8/28/09
ประชุม เตรียมพร้อมการซ้อมแผนไข้หวัดใหญ่ ที่ สสจ.ยส.
วันที่ 28 สิงหาคม 2552: นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ สสอ.คำเขื่อนแก้ว นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เข้าร่วมประชุม เตรียมการการปฏิบัติงานตามแผน เพื่อรองรับการ ซ้อ/จ้าง ในวงเงินงปม. 1.35 ล้านบาท และเบิกจ่ายเงิน ตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ รอบที่ 2 ของรัฐบาล ในวันที่28 สค 52 1300.น.ณห้องประชุมพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ภาคบ่ายประกอบด้วย ผู้ช่วยสสอ ทุกแห่ง ๆละ 1 คน และหัวหน้าสถานีอนามัยพื้นที่ดำเนินการรพ.สต. ปี 2553 ผู้ร่วมประชุมจาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ประกอบด้วย หัวหน้าสถานีอนามัย กู่จาน แคนใหญ่ ย่อ โพนทัน แคนน้อย สงเปือย นาเวียง จากนั้น คณะจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว มี นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ มาร่วมประชุมวางแผน On the table plan การเตรียมความพร้อม การซ้อมแผนเพื่อเตรียมความพร้อมการรองรับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ณ ห้อง นายองอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร มี นางจินตนา ศรีภักดี หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางจรรยา ดวงแก้ว นางพนมวรรณ คาดพันโน ร่วมประชุมด้วย
งานมุทิตาจิต เขตตรวชราชการที่ 13 ณ ศูนย์ OTOPอุบลฯ
วันที่ 27 สิงหาคม 2552:ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วมประชุมวิชาการเขต 13 ที่ ห้องประชุมศูนย์ OTOP จังหวัดอุบลราชธานี ตรงข้ามมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เลิกประชุม เพื่อนรัก นายสมชาติ ทองหิน เจ้าหน้าที่บริหารงานประกันสุขภาพ จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่ อุบลราชธานี ได้พาไปนั่งทาน ขนมที่ SK อร่อยดี เพราะเป็นการพูดคุยกันตามประสาคนคุ้นเคย ภาคค่ำมีงานการแสดงมุทิตาจิต แก่คณะข้าราชการที่จะเกษียณอายุราชการด้วย ประธานในงานโดย นายแพทย์สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 มีคณะผู้บริหารจากทุกจังหวัด และ ศูนย์วิชาการเขต จากทุก กรมกอง สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ทุกแห่ง เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง บรรยากาศ ในวันนี้ มีการมอบรางวัล ระดับต่างๆที่เป็นผลงานในภาพรวมของเขต ในส่วนของ จังหวัดยโสธร ได้รับรางวัลในงานนี้มากมาย เช่น นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้รับโล่รางวัล คนดี ศรีสาธารณสุข ประจำปี 2552 นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร ได้รับรางวัลชนะเลิศ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่นระดับประเทศ และ นางวนิดา หินทอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .)ดีเด่นระดับเขต จาก สถานีอนามัยแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นต้น . . . .งานแสดงมุทิตาจิต ในตอนเย็น จนท.จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มี นส.ศุภมาส ครองยุติ งานบริหาร รพ.คำเขื่อนแก้ว เกษียณราชการในปีนี้ ซึ่งมี คณะน้องจาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว มาร่วมให้กำลังใจด้วย นำทีมโดย ภก. กาญจนพงศ์ เพ็ญทองดี บรรยากาศในงานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน เพราะผู้บริหาร ร่วมสนุกกับพวกเรา เริ่มตั้งแต่ นายแพทย์สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 นำทีม ผู้บริหารร่วมร้องเพลง อย่างเป็นกันเอง และการแสดงที่ดีๆจาก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี โรงพยาบาลเมืองจันทร์ เป็นต้น ส่วนที่เกินความคาดหมายเลย คือ นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำทีม คณะ จนท. สาวสวย จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางเอกหมอลำโดย นส.นวลจันทร์ บุญธรรม หางเครื่องจอมลีลาเอวดี เช่น นส.กชกร ชูแก้ว นส.พิสมัย รัตนเดช ร่วมแสดงใน คณะ สุรพร รุ่งลำเพลิน สนุกสนานมาก และได้รับเสียงกรี๊ด และเสียงปรบมืออย่างสนุกสนานแบบมีส่วนร่วมจากผู้เข้าร่วมงานได้เป็นที่ประทับใจเป็นอย่างมาก ผมถือว่าเป็นเสน่ห์ ของท่าน นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร อีกอย่างที่ทำให้สามารถครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้เพราะท่านสามารถร่วมทุกข์ ร่วมสุข กับพวกเราได้ในทุกสถานการณ์ … ต้องขอขอบพระคุณ ท่าน นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีและ ทีมงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ที่เป็นเจ้าภาพงานนี้ได้อย่างดี ลงตัวในทุกๆจุด ไม่มีสะดุดเลย ...คาดว่า จังหวัดยโสธร เรา คงจะได้ Copy มาปรับปรุงใช้หากว่าเราได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป...
วัดบ้านดอนเขืองวัดพัฒนาตัวอย่าง
วันที่ 27 สิงหาคม 2552: วัดบ้านดอนเขืองวัดพัฒนาตัวอย่าง : เช้าไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และนางปฏิมา เจริญทรัพย์ เพื่อเยี่ยมชมให้กำลังใจคณะชาวบ้านและพระภิกษุ ณ วัดบ้านดอนเขือง ซึ่งกำลังสร้างส้วมสาธารณะ เพื่อพัฒนาให้ได้ตามมาตรฐานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ความเดิม เมื่อปีที่แล้ว คณะพวกเราได้มาเยี่ยมให้กำลังใจและให้คำแนะนำไว้ ในการพัฒนาส้วม และสร้างส้วมผู้สูงอายุ และส้วมผู้พิการ เพิ่มเติม จนถึงวันนี้ท่านเริ่มพัฒนาและก่อสร้างแล้ว พระ อธิการบัว จักกวโร และเจ้าอาวาสวัดบ้านดอนเขือง พระอาจารย์แสง อัคควัณโณ ได้ร่วมกันพัฒนาวัดดอนเขืองนี้มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือที่ดีของประชาชนบ้านดอนเขือง และศิษยานุศิษย์จากจังหวัดต่างๆรวมทั้ง มีศิษย์ท่านในต่างประเทศด้วย ผลงานทำได้ดีเกินความคาดหมาย สมบูรณ์แบบในทุกจุด สามารถที่จะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างได้ รวมทั้งส้วมในวัดนี้ หากดำเนินงานเสร็จผมคิดว่าจะเป็น ตัวอย่างสุดยอดส้วมในวัด ตามบริบทของวัดตามหมู่บ้านต่างๆ(วัดบ้านนอก)ของประเทศไทยได้เลย … การก่อสร้างศาลาตอนนี้แล้วเสร็จประมาณ 85 % แล้ว ตกแต่งสวยงาม ด้านใน อากศเย็นสบาย เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม มังกรคาบแก้ว ลวดลายวิจิตร ฝีมือ การรังสรรค์ผลงานของที่ประทับใจของพระอาจารย์แสง อคฺควณฺโณ และศิษยานุศิษย์ ...
