3/31/12

รวม 3 กองทุน:คุณต้องป้องกันไม่ให้ฉันเจ็บป่วยฉุกเฉิน




วันที่ 31 มีนาคม 2555 :รวม 3 กองทุน:คุณต้องป้องกันไม่ให้ฉันเจ็บป่วยฉุกเฉิน

วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของการจัดการระบบสุขภาพของไทย ก้าวใหม่ การจัดการที่ประทับใจ เกี่ยวกับ การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หลังจากการรวมบริการที่ดี ของ 3 กองทุนแล้ว รายละเอียดต้อง ขอบพระคุณ ข้อมูล จาก

http://www.nhso.go.th/FrontEnd/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MzE5

นายกรัฐมนตรีประกาศจัดเต็มบริการผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิ ทั้งรพ.รัฐ-เอกชนทั่วไทย ไม่มีการถามสิทธิ์ ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า วางมาตรการควบคุมราคายา การบริโภคยา และระบบการสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค

นายกรัฐมนตรีประชุมเชิงนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ผลสรุปคืบหน้า พร้อมประกาศดีเดย์เริ่มบริการร่วมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวกันในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วไทยทั้งรัฐและเอกชน ไม่มีการทวงถามสิทธิ์ ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า โดยจะให้บริการจนผู้ป่วยอาการทุเลากลับบ้านได้ และวางมาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยา การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค

วันที่ 13 มีนาคม 2555 ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ประกอบด้วยกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายแพทย์ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ดร.คณิศ แสงสุพรรณและคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงแรงงาน เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสปสช. เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือสปส. อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส.

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ติดตาม 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. ติดตามความพร้อมการบูรณาการดูแลร่วมผู้ป่วยฉุกเฉินภายใต้มาตรฐานเดียวกันของ 3 กองทุนฯ โดยไม่มีการถามสิทธิและไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า 2.มาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยาระยะยาว และ3.มาตรการสร้างเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค

สำหรับความคืบหน้าของการเตรียมความพร้อมให้บริการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุนสุขภาพ นายกรัฐมนตรีให้ทั้ง 3 หน่วยงานจัดเตรียมแผนปฏิบัติการ แก้ไขระเบียบของแต่ละกองทุนเพื่อให้เกิดเอกภาพและคล่องตัว ไม่ส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลที่ให้บริการ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจผู้บริหารโรงพยาบาลภาครัฐทั้งในและนอกสังกัด และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศแล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2555 โดยในการให้บริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามระบบปกติของทั้ง 3 กองทุน จะดูแลจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการทุเลาและกลับบ้านได้ หรือส่งต่อผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่โรงพยาบาลที่อยู่ในระบบ ไม่ต้องมีระยะเวลาสิ้นสุด 72 ชั่วโมงเหมือนที่ผ่านมา โดยสปสช.จะเป็นศูนย์กลางติดตามการเบิกจ่ายค่าบริการ และได้จัดเตรียมสายด่วน 1330 พร้อมให้บริการให้ข้อมูลแก่ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในการดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกประเภท กระทรวงสาธารณสุขจะใช้กลไกสายด่วนกู้ชีพ 1669 มาร่วมบริการด้วย

ส่วนมาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยาระยะยาวนั้น ที่ประชุมมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ 3 กองทุน จัดทำมาตรการเพื่อควบคุมราคายา และการบริโภคยา เช่น การรวมซื้อยาที่ส่วนกลาง หรือการต่อรองราคายา และส่งเสริมการสั่งยาโดยการใช้ชื่อสามัญทางยา เป็นต้น

สิ่งที่ดีที่สุดคือ คุณต้องป้องกันไม่ให้ฉันเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะดีกว่าครับ

การป้องกันไม่ให้ฉันต้องเข้าโรงพยาบาล : Child Care Area D หยุดบุหรี หนีสุรา จากลาสงบ

สำหรับนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ได้ให้ 3 กองทุนสุขภาพ และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. บูรณาการ ร่วมกันเสนอประเด็นลดพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ และลดการเจ็บป่วย ซึ่งจะมีผลในการลดความจำเป็นในการเข้าสู่บริการบำบัดรักษาใน 5 เรื่องสำคัญในเบื้องต้น ให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่

1. การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (Child Care)

2. พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในระดับตำบล เพิ่มพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเยาวชน ลดพฤติกรรมเสี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด (Area D)

3. พัฒนาระบบการให้บริการเพื่อช่วยเลิกสูบบุหรี่ ผลสำรวจล่าสุดคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ 11.5 ล้านคน (หยุดบุหรี)

4. พัฒนาระบบการให้บริการเพื่อช่วยเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีข้อมูลในปี 2551 พบว่าประชาชนวัย 15-59 ปี เข้าข่ายมีความผิดปกติจากการดื่มสุรามากถึง 5 ล้านคน ในจำนวนนี้มีปัญหาติดสุราอย่างน้อย 3 ล้านคน (หนีสุรา) และ

5. การดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิต เผชิญความตายอย่างสงบ ปราศจากความเจ็บปวด(จากลาสงบ)

แต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต 4.5- 5 แสนคน สาเหตุการตายอันดับ 1 คือมะเร็ง รองลงมาคืออุบัติเหตุ โรคหัวใจ โดยการตายที่โรงพยาบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.2 ในปี 2532 เป็นร้อยละ 39.3 ในปี 2548 และพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,763 บาทสำหรับผู้ป่วยนอก 3 เดือนก่อนตาย และ 15,767 บาทสำหรับผู้ป่วยใน 6 เดือนก่อนตาย ในขณะที่โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรคทั่วๆไปเฉลี่ย 64,106 บาทต่อคนต่อปี แต่ในผู้ป่วยโรคมะเร็งค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80,780 บาทต่อคนต่อปี

ลำน้ำทวน คนเมืองบั้งไฟ สวยใส สู่สากล: ยโสธร





















วันที่ 30 มีนาคม 2555 ลำน้ำทวน คนเมืองบั้งไฟ สวยใส สู่สากล: ยโสธร

วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมกิจกรรม รวมพลังชาวเมืองบั้งไฟเพื่อลำน้ำทวนสวยใสสู่สากล ณ ท่าน้ำลำทวน หลังเรือนจำจังหวัดยโสธร

ประธานโดย นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

นายนิรันดร์ สมสมาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายชูศักดิ์ ตรีสาร รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

นำคณะ ข้าราชการ ศาล ทหาร ตำรวจ จากทุกส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา เรือนจำ และภาคเอกชน เข้าร่วมงานจำนวนมาก

นายแพย์บุญชัย ธีระกาญจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร มอบหมายให้นาง อรวรรณ ยืนยง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ นายมงคล สุทธิอาคาร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำคณะ

เข้าร่วมงาน และ ให้การสนับสนุน หน่วยปฐมพยาบาล ในงานครั้งนี้ด้วย

ทำหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการ ตลอดงาน โดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

กิจกรรมในวันนี้เป็นการร่วมกันทำงานจากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ร่วมบูรณาการปรับปรุงลำน้ำทวน ให้เป็นแหล่งพักผ่อนและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของจังหวัดยโสธร โดยมีกิจกรรมนำเรือขุดขนาดใหญ่บรรทุกรถแบ๊คโฮ ขุดลอกวัชพืชและนำวัชพืชมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กิจกรรมปล่อยพันธ์ปลา 1, 00,000 ตัว (หนึ่งล้านตัว) กิจกรรมการปลูกต้นไม้ (ต้นยางนา บัวแดง ต้นคูณ) การแข่งขันการทำปุ๋ยอินทรีย์ การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งพายเรือ 2 ฝีพาย และการแข่งขันเซียนแห ลำน้ำทวน

…. เซียนแห หมายถึง ผู้ที่ใช้แห จับปลาได้อย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ

งานในวันนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ห่งการทำงานเป็นทีมงานที่ดีร่วมกัน ของ กรมยโสธร โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ให้ประชาชนในจังหวัดของเรา กินอิ่ม นอนอุ่น ท่ามกลางความสุขอย่างพอเพียง ต่อไป นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าว

ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ ได้มาตรวจสอบสภาพอากาศที่จังหวัดยโสธรแล้วพบว่า อากาศที่ยโสธร เป็นอากาศที่ดีมาก

การสนับสนุนแบบบูรณาการ ที่ประทับใจเช่น เตรียมสถานที่จัดงาน โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร

สำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร จ้างแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม มาร่วมงาน จำนวน 230 คน คนละ 10 วัน อัตราวันละ 150 บาท

ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่เป็นประชาชน จาก พื้นที่ เทศบาลเมืองยโสธร เทศบาลตำบลตาดทอง องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่องคำ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำใหญ่ และ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอเมืองยโสธร

ฌาปนกิจศพ นางสีเครือ เสนาะทิพย์ ณ วัดศรีฐานใน
















วันที่ 30 มีนาคม 2555 ฌาปนกิจศพ นางสีเครือ เสนาะทิพย์ ณ วัดศรีฐานใน

เวลา 13.29 น. ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง หัวหน้างานพัสดุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เข้าร่วมงานแสดงความเสียใจกับ ครอบครัว เสนาะทิพย์ ในงาน ฌาปนกิจศพ นางสีเครือ เสนาะทิพย์ ณ วัดศรีฐานใน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ประธานในงาน โดย นายสุริยันต์ มิ่งขวัญ รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การประถมศึกษายโสธร เขต ๑

ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ ที่มาร่วมงาน มากมาย ที่ผมรู้จัก อาทิเช่น

นพ.อนุวัตร แก้วเชียงหวาง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

นายสมชาย แก่นของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นิคม

นายสมัคร พุ่มทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกุง

นางนุสรา สิงหา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระจาย

นายวินัย บุญยู้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นิคม

นายบัญญัติ ขอสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนขะยอม

นายกมลรัตน์ สำราญสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่วงไข่

นายพร้อม หอมหวน รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าติ้ววิทยา

นายสุพิศ ทอนศรี เป็นต้น

นายสุรพงษ์ ไตรเศวกวิสัย ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ สาขาป่าติ้ว

คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง นำคณะ ญาติๆ จาก บ้านสีสุก ตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูล มาร่วมงานหลายคน อาทิเช่น นายสุริยา เหมือนทอง ผู้ใหญ่บ้านบ้าน สีสุก นายวีระ ชายทวีป อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้าน สีสุก นายสุวรรณ จันทร์สว่าง เป็นต้น พิธีกรดำเนินรายการ โดย นายบุญชอบ น้อยเสนา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกพระเจ้าโนนรัง

เจ้าภาพ ประกอบด้วย นายมงคล นันทเสนา บุตรชาย นางประยงค์ นันทเสนา บุตรสะใภ้

นายพงษ์ศักดิ์ นันทเสนา บุตรชาย นางใครสี นันทเสนา บุตรสะใภ้

นางภักดี เข็มเพชร บุตรสาว นายอัศวิน เข็มเพชร บุตรเขย

นายบุญเกื้อ เสนาะทิพย์ บุตรชาย นางกัญญารัตน์ เสนาะทิพย์ บุตรสะใภ้

นายบุญเพ็ง เสนาะทิพย์ บุตรชาย นางระวี เสนาะทิพย์ บุตรสะใภ้

นางวงเดือน มาลัย บุตรสาว นายศิริวงษ์ มาลัย บุตรเขย

นางดวงดาว มูลสาร บุตรสาว นายสว่าง มูลสาร บุตรเขย

ขอบพระคุณ เพื่อนผม นายนาย หรือ นายวิรัตน์ นันทเสนา ที่ แจ้งข่าวนี้ให้กับผมและพี่ชายทราบครับ

