5/29/10
แปลงความดีเป็นทุน โครงการ เปลี่ยน ประเทศไทย ในอนาคต..
23 พฤษภาคม 2553 เช้าเก็บสิ่งของ หลังการจัดงาน ป้ารจนา ภาคบ่ายไป ส่งลูก หลาน ที่ อุบล พาเด็กๆไป ดู บรรยากาศ ซากเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ณ สถานที่ที่เคยเป็นดั่งทะเลเพลิง แบ่งสีแบ่งฝ่าย และท้ายสุดก็เป็นพื้นที่แห่งความสูญเสีย ทั้งทรัพย์สินและเลือดเนื้อของคนไทย ....
หลังจากที่วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ได้ ไปเก็บภาพ ณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี อนุสาวรีย์ แห่งความเห็นแก่ตัวของคนเพียงไม่กี่คน ที่มีศักยภาพ ทำมาค้าขายในแผ่นดินไทยผืนนี้จนร่ำรวยอภิมหาศาลแล้ว สามารถย้ายตนเองไปเป็นพลเมืองประเทศอื่นๆได้ ปัจจุบันลืมสำนึกว่าตนเองเคยเป็นคนไทยไปแล้ว จนสามารถทำลายบ้าน ทำลายเมืองได้ถึงเพียงนี้ ... บรรยากาศ เต็มไปด้วย ความสลด หดหู่ ของคนทุกเพศ วัย ทุกกลุ่มอาชีพ ต่างรำพึงถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเงินที่คนบางคนสามารถทำประโยชน์ไปได้ จากแผ่นดินไทย นำไปเก็บไว้ที่ประเทสอื่นๆ.. คงจะไม่มาก แต่ ความสูญเสียที่ไม่สามารถประมาณค่าได้ คือ ความสูญเสียทางด้านจิตใจ และ ความสูญเสีย ในการถ่ายทอด ซึมซับ การกระทำด้วยความรุนแรง เหล่านี้ ให้ลูกหลาน ของเราได้เห็น ซึ่งอาจจะใช้เวลา นายหลายสิบปี กว่าที่ความรู้สึกเหล่านี้จะลบเลือนหายไปได้
ที่ด้านหน้า มี พวงมาลา ที่นำมาสักการะ พระบรมอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีข้อความ ที่น่าประทับใจ ว่า กราบขอโทษ บูรพกษัจริย์-บรรพชน แทนลูกหลานที่ขาดสติ ...... ขอพระบารมีบูรพมหากษัตริย์ ปกป้องคุ้มครองชาติไทย...
...หมายเหตุ ณ ซากการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี จะสังเกตได้ว่า...ตราครุฑ ที่ด้านหน้าซากเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ยังคงเด่น เป็นสง่า ไม่ถูกเผาไปกับอาคาร เป็นที่แปลกใจของผู้คนยิ่งนัก...
กลับถึงบ้าน ได้เห็นบทความ จาก Google Click เข้าไป พบว่า ยังมีคนไทยอีกเป็นจำนวนมาก ที่สามารถแสดงออกได้ในทางที่ดี ที่สร้างสรรค์ อาจจะเป็นข่าวหรือไม่ผมไม่ทราบ แต่ขอชื่นชมคนที่เขียนบทความนี้ ที่นำเสนอได้ดี ดีกว่าการนำนำเสนอ คนนั้น ว่าคนนี้ คนนี้ดาคนนั้น ซึ่งรังแต่จะร้างความแตกแยกในสังคม ... ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำตามที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด เมื่อยังไม่ถึงโอกาสของเรา ก็ควรรู้จัก รัก รู้จัก รอ รู้จักอดทน และรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน จะดีกว่าการที่มุ่ง อาฆาต พยาบาท ซึ่งกันและกัน เพราะเราเห็นตัวอย่างมาแล้ว ว่า ความสูญเสียนั้นเกิดกับใคร คนนั้นก็ระทมขมขื่น สุดแสนที่จะรับได้ ...ที่ผ่านมาสื่อจะนำเสนอข้อความที่ยั่วยุ เช่น ... มึง ไม่ ยุบ..กู ยึด... ... มึง ไม่ ถอน..กู เผา...Hero ... ผู้ก่อการร้ายราชประสงค์ เป็นต้น...หรือย่าง เช่นเมื่อ วันที่ 20 สำนักข่าวต่างประเทศ ลงใน YouTube จน โด่งดังไปทั่วโลก ( ในความเสื่อมเสียชื่อเสียงของชาวไทย) ข้อความว่า "ฆ่าล้างบางตระกูลชินวัตร ทรราชย์เเผ่นดิน" เสียงตะโกนจากคนโดนเผาร้านเซ็นเตอร์วัน เเละจะทำ cut out ประกาศให้โลกรู้ความระยำตระกูลชินวัตร เป็นต้น ... แต่วันนี้ บทความนี้ ผมให้ เป็น บทความที่ดี ... หาก มี Card เติมความดีได้ เติมเข้าไปให้เยอะๆนะครับ... หรือ ในอนาคต หากมีโอกาสได้เป็นผู้นำประเทศไทย.. ผมจะทำโครงการ...แปลงความดีเป็นทุน. ... จะ มีระบบ SIM CARD บันทึกคุณงามความดี ... ทำดีมากได้มาก ทำดีน้อย ได้น้อย ..สะสมไว้มากๆ นานไป สามารถ นำ ค่าคะแนนความดี ไปแปลงเป็นทุนได้ .... เป็นโครงการ...แปลงความดีเป็นทุน... ใครมีต้นทุนความดีมากๆ ไปกู้ยืมเงินไม่ต้องมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน ถูกจับสามารถใช้ประกันตนเองได้ เด็กๆ เรียนจบสามารถนำค่าคะแนนความดี ไปเป็นคะแนนเพิ่มได้ ข้าราชการ สามารถนำค่าคะแนนความดีประกอบการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งได้ เป็นต้น...
ตัวอย่าง คนที่ไปทำความดี วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอ เพิ่มคะแนนความดี ใน SIM CARD บันทึกคุณงามความดี ของทุกท่าน ตามโครงการที่ผมจัดทำขึ้นคนเดียว คนละ 999 คะแนนเลยนะครับ... เพื่อความสงบ สันติสุข ขอองประเทศไทย... แปลงความดีเป็นทุน โครงการ เปลี่ยน ประเทศไทย ในอนาคต..
วันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนไป เมื่อฟ้าหลังฝนส่องแสงความสดใสขึ้นอีกครั้ง ด้วยธารแห่งน้ำใจของคนไทยที่ไหลบ่า ...“ฟ้าหลังฝน” กับ “คนหน้าใส” ร่วมมือ-ใจ กู้ซากม็อบแดง
หลังฝันร้ายผ่านพ้น กลุ่มประชาชน กลุ่มเยาวชน ไม่แบ่งสี แบ่งฝ่าย แบ่งเพศ แบ่งวัย ต่างก็ร่วมกันออกมาแสดงพลังแห่งจิตอาสา ที่เริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่หลังหลุดเคอร์ฟิว ทุกคนก็ตั้งหน้าตั้งตาออกมารวมตัวกันที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 สวนลุมพินีกันนับหมื่นคน
จากนั้นก็ลงมือปัด กวาด เช็ด ถู บริเวณพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย บ้างก็คว้าไม้กวาด ไม้ถูพื้น หรือ แปรงขัด พากันเดินออกไปทำความสะอาดพื้นที่ ณ จุดอื่นๆ ที่มีด้วยกัน ถึง 6 เส้นทาง
ได้แก่ เส้นทางที่ 1 ถ.ราชดำริ ถึงบริเวณแยกราชประสงค์ เส้นทางที่ 2 ถ.สีลม ถึง ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ และ ถ.สาทร เส้นทางที่ 3 ถ.พระราม 4 ถึงแยกสามย่าน สะพานเหลือง บริเวณสยามสแควร์ และ ถ.อังรีดูนังต์ เส้นทางที่ 4 ถ.วิทยุ ถ.สารสิน ถ.หลังสวน และ ชิดลม เส้นทางที่ 5 ถ.พระรามที่ 4 ถึง บ่อนไก่ แยกคลองเตย และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และเส้นทางที่ 6 ถ.ราชปรารภ ไปแยก ถ.ศรีอยุธยา และสามเหลี่ยมดินแดง
6 เส้นสายนี้ มีเหล่าชาวมหา'ลัยหน้าใสใจดีตั้งหน้าตั้งตาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมอยู่ด้วย เพียบ...
