3/26/15

26 มีค.2558 อีสานตอนล่าง_ร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด_สุนีย์แกรนด์

26 มีค.2558 อีสานตอนล่าง_ร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด_สุนีย์แกรนด์
วันที่ 26 มีนาคม 2558  วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  ประชุมคณะทำงานการบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ปี งบประมาณ 2558 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ( อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ ) ณ ห้องประชุม โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ประธานการเปิดประชุม โดย นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
กล่าวรายงานโดย นายสมบัติ บุญโอภาส ผอ.ส่วนประเมินผล สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 3 นครราชสีมา
                   วัตถุประสงค์ เพื่อ ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งการค้นหา การคัดกรอง การบำบัด ฟื้นฟู และการติดตามดูแล ช่วยเหลือ ได้รับทราบ เจตนารมณ์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ตลอดจนระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เพื่อบูรณาการ การปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟู และการดูแลผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู
ทั้งนี้กำหนดการประชุม  วันที่ 26 มีนาคม 2558 ถึง วันที่ 27 มีนาคม 2558  ณ ห้องประชุม โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ศป.ปส.อ.) อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
มีผู้ร่วมประชุม จำนวน 3 คน โดยมีคณะ ดังนี้
            นายวสันต์ ระดมเล็ก ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
            ร.ต.ท.ประสงค์ ทอนศรี      รอง สาวรัตร สืบสวน สอบสวน สภ.คำเขื่อนแก้ว





วิทยากร อื่นๆ อาทิเช่น
นายกอบศักดิ์ ใจแสน ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงาน ปปส.ภาค 3 นครราชสีมา
8 ยุทธศาสตร์หลัก ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2558 จำนวน 8 ยุทธศาสตร์หลัก
            ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ 1. เกี่ยวกับ คนตัว ยา 2. เกี่ยวกับ พื้นที่ และ 3 เกี่ยวกับ การบริหาร
            สถานการณ์ทั่วไป การจับกุมเพิ่มขึ้น ผู้เสพหน้าใหม่เพิ่มขึ้น อายุของเสพหน้าใหม่ลดลงเรื่อยๆ
ผู้เสพหน้าใหม่ (ยาเสพติด มาไม่เกิน 1 ปี ) ทั่วประเทศ เพิ่มขึ้น ประมาณ ร้อยละ 7 แต่ ในพื้นที่ ภาคอีสานตอนล่าง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ
ข้อมูลจริง ปัจจุบันไม่มีข้อจำกัด เรื่องเข้าค่าย คนหนึ่งคน จะสามารถเข้าค่ายได้กี่ครั้ง ปัจจุบัน 20 ครั้งก็มี
ข้อมูลจริง คนที่เข้าค่าย บางคน ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเลยก็มี
ข้อมูลจริง การติดตามหลังการบำบัดทำได้เพียง ร้อยละ 80

( ปัจจุบัน กลุ่มเสพ กลุ่มใช้ เข้าค่ายได้ แต่กลุ่มติด เข้าค่ายไมได้ )
จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดนำร่องด้านการ บำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
กว่าจะถึง อนุบาลก็สายเสียแล้ว
            E F (Efficiency of Forebrain)

            การสร้างความภูมิคุ้มกัน แบบบูรณาการ โดยการกระตุ้นการใช้สมองส่วนหน้า ให้กับเด็กเล็ก โดยการเล่านิทาน
ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล จะสามารถป้องกันได้ทั้งยาเสพติด เพศ ความรุนแรง อุบัติเหตุ เป็นต้น
            ตัวอย่างเด็กที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ วันเฉลิม จากทองเนื้อเก้า ทั้งๆที่เขาอยู่นสภาพแวดล้อมที่แย่ แต่เขามีภูมิคุ้มกันที่ดี จึงสามารถมีชีวิตที่ดีได้

