐาน
..เมื่อวานนี้ได้เชิญผู้ประกอบการเกลือทั่วประเทศ โรงงานผลิตน้ำปลา ซีอิ้ว ซอสปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ มาประชุมและรับทราบนโยบาย ทุกโรงงานยินดีที่จะให้ความร่วมมือ ซึ่งหากมีการบังคับใช้เป็นกฎหมายต้องปฏิบัติตาม จะแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า เพื่อให้มีเวลาในการเตรียมตัว 180 วัน
๕. เปิดโครงการ สถานีสุขภาพ สุขภาพดีเริมที่ตัวคุณ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ทุกวันเสาร์ เวลา 14.00 น. โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยใส่ใจดุแลสุขภาพตนเอง และ จะมีการัดรายการ สถานีสุขภาพสัยจร ไปตามภูมิภาคต่างๆด้วย เริ่มเปิดรายการ วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ นี้
ส่วน การพัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) นั้น ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เริ่ม ๑ ตุลาคม สถานีอนามัยทุกแห่ง จะยกระดับ เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ทุกแห่ง โดยมี Criteria 4 ประการ ที่ต้องเตรียมความพร้อมรับรองให้เรียบร้อยประกอบด้วย
๑. ด้านโครงสร้าง ภูมิทัศน์ รวมทั้งป้ายและรั้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ด้วย
๒. ด้านบุคลากร ต้อง ประกอบด้วย
๒.๑ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(ผอ.รพ.สต.)
ซึ่ง กระทรวงได้มีคำสั่ง คำสั่ง สป.สธ.ที่1875/2553 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 มอบหมายให้ หัวหน้าสถานีอนามัยปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียบร้อยแล้ว
๒.๒ แพทย์ หรือ พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือ นักวิชาการสาธารณสุขที่เรียนจบพยาบาลแล้ว
๒.๓ นักวิชาการสาธารณสุข
๒.๔ สหวิชาชีพอื่นๆ เช่น เภสัชกร เภสัชกรรม ทันตสาธารณสุข แพทยืแผนไทย เป็นต้น
๓. ระบบข้อมูล สารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพ
๔. คณะกรรมการพัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ที่ประกอบด้วย กรรมการจาก ๔ ภาคส่วน
๔.๑ ภาครัฐ
๔.๒ ภาคท้องถิ่น/ชุมชน
๔.๓ ตัวแทนผู้รับบริการ
๔.๔ ผู้ให้บริการ
ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายต่อไป..
สิ่งดีดีจากเวทีวิชาการชมรมสาธารณสุขฯปี 2553 ณ มงอุบลราชธานี
วันที่ 27 สิงหาคม 2553 : ประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประจำปี 2553 ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เดินทางไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายประสิทธิ์ ประดิษฐ์ทรัพย์ สาธารณสุขอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดจันทบุรี เพื่อ เข้าร่วม พิธีมอบโล่พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี แด่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัยดีเด่น และการประชุมวิชาการสาธารณสุข ประจำปี 2553 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประธานเปิดงาน โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีคณะร่วมเดินทางมาด้วย อาทิ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 และผู้บริหารการสาธารณสุขระดับสูง ร่วมเดินทางมาร่วมงาน โดยมี นายวิชิต ชาตไพสิฐ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี นพ.มนัส กนกศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และผู้บริหารการสาธารณสุขเขต 13 ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ เจ้าภาพหลัก ต้องขอชื่นชมและขอบพระคุณ ๒ ท่านนี้ครับ ที่ร่วมกันอำนวยการด้วยดี นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และ ท่านประจักษ์ ทองงาม ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
... ขอแสดงความดีใจและชื่นชมกับ รางวัลโล่พระราชทานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่นระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กับ รางวัลโล่พระราชทาน สถานีอนามัยดีเด่นระดับประเทศ ได้แก่ สถานีอนามัย ตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และรางวัล สถานีอนามัยดีเด่น ระดับจังหวัด ระดับ เขต ระดับ ภาค และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ดีเด่น ระดับจังหวัด ระดับ เขต ระดับ ภาค ซึ่ง รับมอบ รางวัลจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติประวัติ ในการทำงาอย่างสูงยิ่งของพวกเรา ชาวหมออนามัยทุกท่าน ส่วน สถานีอนามัยดีเด่น จังหวัดยโสธร ประจำปีนี้คือสถานีอนามัย สามแยก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่น ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
การได้รับรางวัลระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับภาค ระดับประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องมีผลงานแห่งคุณงามความดีที่สั่งสมมาเป็นเวลานานมาก บางแห่ง อาจจะเกือบตลอดชีวิตราชการเลยก็มี หลายคนเกษียรไปแล้ว ไม่มีโอกาสขึ้นรับรางวัลในระดับนี้เลยก็มาก.. ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล โดยเฉพาะทีมงานจาก จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครปฐม ที่ได้รับ โล่พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ รางวัลต่างๆ ที่ได้มา ผู้มีส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุด คือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดที่เกี่ยวข้องทุกท่านครับ ... โดยเฉพาะ ๒ ท่านนี้ ดร.นพ.ถวัลย์ พบลาภ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม และ นายแพทย์วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นผู้บริหารในดวงใจที่มีวิสัยทัศน์การพัฒนาที่เยี่ยมยอดมากครับท่าน...ผลงานที่สำคัญของท่านประจักษ์ ทองงาม ที่พวกเราต้องจารึกเอาไว้ว่า สิ่งที่ท่านผลักดัน และเป็นผลสำเร็จ ในสมัยของท่านดำรงตำแหน่ง ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยประกอบด้วย
๑. การบรรจุหัวหน้าสถานีอนามัยระดับ 7
๒. การบรรจุสาธารณสุขอำเภอระดับ 8
๓. การบรรจุพยาบาลวิชาชีพในสถานีอนามัยระดับ
๔. การยกระดับฐานะสถานีอนามัย เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)
ส่วนผลงงานอื่นๆ ที่ทำค้างไว้ ก็ขอให้สำเร็จโดยเร็ว และคาดหมายว่า ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และพวกเรา มวลสมาชิกทุกท่าน คงจะช่วยกันผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ ในอนาคตต่อไป ขอเพียง พวกเรา ช่วยกัน ต่างทำหน้าที่และให้กำลังใจซึ่งกันและกันต่อไปด้วยดีนะครับ...