“สริตา ดำรงรัตนุวงศ์” นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เลือดสีชมพูบอกเดินทำความสะอาดมาตั้งแต่สีลม จนถึงราชดำริ ถึงแม้จะเหนื่อยและเหม็น แต่บรรยากาศและมิตรภาพของคนที่พร้อมที่จะช่วยเหลือกัน มันก็ทำให้เกิดความสุขและความอิ่มเอม
“ภาพอย่างนี้เราไม่ค่อยจะเห็นกันสักเท่าไร ปลื้มที่เห็นคนไทยออกมาช่วยกัน หลังจากที่เห็นแต่ภาพทะเลาะกันอยู่นาน หลังจากนี้ เลยอยากให้ปรองดองกัน อยากให้รักกันเหมือนเดิม”ลูกพระ เกี้ยว วิงวอน
เดินถัดมาอีกหน่อยบริเวณ ข้าง เซ็นทรัลเวิลด์ “จิรานุตม์ ชววิชญ์” บัณฑิตคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ถือโอกาสที่ทำงานหยุดออกมาทำประโยชน์ต่อสังคม และแม้มาสาย แต่ก็ยังได้ช่วยและเก็บความภูมิใจกลับบ้าน
“เดินตั้งแต่ศาลาแดงมา ตอนแรกก็ยังไม่รู้จะทำอะไรรู้แค่ว่าอยากออกมาทำประโยชน์ ให้ความเสียหายความเสื่อมโทรม สกปรก แบ่งเบาภาระ กทม.และช่วยเหลือส่วนร่วมบ้าง”ลูกพระเกี้ยวรายนี้ ไม่มีบ่นเช่นกัน
ต่อไปลูกเหลืองแดง “ฟางฟาง-ชมพูนุช ธรรมเวช” ลูกแม่โดมที่ช่วยทำความสะอาดอยู่แถว รายนี้ซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดมาจากบ้าน ทั้งแปรงขัด ทั้งน้ำยา แน่วแน่มาขัดๆ ถูๆ แถมยังชวนน้องสาวออกมา ด้วยจิตอาสา
“เราไม่ได้มีกลุ่มก้อนเครือข่าย ออกมาดื้อๆ นี่แหละ เพราะพูดคุยกันไว้ในเฟซบุ๊กว่าจะมา หลังจากอัปเดตเหตุการณ์ทางการเมืองกันอยู่ตลอด เลยอยากออกมาช่วย ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติสักครั้ง”พนักงานทำความสะอาดหน้าใหม่บรรยาย
ปิดท้ายที่ลูกนนทรีก็เดินทางมาเช่นกัน “สาวแอนท์-ประดับดาว คุ้มแพรวพรรณ” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาพร้อมแปรงขัดอุปกรณ์คู่ใจในวันนี้เช่นกัน แอนท์มากับเพื่อนๆ อีกหลายคน นอกจากได้ทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวมแล้ว งานนี้ยังได้เจอคนใจดี
“เมื่อเช้าแอนท์ขึ้น แท็กซี่ออกมาจากบ้าน หลังจากนัดหมายกับเพื่อนจะมาทำความสะอาดแล้วก็บอก คุณน้าแท็กซี่ว่าจะมาสวนลุม พื้นที่ชุมนุม คุณน้าคนขับรถก็ เลยถามว่าจะมาทำอะไร อันตรายหรือเปล่า เราก็บอกเขาว่าเรามาทำความสะอาด แล้วเขาก็ไม่เก็บเงินเรา เขาบอกว่า เรามาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โอ้โห ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยขึ้นรถแท็กซี่ฟรี และเพิ่งจะรู้สึกว่าจริงๆ แล้วคนไทยยังรักกันมาก แตกแยกกันเพียงบางกลุ่มเท่านั้น”นักศึกษาสรุป
ชาวบ้านเศร้าไม่น่าเผาขนาดนี้ แต่ดีใจคนไทยช่วยเหลือกัน เรื่องดีๆ จาก
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=449535&lang=T&cat=
ผู้สื่อข่าวสอบถามความคิดเห็นชาวบ้านที่มาช่วยทำความสะอาดย่านราช ประสงค์ โดย น.ส.นพพาภรณ์ พิลากุล อายุ 40 ปี ช่างซ่อมเสื้อผ้าย่านรามคำแหง กล่าวว่า นั่งรถมาลงที่ประตูน้ำ ตั้งใจมาช่วยทำความสะอาด ตอนมาถึงก็ได้กลิ่นขยะเหม็นฟุ้งไปทั่ว ถนนสกปรกมาก จึงช่วยกันทำความสะอาดร่วมกับชาวบ้านคนอื่นๆ ซึ่งเพื่อนได้ซื้อขนมให้นำมาฝากผู้ที่มาช่วยกันทำความสะอาดด้วย ส่วนจะกลัวว่าจะมีระเบิดหรือไม่นั้นตนเองไม่กลัว เจ้าหน้าที่น่าจะเก็บกู้หมดแล้ว คนที่เผาอาคารห้างสรรพสินค้าไม่น่าทำอย่างนี้ เหตุการณ์ผ่านมาเศร้าใจมาก ไม่น่าเผาบ้านเมืองขนาดนี้
ด้าน นางฐิติพร ด่านสว่างกุล อายุ 60 ปี กล่าวว่า มาถึงแยกราชประสงค์ตั้งแต่ 9.15 น. วันนี้มาด้วยใจ ไม่ได้กลัวว่าจะเกิดเหตุระเบิดซ้ำอีก และคิดว่าการกระทำของคนเข้าร่วมประท้วงเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ไม่ควรถึงขนาดเผาบ้านเผาเมือง เพราะไม่ถูกต้อง ส่วนตัวรู้สึกดีใจ คนไทยเข้ามาช่วยเหลือกัน และดีใจที่มีประชาชนหลายวัยที่เห็นใจชาติบ้านเมือง
ส่วน นายกิตกร นาเมืองรักษ์ อายุ 43 ปี พนักงานโรงงาน ติดตามข่าวสารทางทีวีทุกวัน เห็นแล้วรู้สึกว่ามันร้ายแรงเกินไปและไม่น่าที่จะทำกันได้ถึงขนาดนี้ รัฐบาลเองควรให้คำตอบที่กระจ่างชัด และการกระทำที่เกิดขึ้นก็ดูเหมือนจะเหมาะสม รัฐบาลควรได้บทเรียนในครั้งนี้ สำหรับวันนี้รู้สึกดีใจที่คนไทยสามัคคีช่วยเหลือ มาร่วมทำความสะอาดกัน
ขณะที่ นางต๋อย อายุ 50 ปี เปิดเผยว่า เดินทางมาจากนนทบุรี ขับรถส่วนตัวมาลงที่บ่อนไก่ รู้สึกกลัวเหมือนกันแต่ก็คอยระวังอยู่ตลอด ตนเองสงสารประเทศชาติ วันนี้เห็นภาพคนไทยช่วยเหลือกันรู้สึกปลื้มที่คนไทยช่วยเหลือกัน ที่เดินทางมาครั้งนี้อยากมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูประเทศ
ด้าน นายเอกนรินทร์ อร่ามวิทย์ อายุ 23 ปี เปิดเผยว่า อยู่แถวลาดพร้าว ทราบข่าวจากเฟสบุ๊คและเดินทางมาคนเดียว เห็นรูปแล้วสลด เพราะอยากทำอะไรเพื่อชาติบ้าง คิดว่าคนไทยไม่น่าจะทำแบบนี้ เพราะคนที่ไม่เกี่ยวข้องมีเยอะแยะ อยากให้คิดก่อนทำ ตอนนี้รู้สึกดีที่คนไทยรักกันเพราะคิดว่าส่วนน้อย ไม่ถึง 1เปอร์เซ็นต์ของประเทศที่เผา และเชื่อว่าตราบใดที่มีในหลวง ก็ยังมีความหวังเสมอ คนที่มาวันนี้อย่างน้อยก็ทำเพื่อในหลวง
5/28/10
เตรียมประกวด to be number one ระดับประเทศ
25 พฤษภาคม 2553 : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประสานนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับ กิจกรรม เตรียมความพร้อมการดำเนินงานและเตรียมกิจกรรมในพื้นที่ ในฐานะตัวแทนจังหวัดยโสธร สำหรับรองรับการประกวดชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ตำบลแคนน้อย
27 พฤษภาคม 2553 : เช้า ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปทำบุญ ตักบาตร และ ถวายภัตราหารเช้า ที่วัดบกน้อย …
วันนี้ประสานคณะทำงานจากสถานีอนามัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงานและเตรียมกิจกรรมในพื้นที่ ในการทำงานเป็นทีมและเครือข่ายที่ดี และสนับสนุนการทำงาน ของ จนท. สถานีอนามัยแคนน้อย ....
