9/5/09
ต้อนรับ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา กรรมการ สปสช.
วันที่ 2 มิถุนายน 2552เวลา 08.09 น. ต้อนรับ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา กรรมการ สปสช. เช้าไปพร้อมกับ ท่าน สมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อร่วมต้อนรับคณะของ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ประธานอนุกรรมการพัฒนาการเงิน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ คณะที่ติดตามท่านในวันนี้ อาทิ ศ.นพ.ไพจิตร ปะวะบุตร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.วีระวัฒน์ พันธุ์ครุฑ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.ธีรพล เจนวิทยา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่อุบลราชธานี นพ.ประกาย วิบูลย์วิภา รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่อุบลราชธานี ซึ่ง นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำคณะผู้บริหารจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร มาร่วมต้อนรับ นอกจากนั้นมี หัวหน้าสถานีอนามัยในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว ทุกแห่ง พร้อมผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการบริหารกองทุน โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นำโดย กำนัน บุญสอน ทองลือ และ นายก อบต. สินอุดม ศิลารักษ์ สถานที่รองรับคณะที่ห้องประชุมแคนทอง โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ในการนำเสนอผลงาน เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดำเนินงาน โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ นั้น นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำเสนอด้วยตนเอง และเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ที่ได้รับคำชื่นชมจากคณะที่มาร่วมรับฟังในวันนี้เป็นอย่างมาก ทั้งจาก ท่าน ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ท่าน ศ.นพ.ไพจิตร ปะวะบุตร และท่าน นพ.วินัย สวัสดิวร เป็นต้น ซึ่งคำชมหรือคุณความดีที่ท่านได้ให้ไว้ ส่วนใหญ่ต้องยกผลงานให้กับ คณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ที่ได้ร่วมกันปฏิบัติงานร่วมกันด้วยดีเสมอมา จากนั้น คณะได้ไปรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานในระดับ โรงพยาบาลชุมชน และ ระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษก (โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วโฉมใหม่วันนี้ ห้องประชุมวันนี้จัดได้ดีมากๆ พร้อมทั้งการบริหการและให้ความสำคัญกับคณะที่เข้าร่วมประชุมในด้านต่างๆถือว่าทำได้ดี ได้รับคำชื่นชมจากคณะที่เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก) ซึ่งวันนี้ นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำเสนอผลงานในภาพรวมของ รพ.คำเขื่อนแก้ว และ นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำเสนอผลงานในภาพรวมของจังหวัดยโสธร คำถามที่น่าสนใจคือ ในปีนี้ในภาพรวมทั้งประเทศ ได้รับจัดสรรเงินรายหัว ปีนี้ 2,200 บาท นั้น ได้รับถึง โรงพยาบาลชุมชนเฉลี่ยหัวละเท่าไร ได้รับถึง สถานีอนามัยเฉลี่ยหัวละเท่าไร ...แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจหากว่าใช้แนวคิดของ นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธรที่ว่า ระบบริการที่ดี ย่อมมาจากระบการบริหารที่ดี ฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับหน่วงานด้านบริหารควบคู่กันไปด้วยนั้น...ต้องวิเคราะหืด้วยว่า ต้นทุนทางด้านการบริหารนั้นควรจะได้รับการจัดสรรในสัดส่วนเท่าใด...ในการบริหารงานภาคเอกชน ตัวเลขที่ถือว่ามีประสิทธิภาพคือ ร้อยละ 10...แต่ในระกบบภาครัฐ ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน และในด้านสาธารณสุขแต่ละระดับเป็นเท่าไร...ควรจะได้รับการสนับสนุนควบคุ๋กันไปโดยไม่ถูกละเลยเช่นในปัจจุบัน ...นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นั้นผมถือว่าเป็นผู้บริหารการสาธารณสุขที่มีวิสัยทัศน์ ยาวไกล สมัยเมื่อปี 2538-2540 เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับงานด้านระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการบริหารงาน คำว่า MIS( management Information System) คำว่า Data is Poer นั้นพวกเรารู้จักมาตั้งแต่สมัยนั้น และที่ประทับใจไม่ลืมเลือนคือ ท่านวินัย เป็นผู้ที่สนับสนุนให้ สถานีอนามัยทุกแห่ง มีคอมพิวเตอร์ใช้งาน โดยใช้กลยุทธ ให้เครื่องไปก่อนแล้วคนจะสนใจเรียนเอง ท่านสนับสนุนแม้กระทั่งเปิดบ้านพักตั้งเป็นห้องฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ ในการไปนิเทศงานที่อำเภอต้องให้ผู้บริหารระดับสาธารณสุขอำเภอนำเสนอผลงานด้วยคอมพิวเตอร์เป็นต้น ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ นับตั้งแต่นั้นมา พวกเราก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานได้ ...ส่วนในเรื่องงานสาธารณสุข จังหวัด ยโสธร ในสมัยนั้นเป็นจังหวัดนำร่อง ตามโครงการปฏิรูประบบริการสาธารณสุข Health Care Reform ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สหภาพยุโรป หรือก็คือ แปลงมาเป็น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือ โครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบันนั่นเอง ...ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ บุคคลที่พวกเราไม่ควรลืม คือ ผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ แนวคิดในการให้คนยากจนในชนบทสามารถเข้าถึงระบบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงแลเท่าเทียมกันตามโครงการนี้ คือ ท่าน นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ อดีต เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้วยคุณงามความดีที่ยิ่งใหญ่ของท่าน ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ท่าไปสู่สุคติในสรวงสวรรค์...
หมายเหตุ : สิ่งที่ได้มากในวันนี้นอกจากเนื้อหาการประชุมแล้ว สิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ ท่าน ประวุฒิ ละครราช หัวหน้างกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค เภสัชกรระดับ 8 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ใจความสำคัญว่า ...ความสุขของคนเรา ส่วนใหญ่เราต้องเป็นคนสร้างด้วยตัวเราเอง ทั้งการปฏิบัติต่อตนเอง และต่อบุคคลอื่นๆ การเปรียบเทียบกับคนที่สูงกว่า สามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ส่วนการเปรียบเทียบกับคนทั่วไปนั้นสามารถสร้างความสุขในการดำรงชีวิตได้ เช่นสายงานเภสัชกร สามารถก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงได้ถึงระดับอธิบดี เพียงอายุ 45 ปี....ดร.ภักดี โพธิศิริ สามารถก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงได้ถึงระดับอธิบดี เพียงอายุ 45 ปี เป็นเรื่องที่มีคนทำได้แล้ว คือท่าน ดร.ภักดี โพธิศิริ หรือการทำงานตามอุดมการณ์ของตนเองก็สามารถก้าสู่จุดสุดยอดของชีวิตที่มุ่งหวังได้ เช่น เจ้าของรางวัล แมกไซไซประจำปีนี้ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นต้น ส่วนการเปรียบเทียบกับคนทั่วไปสามารถสร้างความสุขใจได้เช่น ชาวนา หรือกรรมการ มีรายได้จากการรับจ้างรายวัน เขาอยู่ได้อย่างไร พวกเรามีเงินเดือน มีสวัสดิการจากรัฐมากมายถึงเพียงนี้ ใช้เวลาห่างจากการคิดเรื่องค่าตอบแทนที่วิชาชีพนั้น วิชาชีพนี้ได้ไม่เท่ากันบ้าง จังหวัดอื่นๆ ได้มากกว่าบ้าง นำมาเวลามาบริการให้กับประชาชนให้ดีบ้างจะไม่ได้เชียวหรือ...ถือเป็นแนวคิดในเชิง Positive Thinking ที่ดี...
No comments:
Post a Comment