.. .ตัวอย่างภาพประวัติ และความเป็นมาในการร่วมกันพัฒนาวัดของประชาชนและพระภิกษุวัดดอนเขือง
...ขอเชิญค้นพบคำตอบและพิสูจน์ความมหัศจรรย์แห่งจินตนาการความสุขในหลายๆรูปแบบด้วยตัวท่านเอง พร้อมเยี่ยมชมและ ชื่นชมให้กำลังใจผลการปฏิบัติงาน ได้ที่ วัดบ้านดอนเขือง หมู่ที่ 8 ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร พระอาจารย์แสง อคฺควณฺโณ เป็นผู้ที่มีความสามารถในหลายๆด้าน
...ภาพเดิม วันที่ 5 สิงหาคม 2551 ที่พวกเรามาเยี่ยมท่านครั้งก่อน
ดูรายละเอียดได้ที่ http://ptjsw.blogspot.com/2008/08/blog-post_6018.html
ที่มีจุดเด่นคือการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม การดูแลสภาพแวดล้อมภายในวัด และ การมีวัตรปฏิบัติ ที่ดีของพระ ในวัดนี้ เมื่อเสร็จกิจ จากวัตรปฏิบัติทางศาสนาแล้ว พระทุกรูปจะไม่มีการจำวัด ในตอนกลางวัน ทุกรูป ต่างช่วยกันทำงนพัฒนาวัดอยู่เสมอ ภายใต้การอำนวยการของ พระอธิการบัว จักกวโร เจ้าอาวาสวัดบ้านดอนเขืองและพระอาจารย์แสง อัคควัณโณ
...และปลายปีที่แล้วคณะเรา มาร่วมทอดกฐิน ที่วัดนี้ด้วย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551
http://ptjsw.blogspot.com/2008/11/blog-post_2156.html
ซ้อมแผนเพื่อเตรียมความพร้อมการรองรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ณ สอ.ย่อ
วันที่ 26 สิงหาคม 2552: เช้าวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีมากๆ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ของเรามีโอกาสได้ต้อนรับ ท่าน พระครูเกษมคุณากร เจ้าคณะตำบลกู่จาน และเจ้าอาวาสวัดนาเวียง ที่ให้เกียรติแวะมาเยี่ยมพวกเราถึง สำนักงาน หลังจากนั้น ออกเตรียมพื้นที่ เพื่อ รองรับ การซ้อมแผนเพื่อเตรียมความพร้อมการรองรับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ณ สถานีอนามัยย่อ มี หัวหน้าสถานีอนามัย และ จนท. จาก สถานีอนามัยทุกแห่งไปช่วยงาน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีมากๆของพวกเรา ต่างคนต่างทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตามจุด ตามฐานต่างๆ ทั้ง ฐานการให้สุขศึกษา การล้างมือ การผลิตเจลล้างมือ การเย็บหน้ากากอนามัย การไปเยี่ยมบ้าน การคัดกรองในศูนย์เด็กเล็ก การคัดกรองและกิจกรรมในโรงเรียน และ โรงพยาบาลสนาม โดยมี นายอุดร สมจิตร ยกองค์การบริหารส่วนตำบลย่อ นายไพบูลย์ สว่างแสง กำนันตำบลย่อ ร่วมเตรียมงานตั้งแต่เช้า ภาคบ่าย คณะผู้บริหาร จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร มี นายจิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ นายองอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร พร้อม คณะ มาร่วมให้คำแนะนำ ในการเตรียมพร้อมตามจุดต่างๆด้วย ซึ่งได้รับคำแนะนำด้วยดีจากคณะผู้บริหารทุกระดับ และต้องขอบพระคุณท่านและคณะเป็นอย่างมากที่อยู่ร่วมให้คำแนะนำจนถึง 15.49 น. ส่วนผู้บริหารในระดับอำเภอ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ออกติดตามร่วมให้กำลังใจคณะที่ร่วมเตรียมงานในวันนี้ด้วย ต้องขอขอบพระคุณ ท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
วันที่ 25 สิงหาคม 2552:ภาคบ่าย รับประเมิน KM : Tacit : Explicit เรื่องอาหารปลอดภัย จากคณะกรรมการระดับ จังหวัดยโสธร นำโดย นางประชุมพร กวีกรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร มี หัวหน้าสถานีอนามัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) มาร่วมรับการประเมินด้วย จากนั้น
ประชุม หัวหน้าสถานีอนามัย เตรียมความพร้อมในการซ้อมแผน เพื่อรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ecurity Act to be used
The cabinet approves the use of the Internal Security Act in Bangkok's Dusit district this weekend to control the anti-government rally.
Political funds probe
The EC extends the investigation into the B258m donation to the Democrat Party and its alleged misuse of the political party development fund.
Give us a break!