เที่ยง..ไปพร้อมกับ ภรรยา คุณอริยวรรณ จันทร์สว่าง และน้องนาง เพื่อไปเยี่ยมให้กำลังใจ ภก.กาญจนพงศ์ เพ็ญทองดี คุณแม่ผา เพ็ญทองดี ที่ต่างให้การดูแลอาการป่วยไข้ ของคุณตาวาสนา เพ็ญทองดี ที่ห้องพิเศษ 4 โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ครอบครัวเพ็ญทองดี นี้ ถือเป็น กัลยาณมิตรที่ดีกับครอบครัวจันทร์สว่างของเรามายาวนาน ด้วยทุกคนมีมิตรไมตรีและน้ำใจที่ดีงาม ทั้งภก.กาญจนพงศ์ เพ็ญทองดี คุณแม่ผา เพ็ญทองดี คุณพ่อวาสนา เพ็ญทองดี และ น้องติ๊ก ...ขอเป็นกำลังใจ ให้ คุณพ่อวาสนา เพ็ญทองดี มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว และ เป้นกำลังใจให้ ทั้งภก.กาญจนพงศ์ เพ็ญทองดี คุณแม่ผา เพ็ญทองดี และญาติๆ มีกำลังกาย กำลังใจ ที่เข้มแข็ง เพื่อที่จะช่วยกันดุแล คุณพ่อวาสนา เพ็ญทองดี ให้ฟื้นคืนสภาพเป็นปกติสุขตามอัตภาพต่อไป ..
.ภาคบ่ายประสานศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด จังหวัดยโสธร (ศตสจ.) เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับ กิจกรรม ในฐานะตัวแทนจังหวัดยโสธร สำหรับรองรับการประกวดชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ตำบลแคนน้อย
สสอ.คำเขื่อนแก้วต้อนรับ ผบต.ทศพล นิติอมรบดี
24 พฤษภาคม 2553 : สสอ.คำเขื่อนแก้วต้อนรับ ผบต.ทศพล นิติอมรบดี : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว วันนี้นัดหมายเจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว พวกเราทุกคนวันนี้ให้อยู่กันครบทุกคน เพื่อต้อนรับ คุณทศพล นิติอมรบดี สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตร ผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น จาก วพ.นครพนม กลับมารายงานตัวพร้อมกับ นายสาคร ขอสุข หัวหน้าสถานีอนามัยโพนสิม ในที่ประชุม Morning Talk ประจำสัปดาห์ ได้รับคำพูดที่ประทับใจ จาก คุณทศพล นิติอมรบดี ว่า “เงินลงทะเบียนค่าใช้จ่าย 3 หมื่นบาทถือว่าคุ้มค่ามาก สำหรับการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการทำงาน เพื่อดึงพลังอำนาจที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่องานต่อองค์กรและต่อเพื่อร่วมงานต่อไป(Empowerment)” ขอเป็นกำลังใจให้กับ คุณทศพล นิติอมรบดี ในการเริ่มต้นเป็นผู้บริหารงานที่ดี นับตั้งแต่วันนี้สืบไป...
...... บริหารจัดการงบประมาณ สำหรับสถานีอนามัยทุกแห่งเป็นงบดำเนินการ PP Express Demand
… เริ่ม ก่อสร้าง ปรับปรุงภูมิทัศน์ สวนหย่อมหน้าอาคาร.... มอบหมายให้ นายสมร พลทิพย์ ลูกจ้างชั่วคราว สสอ.คำเขื่อนแก้ว เดินท่อ วางระบบ น้ำประปา สำหรับการดูแลสวนหย่อมต่อไป
งานอาลัย:คุณ ป้า รจนา ศรีดารา
20 -23 พฤษภาคม 2553 : จัดการงานศพ คุณ ป้า รจนา ศรีดารา : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ลาหยุดเพื่อจัดการงานศพ คุณ ป้า รจนา ศรีดารา กลางคืนวันที่ 18 ไป โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ด้วยอาการท้องเสีย ดึก refer โรงพยาบาลยโสธร วันที 18 นี้ ยังคงคุยกันอยู่ดีๆ ป้อนน้ำ เช็ดปาก เช็ดตัว พาทำธุระส่วนตัว และต่อโทรศัพท์ คุยกับหลานเพียรเพ็ญ อยู่เลยคุณป้า 4 ทุ่ม refer ICU อุบล ตีหนึ่งกว่าๆ วันที่ 19 ป้าก็เสียชีวิต ด้วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นไม่หยุด เช้ามืดวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 นำศพตั้งสวดศพที่บ้านเลขที่ ๕๖ หมู่ที่ ๗ บ้านบกน้อย วันที่ 19-20 วันที่ 21 ฌาปนกิจศพ ณ วัดบกน้อย วันที่ 22 ทำบุญที่วัด การจัดการ งานศพมี พ่อผู้ใหญ่ พุทธา รวมธรรม ผู้ใหญ่บ้านบ้านบกน้อย พร้อมชาวบ้าน คุณหมอกบสุภาวดี ขอสุข และคณะ อสม.ทุกคน ญาติ มิตร ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี วันที่ 22-23 จัดเก็บสิ่งของ... ดำเนินรายการในงานได้ดีมาก โดย ท่าน ผอ.ศุภชัย เหล็กกล้า ผอ.รร.บ้านนาแก..
วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2553 นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะ เจ้าหน้าจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ สถานีอนามัยในสังกัดมา วางพวงมาลา และ ร่วมแสดงความเสียใจ อาทิ
01 นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอ สสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่20 วันที่21
02 นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง หัวหน้างานพัสดุ สสจ. ยโธร วันที่ 19
03 นางเรืองลักษณ์ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สสอ.เมืองยโสธร วันที่21
04 นางอภิญญา บุญถูก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่20
05 นายสุรินันท์ จักรวรรณพร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่21
06 นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่20 วันที่21
07 นางมนัชยา กองทำ หัวหน้าสถานีอนามัย สอ.แคนน้อย วันที่20
08 นายขจรเกียรติ อุปยโสธร หัวหน้าสถานีอนามัย รพต. ดงแคนใหญ่ วันที่20 วันที่21
09 นส.อรัญญาณี บุญประสพ พนักงานบริการด้วยรอยยิ้ม EMS รพต. ดงแคนใหญ่ วันที่20
10 นางนุชนี ทรายทอง พนักงาน EMS รพต. ดงแคนใหญ่ วันที่20
11 นางพรรณี นักผูก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพต. ดงแคนใหญ่ วันที่20
12 นางสุภาวดี ขอสุข หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. บกน้อย วันที่ 19 วันที่20 วันที่21
13 นางเกษรินทร์ วงเวียน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. บกน้อย วันที่ 19 วันที่20 วันที่21
14 นางเดือน ตั้งจิต หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. นาหลู่ วันที่20
15 นายมานะกิจ กลิ่นจันทร์ จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน สอ. นาหลู่ วันที่20
16 นางสาวมะลิวัลย์ ยอดเสาร์ นักวิชาการสาธารณสุข สอ. นาหลู่ วันที่20
17 นายคมสัน อดกลั้น หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. นาแก วันที่ 19 วันที่20
18 นางปริยากร อดกลั้น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. นาแก วันที่20
19 นางโสภิดา พลไชย หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. นาคำ วันที่20
20 นายวีระวัฒน์ กำศร นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สอ. นาคำ วันที่20
21 นางสุนิสา วงชาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. นาคำ วันที่20
22 นางเครือวัลย์ คนชม หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. นาเวียง วันที่21
23 นางรัศมี โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. นาเวียง วันที่21
24 นายอุทิศ ฝูงดี หัวหน้าสถานีอนามัย รพ.สต. กู่จาน วันที่21
25 นางพิไลลักษณ์ จักรวรรณพร จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน รพ.สต. กู่จาน วันที่20
26 นายพ้น ปัญญาใส หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. เหล่าไฮ วันที่20
27 นางนงลักษณ์ ศรีโพธิ์วัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. เหล่าไฮ วันที่20
28 นายสมัคร พุ่มทอง หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. ทุ่งมน วันที่20
29 นางอุศมา นามแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. ย่อ วันที่20
30 นส.จิราภรณ์ ขอสุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. ย่อ วันที่20
31 นายประหยัด นามแก้ว พนักงานบริการสุขภาพ สอ. ย่อ วันที่20
32 นายบุญทศ ประจำถิ่น จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน สอ. ดงเจริญ วันที่20
33 นายอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. โพนทัน วันที่20
34 นางป้อมเพชร สืบสอน หัวหน้าสถานีอนามัย สอ. สงเปือย วันที่20
35 นางดรรชนี เขียนนอก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ. สงเปือย วันที่20
36 นางปราณี ศรีแสน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สอ.กุดกุง วันที่20
37 นส.พรรณราย มินติราช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สอ.กุดกุง วันที่20
38 นางวารีลักษณ์ จันทฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สอ.โพนสิม วันที่20
39 นางสาวกาญจนา ไชยมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สอ.โพนสิม วันที่20
40 นายสมร พลทิพย์ พนักงานบริการสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่21
41 นส.สุภาภรณ์ เกษมณี พนักงานธุรการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่20
42 นางฐะปะณีย์ ทองมงคล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วันที่20
43 นางวรนุช นามมั่น โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วันที่20
44 นางชูจิตร ชมภูพรรณ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วันที่20
45 นางรัจนา นามวาท โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วันที่20
46 นางสมจิตร สามารถ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วันที่20
47 พี่อ่อน ชัยวัฒน์ หอมสุดชา พ่อบ้าน รพ.คำเขื่อนแก้ว วันที่21
48 นางพรไพบูลย์ พงษ์ไพรัตน์ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ววันที่21
49 น้องแคท ภญ. กัลศิณี โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วโชติแสง
50 น้องนาง รัชฎาภรณ์ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วแสนทวีสุข โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
51 พี่ทับทิม ถิระกุลพิพัฒน์ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
52 น้อง นาง น้องระ และครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
53 อาจารย์ จ๋อง และน้องหนิง สุปราณี รวมธรรม จากบ้านนาแก วันที่20
54 เพื่อนๆ บางคน ติดราชการ อบรม ผบต.ที่ต่างจังหวัด ก็ฝากปัจจัยแสดงความเป็นห่วงมาถึงกัน เช่น
นายทศพล นิติอมรบดี น้องอ้วน บัณดิษฐ น้องแอ๋ว จงจิต สร้อยจักร
ผอ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นส.ศุภมาส ครองยุทธ นางนัยนา ดวงศรี นางชนิดา แก้วอาจ นางรังษี ธนาคุณ
นางสมใจ เพียรธรรม นางพรรณทิพา บุญเจริญ ภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี
นางชนิดา อุปยโสธร นางกาญจนา รัตนสิงห์ นายณรงค์ชัย เศิกศิริo
ภญ.มะลิวัลย์ สมขำo ทพญ. สิริรัตน์ วีระเดชoเป็นต้น
ขอขอบพระคุณ ทุกท่าน และ หลายท่านที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ ... ขอให้ได้รับบุญกุศล กันโดยถ้วนหน้าเทอญ..
สิ่งที่ประทับใจ และภูมิใจจากการจัดงานศพครั้งนี้ เช่น
1. ได้เห็นว่าสังคมตอบรับเป็นอย่างดี ในการจัดการงานศพปลอดเหล้า
การช่วยเหลือด้วยดีจากเพื่อนๆ และญาติมิตร ของเจ้าภาพ ท่านรองเชิดชัย สิงคิบุตร และ คณะครูจาก โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร คณะครูและน้องๆนักเรียน จากโรงเรียนบ้านบกน้อย และเพื่อนๆ ของ นส. รจนา ศรีดารา ประสานเพือนโดย คุณครูลำดวน เหล็กกล้า …
ขอขอบพระคุณ คณะ ญาติทุกคน มิตร ทุกคน เพื่อนทุกคน ที่มาร่วมแสดงความเสียใจ และ ร่วมจัดการงานศพครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ...
พระภิกษุวัดบ้านบกน้อย
21 พฤษภาคม 2553 : พระภิกษุที่ร่วมพิธีศพ คุณ ป้า รจนา ศรีดารา : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ลาหยุดเพื่อจัดการงานศพ คุณ ป้า รจนา ศรีดารา งานศพปลอดเหล้า ณ วัดบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ พระภิกษุที่ร่วมพิธีศพ คุณ ป้า รจนา ศรีดารา ส่วนมากเป็นพระจากวัดบ้านบกน้อย ประกอบด้วย
1 พระครูวิสณฑ์ธรรมาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอคำเขื่อนแก้ว
2 พระครูบรรพตวรกิจ วัดป่าบึงเขาหลวง บ้านกลางใหญ่ อำเภอเขื่องใน
3 พระครูวิโสธนาจารย์ วัดวิโสธนาราม กิโลสาม ยโสธร
4 พระอธิการตา สิริบุญโย วัดหนองแคน
5 พระทวี ฐิตะสังวะโร วัดบ้านบกน้อย
6 พระณรงค์ชัย ปิยะธรรมโม วัดบ้านบกน้อย
7 พระธีระโรจน์ ติกขะวิริโย วัดบ้านบกน้อย
8 พระทองม้วน สุวรรณโณ วัดบ้านบกน้อย
9 พระอุดมศักดิ์ อุตตะโม วัดบ้านบกน้อย
10 พระธรรมวิทย์ ยะติโก วัดบ้านบกน้อย
11 พระปยุต ปยุตโต วัดบ้านบกน้อย
12 พระณรงค์ฤทธิ์ อิทธิวะโร วัดบ้านบกน้อย
(พระครูสิริโชติธรรม: พระมหาอภินันท์ ไปกรุงเทพฯ)
มี เจ้าหน้าที่ จาก สถานีอนามัยหลายแห่ง ต้องการที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการจัดงานศพปลอดเหล้า ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ต่อไป
อบรม PCA สำหรับผู้บริหาร รพ.สตKKK
18 พฤษภาคม 2553 : อบรม PCA สำหรับผู้บริหาร รพ.สต.: ครับ ประชุม หัวหน้าสถานีอนามัยทุกแห่ง ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นการใช้ประชุมครั้งแรก เพื่อเตรียมความพร้อม และปรับปรุง ระบบเครื่องเสียง ไมโครโฟน ทั้งไมค์สาย ไมค์ลอย โปรเจคเตอร์ แอร์ โต๊ะ เก้าอี้ สายเชื่อมสัญญาณต่างๆ เป็นต้น ผลปรากฏว่า เป็นไปตามคาดหมาย เครื่องสียงดี โปรเจคเตอร์ และจอรับภาพดี ลงตัวทุกกอย่าง เหลือการเก็บรายละเอียดเรื่อง โต๊ะหมู่บูชา ความสวยงาม การเดินสายสัญญาณ การเชื่อมโยงต่างๆ และผ้าคลุมโต๊ะเก้าอี้ เป็นต้น วาระการประชุม ที่สำคัญ คือ การให้ความรู้ เรื่อง PCA สำหรับผู้บริหาร วิทยาการ โดย ผมและท่านวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ครับ
เลิกประชุมไปเยี่ยมไข้ ดูแลป้ารจนา ศรีดารา ที่ โรงพยาบาลยโสธร
ชาวคำเขื่อนแก้วทูลเกล้าฯถวายมูลนิธิ พอ.สว.
17 พฤษภาคม 2553 ภาคเช้า ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมด้วย นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพสสอ.คำเขื่อนแก้ว นำหนังสือ ขอเชิญร่วมบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ ไปให้กับประชาชนผู้มีจิตกุศล เสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะเป็นแบบอย่างที่ดี เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิ พอ.สว. มีพระประสงค์จะเสด็จเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. และพระราชทานของที่ระลึกแก่กรรมการ อนุกรรมการ และอาสาสมัคร พอ.สว.ประจำจังหวัดยโสธร พร้อมทั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรที่มาเฝ้ารับเสด็จ ในวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553 ณ โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงเพ็ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วมทูลเกล้าฯถวาย จำนวน 17,000 บาท
พร้อมประชาชนผู้มีจิตใจดีงามของอำเภอคำเขื่อนแก้วเรา ร่วมร่วมบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ อีก 6 คน ประกอบด้วย 1.นางทองสุข ชารีแก้ว ประธานสภาเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว (ผู้ทูลเกล้า อ.คำเขื่อนแก้ว) จำนวน 10,000 บาท
2.นายบุญแก้ว สมวงศ์ รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร (ผู้ทูลเกล้า อ.คำเขื่อนแก้ว)จำนวน 10,000 บาท
3.นางธนมน วัฒนเรืองโกวิท ผู้จัดการโรงสีคำเขื่อนแก้ว (ผู้ทูลเกล้า อ.คำเขื่อนแก้ว)จำนวน 10,000 บาท
4.นางณิชารีย์ ภรณ์พิริยะนิยม ผู้จัดการโรงสีบ้านดอนมะฮวน (ผู้ทูลเกล้า อ.คำเขื่อนแก้ว)จำนวน 10,000 บาท
5. นายศุภกรณ์ เจริญชัย (ผู้ทูลเกล้า อ.คำเขื่อนแก้ว)จำนวน 10,000 บาท
6.นายพิจิตร จงอักษร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร(ผู้ทูลเกล้า อ.คำเขื่อนแก้ว)จำนวน 10,000 บาท
17 พฤษภาคม 2553 ประสานงานและส่งข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ กับ เขตตรวจราชการที่ 13 จำนวน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริม
11.29 น. ไปร่วมต้อนรับ คณะศึกษา ดูงาน จาก อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ณ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ มีโอกาสได้พบเพื่อนร่วมงานคนดี คนเก่ง ปัจจุบัน พี่ พิไลพร พุทธเสน กลางประพันธ์ ย้ายไปทำงาน ตำแหน่ง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอหนองสูง ซึ่งนำคณะศึกษาดูงานจาก ตำบลหนองสูงใต้ นำทีมโดย กำนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัย ผู้ใหญ่บ้าน และ อสม. ร่วมศึกษาดูงาน
....ภาคบ่าย_ ประชุมสัมมนาวิทยากร ครู ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อชี้แจงแนวทางการตรวจสุขภาพ ประชาชนเชิงรุก ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี …
11 กิจกรรมลดโลกร้อน ของ สถานีอนามัย:GREEN
17 พฤษภาคม 2553 กิจกรรมที่สำคัญวันนี้ 11 กิจกรรมลดโลกร้อน ของ สถานีอนามัย:GREEN
ภาคเช้า ติดตั้งเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ สำหรับการนำเสนอผลงาน ในห้องประชุม ชั้นสอง อาคาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประสาน การสมัครเข้าร่วมโครงการภาคีเครือข่ายสมนาอนามัยรวมใจลดภัยโลกร้อน ซึ่งมี กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการ เช่น 1. การคัดแยกขยะด้วยหลัก 3 R(Recycle Re use Reduce) 2. การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล 3. การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ 4. ทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ 5. การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ 6. ส้วมผ่านมาตรฐาน HAS 7. การประหยัดพลังงาน 8. มีการปรับภูมิทัศน์ในหน่วยงาน 9. พัฒนาสถานที่ทำงาน น่าอยู่น่าทำงาน 10.การรณรงค์อาหารปลอดสารพิษ 11.การพัฒนาหน่วยงานด้วยหลัก 5 ส. 12.กิจกรรมอื่น ๆ
ซึ่ง ทั้ง 11 กิจกรรม สอดคล้องตาม กิจกรรมลดภาวะโลกร้อน ตามหลัก GREEN
Garbage 4 กิจกรรม การกำจัดขยะและการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ (1. การคัดแยกขยะด้วยหลัก 3 R (Recycle Re use Reduce) 2. การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล 4. ทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ 5. การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ )
Rest room 1 กิจกรรม การจัดการส้วมให้ได้มาตรฐาน HAS
Energy 2 กิจกรรม ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานธรรมธาติ และใช้พลังงานทดแทนจากชีวภาพ
Environment 3 กิจกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อน (3. การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ 8. มีการปรับภูมิทัศน์ในหน่วยงาน 9. พัฒนาสถานที่ทำงาน น่าอยู่น่าทำงาน)
Nutrition 1 กิจกรรม รณรงค์อาหารปลอดสารพิษ ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
5/18/10
“คนเกลียดในหลวง...เป็นศัตรูกับผม... ความใน (หัว) ใจ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
“คนเกลียดในหลวง...เป็นศัตรูกับผม... ความใน (หัว) ใจ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอชื่นชม พระเอกตัวจริง คน นี้ครับ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เป็นพระเอกในใจผมประจำวันนี้ สมควรได้รับการยกย่องชมเชย ในการแสดงออกถึง ความรักประเทศไทย ..
"... พ่อเป็นเสาหลักของบ้านนะครับ บ้านของผมหลังใหญ่นะครับ ใหญ่มาก เราอยู่กันหลายคน ผมเกิดมานี่บ้านหลังนี้ก็สวยงามมากแล้ว สวยงามและอบอุ่น แต่กว่าจะเป็นแบบนี้ได้ บรรพบุรุษของพ่อ เสียเหงื่อ เสียเลือด เอาชีวิตเข้าแลก กว่าจะได้บ้านหลังนี้ขึ้นมานะครับ จนมาถึงวันนี้ พ่อคนนี้ก็ยังเหนื่อยที่จะดูแลบ้าน และก็ดูแลความสุขของทุกๆ คนในบ้าน"
"ถ้ามีใครสักคนโกรธใครมาก็ไม่รู้ ไม่ได้ดั่งใจเรื่องอะไรมาก็ไม่รู้ แล้วก็พาลมาลงที่พ่อ เกลียดพ่อ ด่าพ่อ คิดจะไล่พ่อออกจากบ้าน ผมจะเดินไปบอกไปบอกกับคนๆ นั้นว่า ถ้าเกลียดพ่อไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ ..."
นักข่าว : หลายคนถามด้วยความเป็นห่วงว่า ออกมาพูดแบบนี้ไม่กลัวเหรอ เพราะปัจจุบันเสมือนว่าเราอยู่ในยุคที่อันธพาลครองเมือง
พงษ์พัฒน์ : ไม่กลัวครับ ผมต้องกลัวอะไรหรือครับ หรือแม้กระทั่งเรื่องกลัวว่าจะโดนแบน ผมบอกได้เลยว่าอย่าไปกลัวครับ เพราะว่าศีรษะของผมได้ถวายให้ในหลวงไปแล้วครับ "คนที่เกลียดในหลวง...ก็คือคนที่เป็นศัตรูกับผมแค่นั้นเอง"
"เพราะ ที่นี่คือแผ่นดินของพ่อ ... ผมรักในหลวงครับ ... และผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่นี้ รักในหลวงเหมือนกัน พวกเราสีเดียวกันครับ ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน"
ถ้าคุณรักประเทศไทย แสดงออกได้ อย่าให้ คน(ไม่แน่ใจ) ออกมาทำลายประเทศไทยได้อย่างเสรี...เช่นในปัจจุบัน
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมจะรับผิดชอบต่อการแสดงออก ถึงความรัก ... รักประเทศไทย หยุดทำร้ายประเทศไทย .... เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของนักกวนเมืองไม่กี่คน... รักประเทศไทย คุณก็ทำได้ ... เชิญครับ เพื่อความสงบสุข..
สำรับผู้ดูแล web หากไม่เหมาะสม สามารถลบได้นะครับ ....
ขอบพระคุณ และ สามารถ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ นี่
http://www.thairath.co.th/content/ent/83562
5/16/10
149KPIการปฏิบัติงานสาธารณสุขปี53 149 ตัวชี้วัด 149KPI53
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานสาธารณสุข (KPI) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรปีงบประมาณ 2553
ตัวชี้วัดการดำเนินงานสาธารณสุข53 มี อะไร บ้าง KPIการปฏิบัติงานสาธารณสุขปี53 จำนวน 149 ตัวชี้วัด 149KPI53
ออกกำลังกาย
1 ร้อยละ 80 ของชมรมสร้างสุขภาพได้รับการเฝ้าระวังโดยดำเนินกิจกรรม วัดรอบเอว ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80% ของ ชมรม
2 ร้อยละ 80 ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมัธยมศึกษาได้รับการเฝ้าระวังโดยดำเนินกิจกรรม วัดรอบเอว ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80% ของ แห่ง
3 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ได้ดำเนินกิจกรรม วัดรอบเอว ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80% ของ แห่ง
4 ร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพได้รับการเฝ้าระวังโดยดำเนินกิจกรรม วัดรอบเอว ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80% ของ คน
5 ร้อยละ 80 ของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับชั้น ม. 4-6 ได้รับการเฝ้าระวังโดยดำเนินกิจกรรม วัดรอบเอว ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80% ของ คน
6 ร้อยละ 80 ของข้าราชการ/ลูกจ้างในหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ได้รับการเฝ้าระวังโดยดำเนินกิจกรรม วัดรอบเอว ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80% ของ คน
7 ประชาชนชายอายุ 15 ปีขึ้นไปมีรอบเอวน้อยกว่า 90 ซ.ม. ร้อยละ 85 ร้อยละ >85% ของ คน
8 ประชาชนหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไปมีรอบเอวน้อยกว่า 80 ซ.ม. ร้อยละ 65 ร้อยละ > 65% ของ คน
ผู้พิการและด้อยโอกาส
9ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของสถานบริการมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการขั้นพื้นฐาน ร้อยละ >80% ของ แห่ง
งานผู้สูงอายุ
10ร้อยละ 100 ของตำบลมีชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 100% ของ ตำบล
11ร้อยละ 100 ของศูนย์สุขภาพชุมชนมีการจัดบริการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน ร้อยละ 100% ของ แห่ง
12ร้อยละ 60 ของสถานีอนามัยมีการประสานงานกับโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ร้อยละ 60% ของ แห่ง
งานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่)
13 ศูนย์เด็กเล็กผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ระดับพื้นฐาน ร้อยละ 90 ร้อยละ 90% ของ แห่ง
14 ศูนย์เด็กเล็กผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ระดับดีและ ดีมากร้อยละ 40 ร้อยละ >=40% ของ แห่ง
15 เด็ก 0-5 ปี ในศูนย์เด็กเล็กมีพัฒนาการสมวัย( เพื่อพัฒนา IQ EQ ให้ได้มาตรฐานสากลร้อยละ 90 ขึ้นไป) ร้อยละ >=90% ของ คน
งานส่งเสริมสุขภาพ
16 อัตราตายมารดาไม่เกิน 36 : 100,000 การเกิดมีชีพ ร้อยละ <=36/100000 ของ คน
17 อัตราตายปริกำเนิดของทารกไม่เกิน 15 : 1,000 การเกิด ร้อยละ <=15/1000 ของ คน
18 อัตราหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ร้อยละ 50% ของ คน
19 อัตราการฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ร้อยละ >=90% ของ คน
20 อัตราการคลอดในสถานบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ร้อยละ >=95% ของ คน
21 ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ร้อยละ <=80% ของ คน
22 หญิงมีครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 10 ร้อยละ <=10% ของ คน
23 ทารกแรกเกิด นน.น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 ร้อยละ <=7% ของ คน
24 เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ร้อยละ >=90% ของ คน
25 อัตราการมีบุตรของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกินร้อยละ 10 ร้อยละ <=10% ของ คน
26 ร้อยละ 100 ของมารดาที่เสียชีวิตตามเกณฑ์ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและดำเนินการแก้ไขสาเหตุ โดย MCH Board ของจังหวัด ร้อยละ 100% ของ คน
27 เด็ก 0-5 ปีมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 93 ร้อยละ 93% ของ คน
28 เด็ก 0-5 ปีมีรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ร้อยละ >=80% ของ คน
29 เด็ก 0-5 ปีมีส่วนสูงตามเกณฑ์ค่อนข้างสูง และสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 91 ร้อยละ >91% ของ คน
30 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของครัวเรือนใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ (ปริมาณไอโอดีนมากกว่า 30 ppm) ร้อยละ >=85% ของ หลังคา
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
31 โรงเรียนผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร อย่างน้อยอำเภอละ 1 โรงเรียน ร้อยละ 100% ของ แห่ง
32 ร้อยละ 1.5 ของโรงเรียน มีนักเรียนจัดทำโครงงานสุขภาพเพื่อส่งเสริมป้องกันหรือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 2% ของ แห่ง
33 มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ร้อยละ >=50% ของ แห่ง
งานทันตสาธารณสุข
34 หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 50% ของ คน
35 หญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา ร้อยละ > 20% ของ คน
36 เด็กอายุ 9-12 เดือน ได้รับการตรวจฟัน ร้อยละ 50% ของ คน
37 พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก อายุ 9-12 เดือน ได้รับคำแนะนำ สาธิต ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ร้อยละ 50 ร้อยละ 50% ของ คน
38 ศพด.จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ทุกวัน ร้อยละ 80% ของ แห่ง
39 ศพด.มีสถานที่แปรงฟันอย่างเหมาะสม ร้อยละ 100% ของ แห่ง
40 ศพด.จัดอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการและไม่หวานจัด ร้อยละ 40% ของ แห่ง