วิทยากร จากตำรวจ
            พ.ต.ท.ยิ่งเทพ จันทรังษี รอง ผกก ตำรวจ ปปส.
อำนาจ ตรวจปัสสาวะ สามารถทำได้ 4 กรณี
1. ตรวจโดย จพง.ปปส. ตาม พรบ.ปปส. 2519
2. ตรวจโดย ฝ่ายปกครอง ตำรวจ หรือ จนท.สาธารณสุข ตาม พรบ.ยาเสพติด. พ.ศ.2522
3. อำนาจ ตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
4. อำนาจ ตามแบบให้ความยินยอม ของเจ้าของปัสสาวะ           
( แบบตรวจหาสารเสพติด เส้นเยอะ ปล่อยไป เส้นน้อย เอาเข้าระบบ
คือ ขึ้น 2 ขีด ผลลบ ขีดเดียว ผลบวก )

            อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ไม่มีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหา    เพราะหากสมัครใจ จะไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับคดี

            สารระเหย ไม่สามารถตรวจปัสสาวะพบ
สารระเหย อันตรายกว่ายาเสพติดชนิดอื่นๆ

จนท.ตำรวจ         นำส่งผลให้ศูนย์คัดกรอง ( ตำรวจได้ค่านำส่ง รายละ 100 บาท )
           
เด็ก สามารถเข้าสู่ ระบบสมัครใจได้ไหม   
ตอบ เด็ก สามารถเข้าสู่ ระบบสมัครใจได้ เพราะไม่มีการดำเนินคดีใดๆ
            หากอายุไม่เกิน 18 ปี ให้ ญาติ หรือ นอภ. กำนัน ผญบ. ลงมือรับทราบ

วิทยากร จากตำรวจ สาธารณสุข จาก สถาบันธัญญารักษ์ ขอนแก่น

สำหรับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
            ทำหน้าที่ เป็น เจ้าหน้าที่ศูนย์คัดกรอง
            โดยใช้แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข( แบบ บคก.สธ. V2 ) โดยต้อง ถามด้วยตนเอง จำนวน 6 ข้อ
ภาคปฏิบัติ หน่วยงานใด ยังไม่อบรม การใช้เครื่องมือ ตาม แบบ V2 ให้จัดอบรมให้กับ บุคลากรต่อไป
           
ผู้ใช้ ผู้เสพ          บำบัดด้วระบบสมัครใจ
ผู้ติด                  บำบัดด้วย Matrix Program เป็นต้น

แบบบันทึก บสต. บันทึกกรณีใด
            กรณี ที่ผู้บำบัดให้การบำบัดเอง ในระบบสมัครใจทุกรณี ให้บันทึก บสต. จนครบ
            กรณี บำบัดระบบค่าย ไม่ต้องบันทึกรายงาน ระบบ บสต. มหาดไทยจะบันทึก ระบบ NISPA เอง

หาก ผู้ป่วยรายใด เข้ารับการบำบัด เกินกว่า 5 ครั้ง
            ให้ผู้บำบัดส่งให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด(สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด)
เพื่อส่งเข้าบำบัดตามระบบังคับบำบัดต่อไป     

            

            

25 มีค.2558 ถกงบค่าเสื่อม_งบลงทุน_พัฒนายโสธรบ้านเรา

25 มีค.2558 ถกงบค่าเสื่อม_งบลงทุน_พัฒนายโสธรบ้านเรา
วันที่ 25 มีนาคม 2558  วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการบริหารจัดการ แผนงบลงทุนและค่าเสื่อม จังหวัดยโสธร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙
ณ ห้องประชุมชั้น ๓ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
ประธานและดำเนินการประชุมโดย นายบรรจบ แสนสุข กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
ประสานการจัดอบรมด้วยดีโดยนายปรีชา ลากวงศ์ นักวิชาการสาธารณุข และคณะจากกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข





แนวทางการจัดทำคำของบประมาณงบลงทุน งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙
งบค่าเสื่อม หรือ งบลงทุน งบอะไรกันแน่
ก่อนปี งปม.2558  สปสช. เรียกว่า     งบลงทุนเพื่อการพัฒนา     
ปี งปม.2558        สปสช. เรียกว่า งบค่าเสื่อม
ปี งปม.2559   สปสช. เรียกว่าค่าบริการทางการแพทย์ ที่เบิกจ่ายในลักณะงบลงทุน
สิ่งที่ควรทราบร่วมกันเป็นเบื้องต้น
Timing cycle การปฏิบัติงาน งบประมาณ ประจำปี
1.     ใบแจ้งจัดสรรของปีงบประมาณใด จะแจ้งให้ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดทราบประมาณ ปลายปีงบประมาณ
2.     นักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร แจ้งรายการกลับไป เพื่อให้สำนักงบประมาณ นำเข้าไปบรรจุ ในแผน พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล  
(ความยาก ของขั้นตอนนี้คือ รายการใด ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ในรายการของสำนักงบประมาณแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณได้ )
3.     สิ่งที่เราควรทำ จึงต้องวางแผนการใช้งบประมาณ ให้สมบูรณ์ที่สุด ทั้งรายการตาม Check list มาตรฐาน
แบบแปลนประกอบการของบประมาณ หน่วยที่ขอรับงบประมาณ)  หากไม่มีใน Check list มาตรฐาน ต้อง กำหนด เหตุผล ความจำเป็น (ใหม่ ทดแทน ) และ Specific ด้วย
4.     ขอบคุณ คุณ อนันต์ ชูเสน ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เรื่อง การบันทึกความก้าวหน้า หรือการยืนยัน ทางหน้า Web ใช้รหัส สปสช. ทีบันทึก E Claim  
แต่สภาพปัญหา คือ รายการที่บันทึกไม่มี ใน Check list มาตรฐาน จึงไม่สามารถ ดำเนินการต่อได้

แห่งจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย
1.     งบลงทุนที่ได้รับจัดสรร จาก สปสช.  
2.     งบลงทุน ที่ได้รับจัดสรร จาก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)
งบลงทุนที่ได้รับจัดสรร จาก สปสช.  
แหล่งงบประมาณ ได้รับ จัดสรร 128.69 ต่อหัวประชากร
กติกา หลักการ             
กำหนดให้ ใช้สำหรับ หน่วยบริการเท่านั้น
            ใช้ในกิจการของหน่วยบริหารไม่ได้
สัดส่วนการบริหารงบประมาณ
สัดส่วน 80 % แรก ให้ CUP บริหารจัดการ ไม่จำกัด วงเงิน  
อำนาจการอนุมัติ รายการ การเปลี่ยนแปลงรายการ งบประมาณ จำนวนนี้ คือ ประธาน คปสอ.
สัดส่วน 20 % หลัง ควรนำมา Priority ในภาพรวม
วงเงินการของบประมาณในแต่ละรายการ (10 ล้าน 5 ล้าน 1 ล้าน)
สิ่งก่อสร้าง รพศ.10 ล้านบาท รพช. 5 ล้าน หน่วยปฐมภูมิ 1 ล้าน
ครุภัณฑ์ รพศ.10 แสน รพช.5 แสน  หน่วยปฐมภูมิ  2 แสน

งบลงทุน ที่ได้รับจัดสรร จาก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)
            สามารถใช้ได้ทั้ง สำหรับ หน่วยบริการ และหน่วยบริหารได้
กติกา หลักการ             
1.     บริหารในระดับเขตสุขภาพก่อน โดยยึดการบริหารจัดการ ตาม SERVICE PLAN ( A S M F P )
2.      
80 % แรก ให้ CUP บริหารจัดการ ไม่จำกัด วงเงิน      
20 % หลัง          ควรนำมา Priority ในภาพรวม
สิ่งก่อสร้าง 10 ล้าน 5 ล้าน 1 ล้าน
ครุภัณฑ์ 10 แสน 5 แสน  2 แสน

การเบิกจ่ายงบประมาณ
เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว กระทรวงจะติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ
            ส่วนมากจะเป็นการจัดซื้อโดยวิธีการสอบราคา ซึ่งมี ขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน
           
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเดิม
1.     หน่วยที่จำเป็นเร่งด่วนจริงๆ ไม่ได้ งบประมาณตามความจำเป็น
2.     หน่วยที่ได้รับ ครุภัณฑ์ ไป บางแห่ง ไม่มีบุคลากร ที่สามารถให้บริการได้
3.     งบประมาณ ที่ได้รับ มี แบบ รายการตามมาตรฐานกลาง
4.     บางหน่วย มีข้อมูลประกอบการขอ ไม่สมบูรณ์ ที่สำคัญคือ สิ่งก่อสร้าง ไม่มีแบบแปลน ประกอบการขอ
ครุภัณฑ์ ไม่มีใบเสนอราคา ไม่มี Spec เป็นต้น
5.     หน่วยบริหาร มีความจำเป็นต้องได้รับจัดสรร งปม. แต่ติดเงื่อนไข จาก สปสช.
6.     งบประมาณ บางอยย่าง จำเป็นต้อง นำมาจัด Priority ในระดับจังหวัด เช่น อาคาร รพ.สต.
บ้านพัก เจ้าหน้าที่ เป็นต้น

การบ้าน ให้ พิจรารณา ตามเงื่อนไข  ใน sheet งปม.ปี 2560-ปี 2564
ให้เรียบร้อย
ไป Priority ในแต่ละ อำเภอให้เรียบร้อย
ส่งไฟล์ในภาพรวม ของ คปสอ. เป็น Single File ให้ กับ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
ภายในวันที่  17 เมษายน 2558
จากนั้น สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร นัด Priority ในระดับจังหวัดต่อไป
           
20 % หลัง          ควรนำมา Priority ในภาพรวม
สิ่งก่อสร้าง 10 ล้าน 5 ล้าน 1 ล้าน
ครุภัณฑ์ 10 แสน 5 แสน  2 แสน
หาก งปม.น้อยกว่า ให้ผลักเข้าไปไว้ในส่วน 80 % แรก

โดยให้ CUP บริหารจัดการ ไม่จำกัด วงเงิน     

24 มีค.2558 ตายอย่างมีศักดิ์ศรี:FCT คำเขื่อนแก้ว ให้บริการถึงบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง

24 มีค.2558 ตายอย่างมีศักดิ์ศรี:FCT คำเขื่อนแก้ว ให้บริการถึงบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง
วันที่ 24 มีนาคม 2558  กิจกรรม ประจำวันนี้ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก
24 มีนาคม 2558 บรรยาให้ความรู้ นศ.ฝึกประสบการณ์ มหาวิทยาลับราชภัฎอุบลราชธานี
24 มีนาคม 2558 FCT คำเขื่อนแก้ว คณะทีมหมอครอบครัว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ออกปฏิบัติงาน ร่วมกับ Node ย่อ
เพื่อเยี่ยมติดตามเยี่ยมติดตาม ผู้ป่วย ติดเตียง Palliative Care ในพื้นที่
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว แพทย์หญิง เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำคณะ สหวิชาชีพ ออกปฏิบัติงาน โดยพร้อมเพรียงกัน


ภาพ ข่าว อยู่ระหว่างการปรับปรุง

23 มีค.2558 Morning Talk_วางแผนงานประจำสับปดาห์

23 มีค.2558 Morning Talk_วางแผนงานประจำสับปดาห์
วันที่ 19 มีนาคม 2558  วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุม
Morning Talk_วางแผนงานประจำสับปดาห์
กำหนดการ งาน ประจำเดือนนี้
  
23 – 24 มีนาคม 2558 ออกสำรวจ ข้อมูลการเฝ้าระวัง ยาสูบ (ในร้านค้าปลีก)
            จำนวน   150 ร้าน  อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
            พร้อมระบุ GPS ของร้าน จำหน่ายยาสูบ ( ในร้านค้าปลีก )
24 มีนาคม 2558 บรรยาย นศ.ฝึกงาน มหาวิทยาลับราชภัฎอุบลราชธานี
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชน
24 มีนาคม 2558 Palliative Care ออกพื้นที่ Node ย่อ

24 มีนาคม 2558 งาน NCD ประชุม โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

23 – 24 มีนาคม 2558 ประเมินผล ข้อมูล โครงการ TO BE NUMBER ONE
            อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

23 – 27 มีนาคม 2558 Preceptor ครูพี่เลี้ยง อปัชฌาย์ Proposal งานวิจัย
            ในพื้นที่ 5 เรื่อง

25 มีนาคม 2558 ประชุมทีม Palliative Care 09.00 น. ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
25 มีนาคม 2558 อำเภอยิ้ม เคลื่อนที่ ณ บ้าน

26 มีนาคม 2558 ศุภสิทธิ์ ตั้งจิต พร้อมเสนอ รายละเอียด วงเงิน งบประมาณ 100,000 บาท
ส่งร่าง ให้ ประธาน รองประธาน คปสอ.พิจรณา
สำหรับ ทีมหมอครอบครัว คณะปชส.และสื่อสาร 60,000 บาท
สำหรับ การประเมินผล งานหมอครอบครัว 40,000 บาท

26 มีนาคม 2558 เชิญ หัวหน้างาน ประชุม QOF ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

26 มีนาคม 2558 วิชาการ ทีมหมอครอบครัว
           
25 – 26 มีนาคม 2558 งบลงทุน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
            นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

26 – 27 มีนาคม 2558 จัด อบรม PCA ยา โซนใต้ ที่ ห้องประชุม โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

26 – 27 มีนาคม 2558 นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  ประชุมคณะทำงานการบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ปี งบประมาณ 2558 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ( อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ ) ณ ห้องประชุม โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 

22 มีค.2558

22 มีค.2558   
วันที่ 22 มีนาคม 2558  วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง กิจกรรม


ภาพ ข่าว อยู่ระหว่างการปรับปรุง

21 มีค.2558 อุบัติเหตุ ถนน 4 เลน ดงแคนใหญ่ บกน้อย

21 มีค.2558 อุบัติเหตุ ถนน 4 เลน ดงแคนใหญ่ บกน้อย
วันที่ 21 มีนาคม 2558  วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง กิจกรรม

ภาพ ข่าว อยู่ระหว่างการปรับปรุง


20 มีค.2558 กิจกรรม วัน อสม.คำเขื่อนแก้ว

20 มีค.2558 กิจกรรม
วันที่ 20 มีนาคม 2558  วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง รายงาน กิจกรรม  วัน อสม.คำเขื่อนแก้ว 


ภาพ ข่าว อยู่ระหว่างการปรับปรุง

19 มีค.2558 นำเสนอ Proposal งานวิจัยยาเสพติด ครั้งที่ 6

19 มีค.2558 นำเสนอ Proposal งานวิจัยยาเสพติด ครั้งที่ 6
วันที่ 19 มีนาคม 2558  วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานวิจัยยาเสพติด
ครั้งที่ ตามโครงการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 5 อาคารโรงพยาบาลยโสธร
วิทยากร โดย ดร.มนพ คณะโต ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยากรผู้ช่วย โดย อาจารย์ พูนรัตน์ ลียติกุล อาจารย์ สุจิตรา
            กิจกรรมหลักวันนี้เป็นการนำเสนอ Proposal ของทีมนักวิจัยยาเสพติด ตามหัวข้อ โครงร่างงานวิจัน ดังนี้
1.     หัวข้อวิจัย
2.     ทบทวนวรรณกรรม
3.     คำถามวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย
4.     วิธีการวิจัย
5.     แผนการวิจัย
6.     งบประมาณ
7.     แผนบริหารและใช้ประโยชน์
8.     ข้อเสนอวิจัย
                   ชื่อเรื่องมลทินทางสังคมที่เกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายบำบัดยาเสพติดกับผู้ปกครอง ญาติและผู้นำชุมชน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
                   เนื่องจาก เป็นการวิจัย ที่ไม่มีการใส่ Intervention
จึงพิจารณาตัวต่อไปว่า มี กลุ่มเปรียบเทียบหรือไม่        กรณีนี้ มีกลุ่มเปรียบเทียบ คือ ระหว่าง
ผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายบำบัดยาเสพติด กับ กลุ่มต่างๆ อีก 3 กลุ่ม คือ 1ผู้ปกครอง 2ญาติ และ 3ผู้นำชุมชน
                   ฉะนั้นแบบการวิจัย Research Design  เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study) Analytical Researchวิธีดำเนินการวิจัย
                   ในกลุ่มประชากรจำเพาะโดยวิธีการ Comparative Cross-Sectional Study เพื่อศึกษาเปรียบการเกิดมลทินทางสังคมที่เกี่ยวกับยาเสพติดระหว่างผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายบำบัดยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว ในปีพ.ศ. 2558 และ ประชาชน  3 กลุ่ม (ผู้ปกครอง ญาติ ผู้นำชุมชน) ในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 





18มีค.2558: ประสิทธิภาพE_Cliam_เพิ่มรายรับ รพ.สต.ได้_ดงเจริญตัวอย่างที่ดี

18มีค.2558: ประสิทธิภาพE_Cliam_เพิ่มรายรับ รพ.สต.ได้_ดงเจริญตัวอย่างที่ดี
วันที่ 18 มีนาคม 2558 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
ประสิทธิภาพE_Cliam_เพิ่มรายรับ รพ.สต.ได้_ดงเจริญตัวอย่างที่ดี
วิทยากรหลัก โดย  นายสาคร ขอสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ และคณะ






เรื่องอื่นๆ
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร กำหนด ออก ตรวจสอบภายใน ประจำปี 2558
หน่วยรับตรวจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุก ในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว วันที่ 8 -9 เมษายน 2558  เวลา 08.39 น. ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

กำหนดการ ตรวจสอบภายใน
วันที่ 8 เมษายน 2558  เวลา 08.39 น. ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
รพ.สต. 9 แห่ง ประกอบด้วย แคนน้อย ดงแคนใหญ่ บกน้อย นาหลู่ นาแก นาคำ นาเวียง กู่จาน และเหล่าไฮ

วันที่ 9 เมษายน 2558  เวลา 08.39 น. ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จำนวน 8 หน่วยรับตรวจ ประกอบด้วย
รพ.สต. โพนสิม ทุ่งมน ย่อ ดงเจริญ โพนทัน สงเปือย กุดกุง
และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

ให้เตรียมเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง เข้าไป เตรียมพร้อม ณ ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ดังนี้

เอกสารที่ต้องเตรียมประกอบการตรวจสอบภายใน ด้านการเงินและบัญชี และการควบุมภายใน
1.     งบทดลองประจำเดือน ตุลาคม ๒๕๕๗  ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
2.     บัญชีแยกประเภท ประจำเดือน ตุลาคม ๒๕๕๗  - ปัจจุบัน
เงินสด
เงินฝากธนาคาร
ลูกหน้เงินยืม
เจ้าหนี้
3.     รายงานเงินสดคงเหลือประจำวัน เดือน ตุลาคม ๒๕๕๗  - ปัจจุบัน
4.     สมุดเงินฝากธรชนาคาร และงบเทียบยอดเงินฝากธนาคาร ทุกบัญชี
5.     คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการเก็บรักษาเงิน
6.     คำสั่งแบ่งแยกหน้าที่
ด้านการเงิน
ด้านพัสดุ
7.     หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน เดือน ตุลาคม ๒๕๕๗  ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
8.     ทะเบียนคุมลูกหนี้เงินยืม / สัญญาการยืมเงิน
9.     รายละเอียดจ้าหนี้แต่ละประเภท
10.  รายละเอียดการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล

11.  สำเนาใบเสร็จรับเงิน ตุลาคม ๒๕๕๗  ถึง ปัจจุบัน