This Sunday's red-shirt protest is unjustified and for the sole benefit of a single individual - fugitive politician Thaksin Shinawatra, writes
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่นระดับประเทศไทย
วันที่ 25 สิงหาคม 2552: ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ สสอ.คำเขื่อนแก้ว ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ร่วมต้อนรับ คณะกรรมการ การประกวด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่นระดับประเทศไทย ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร ประธานคณะกรรมการโดย ท่าน ประจักษ์ ทองงาม ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เป็นที่ประทับใจที่ผู้บริหารทุกระดับให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้ นับเป็นกำลังใจที่สำคัญของทีมงานพวกเรา ซึ่ง ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นำทีม หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด มาร่วมต้อนรับด้วยตนเอง และนายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำทีมผู้บริหารการสาธารณสุขจาก ทั้งสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงาน ใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมต้อนรับ พร้อมภาคีเครือข่ายในทุกระดับ ผลงานการนำเสนอ ที่ดีมากๆ ของ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร พร้อมการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ โดยส่วนตัวของผม เชื่อมั่นว่า สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร จะต้องได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลพระราชทานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่นระดับประเทศประจำปี 2552 อย่างแน่นอน
สิ่งที่ประทับใจในการร่วมงานในครั้งนี้ คือคำตอบ ที่ คณะกรรมการได้ถามผู้เกี่ยวข้อง เช่น ถาม สาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร ว่า ผลงานท่านส่วนมากดีมากๆในทุกจุด แต่อยากขอความคิดเห็นว่า เพื่อต้องการพัฒนางานสาธารณสุขให้เจริญก้าวหน้าตลอดไป หากสามารถทำได้ท่านคิดว่าจะทำงานด้านใดก่อนเพื่อให้งานนั้นๆบรรลุผลตามที่ท่านมุ่งหวัง ท่านตอบคำถามเป็นที่ประทับใจว่า ผมจะต้องให้ความสำคัญกับงานด้านการ สร้างสุขภาพ มากกว่า ซ่อม สุขภาพอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เพราะปัจจุบันหลายๆรัฐบาลและปลัดกระทรวงหลายๆท่านได้พูดว่าให้ความสำคัญกับการสร้างนำซ่อม แต่สิ่งที่เป็นรูปธรรมยังไม่เกิด เพราะจะเห็นว่า งบประมาณด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนั้นน้อยมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล ...แม้นท่านจะสร้างศุนย์รักษาโรคหัวใจให้ครอบคลุมโรงพยาบาลทุกแห่ง ด้วยงบประมาณปีละ หลายหมื่นล้านบาท คงไม่สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นกว่านี้ได้มากเท่าใดนัก แต่ถ้าหากให้ความสำคัญกับการสร้างสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ให้คนไม่ป่วยคงจะได้ประโยชมากกว่า ถาม นพ.สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ว่า นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ท่านตอบเป็นที่ประทับใจว่า ต้องให้ความสำคัญกับหน่วยงานด้านการบริหารงาน เพราะจะเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพได้ในทุกระดับ เช่นระดับจังหวัด หาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีประสิทธิภาพ ก็จะอำนวยการงานในจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับอำเภอ หาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมีประสิทธิภาพ ก็จะอำนวยการงานในอำเภอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่มีหน่วยงานด้านบริหาร เพราะการสั่งการจะไร้ประสิทธิภาพ จะให้กระทรวงสั่งการไปที่ สถานบริการทุกแห่ง ทั้ง กว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ ทำได้ยากมาก จะให้จังหวัดสั่งการไปที่ สถานบริการทุกแห่ง ทั้ง100กว่า แห่งทั่วจังหวัด โดยไม่ผ่านสาธารณสุขอำเภอ ทำได้ยากมาก หรือหากแม้นทำได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ คิดง่ายๆ อยู่กระทรวงจะประสานงานในภาพรวมทั้งอำเภอ จะประสานเองไหวไหม ต้องประสานไปที่หน่วยงานที่เขาสามารถสร้างความเป็นเอกภาพได้ในระดับอำเภอ คือ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีหลายครั้งที่บางที คิดอะไรไม่ออก ก็ต้องบอกสาธารณสุขอำเภอ หลังจากที่ท่านตอบคำถามแล้ว ท่านประธานได้กล่าวนิยมว่า หากได้ผู้บริหารการสาธารณสุขที่มีวิสัยทัศน์ดังเช่น นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร สักแม้นครึ่งหนึ่งของประเทศ งานด้านสาธารณสุขของประเทศไทยจะจริญก้าวหน้าเป็นที่หนึ่งในโลก ฉะนั้น ตพแหน่งที่เหมาะสมของท่าน ควรจะได้เป็น ปลัดกระทรวงสาธารณสุขในอนาคต ... หมายเหตุ: สถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จัดห้องประชุมเพื่อรองรับคณะกรรมการประกวดในระดับต่างๆ ไม่ต้องให้หรูมาก เอาตามตัวอย่างนี้คงน่าจะพอใช้ได้นะครับ...
ขี่หน้า ขี่หลัง การล้างมือ 7 ขั้นตอน จำง่ายๆ จาก สถานีอนามัยย่อ
วันที่ 24 สิงหาคม 2552: ขี่หน้า ขี่หลัง การล้างมือ 7 ขั้นตอน จำง่ายๆ จาก สถานีอนามัยย่อ
นำมาฝากโย นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
ขั้นตอนที่ 1 ขี่หน้า ( ฝ่ามือถูฝ่ามือ)
ขั้นตอนที่ 2 ขี่หลังนอก (ฝ่ามือถูหลังมือ )
ขั้นตอนที่ 3 ซอกนิ้ว (ฝ่ามือถูซอกซอกนิ้วด้านหลัง )
ขั้นตอนที่ 4 ระวังมะเหงก (ฝ่ามือถูหลังข้อนิ้วมือ )
ขั้นตอนที่ 5 นิ้วเอกอย่าหาย ( ถูหัวนิ้วมือโดยรอบด้วยฝ่ามือ )
ขั้นตอนที่ 6 ปลายมืออย่ารอ( ปลายนิ้ว ถูขวางฝ่ามือ )
ขั้นตอนที่ 7 ข้อมือให้สะอาด ( ถูรอบข้อมือ )
นพ.ธรนินทร์ กองสุข คัดกรองความสุข ที่ คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 24 สิงหาคม 2552: เช้า คณะ จาก สถานีอนามัยทุกแห่ง นำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เข้ามารับการตรวจคัดกรอง ความสุข ขาก คณะ จาก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี นำทีม โดย นพ.ธรนินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยมี นายจักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผอ.รพ.คำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วมอำนวยความสะดวกในพื้นที่ และฝ่ายเลขา โดย นางจำนรรจา บุญแจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการสสอ.คำเขื่อนแก้ว นพ.ธรนินทร์ กองสุข ท่านเป็นผู้ที่ประยุกต์ ความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิต ที่ประชาชนทั่วไป ไม่สามรถเข้าใจได้ง่าๆ ปรับปรุงจนชาวบ้านทั่วไป กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .)สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและคัดกรองเบื้องต้นในชุมชนได้ง่ายๆ โดยใช้แบบประเมิน เบื้องต้น ด้วย 2 คำถาม เป็นภาษาอีสาน และตอนนี้ ได้ถูกนำไปแปลเป็นหลายๆภาษาถิ่นต่างๆในประเทสไทย และ ในต่างประเทศด้วย