.... บรรยากาศโดยรวมในการประชุม ซึ่ง ต้องขอชื่นชม และให้กำลังใจ คณะกรรมการบริหารชมรมฯ ทั้ง 4 ภาค ที่สามารถจัดการประชุม ให้สามารถรองรับ ผุ้ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมกว่า 6,000 คน หกพันคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ... ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ จากการจัดประชุมใหญ่ ขนาดนี้ ก็ต้องมีบ้างเป็นธรรมดา แต่เมื่อเทียบกับ ผลงานที่ออกมาแล้ว ต้องขอชื่นชม ทั้ง การประชาสัมพันธ์การประชุม การอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ อาหาร โรงแรม ที่พัก ที่จอดรถ ป้ายบอกทาง การจราจร การรักษาความปลอดภัย การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งถือว่า บริหารจัดการและเตรียมความพร้อมได้ดี คำว่าดี เพราะหากเป็นผมทำ คงต้องเหนื่อยมาก และต้องทุ่มเทสรรพกำลัง ทั้งหมดที่มีในตน ทั้งร่างกายและจิตใจ จากทุกภาคส่วนมากพอสมควร .. พวกเราสามารถช่วยชมรมเราได้ง่ายๆครับ เริ่มจาก ๓ อย่างนี้ก่อน คือ ๑ ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน(ใช้เงินหลวง) ๒ เข้าห้องให้ตรงเวลาและให้เกียรติการประชุมตามความเหมาะสมของฐานะและตำแหน่งในหน้าที่ราชการของตน(ให้คุ้มค่าเงินหลวง) ๓.ให้ข้อเสนอนะที่เป้นประโยชน์ ต่อการพัฒนาชมรมและวิชาชีพของพวกเราชาวหมออนามัย ...หากว่าพวกเราที่สามารถให้คำแนะนำ หรือ อาสามาช่วยงานชมรมของพวกเรา ให้สามารถรุ่งเรือง และเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต่อไป ก็ ขอเรียนเชิญนะครับ อาสาเข้ามา มามากๆ ข้อบกพร่องต่างๆ ที่พวกเราเห็นคงจะน้อยลงไปเรื่อยๆ แล้วจะสมบูรณ์แบบต่อไป ด้วยความ อาสาเข้าไปช่วยงานของท่านในอนาคตต่อไป... ทั้งๆ ที่ มีมติให้สมาชิกฯ สามารถลงคะแนนเลือกตั้งประธานชมรมฯล่วงหน้า หมายเหตุ ในการประชุมครั้งนี้ ท่านประจักษ์ ทองงาม ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธาน ครบวาระ จึงเลือกตั้งใหม่ มีผู้สมัคร ๒ คน ผู้สมัครหมายเลข๑ นายสำเริง จงกล สาธารณสุขอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้สมัครหมายเลข๒ นายสามัคคี เดชกล้า สาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งคู่ล้วนเป็นคนดี มีผลงาน ที่ทรงคุณค่า น่ายกย่อง ที่เสียสละ ทำงานเพื่อชมรมเรามาโดยตลอด ..
ผลการเลือกตั้ง ผู้สมัครหมายเลข๒ นายสามัคคี เดชกล้า ได้รับการเลือกตั้งเป็น ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยคนใหม่ ฉะนั้น ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง จึงขอแสดงความชื่นชมและยินดี กับ นายสามัคคี เดชกล้า ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยครับ.. ส่วน ท่านสำเริง จงกล ท่าน ก็ยังคงทำหน้าที่ของท่านได้ดีเหมือนเดิม ในตำแหน่ง ที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีเช่นเดิม คือ นายสำเริง จงกล ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือครับ..