5/18/09
มาตรการ 3 ร. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) : รั้วล้อม รุกล้ำ รักษา
วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 :มาตรการ 3 ร. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) : รั้วล้อม รุกล้ำ รักษา
เวลา 13.49 น. ประชุม หัวหน้าสถานีอนามัย ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว วาระเร่งด่วนคือ การเตรียมรับสถานการณ์ การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ เม็กซิโก หรือ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ ชื่อปัจจุบันที่เป็นทางการล่าสุด ไข้หวัดใหญ่ ชนิด A H1N1
สรุปย่อ การประชุม เช่น ส่วนมาตรการ ในระดับประเทศคือ ล้อมรั้ว รุกล้ำ รักษา หรือ จำง่ายๆว่า 3 ร. รั้วล้อม รุกล้ำ รักษา
1.ล้อมรั้ว : มาตรการสกัดกั้น การดำเนินที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศทุกแห่ง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในประเทศ รวมทั้ง ใช้ Thermo scan ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ทั้งภาคพื้นดิน และ ท่าอากาศยาน เป็นการล้อมรั้วจากนอกประเทศ ไม่ให้มี Case Import เข้ามา
2. รุกล้ำ : มาตรการค้นหาและแก้ไข การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว และให้การวินิจฉัยรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ การจัดทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอ รวมทั้งการอบรมความรู้แก่ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน และให้คำแนะนำการป้องกันโรคแก่ประชาชน และ มาตรการเตรียมความพร้อมในวงกว้าง เน้นการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันตนเองได้ เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาใกล้เปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขขอให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ และสถานศึกษา ดังนี้
3. รักษา : หากมี Case ต้อง ให้การรักษาให้ทันเวลา เตรียมพร้อมสถานพยาบาล บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และยาและเวชภัณฑ์ที่เพียงพอ
สำหรับคำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้ประชาชนมั่นใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาการที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ และที่สำคัญต้อง สร้างสุขนิสัยการป้องกันโรค โดยกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอโดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิดและสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น หากมีผู้รู้จักซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วยเป็นไข้ภายใน 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาทันที
ทั้งนี้ ให้ สถานีอนามัยทุกแห่ง ให้ความสำคัญ โดย มีศูนย์ปฏิบัติการ การเฝ้าระวังโรคในระดับ สถานีอนามัยและตำบล การรายงาน ของ สอ. ให้ รายงานหากว่า มี Case ทุกกรณี และแม้ไม่มี Case ก็ให้ สอ.ทุกแห่ง รายงาน เป็น Zero Report รายงานตามระบบที่ หัวหน้างานควบคุมโรคได้วางระบบไว้ หรือสามารถ รายงานได้ทาง โทรศัพท์ ที่ นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 045581099 หรือ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว 045771191 Criteria ในการคัดกรองเช่น ประวัติมีไข้ 38 c ขึ้นไป ร่วมกับ อาการไอ เจ็บคอ ปวดศรีษะ มีน้ำมูก เป็นต้น สำหรับ .....สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) นั้น นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว หัวหน้างานควบคุมโรค สสอ.คำเขื่อนแก้ว อ้างถึง องค์การอนามัยโลกรายงานว่า (ณ วันที่ 11พฤษภาคม 2552) พบผู้ป่วยใน 30 ประเทศ จำนวน 4,694 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย) และแนะนำผู้ที่มีไข้หรือมีอาการไม่สบาย ให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อนจนกว่าจะหายเป็นปกติ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหากมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที วิธีปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้จำกัดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ รวมทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกแสดงว่า ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่พบโดยเฉพาะที่พบนอกประเทศเม็กซิโก ไม่ได้มีความรุนแรงมากดังที่วิตกกันในช่วงแรกที่เริ่มพบการระบาด โดยมีลักษณะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ที่พบตามฤดูกาลเป็นประจำทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ส่วนผู้ป่วย 3 รายที่เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พบว่ามีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
ซึ่งสรุปข้อมูล ณ 12 พฤษภาคม 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงการพบผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) จำนวน 2 ราย ซึ่งติดเชื้อจากประเทศเม็กซิโก เริ่มมีไข้หลังจากเดินทางมาถึงประเทศไทย ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสครบชุด หายเป็นปกติไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้รับยาต้านไวรัสครบชุดและติดตามเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้ใดมีอาการป่วยแต่อย่างใด สามารถมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ
No comments:
Post a Comment