ซึ่ง ประกอบด้วย
แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม ภาษาอีสาน
ข้อแนะนำ ถามด้วยภาษาอีสานและใช้สำเนียงอีสานสำหรับผู้ที่จบระดับประถมศึกษาหรือผู้ที่ไม่เข้าใจภาษากลาง (ถ้าไม่เข้าใจ ให้ถามซ้ำ ไม่ควรอธิบายขยายความเพิ่มเติม) ผู้ประเมินกาเครื่องหมาย “” ในช่องที่ตรงกับคำตอบของผู้รับบริการ
คำถาม ภาษาอีสาน ภาษากลาง มี บ่มี
(ไม่มี)
1 ในเดือนที่ผ่านมารวมมื่อนี่เจ้ามีอาการมูนี่บ่
: อุกอั่ง หงอย เซ็ง หนหวย
บ่เป็นตาอยู่ มีแต่อยากไฮ่ ใน 1 เดือนที่ผ่านมา รวมวันนี้
ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวัง หรือไม่
2 ในเดือนที่ผ่านมารวมมื่อนี่เจ้ามีอาการมูนี่บ่
: บ่สนใจหยัง บ่อยากเฮ็ดหยัง
บ่ม่วนบ่ซืน
ใน 1 เดือนที่ผ่านมา รวมวันนี้
ท่านรู้สึก เบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลิน หรือไม่
การแปลผล และดำเนินการต่อไป
ถ้าคำตอบ “ไม่มี” ทั้ง 2 คำถาม ถือว่า ปกติ ไม่เป็นโรคซึมเศร้า
ถ้าคำตอบ “มี” ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้อ (มีอาการใดๆ ในคำถามที่ 1 และ 2) หมายถึง เป็นผู้มีความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ให้แจ้งผลและแนะนำความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าแล้วให้ประเมินด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือต่อไป
แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม
ภาษาอีสาน ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมมื่อนี่ นำ เจ้ามีอาการมูนี่ดี้ ซำใด๋ ภาษากลาง ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ ท่านมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน
1. บ่อยากเฮ็ดหยัง บ่สนใจเฮ็ดหยัง 1เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร
2. บ่ม่วนบ่ซื่น เซ็ง หงอย 2ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3.นอนบ่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือ นอน
บ่ อยากลุก อยากตื่น 3หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป
4. เมีอย บ่มีแฮง 4เหนื่อยง่าย หรือ ไม่ค่อยมีแรง
5. บ่อยากเข่า บ่อยากน้ำรือกินหลายโพด 5เบื่ออาหาร หรือ กินมากเกินไป
6. คึดว่าเจ้าของบ่ดี 6รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่า ตัวเองล้มเหลว หรือ ทำให้ตนเองหรือครอบครัวผิดหวัง
7. คึดหยังกะบ่ออก เฮ็ดหยังกะลืม 7สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
8. เว่ากะซ่าเฮ็ดหยังกะซ่าหรือหนหวย บ่เป็นตาอยู่ 8พูดช้า ทำอะไรช้าลงจนคนอื่นสังเกตเห็นได้
หรือกระสับกระส่ายไม่สามารถอยู่นิ่งได้เหมือนที่เคยเป็น
9. คึดอยากตาย บ่อยากอยู่ 9คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี
จนท.สสอ.คำเขื่อนแก้ว ที่ได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงขึ้น 3 คน
วันที่ 21 สิงหาคม 2552: จนท.สสอ.คำเขื่อนแก้ว ที่ได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงขึ้น 3 คน
สสจ.ยโสธร ได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2549 ดังนั้น จึงขอให้ ข้าราชการที่มีรายชื่อดังนี้ ติดต่อขอรับเครื่องราชฯ ด้วยตนเอง พร้อมนำเครื่องราชฯชั้นรอง(ชั้นตราเดียวกัน เช่น ได้รับชั้นตราทวีติยาภรณ์ช้างเผือก(ท.ช.) ปี 49 ต้องคืน ชั้น ต.ช. หรือ จ.ช. หรือ บ.ช. แล้วแต่กรณี)ที่งานการเจ้าหน้าที่ สสจ.ยโสธรภายในวันที่ 2 ก.ย.52 นี้ หากไม่สามารถคืนเครื่องราชฯได้ ต้องชดใช้เงินตามที่ประกาศของทางราชการ...จาก ทองคำ ศรีเนตร..
จนท.3 คนได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงขึ้น จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประกอบด้วย
1. ได้รับชั้น เหรียญจักรพรรดิมาลา ร.จ.พ.
นางมนัชยา กองทำ หัวหน้าสถานีอนามัยแคนน้อย
2. ได้รับ ชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช.
นางนงลักษณ์ พิมพ์แก้ว (ศรีโพธิ์วัง) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยเหล่าไฮ
ให้ส่งคืน จตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช. ที่ได้รับ เมื่อ 5 ธค. 2537
3. ได้รับชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม.
นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 22-23 สิงหาคม 2552: พาลูกๆไปโรงเรียนชีวิต ที่ไร่ เพื่อฝึกประสบการณ์ การทำงานในไร่ ตั้งแต่ ขุดรากไม้ ขุดดิน ผสมปู๋ย ปลูกต้นไม้ และรดน้ำต้นไม้ ที่ไร่ เห็นใจลูกเหมือนกัน ที่ 2 วันนี้ อากาศแดดร้อนมากๆ ฝนไม่ตกมาเป็นสัปดาห์แล้ว ต้องขนน้ำจากบ้านไปเพื่อใช้น้ำรดต้นไม้มากเป็นพิเศษ แต่ก็ภูมิใจที่ลูกภูมิทำงานด้วยความรับผิดชอบและขยันขันแข็ง ส่งผลให้เย็นวันนี้อาหารเย็นเราจึงอร่อยเป็นพิเศษเพราะพวกเราเหนือ่ยและเพลียจากการทำงานหนักทั้งวัน
สสจ.ยโสธร ได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2549 ดังนั้น จึงขอให้ ข้าราชการที่มีรายชื่อดังนี้ ติดต่อขอรับเครื่องราชฯ ด้วยตนเอง พร้อมนำเครื่องราชฯชั้นรอง(ชั้นตราเดียวกัน เช่น ได้รับชั้นตราทวีติยาภรณ์ช้างเผือก(ท.ช.) ปี 49 ต้องคืน ชั้น ต.ช. หรือ จ.ช. หรือ บ.ช. แล้วแต่กรณี)ที่งานการเจ้าหน้าที่ สสจ.ยโสธรภายในวันที่ 2 ก.ย.52 นี้ หากไม่สามารถคืนเครื่องราชฯได้ ต้องชดใช้เงินตามที่ประกาศของทางราชการ...จาก ทองคำ ศรีเนตร..
จนท.3 คนได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงขึ้น จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประกอบด้วย
1. ได้รับชั้น เหรียญจักรพรรดิมาลา ร.จ.พ.
นางมนัชยา กองทำ หัวหน้าสถานีอนามัยแคนน้อย
2. ได้รับ ชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช.
นางนงลักษณ์ พิมพ์แก้ว (ศรีโพธิ์วัง) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถานีอนามัยเหล่าไฮ
ให้ส่งคืน จตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช. ที่ได้รับ เมื่อ 5 ธค. 2537
3. ได้รับชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม.
นายทศพล แสนสวาสดิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 22-23 สิงหาคม 2552: พาลูกๆไปโรงเรียนชีวิต ที่ไร่ เพื่อฝึกประสบการณ์ การทำงานในไร่ ตั้งแต่ ขุดรากไม้ ขุดดิน ผสมปู๋ย ปลูกต้นไม้ และรดน้ำต้นไม้ ที่ไร่ เห็นใจลูกเหมือนกัน ที่ 2 วันนี้ อากาศแดดร้อนมากๆ ฝนไม่ตกมาเป็นสัปดาห์แล้ว ต้องขนน้ำจากบ้านไปเพื่อใช้น้ำรดต้นไม้มากเป็นพิเศษ แต่ก็ภูมิใจที่ลูกภูมิทำงานด้วยความรับผิดชอบและขยันขันแข็ง ส่งผลให้เย็นวันนี้อาหารเย็นเราจึงอร่อยเป็นพิเศษเพราะพวกเราเหนือ่ยและเพลียจากการทำงานหนักทั้งวัน
8/21/09
อนามัยโลกเผยไทยสอบตกทุกมาตรการสร้างความปลอดภัยบนถนน
วันที่ 21 สิงหาคม 2552:อนามัยโลกเผยไทยสอบตกทุกมาตรการสร้างความปลอดภัยบนถนน
ตัวแทนองค์การอนามัยโลกเปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางถนนปี 51 ระบุไทยตกรวด 5 มาตรการสร้างความปลอดภัยการเดินทางบนถนน ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผนึกกำลังลุยลดอุบัติเหตุ ตำรวจเตรียมยกระดับปัญหาอุบัติเหตุเทียบชั้นปัญหาอาชญากรรม รวมในกลุ่มคดีต้องแถลงผลงานประจำเดือน
วันที่ 20 ส.ค.52 ที่ไบเทค บางนา ในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องอุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 9 หัวข้อ “พลังเครือข่ายเพื่อถนนปลอดภัย” จัดโดยศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย มีการเสวนาเรื่องสถานการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนน ดำเนินรายการโดย กฤษณะ ไชยรัตน์
ดร.มัวรีน เบอร์มิ่งแฮม ตัวแทนองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางถนน ซึ่งได้ทำการศึกษาเมื่อปี 2551 พบว่า การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยเทียบกับอัตราการครอบครองยานพาหนะในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น ประเทศที่ครอบครองยานพาหนะสูง หรือประเทศที่ร่ำรวย มีความสูญเสียจากอุบัติเหตุน้อยกว่าประเทศที่มีประชากรครอบครองยานพาหนะน้อยกว่า รวมถึงในประเทศไทย
ทั้งนี้ การศึกษาถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและมาตรการป้องกัน 5 ประการ พบว่า ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจำกัดความเร็วของรถยนต์ในเมืองอยู่ที่ 50 กม.ต่อชั่วโมง แต่ประเทศไทยได้จำกัดความเร็วที่ 80 กม.ต่อชั่วโมง ซึ่งเมื่อนำไปเทียบและจัดเป็นดัชนีชี้วัดทำให้ มาตรการเกี่ยวกับความเร็วของไทยได้คะแนนเพียง 2 จาก 10 ในส่วนมาตรการดื่มแล้วขับ แม้มาตรฐานแอลกอฮอลล์ในกระแสเลือดของไทยจะเท่ากับประเทศต่างๆ แต่ด้วยองค์ประกอบอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยได้ได้คะแนนเพียง 5 ด้านมาตรการหมวกนิรภัย ซึ่งช่วยลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ถึงร้อยละ 40 แต่จากการเก็บสถิติในปี 50 อัตราการใส่หมวกของผู้ซ้อนท้ายยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากจึงได้เพียง 4 ส่วนการใช้เข็มขัดนิรภัยได้ 5 และมาตรการสุดท้าย การกำหนดให้มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กนั้น ประเทศไทยไม่มีการบังคับใช้หรือมีมาตรการใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงไม่ได้คะแนน
นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ตัวแทนกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงงานของกรมควบคุมบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนว่า ที่ผ่านมาสถิติการเกิดอุบัติเหตุได้ลดลงตามลำดับ แต่คาดว่าตัวเลขคงไม่ลดลงตลอดไป เพราะจำนวนคนเพิ่มและรถบนท้องถนนก็เพิ่มขึ้น พร้อมระบุถึงเป้าหมายว่าจะผลักดันแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนจะลดจำนวนผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจากปี 2547 ที่มีกว่า 22.21 คนต่อประชากรแสนคน ให้อยู่ที่ 14.15 คนต่อประชากรแสนคนให้ได้ในปี 2555
ด้านนายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ นักวิชาการจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สถานการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจาก 3 ปัจจัย ประกอบด้วย คน ถนน และรถ ในเรื่องคน กระทรวงคมนาคมเตรียมยกระดับมาตรฐานการขับขี่และการออกใบอนุญาตขับขี่ โดยเปิดให้มีโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่มีมาตรฐานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรบแก่ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ และรถบรรทุกด้วย โดยในเรื่องรถ นอกจากการส่งเสริมการตรวจเช็กสภาพรถ กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะมีการเช็กสภาพ 2 ครั้งต่อปี โดยเฉพาะรถที่มีการประกอบในประเทศ ส่วนปัจจัยด้านถนน มีการกำหนดจุดอันตรายเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนแผนการที่สำคัญในอนาคตเตรียมนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า ภารกิจหลักของสถาบัน คือการส่งต่อผู้บาดเจ็บจากจุดเกิดเหตุไปยังโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งทางบกเป็นหลัก และเร็วๆ นี้ทางสถาบันจะทำข้อตกลงกับสามเหล่าทัพ เพื่อขอใช้เฮลิคอปเตอร์ทหารเพื่อขนส่งคนเจ็บด้วย ทั้งนี้สถาบันได้กำหนดมาตรฐานการบริการว่า ภายในเวลา 10 นาทีหน่วยบริการฉุกเฉินจะเดินทางถึงจุดรับ โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ได้ร้อยละ 70 โดยอาศัยกลไกของท้องถิ่น อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 กู้ชีพ-กู้ภัย พร้อมรถฉุกเฉิน 1 อำเภอ 1 คัน ผ่านงบไทยเข้มแข็ง
ด้าน พล.ต.ต.วัฒนา กฤติยะโชติ ผู้บังคับการกองพัฒนาการจราจรและบริการประชาชน กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุจราจรสูงมาก คือ 11,830 คดี เปรียบเทียบกับคดีอุจฉกรรจ์ที่มีการเสียชีวิตแล้วเรื่องอุบัติมีผู้เสียชีวิตมากกว่าถึง 4.52 เท่า หากคิดการสูญเสียจากอุบัติเหตุเทียบกับเครื่องบินโบอิ้งตกก็เท่ากับประเทศมีเครื่องบินตกปีละ 40 ลำ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุจราจรมากที่สุดคือ การขาดวินัยของคน
“ถ้าเรารักชาติเราต้องมีวินัยจราจร เพราะวินัยจราจรคือวินัยชาติ” ผู้บังคับการกองพัฒนาการจราจรฯ กล่าว และเปิดเผยด้วยว่า เตรียมยกระดับความสำคัญปัญหาอุบัติเหตุจราจรให้สูงขึ้นเหมือนที่เราให้ความสำคัญกับปัญหาอาชญากรรม ซึ่งขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่นำเรื่องสถิติอุบัติเหตุมาแถลงเป็นผลงานรวมกับกลุ่มคดีอื่นๆ ด้วยแล้ว.
-----------------------------------------------------------------
สอบถามรายละเอียดที่ โทรศัพท์ 02-511-5855 ต่อ 103 หรือ 141
หรือที่เว็บไซต์ www.roadsafetythai.org หรือ www.thainhf.org
http://www.thaitownusa.com/New-0908000317-1.aspx
ดูข่าวนี้แล้ว..ดีใจ อยู่ 3 ประการ คือ
1. หากพวกเราไม่ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานนี้ ผลการประเมินอาจจะต่ำกว่านี้
2. บางมาตรการที่เกินขีดความสามรถของพวกเรา ...ผู้บริหารในหลายๆภาคส่วน น่าจะให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ...ทั้งด้านขวัญ กำลังใจคนปฏิบัติงาน ที่ปัจจุบัน มี 2 มาตรฐาน สถานบริการบางแห่งมีค่าตอบแทนให้ 2 เท่า บางแห่งไม่ได้เลย บางแห่งได้น้อยมากๆ...เป็นต้น
3. ประการ สุดท้ายคือ เป็นข้อมูลนำเข้า เพื่อส่งเสริมแรงใจ ให้ทำงานให้ดียิ่งๆขึ้นไป จนกว่า จะบรรลุเกณฑ์มาตรฐานสากล...ครับ
อุตส่าห์ โพธิ์ศรี : คนดีหัวใจแกร่ง
วันที่ 20 สิงหาคม 2552ภาคบ่ายประสานเตรียมความพร้อม
การจัดงานมุทิตาจิต ให้กับ นายอุตส่าห์ โพธิ์ศรี หัวหน้าสถานีอนามัยกุดกุง
พี่อุตส่าห์..ในใจของข้าพเจ้าเขาเป็นเช่นนี้..
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จะจัด งานมุทิตาจิต ให้กับ นายอุตส่าห์ โพธิ์ศรี หัวหน้าสถานีอนามัยกุดกุง เนื่องในการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (Early Retire) ในโอกาสที่พี่อุตส่าห์ ในฐานะผู้อาวุโสของเรา ได้ร่วมทำงานด้วยความรัก ความสามัคคีและอบอุ่นร่วมกับพวกเรามาเป็นเวลานาน ในโอกาสนี้ ให้ สถานีอนามัยทุกแห่งและเจ้าหน้าทีทุกคน เขียนข้อความให้กับคุณพี่อุตส่าห์ โดย ข้อความของทุกๆคน เป็นประโยคสั้นๆ จะถูกนำไปขึ้นใน VCD ในวันงาน และเขียนเป็นที่ระลึกให้กับ สถานีอนามัยทุกแห่ง
พร้อมกันนี้ ขอความร่วมมือให้ สถานีอนามัยทุกแห่ง
รวบรวบรวมภาพประทับใจ กับลูกผู้ชายคนนี้อุตส่าห์ โพธิ์ศรี
โดยให้ส่งภาพได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว หรือ ส่งภาพตอบกลับ ในกระทู้นี้
สถานีอนามัยละ 10 ภาพ หรือมากกว่า
หมายเหตุ....สำหรับกิจกรรมนี้ มีรางวัล จำนวน 2 ประเภทดังนี้
1. การประกวดการออกแบบ ข้อความ เพื่อขึ้นป้าย ด้านหลังฉากบนเวที
รางวัลชนะเลิศ 300 บาท
2. การประกวดภาพ คุณอุตส่าห์ จ๊าบๆๆ 3 รางวัล ชนะเลิศ 300 บาท รอง 200 ที่ 3 เงิน 100 บาท
สำหรับภาพที่ส่งเข้าประกวด โปรดระบุด้วยว่าภาพนี้ ส่งประกวด ...จะเลือกรางวัลให้ถูกคนครับ...
มีผู้ที่ส่งภาพประกวดวันนี้ 2 ภาพ จาก นาเวียง และ จาก สถานีอนามัยกุดกุง
เตรียมพร้อม ศูนย์ปฏิบัติการการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดใหญ่
วันที่ 20 สิงหาคม 2552 ภาคเช้า เตรียมชุมชน และเตรียมความพร้อม ศูนย์ปฏิบัติการการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิด A(H1N1) ณ สถานีอนามัยย่อ มี หัวหน้างานจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายแมน แสงภักดิ์ นายปรีชา ลากวงค์ และ นายสมพร จันทร์แก้ว จาก โรงพยาบาลยโสธร
และ หัวหน้างานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ร่วมกับ จนท. สถานีอนามัยย่อ นางอุศมา นามแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัยย่อ นส.ทานตะวัน สว่างวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นส.จิราภรณ์ ขอสุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นส.อุทัยวรรณ สุภี จพ.ทันตสาธารณสุข ชำนาญงาน เป็นต้น ที่ประชุมได้วางแผน การปฏิบัติงานตามฐานต่างๆ พร้อมทั้ง ทรัพยากร และบุคคล ที่จำเป็นต้องใช้ในการซ้อมแผน ซึ่ง มีขึ้น 2 วันคือ การซ้อมใหญ่ ในวันที่ 1 และ การซ้อมจริง ในวันที่ 4 กันยายน 2552 …ซึ่งศูนย์ปกิบัติการแต่ละระดับ จะมีการอำนวยการผ่านระบบ VDO Conference สามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว และชัดเจน ... ส่วนผู้นำชุมชนนั้น ตอนนี้ได้ทำความสะอาดหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน และการดูแลความสะอาดในระดับครัวเรือนทุกครัวเรือน ….วันนี้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว มอบรถเข็นให้กับผู้พิการในเขตรับผิดชอบจำนวน 50คัน
ลูกเก๋ จุฬนัดดา ประกอบสุข
วันที่ 19 สิงหาคม 2552 วันนี้ ดีใจมากๆ ได้รับ การ Post ข้อความจาก ลูกเก๋ จุฬนัดดา ประกอบสุข ที่ http://ptjsw.blogspot.com/2009/01/blog-post_2010.html และ ข้อความดีดี ทาง e-mail คิดถึงลูกๆ พวกนี้มากๆ มี ลูกฝน ลูกเก๋ ลูก นาว ลูกหนุ่ย กลับมาบ้าน พ่อกับแม่ จะพาไปปลูกต้นยาง ที่ไร่ ของเรา ตอนนี้ พ่อ ไปปลูกกับน้องภูมิ 2 คน ว่างๆ มาเยี่ยม เยือน และ รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านเรา กับ พ่อ แม่ บ้างนะ ลูกๆ 4 คนที่น่ารักของเรา มี มะนาว นายปรีชา จารึกธรรม หนุ่ย ณรงค์เดช (บ้านนาแก) น้ำฝน และ น้องเก๋ จุฬนัดดา ประกอบสุข
การเมือง...เรื่องภายในครอบครัวคุณเป็นอย่างนี้..
วันที่ 19 สิงหาคม 2552 วันนี้ ได้รับ เรื่องดีๆ จาก คุณพี่ไพศาล กอมะณี เรื่อง การเมืองเรื่องของทุกๆคน
การเมือง...เรื่องภายในครอบครัว.. เรื่อง พ่อสอนการเมืองลูก ... โดนใจจริงๆ.....
