1/24/10
รพ.สต.Yasothon Model “เด่นชัดใน 3CHA สร้างศรัทธาเกื้อหนุน ทำกองทุนให้ยั่งยืน”:
วันที่ 22 มกราคม 2553 :รพ.สต.Yasothon Model “เด่นชัดใน 3CHA สร้างศรัทธาเกื้อหนุน ทำกองทุนให้ยั่งยืน”: ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม การนำเสนอรายงานผลการประเมิน รพ.สต.ยโสธร จาก 9 อำเภอ ในเขต จังหวัดยโสธร ณ ห้องพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประธานการประชุมโดย นายแพทย์ จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ซึ่ง อำเภอคำเขื่อนแก้ว มี รพ.สต. ที่เข้าร่วมเสนอผลงานด้วย 4 แห่ง โดย นายขรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ นายอุทิศ ฝูงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่จาน นางอุศมา นามแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ และนางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย สรุปแล้ว จุดเด่นของ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรคือ
1. เราทำงานเป็นทีมที่ดี
1.1 ตั้งแต่ระดับผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ ตัวสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วเอง ที่รับผิดชอบ ในระดับ นโยบาย หรือ Road Map วางนโยบายที่ชัดเจน และคอยสนับสนุนในภาพกว้าง นอกหน่วยงานและ กับผู้บังคับบัญชาในระดับต่างๆ
1.2 ระดับ ภายในองค์กร มอบหมายให้ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็น หัวหน้าทีม ร่วมกับ หัวหน้างาน ในสำนักงาน คอย อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ สนับสนุน และร่วมกันแก้ปัญหา การปฏิบัติงาน ให้กับ สถานีอนามัยต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า ในระดับ profile
1.3 ระดับ Unit หรือระดับ สถานีอนามัย มอบหมายให้ หัวหน้าสถานีอนามัยทุกแห่ง เป็นผู้ดูลับผิดชอบหลัก
1.4 ระดับIndividual ส่งเสริม และสนับสนุน ซึ่งกันและกัน ให้ ทุกคน แสดงบทบาทตามที่ตนเองมีศักยภาพ หรือ ให้ใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ได้อย่างพรั่งพรู
1.5
2. เรามี Process ที่ดี เพื่อกิจกรรมที่ยั่งยืน
การนับจำนวน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบล(รพ.สต.) เราไม่ได้นับจาก จำนวนป้ายที่ถูกทุบ ตาเรามีเกณฑ์ในการนับที่ดี คือ ต้องผ่านและครบองค์ประกอบต่อไปนี้เราจึงนับเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบล(รพ.สต.)
2.1 ต้องผ่านมติการประชาคมประชาชนทุกหมู่บ้าน ภายใต้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
2.2 ต้องมีองค์ประกอบ 3 ก. ที่เข้มแข็ง
ก1 กรรมการต้องครบทั้ง 3 ภาคส่วน ภายใต้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และเป็นการบริหารโดยองค์กรประชาชน สถานีอนามัยเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ
ก2 กองทุน ระดมทุนจากทั้ง 3 ภาคส่วน ภายใต้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาโดยเริ่มจากประชาชนทุกคนร่วมเป็นเจ้าของ โรงพยาบาล ด้วยการสมทบงบประมาณ คนละ 2 บาท ต่อคน ต่อเดือน แล้ว ประชาชนเองประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จาก องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) และภาคราชการ รวมแล้ว มีเป้าหมาย งบประมาณสำหรับให้คณะกรรมการกองทุน บริหารงานปีละ 1 ล้านบาท
ก3 กิจกรรม เมื่อมี งบประมาณ ปีละ 1 ล้านบาท แล้ว คณะกรรมการบริหารกองทุน บริหารงานให้ได้ตาม กิจกรรมที่สำคัญ 2 ปรการคือ
กิจกรรที่ 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบล(รพ.สต.) ต้องจัดกิจกรรมให้ได้ตามมาตรฐาน 3 ด้าน คือ บริหาร บริการ และวิชาการ
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่ง ความต้องการของประชาชน ต้องการไม่มาก กล่าวคือ
ความต้องการที่ 1 มาหาหมอให้เจอหมอ ( มี จนท. อยู่ให้บริการตลอดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้)
ความต้องการที่ 2 คุณหมอที่สถานีอนามัย ให้บริการด้วยรอยยิ้ม ( มีพฤติกรรมบริการที่ดี)
ความต้องการที่ 3 มียาและเวชภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ
ความต้องการที่ 4 มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีและเหมาะสม (ที่นั่ง ภูมิทัศน์ ห้องส้วม)
รวมแล้ว เป็นวลีสั้นๆว่า เป็น อนามัยเฮา ปัวเซา เว่าม่วน คือ รวมความต้องการของประชาชนครับ...
ซึ่ง สุดท้าย นายแพทย์ จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร สรุปได้อย่างประทับใจว่า
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบล(รพ.สต.) คือ สถานีอนามัย+ กองทุน +กิจกรรมตามความต้องการประชาชน
สรุปแล้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบล(รพ.สต.) Yasothon Model คือ
3CHA คือ CCCHA
กล่าวคือ
A Accessibility การเข้าถึง สอดคล้อง HomeWard เป็นต้น
H Holistic ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญา Integrate ทั้ง 4 Dimension ส่งเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู
C Contitity ต้องมีความต่อเนื่องในทุกระบบทั้งบุคคลและข้อมูลข่าวสาร
C Coordinate ต้องมีการประสานงานกันที่ดี
C Community Participation ต้องมีส่วนร่วมจากทุกภาคีเครือข่าย
โดย นายแพทย์ จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร สรุปเป็นวลี ง่ายๆ ว่า Yasothon Model “เด่นชัดใน 3CHA สร้างศรัทธาเกื้อหนุน ทำกองทุนให้ยั่งยืน”
No comments:
Post a Comment