41 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 ร้อยละ >35 % ของ คน
42 นักเรียนประถมศึกษาแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน ร้อยละ 85% ของ คน
43 โรงเรียนประถมศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 100% ของ แห่ง
44 นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกคน ร้อยละ 100% ของ คน
45 นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 50% ของ คน
46 โรงเรียนประถมศึกษาผ่านเกณฑ์งานเฝ้าระวังส่งเสริมทันตสุขภาพ ร้อยละ 100% ของ แห่ง
งานสุขภาพภาคประชาชน
47 อสม.เก่า ได้รับการอบรมฟื้นฟูวิชาการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (หลักสูตร 2 วัน 1 คืน) ร้อยละ 50% ของ คน
48 อสม.ใหม่ได้รับการอบรมเข้มทุกคน (หลักสูตร 2 วัน 1 คืน) ร้อยละ 100% ของ คน
49 หมู่บ้านผ่านการประเมินการจัดการสุขภาพ ร้อยละ > 60 % ของ หมู่
งานพัฒนาคุณภาพบริการ
50 หน่วยบริการปฐมภูมิมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 4 หมวดมาตรฐาน ร้อยละ > 90% ของ แห่ง
51 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะที่เหมาะสมทั้งในระดับอำเภอ จังหวัดและในเขต อย่างน้อยคนละ 1 เรื่อง/ปี ร้อยละ 100% ของ คน
52 ประชาชนผู้รับบริการจากหน่วยบริการสุขภาพ มีความพึงพอใจต่อการบริการ ร้อยละ > 80% ของ คน
งานพัฒนาบุคลากร
53 บุคลากรด้านสุขภาพได้รับการพัฒนาสมรรถนะ การเสริมสร้างขวัญกำลังใจและการสร้างบรรยากาศในการทำงานอย่างมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า10 วัน/ปี(60 ชั่วโมง/คน/ปี) ร้อยละ 100% ของ คน
54 บุคลากรด้านสุขภาพได้รับการพัฒนาเพื่อเปิดโลกทัศน์ อย่างน้อย คนละ 1 ครั้ง/ปี ร้อยละ 100% ของ คน
งานประกันสุขภาพถ้วนหน้า
55 ร้อยละความครอบคลุมสิทธิด้านการประกันสุขภาพของประชาชน ร้อยละ 99.75% ของ คน
56 ร้อยละประสิทธิภาพของการลงทะเบียน ร้อยละ 99.25% ของ คน
57 ร้อยละค่าว่างได้รับการลงทะเบียน ร้อยละ 80% ของ คน
58 ร้อยละการบันทึกข้อมูลของผู้มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 50% ของ คน
59 ร้อยละของผู้มีภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80% ของ คน
60 คุณภาพข้อมูล 18 แฟ้ม ร้อยละ 90% ของ visit
61 คุณภาพข้อมูล 4 แฟ้ม ร้อยละ 66% ของ visit
62 ร้อยละของหน่วยงานรับตรวจได้รับการตรวจสอบภายใน 1 ครั้ง/ปี/หน่วยรับตรวจ ร้อยละ 100% ของ แห่ง
งานสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม
63 ร้อยละ 80 ของร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ >=80% ของ ร้าน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้สามารถดำเนินงานผ่านเกณฑ์กระบวนการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ กรมอนามัย ร้อยละ ของ
64 1.*ระดับเทศบาล ร้อยละ 100 ร้อยละ 100% ของ แห่ง
65 2.*ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 50 ร้อยละ 50% ของ แห่ง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ให้สามารถดำเนินงานผลสัมฤทธิ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์ของกรมอนามัย ดังนี้ ร้อยละ ของ
66 1.*ระดับ 1 (ผ่านเกณฑ์ความสำเร็จ 2 เรื่อง) เทศบาล ร้อยละ 100 ร้อยละ 100% ของ แห่ง
67 2. และระดับองค์การบริหารส่วนตำบลร้อยละ 50 ร้อยละ 50% ของ แห่ง
68 3.*ระดับที่ 2 (ผ่านเกณฑ์ความสำเร็จ 4 เรื่อง) เทศบาล อำเภอละ 1 แห่ง ร้อยละ 1 ของ แห่ง
69 4. และระดับองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอละ 1 แห่ง ร้อยละ 1 ของ แห่ง
มีการพัฒนาและยกระดับสุขาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะ (HAS) ร้อยละ ของ
70 -โรงเรียน ร้อยละ 60% ของ แห่ง
71 -สถานีอนามัย ร้อยละ 100% ของ แห่ง
72 ร้อยละ 80 ของตลาดสดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างถาวรและจำหน่ายเป็นประจำ) ที่ได้รับการรับรองความสะอาดและผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อระดับดี (3 ดาว) หรือระดับดีมาก (5 ดาว) ร้อยละ 80% ของ แห่ง
73 ร้อยละของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว ได้มาตรฐานก๋วยเตี๋ยวอนามัย ส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี เป้าหมาย 15% ร้อยละ 15% ของ ร้าน
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค
74 อาหารมีความปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 5 ชนิด( ยาฆ่าแมลงเฉพาะในเนื้อสัตว์ตากแห้งหรือแปรรูป )ร้อยละ 95 ร้อยละ >=95% ของ ร้าน
75 การใช้น้ำมันทอดซ้ำปลอดภัย ร้อยละ 90 ร้อยละ >=90% ของ ร้าน
76 สถานีอนามัยใช้ยาสมุนไพร ร้อยละ 1.5 ของการใช้ยาทั้งหมดของสถานีอนามัย ร้อยละ >=1.5% ของ
77 เครื่องสำอางทาสิว ฝ้า ทำให้หน้าขาว ปลอดภัยจากสารห้ามใช้ 3 ชนิด (ไฮโดรควิโนน, ปรอท, กรดรทิโนอิก) ร้อยละ 90 ร้อยละ >90% ของ
78 โรงเรียนมัธยมศึกษามีกิจกรรมอย.น้อยร้อยละ 70 ร้อยละ 70% ของ แห่ง
งานโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองตามเกณฑ์ที่กำหนด
79 1.1 15 ปี ขึ้นไปคัดกรองโรคระบบเมตตาบอลิก ร้อยละ 90% ของ คน
80 1.2 35 ปีขึ้นไปคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 90% ของ คน
81 1.3 35 ปีขึ้นไปคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90% ของ คน
82 1.4 กลุ่มป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 90% ของ คน
83 กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเสี่ยงลดโรค (ร้อยละ 80) ร้อยละ 80% ของ คน
อัตราการเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคเรื้อรังจากปีที่ผ่านมา(อัตราการค้นพบ) ลดลง ร้อยละ 1 ร้อยละ ของ
84 3.1 เบาหวาน ร้อยละ 21 ของ แห่ง
85 3.2 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 21 ของ แห่ง
86 3.3 หลอดเลือดสมอง ร้อยละ 21 ของ แห่ง
87 3.4 หัวใจขาดเลือด ร้อยละ 21 ของ แห่ง
งานมะเร็ง
88 สตรีกลุ่ม30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap-smear / VIA ร้อยละ 20% ของ คน
89 อัตราการเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา(ค้นพบ) 5% ร้อยละ 21 ของ แห่ง
90 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงจากปีที่ผ่านมา ลดลง ร้อยละ 5% ของ ร้อยละ
งานสุขภาพจิต
91 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรแสนคน ร้อยละ 6.5 ของ อัตรา/แสน
92 ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจิตเภทได้รับการประเมินคุณภาพชีวิต ร้อยละ 90 ของ คน
93 ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาซับซ้อนได้รับการดูแลช่วยเหลือ ร้อยละ 90% ของ คน
94 ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80% ของ คน
งานยาเสพติด
95 ร้อยละ83 ของผู้ป่วยยาเสพติดระบบสมัครใจที่ได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตามเกณฑ์กำหนด ร้อยละ 83% ของ คน
96 ร้อยละ 85 ของเยาวชนอายุ10-24ปี เป็นสมาชิก TO BE NUMBER ONE ร้อยละ 85% ของ คน
97 มีจำนวนสมาชิก TO BE NUMBER ONE เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 20 ร้อยละ 85% ของ แห่ง
98 โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกแห่งมีการดำเนินงานศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ร้อยละ 80% ของ รร.