เป็นเรื่องของเด็กน้อยคนหนึ่งซึ่งมีครอบครัวที่อบอุ่นซึ่งในครอบครัวมีด้วยกัน ทั้งหมด5คน
วันนึงขณะที่เด็กน้อยนั่งกินข้าวเช้าอยู่บนโต๊ะอาหาร
เด็กน้อยมองเห็นคุณพ่อดูข่าวTVเกี่ยวกับการ เมือง'
พ่อ...การเมืองคืออะไรอ่ะ'เด็กน้อยถามพ่อด้วยความสงสัย
พ่อทำท่าทางคิดหนักก่อนจะตอบกลับไปว่า
'อืม...มันก็ไม่ยากหรอกลูกเปรียบเทียบง่ายๆนะลูก'
-เปรียบ พ่อเป็น พ่อค้านายทุน ก้อคอยหาเงินไง
-เปรียบ แม่เป็น รัฐบาล ก็คอยเอาเงินจากพ่อมาบริหารไง !
-เปรียบ ตัวลูกเองเป็น ประชาชน ที่ต้องมีรัฐบาลคอยดูแล
-เปรียบ น้องชายของลูกเป็น อนาคตของชาติ
-เปรียบ พี่แจ๋ว (พี่เลี้ยงของเด็กในบ้าน) เป็นชนชั้นแรงงาน
เด็กน้อยทำหน้า งง ก่อนจะปล่อยให้ ความสงสัยนั้นอยู่ในหัวตลอดทั้ง-วัน
จนเมื่อถึงเวลาตกดึกของวันนั้น
ขณะเด็กน้อยกำลังหลับ'แงๆๆๆๆๆ'เสียงน้องชายตัวน้อยของเค้าร้องดังขึ้น
เด็กน้อยเดินไปดูที่เปลจึงได้รู้ว่า น้อยชายของเค้า ขี้แตก
เด็กน้อยรู้ทันทีว่าต้องไปตามแม่มาดูน้อง
ขณะเดินไปตามแม่เด็กน้อยได้ยินเสียงออกมาจากห้องของพี่แจ๋วพี่เลี้ยงคนสวย
ด้วยความสงสัยจึงแง้ม ประตูดูพบว่า พ่อเค้ากำลังอยู่บนตัวของพี่แจ๋ว
เด็กน้อยจึงเดินไปที่ห้องของแม่พบว่าแม่ของเค้ากำลังนอนหลับไม่รู้เรื่องอยู่
เด็กน้อยพยายามปลุกแต่ก็ ไม่ยอมตื่น เด็กน้อยท้อใจเดินกลับห้องนอน
และหลับไปหลังจากคิดอะไรได้มากมาย
ตื่นตอนเช้าขณะลงมาจากห้องเพื่อกินข้าวเช้า เด็กน้อยเห็นพ่อของเค้า
'พ่อๆ ผมรู้แล้วละว่าการเมืองเป็นยังไง'
เด็กน้อยยิ้มที่ตัวเองเข้าใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่บางคนยังไม่เข้าใจ
'แล้วมันเป็นยังไงละไหนบอกพ่อสิลูก'พ่อถามด้วยความอยากรู้
'การเมืองก็คือ
.....การที่พ่อค้าหรือนายทุนกดขี่ชนชั้นแรงงาน!!
ในขณะที่รัฐบาลก็หลับหูหลับตาไม่สนใจประชาชน
แม้ว่าประชาชนจะเรียกร้องยังไงก็ตาม!!.....โดยทิ้งอนาคตของชาติให้จมบนกองขี้!!
จาก....ไพศาล กอมะณี
แถมท้าย นวตกรรมฝาโอ่งแบบทันสมัย ราคาถูก คุณภาพสูง ประยุกต์ใช้ได้กับภาชนะทุกชนิด เพียงแต่ปรับลวดตามรูปแบบของภาชนะนั้นๆๆ รายละเอียดตามภาพนี้
รับนิเทศTB
วันที่ 19 สิงหาคม 2552 ภาคเช้า สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว รับนิเทศงานวัณโรค จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร มี ดิ่ง คุณรณรงค์ ผิวเรืองนนท์ และ คุณโก้ เกียรติศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ โดยมี
นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว และ คุณชนิดา อุปยโสธร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมอำนวยความสะดวก วันนี้ ภาคบ่ายประสาน ตามที่เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้วได้พัฒนาระบบบริการการให้คำปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลของ แพทย์ผู้ให้คำปรึกษาจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว กับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยแม่ข่ายผ่านทางระบบ VDO_Consultation โดยได้รับการสนับสนุนงบพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น เพื่อให้การบริการการให้คำปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลผ่านทางระบบ VDO_Consultation ของ เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้วเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วจึงขอความร่วมมือมายังท่าน เพื่อโอนเงินสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์สนับสนุนปฏิบัติงานตามกิจกรรมดังกล่าว จำนวนเงิน 134,000 (หนึ่งแสนสามหมื่นสี่พันบาทถ้วน) ให้กับสถานีอนามัยแม่ข่าย จำนวน 3 แห่ง คือ สถานีอนามัยกู่จาน สถานีอนามัยย่อ และ สถานีอนามัยสงเปือย แห่งละ 44,800 บาท
ฯพณฯ อภิสิทธิ เวชชาชีวะ รับร่าง พรบ.จากหมออนามัย
วันที่ 19 สิงหาคม 2552 …. วันนี้ ให้กำลังใจ ทหารกล้า จากทุกสมรภูมิ ทั่วประเทศ ทุกแนวรบ หมออนามัย พบ ฯพณฯ อภิสิทธิ เวชชาชีวะ นากรัฐมนตรี เพื่อเสนอร่าง พรบ. 2 ฉบับ ที่สนับสนุน การปฏิบัติงานการสร้างสุขภาพในชุมชน เป็นกำลังใจและชื่นชม จริงๆ ครับผม จาก จังหวัดยโสธร ไปกันมาก 3 คันรถบัสเลย ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคนครับ ... น้องๆ ที่กลับมา พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในการไปประชุมครั้งนี้ ถือว่า ใกล้ความเป็นจริงกับสิ่งที่พวกเราคาดหวังมากที่สุด เพราะมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมงานที่ดีมากๆ ตั้งแต่การรับฟังความคิดเห็น 4 ภาค และการยกทัพเข้าสู่ส่วนกลางในวันนี้ กว่า 10,000 คน ทั้งนี้ ต้องชื่นชมคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพของ ท่านไพศาล บางชวด และท่านนายแพทย์พูนชัน จิตอนัตวิทยา และ คุณพี่ประสพสุข พร้อมทีมงานทุกๆท่านนะครับ ที่ช่วยอะไรได้ ก็ช่วยกันไป ดีกว่า มีแต่ บ่น บ่น และ ตำหนิ กันเอง ...อย่างนี้ สิ หมออนามัย หัวใจกล้าแกร่ง ...
