10/11/09
PMQA ง่ายๆ Style Suraporn
วันที่ 7 ตุลาคม 2552 PMQA ง่ายๆ Style Suraporn : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมรับฟังการบรรยายวิชาการ จาก นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เรื่อง การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ และ PMQA ตามโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ของ เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่ง นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการนี้ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การ Share ทรัพยากรระหว่างหน่วยงาน ใน เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ทั้ง การใช้ข้อมูลร่วมกัน การใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรบุคคลร่วมกัน และ ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน และในวันนี้เป็นการ share ความรู้ วิชาการร่วมกัน สรุป โดยย่อ จากการรับฟังการบรรยาย ของ นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้ดังนี้ ที่มา ของ PMQA
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย เพื่อปฏิรูประบบราชการไทยให้มีการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปรับเปลี่ยนแนวคิด และวิธีการทำงานของข้าราชการ เพื่อให้องค์กรภาครัฐปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านประสิทธิผล คุณภาพงานบริการ ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และมีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน นั้นหมายถึงองค์กรภาครัฐต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และ ระบบการขับเคลื่อนงานขององค์กรให้เป็นระบบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ในที่สุด
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้บรรลุตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาระบบราชการไทย จึงได้นำเสนอเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public sector Management Quality Award : PMQA) เป็นเครื่องมือและเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จการพัฒนาระบบราชการของหน่วยงานภาครัฐ
ลักษณะสำคัญ ของ เกณฑ์ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public sector Management Quality Award : PMQA) คือ มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ จากการตอบคำถามต่างๆ โดยไม่ได้กำหนดวิธีการ เครื่องมือ โครงสร้าง หรือรูปแบบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถปรับใช้ได้ ตามลักาณะสำคัญของแต่ละองค์กร (บริบท) ช่วยให้องค์กรมีกรอบและแนวทางกว้างๆ ในการดำเนินงาน จากการตอบคำถาม นอกจากนี้ ยังเน้น ความเชื่อมโยงและความสอดคล้องบูรณาการกัน ระหว่างข้อกำหนดต่างๆ ของเกณฑ์ เพื่อให้ การปฏิบัติงานขององค์กร มีความ สอดคล้องไป ในทางเดียวกัน ซึ่ง
หลักการและแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
เป้าหมายหลักสำคัญขององค์กรที่บริหารจัดการงานภารกิจด้วย PMQA คือพัฒนาให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
ระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) หมายถึง สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ จากกระบวนการการพัฒนา / ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง และนำบทเรียนจากการปรับปรุงงาน มาพัฒนาให้องค์กรเกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เพื่อให้ผลผลิต / ผลลัพธ์ ขององค์กรโดดเด่น เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานคู่เปรียบเทียบ
สำหรับหลักการและแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) คือ ต้องการให้องค์กรภาครัฐปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจมุ่งเน้นให้มีการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ รับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำงานมุ่งเน้นผลลัพธ์ เป็นสำคัญ
องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย 2 ส่วน สำคัญตือ
ส่วนที่ 1 ลักษณะสำคัญขององค์กร (บริบท)
ส่วนที่ 2 เกณฑ์คุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ ประกอบไปด้วยเกณฑ์ 7 หมวด คือ
หมวด1การนำองค์กร Vision Mission
หมวด2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ Strategy
หมวด3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stake Holder
หมวด4 การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ Data is power
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล Personnel
หมวด6 การจัดการกระบวนการ การสร้างคุณค่า เช่น ESB
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ Result
ประเมินประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการ ขององค์กร ใน 4 มิติ 15 ตัวชี้วัด
E Q E OD ดังต่อไปนี้
ผลลัพธ์ด้านมิติ ด้าน
ประสิทธิผล Effectiveness ตัวชี้วัด1. ความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ขององค์กร
ผลลัพธ์ด้านมิติ ด้าน คุณภาพการให้บริการ Quality ตัวชี้วัด1. ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวชี้วัด2. ความสัมพันธ์ที่ดีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพงานมุมมองด้านคุณค่า
ตัวชี้วัด3. ผลการดำเนินงานการให้บริการที่เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด4. เกิดผลลัพธ์จาก การดำเนินการที่สำคัญเกี่ยวกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผลลัพธ์ด้านมิติ ด้าน ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ Efficiency ตัวชี้วัด1. ผลการดำเนินงานของกระบวนงานสร้างคุณค่า
ตัวชี้วัด2. ผลการดำเนินงานของกระบวนงานสนับสนุน
ตัวชี้วัด3. เกิดประสิทธิภาพงานงบประมาณและการเงิน การควบคุมค่าใช้จ่าย
ตัวชี้วัด4. สร้างความเชื่อมั่น ความโปร่งใสการบริหารจัดการ จากผลความรับผิดชอบด้านการเงินภายในและภายนอก
ตัวชี้วัด5. ผลด้านคุณธรรม จริยธรรม จากการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
ตัวชี้วัด6. ผลลัพธ์จากการรับผิดชอบต่อสังคม การเป็นองค์กรที่ดีในการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ
ผลลัพธ์ด้านมิติ ด้าน การพัฒนาองค์กร Organization Development ตัวชี้วัด1. ผลสำเร็จของกระบวนงาน / ระบบงาน บริหารงานบุคคล
ตัวชี้วัด2. ผลการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากรสร้างสมรรถนะขีดความสามารถช่วยขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายองค์กร
ตัวชี้วัด3. ความผาสุก ความพึงพอใจของบุคลากร เป็นการสร้างปัจจัยเอื้อให้เกิดประสิทธิภาพ / คุณภาพของงาน
ตัวชี้วัด4. ความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้นำระดับสูงด้านจริยธรรม
No comments:
Post a Comment