หมายเหตุ คุณแม่สีเครือ เสนาะทิพย์ เป็น มารดา นายบุญเพ็ง เสนาะทิพย์ คุณแม่สีเครือ สกุลเดิม นางสีเครือ สุรเสียง เกิดที่ อำเภอกุฉนารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สมรสกับนายสุดตา นันทเสนา มีบุตรด้วยกัน 3 คน

สมรสครั้งที่ 2 กับ นายพัด เสนาะทิพย์ มีบุตรด้วยกัน 4 คน

คุณแม่สีเครือ เป็นคนสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยเบิกค่ารักษาจากทางราชการเลย ท่านเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ สำลักควันไฟ ในวันที่ 30 มีนาคม 2555 สิริอายุได้ 76 ปี 10 เดือน 23 วัน

คุณแม่สีเครือ เสนาะทิพย์ เป็น มารดาเป็น มารดา นายมงคล นันทเสนา คุณครูโรงเรียนบ้านนิคม

นางภักดี เข็มเพชร หรือคุณครู มง คุณครูภักดิ์ ที่ชาวบ้านสีสุก อำเภอทรายมูล รู้จักกันดี ด้วยว่าทั้งคู่ เป็นผู้บุกเบิก นำทาง ให้ น้องๆ บ้านสีสุก รุ่นหลังๆ ได้รู้จักคำว่าศึกษาต่อ และ อาชีพการรับราชการ ครับ

นายบุญเพ็ง เสนาะทิพย์ เพื่อน พอ.51 วสส.ขอนแก่น เพื่อนร่วมรุ่น และเพื่อนรักของผม โทร.042660011 ปัจจุบันรับราชการที่ โรงพยาบาลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร สมรสกับนางระวี เสนาะทิพย์ โทร. 0852612724

มีบุตร 2 คน คนโต ชื่อ เจม นางสาวปิยะวรรณ คนเล็กชื่อ จ๋า นางสาว นลินี ทั้งคู่กำลังศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอแสดงความเสียใจกับ ญาติๆของ คุณแม่สีเครือ เสนาะทิพย์ ทุกคน ขอดงวิญญาณ คุณแม่ จงไปสู่สุขคติในสวรวงสวรรค์ครับ

คำเขื่อนแก้วYasothon


วันที่ 30 มีนาคม 2555 คำเขื่อนแก้วYasothon

กิจกรรมทั่วไป ของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว วันนี้

เวลา 09.09 น. นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ออกตรวจสุขภาพเชิงรุกเคลื่อนที่ ณ พื้นที่ ตำบลโพนทัน ร่วมกับ นายอรุณ ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน และ คณะ

เวลา 11.09 น. นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ประชุมร่วมกับ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายกฤตกร ถาศักดิ์ ปลัดอำเภอ(อาวุโส)อำเภอคำเขื่อนแก้ว นายจรินทร์ แสนเมืองแก้ว ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง อำเภอคำเขื่อนแก้ว นางนัยนา ดวงศรี หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เรื่อง การเตรียมความพร้อม การจัดค่ายพลังใจม่วนซื่น คืนคนดีสู่สังคม ณ ห้องประชุม ชั้น สอง ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว

เวลา 13.09 น. นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ ประชุมร่วมกับ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตามรูปแบบ Yasothon Model ณ ห้องประชุม ชั้น สอง ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยเป้าหมายคือ การบูราการทำงานเป็นทีมทั้งอำเภอในพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 2 ตำบลกุดกุง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประชาชนเป้าหมาย 246 คน

บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลกุดกุง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประชาชนเป้าหมาย 91 คน

บ้านทรายงาม หมู่ที่ 5 ตำบลกุดกุง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประชาชนเป้าหมาย 78 คน

เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคนเริ่ม1เมษายน2555



วันที่ 29 มีนาคม 2555 เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคนเริ่ม1เมษายน2555

วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

เวลา 09.09 น. นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ออกตรวจสุขภาพเชิงรุกเคลื่อนที่ ณ พื้นที่ ตำบลนาแก ร่วมกับ นางเดือน ตั้งจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาหลู่ และ คณะ

วันนี้ ขอบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของการจัดการระบบสุขภาพของไทย ก้าวใหม่ การจัดการที่ประทับใจ รายละเอียดต้อง ขอบพระคุณ ข้อมูล จาก http://www.dailynews.co.th/politics/19464

นี้ครับ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 28 มีนาคม 2555 ณ ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงบันทึกความร่วมมือของ 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข และนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันภายใต้นโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน เริ่มตั้งแต่วันที่1 เม.ย. 2555 เป็นต้นไป โดยผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทันที ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้เป็นการดำเนินการเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ตามนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องการยกระดับการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ผ่านมาโครงการนี้ได้รับการตอบรับจากต่างประเทศอย่างมาก แม้แต่องค์กรสหประชาชาติหรือยูเอ็นก็ยังพูดถึงว่าประเทศไทยมีจำนวนอัตราการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขสูงกว่าประเทศอื่น ๆ แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจ และเราก็ไม่ควรจะหยุดอยู่แค่นี้ ซึ่งการรวม 3 กองทุนในครั้งนี้ จะทำให้ประชาชนที่ป่วยฉุกเฉิน เข้าถึงการดูแลรักษาอย่างทันทีถ่วงที ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ เข้าได้ทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องถูกถามสิทธิ และไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนเหมือนในอดีต

ยืนยันว่า นโยบายนี้ ไม่ใช่เป็นการยุบรวมกองทุนทั้ง 3 กองทุน ไม่ได้เอาเงิน 3 กองทุนมาใช้ ทุกกองทุน ยังต้องบริหารจัดการเหมือนเดิม เพียงแต่มีการบูรณาการ และสวัสดิการที่แต่ละกองทุนเคยให้อย่างไร ก็ไม่ได้ลดลง มีแต่จะเติมเต็มให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจากนี้ไปก็จะไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติที่ต้องลงไปทำความเข้าใจกับประชาชนถึงคำว่าฉุกเฉินว่าอยู่ในขอบข่ายอย่างไรที่จะได้รับสิทธินี้ ซึ่งต้องขอบคุณทุกฝ่าย โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่ให้ร่วมมือในโครงการนี้ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริงนายกรัฐมนตรี กล่าว

หลังจากนั้น เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทย ว่า กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการให้บริการประชาชนในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ประชาชนสามารถแสดงบัตรประชาชน เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันที ตั้งแต่วันที่ 1เม.ย.นี้ นอกจากนั้นยังได้เตรียมความพร้อมด้านบุคคลากรไว้แล้ว เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ยืนยันว่าทั้งสามกองทุนมีความพร้อมที่จะดูแลประชาชน สำหรับข้าราชการถือว่าได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้นคือไม่ต้องจ่ายเงินก่อน ถือว่าดีกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ตามการให้บริการประชาชนครั้งนี้ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลเอกชนด้วย ก่อนหน้านี้ นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินสายชี้แจงทำความเข้าใจ ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว.

เรียนปริญญาโท:ผู้ที่จบปริญญาโท:15คนสาธารณสุขคำเขื่อนแก้ว



วันที่ 29 มีนาคม 2555 เรียนปริญญาโท:ผู้ที่จบปริญญาโท:15คนสาธารณสุขคำเขื่อนแก้ว

รายชื่อข้าราชการในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท

หรือ Master Degree เพื่อบันทึกในทะเบียนประวัติการรับราชการ(กพ.๗) จำนวน9 คน ดังนี้

นายวิทยา เพชรรัตน์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก พัฒนาสังคม

จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๐

นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การบริหารสาธารณสุข

จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๕

นายคมสัน อดกลั้น ตำแหน่ง นักวิชาการ สาธารณสุขชำนาญการ

ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก พัฒนาสังคม

จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙

นายบัณดิษฐ สร้อยจักร ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

นางจงจิต สร้อยจักร ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอก จิตวิทยาการให้คำปรึกษา

จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๒

นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การบริหารการบริการสุขภาพ

จาก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

นางปราณี ศรีแสน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การสร้างเสริมสุขภาพ

จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

นางสาวอุทัยวรรณ สุภี ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การสร้างเสริมสุขภาพ

จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

นางสาวจิตร์สุดา อรจันทร์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก อนามัยสิ่งแวดล้อม

จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

นอกจากนั้น ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จะมี เพิ่มอีก เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบวิทยานิพนธ์ 6 คน รวมเป็น 15 คนครับ ขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับ ว่าที่ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ

นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ

ทศพล นิติอมรบดี หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม

นางชนัญชิดา จุฑาสงฆ์ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล

นางโสภิดา พลไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาคำ

3/29/12

ข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติด (DDIC):ประชุมกก.จ.ยโสธร




วันที่ 28 มีนาคม 2555 ข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติด (DDIC):ประชุมกก.จ.ยโสธร

วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม เครือข่ายพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารยาเสพติด จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุมพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประธานการประชุม โดย ภก.องอาจ แสนศรี รักษาราชการแทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกส่วนราชการในจังหวัดยโสธร

ประสานการจัดการประชุม ด้วยดีโดย นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางพิสมัย รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายนพพร รากวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ

ทั้งนี้ ท่านประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้มอบหมายให้ นายแพย์บุญชัย ธีระกาญจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติด ( Drug Demand Information Center) ณ กลุ่มงานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 ข้อ 3 ที่ว่าด้วยสถานที่ราชการ ให้การติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือ การได้รับคำแนะนำ จากหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนา ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร และ พร้อมการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการบำบัดรักษายาเสพติด ของจังหวัดยโสธร ให้มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชนในภาพรวม ในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญด้านการบำบัดรักษายาเสพติด 3 ระบบให้มีประสิทธิภาพทั้ง

- Template Data ด้านการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ

- Template Data ด้านการบำบัดรักษาในระบบบังคับบำบัด

- Template Data ด้านการบำบัดรักษาในระบบต้องโทษ

จังหวัดยโสธรมีเป้าหมายผู้เสพผู้ติดยาเสพติดทุกระบบที่เข้ารับการบำบัดรักษาฯและได้รับการเยี่ยมติดตามประจำปีงบประมาณ 2555 รวม539,257คน รวมเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 2,633 คน รวมเป้าหมายในระบบสมัครใจ 2,172คน (ร้อยละ 82.5 ของทั้งหมด) โดยสามารถแยกเป้าหมายผู้เสพผู้ติดยาเสพติดทุกระบบ รายอำเภอ ดังนี้

อำเภอเมืองยโสธร 130,208คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 635คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 525คน

อำเภอทรายมูล 31,026 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 152คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 127คน

อำเภอกุดชุม 66,295 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 324คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 266คน

อำเภอคำเขื่อนแก้ว 68,012คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 331คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 272คน

อำเภอป่าติ้ว 35,029 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 171คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 141คน

อำเภอมหาชนะชัย 57,893 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 283คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 233คน

อำเภอเลิงนกทา 94,672 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 462คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 381คน

อำเภอค้อวัง 25,929 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 127คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 105คน

อำเภอไทยเจริญ 30,193 คนเป้าหมายการบำบัดทุกประเภท 148คนเป้าหมายในระบบสมัครใจ 122คน

อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ในคณะทำงานชุดที่ 5 ชื่อคณะกรรมการด้านการจัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย

1.นายบรรจบ แสนสุข จนท.วิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ ประธานกรรมการ

2.นางนิภาภรณ์ ภาคพรหมนักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานยาเสพติดรองประธานกรรมการ(บริหาร)

3.นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว รองประธานกรรมการ(วิชาการ)

4.นางสิริพร พงศ์พัฒนโชติ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสจ.ยโสธร กรรมการ

5.นางพรพิไล วรรณสัมผัส นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสอ.เมืองยโสธร กรรมการ

6.นายนคร ผิวอ่อน นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสอ.ทรายมูล กรรมการ

7.นางสาวจิตรลดาวรรณ โสวะภาสน์ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสอ.เลิงนกทา กรรมการ

8.นางสาวเจนจิรา มูลสาร นักวิชาการสาธารณสุข สสอ.ไทยเจริญ กรรมการ

9.นางสาววิภาดา ป้องปลา นักวิชาการสาธารณสุขสสอ.ค้อวัง กรรมการ

10.นางสาวอัมพวัน พลศักดิ์ นักวิชาการสาธารณสุข สสจ.ยโสธร กรรมการ

11.นางพิศมัย รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสจ.ยโสธร กรรมการและเลขานุการ

12.นายนพพร รากวงค์ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สสจ.ยโสธร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยคณะกรรมการด้านการจัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล มีหน้าที่

1.จัดเก็บรวบรวมข้อมูลบำบัดรักษาทุกระบบ และ พัฒนาการดำเนินงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารยาเสพติดจังหวัดยโสธร

2.วางแผน ติดตามควบคุม กำกับ ประเมินผลการดำเนินงานฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3.ออกแบบ จัดทำรายงาน และ นำเสนอข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องในศูนย์ข้อมูลข่าวสารให้เป็นปัจจุบัน

ขอบพระคุณ ผู้เข้าร่วมประชุม ทุกท่าน อาทิเช่น

นายศุภเกียรติ บุญทศ จพง.สาธารณสุข อาวุโส สสอ.มหาชนะชัย

นางสาวราศรี อาษาจิตร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.ป่าติ้ว

นางอนัญญา โรจนชาตรี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.กุดชุม

นายประเวศน์ ละครราช จพง.คุมประพฤติ ชำนาญการ สนง.คุมประพฤติ จ.ยโสธร

สิบเอกชำนาญ วงศ์พรม จนท.ธุรการ รร.วิวัฒน์พลเมืองค่ายบดินทรเดชา

สิบเอกปัญญา สืบเหล่างิ้ว จนท.ธุรการ รร.วิวัฒน์พลเมืองค่ายบดินทรเดชา

นางสาว รุ่งนภา อรัญพันธุ์ จพง.ธุรการฯ สนง.คุมประพฤติ จ.ยโสธร

นางทิฆัมพร อุทธศรี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพร.เลิงนกทา

นางสาวจันทร์เพ็ญ นิยมพงษ์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.ไทยเจริญ

นางสุปราณี พลไชย พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.ยโสธร

นางสุปราณี ศรีพรหม พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.ยโสธร

นางธันยาภัทร ทองมูล พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.ค้อวัง

นายศักดาฤทธิ์ ทองน้อย พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.มหาชนะชัย

นางสาวปัทมา สุวรรณเพชร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.ทรายมูล

นายวิชิต กาลจักร นวก.สาธารณสุข ชำนาญการ สสอ.กุดชุม

นายปานปกรณ์ หูตาชัย นวก.สาธารณสุข ชำนาญการ สสอ.ป่าติ้ว เป็นต้น

การบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ แบ่งความรับผิดชอบกันดังนี้

งบประมาณ จาก องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) เทศบาล ให้การสนับสนุน

การหากลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบำบัด โดยทีมงาน ตำรวจ ที่ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคฯ ให้นโยบายกับผู้กำกับทุกแห่งแล้ว การบำบัด หรือ การเข้าค่าย โดย ทีมงาน สาธารณสุข