สิ่งที่เราคาดหวังว่าจะส่งผลที่ดีจากการผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ คือ
1. เราจะมีโครงสร้างองค์กร และกลไกรองรับภารกิจด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ชัดเจน
2. เราจะมีงบประมาณสนับสนุนโดยตรงไปที่สถานีอนามัยอย่างเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานให้บริการประชาชนที่มีมาตรฐานและทั่วถึง ทั้งในเชิงรุกด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเชิงรับด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ
3. การปฏิบัติงานให้บริการของสถานีอนามัยโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจะมีมาตรฐาน และมีความยั่งยืน จนเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีทัดเทียมวิชาชีพอื่น
4. ในข้อนี้เป็นสิ่งที่พวกเราชาวสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต่างรอคอยด้วยความหวังที่ริบหรี่ กลับมีช่องทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 80 (2) วรรคสอง ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้มีหน้าที่ให้บริการต้องมีมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม จึงเป็นความหวังที่เห็นถึงผลของความสำเร็จที่เป็นไปได้ของการมี พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข ในปีนี้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นตามมาคู่ขนานกับกฎหมายฉบับแรกข้างต้น
ในอดีตพวกเราชาวสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยทุกคนเคยร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันกฎหมายจนเป็นผลสำเร็จมาแล้วถึง 2 ฉบับ คือ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ฉะนั้น การลุกขึ้นมาพร้อมกันทั้งประเทศของพวกเราชาวสาธารณสุขครั้งนี้ เพื่อมาร่วมมือกันยกร่างและผลักดันกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ ให้สำเร็จลุล่วงได้ทันภายในสิ้นปี 2552 นี้
สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ประกอบด้วยคณะกรรมการ ก็คือสถานีอนามัย และพวกเราชาวสาธารณสุข จึงขอเชิญชวนเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน เข้าร่วมประชุมตามโครงการ “๙๕ ปี สถานีอนามัย: ทศวรรษใหม่กับการเปลี่ยนแปลง” โดยขอตัวแทนสถานีอนามัยอย่างน้อยแห่งละ 1 คน เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมสร้างกระแสให้เกิดการยอมรับอย่างมีศักดิ์มีศรีทัดเทียมวิชาชีพอื่น พร้อมทั้งเชิญเป็นตัวแทนร่วมกันยื่นเสนอกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้กับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่รัฐบาล รัฐสภา สถาบัน/ พรรคการเมือง และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
หมออนามัย ยโสธร รวมพลัง พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข และ พรบ.ส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ
วันที่ 18 สิงหาคม 2552 เตรียมเสนอโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร วันนี้ 2 โครงการคือ โครงการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวาน ของ โซนดงแคนใหญ่ และ โครงการธนาคารปลากระดี่ ของโซนย่อ ประสานแผนการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อยกระดับสถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต. ) ให้กับ สถานีอนามัยในเขตรับผิดชอบ
วันนี้ เวลา 20.09 น. คณะ ชาวเรา หมออนามัย จาก จังหวัดยโสธร 3 คันรถบัส เดินทาง ไป ร่วมประชุม โครงการ " ๙๕ ปี สถานีอนามัย" ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานนี้ มีรายการ พบ รมว.กระทรวงสาธารณสุข(นายวิทยา แก้วภราดัย)และประธานที่ปรึกษารัฐมนตรี (นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ)สนับสนุนการจัดงานประชุมเสนอร่าง พรบ.2ฉบับ วันที่ 19 สิงหาคม 2552
พร้อมกันนี้ ในวัน พรุ่งนี้ 19 สิงหาคม 2551 สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขและชมรมสถานีอนามัยฯ ได้เข้าพบพบ รมว.กระทรวงสาธารณสุข(นายวิทยา แก้วภราดัย)เพื่อรายงานการจัดงานประชุมสนับสนุนการพิจารณา พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข และ พรบ.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแห่งชาติ ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ปฏิบัติงานโดยแท้จริงอย่างมีเอกภาพ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต และลานพระบรมรูปทรงม้า และจะยื่นร่าง กฎหมาย เสนอ ต่อ ฯพณฯ อภิสิทธิ เวชชาชีวะ นากรัฐมนตรี … ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้ ...
8/17/09
ประชุม เตรียมพร้อมการซ้อมแผนไข้หวัดใหญ่ ที่ อบต.ย่อ
วันที่ 15-16 สิงหาคม 2552 ปลูกต้นยางพาราที่ไร่ เที่ยงวันอาทิตย์ ไปกินข้าวเที่ยงกับลูกๆ ที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซื้อของที่สุนีย์พลาซ่า...ห้างใหม่ ใน จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 17 สิงหาคม 2552 ภาคเช้า ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อร่วมประชุม เตรียมพร้อมการซ้อมแผนไข้หวัดใหญ่ ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต .) ย่อ ซึ่งนายอุดร สมจิตร นายก องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ และกำนันไพบูลย์ สว่างแสง นำทีม ผู้บริหารและประชาชนตำบลย่อเข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน ส.อบต . อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .) ทุกหมู่บ้าน ครู ทุกโรงเรียน พร้อมนี้ มี หัวหน้างาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ หัวหน้าสถานีอนามัย ทุกแห่ง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย เพื่อรับทราบและเตรียมความพร้อมร่วมกัน โดยแต่ละฐานการซ้อม มี หัวหน้างาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ หัวหน้าสถานีอนามัย เป็นพี่เลี้ยง ส่วนนักแสดง เป็น ประชาชนจาก ตำบลย่อทั้งหมด ประทับใจประชาชนตำบลย่อมาก ที่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี ทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมที่จะทำหน้าที่ที่ตนเองได้รับผิดชอบด้วยดี อย่างเต็มที่ ..คำหนึ่งที่ประทับใจ นายอุดร สมจิตร นายก อบต .ย่อ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ...ขอขอบพระคุณทุกๆท่านได้ให้ความร่วมมือด้วยดี ในอดีตที่ผ่านมา บ้านย่อเรา ยังไม่เคยมีโอกาสได้ต้อนรับ รัฐมนรตี หรือผู้ว่าราชการมาก่อน หากจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ...ความสำเร็จทีจะเกิดมีขึ้น ผมขอยกความชอบให้กับความรัก ความสามัคคีของพวกเราทุกๆคน...… รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ที่ สถานีอนามัยย่อ ซึ่ง นางอุศมา นามแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัยย่อ และทีมงานน้องๆ จาก สถานีอนามัยย่อได้เตรียมไว้เป็นการขอบคุรพวกเราทุกท่านที่ได้เข้าร่วมประชุมในวันนี้
ภาคบ่ายจัดทำแผนและสรุปงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่างๆ ในการซ้อมการจำลองการรับมือไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดขึ้น โดยจำลองว่า มีการระบาดในตำบล 60ราย และในบ้านย่อ 3 หมู่นี้ มีจำนวนถึง 30ราย...แล้วให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในทุกๆส่วน ตั้งแต่ระดับครัวเรือน จนถึงระดับจังหวัด...