ร้อยละการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ ของ
99 5.1 สถานประกอบการ ( ร้านอาหาร,ปั้มน้ำมัน,คาราโอเกะ,) ร้อยละ 100% ของ แห่ง
100 5.2 ร้านค้า ร้านชำ ร้อยละ 100% ของ แห่ง
101 5.3 วัด ร้อยละ 100% ของ แห่ง
102 ร้อยละสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดเป็นเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดำเนินการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100% ของ แห่ง
งานควบคุมป้องกันโรคและระบาดวิทยา
103 อัตราป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ลดลงร้อยละ 50 จากปีที่แล้ว ร้อยละ <50% ของ คน
104 ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 ร้อยละ 0 ของ คน
105 ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 0 ของ คน
106 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อ 100,000 ประชากร ร้อยละ ≤ 50/แสน ของ คน
107 อัตราป่วยตายโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 0.13 ร้อยละ ≤ 0.13% ของ คน
108 อัตราการติดเชื้อ HIV รายใหม่ไม่เกินร้อยละ 0.6 ร้อยละ ≤0.6 ของ คน
109 ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ และผู้ป่วยเอดส์ที่ CD4 น้อยกว่า 200 cell/mm3ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 98 ร้อยละ ≥98% ของ คน
110 นักเรียนมีความรู้ตามข้อคำถามของ UNGUSS ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ร้อยละ ≥50% ของ คน
111 อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดของวัยรุ่นมากกว่าร้อยละ 69 ร้อยละ >69% ของ คน
112 หญิงคลอดที่ติดเชื้อ HIV ได้รับยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 98 ร้อยละ 98% ของ คน
113 อัตราการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ไม่เกิน ร้อยละ 3.75 ร้อยละ ≤ 3.75 ของ คน
114 อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ มากกว่า 75 ต่อแสนประชากร ร้อยละ > 75/แสน ของ คน
115 อัตราการรักษาผู้ป่วยวัณโรคหายขาด ร้อยละ 90 ร้อยละ 90% ของ คน
116 อัตราการบันทึกข้อมูลการให้บริการวัคซีน (ยกเว้น OPV) ร้อยละ 70 ร้อยละ 70% ของ คน
117 อัตราป่วยโรคอาหารเป็นพิษไม่เกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (1,822 ราย คิดเป็น 337.69/100,000) ร้อยละ ของ คน
118 สถานบริการผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบาดวิทยา ร้อยละ ของ แห่ง
งานทันตสาธารณสุข
119 หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 50% ของ คน
120 หญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา ร้อยละ > 20% ของ คน
121 เด็กอายุ 9-12 เดือน ได้รับการตรวจฟัน ร้อยละ 50% ของ คน
122 พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก อายุ 9-12 เดือน ได้รับคำแนะนำ สาธิต ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ร้อยละ 50 ร้อยละ 50% ของ คน
123 ศพด.จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ทุกวัน ร้อยละ 80% ของ แห่ง
124 ศพด.มีสถานที่แปรงฟันอย่างเหมาะสม ร้อยละ 100% ของ แห่ง
125 ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 40% ของ แห่ง
126 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 ร้อยละ >35 % ของ คน
127 นักเรียนประถมศึกษาแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน ร้อยละ 85% ของ คน
128 โรงเรียนประถมศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 100% ของ แห่ง
129 นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกคน ร้อยละ 100% ของ คน
130 นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 40% ของ คน
131 เด็กนักเรียน ป 6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 20% ของ คน
132 เด็กนักเรียน ป 1,3,6 ได้รับการตรวจฟัน ร้อยละ 80% ของ คน
133 โรงเรียนประถมศึกษาผ่านเกณฑ์งานเฝ้าระวังส่งเสริมทันตสุขภาพ ร้อยละ 100% ของ แห่ง
งานสุขภาพภาคประชาชน
134 อสม.เก่า ได้รับการอบรมฟื้นฟูวิชาการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (หลักสูตร 2 วัน 1 คืน) ร้อยละ 50% ของ คน
135 อสม.ใหม่ได้รับการอบรมเข้มทุกคน (หลักสูตร 2 วัน 1 คืน) ร้อยละ 100% ของ คน
136 ร้อยละ ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลโดย อสม. ร้อยละ 100% ของ คน
137 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลโดย อสม. ร้อยละ 100% ของ คน
138 ร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลโดย อสม. ร้อยละ 100% ของ คน
139 ร้อยละ ของเด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 ปี ได้รับการดูแลโดย อสม. ร้อยละ 100% ของ คน
140 ร้อยละ ของผู้พิการได้รับการดูแลโดย อสม. ร้อยละ 100% ของ คน
141 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต และหลอดเลือดสมอง ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นโดย อสม. ร้อยละ 100% ของ คน
142 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลโดย อสม. ร้อยละ 80% ของ คน
143 หมู่บ้านผ่านการประเมินการจัดการสุขภาพ ร้อยละ 100% ของ หมู่
งานพัฒนาคุณภาพบริการ
144 ร้อยละของสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน และ โรงพยาบาลตำบล ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100% ของ แห่ง
145 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะที่เหมาะสมทั้งในระดับอำเภอ จังหวัดและในเขต อย่างน้อยคนละ 1 เรื่อง/ปี ร้อยละ 100% ของ คน
146 ร้อยละ โรงพยาบาลตำบล ผ่านเกณฑ์มาตรฐานงานสุขศึกษา ร้อยละ 100% ของ แห่ง
147 ร้อยละของศูนย์สุขภาพชุมชนผ่านมาตรฐานสุขศึกษา ร้อยละ 50% ของ แห่ง
148 ประชาชนผู้รับบริการจากหน่วยบริการสุขภาพ มีความพึงพอใจต่อการบริการ ร้อยละ > 80% ของ คน
งานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
149 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (> ร้อยละ 60)
ประสานร่วมบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ
16 พฤษภาคม 2553 :ประสานร่วมบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ได้รับ ความร่วมมือด้วยดี จาก น้อง เอ๋ และขอขอบพระคุณ น้อง เอ๋ ชิดหทัย สารบูรณ์ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เรื่อง ประสานความร่วมมือ ขอเชิญร่วมบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ
เรื่อง ขอเชิญร่วมบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ
เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิ พอ.สว. มีพระประสงค์จะเสด็จเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. และพระราชทานของที่ระลึกแก่กรรมการ อนุกรรมการ และอาสาสมัคร พอ.สว.ประจำจังหวัดยโสธร พร้อมทั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรที่มาเฝ้ารับเสด็จ ในวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553 ณ โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงเพ็ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จึงเป็นโอกาสอันเป็นมงคลยิ่ง ที่บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน จะได้รับเสด็จ และแสดงความจงรักภักดี โดยพร้อมเพรียงกัน
อำเภอคำเขื่อนแก้ว พิจารณาแล้วเห็นว่า ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมช่วยเหลือ และทำคุณประโยชน์ให้กับส่วนรวมของอำเภอคำเขื่อนแก้ว และจังหวัดยโสธรมาโดยตลอด กิจกรรมต่างๆ ของอำเภอและจังหวัดที่ผ่านมา สำเร็จลุล่วงลงได้เพราะท่านมีส่วนสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลตลอดมา ทั้งนี้ด้วยจิตใจอันเปี่ยมด้วยบุญกุศลและคุณธรรมของท่าน ซึ่งมีความสอดคล้องอย่างยิ่งกับพระปณิธานขององค์สมเด็จย่า ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมูลนิธิ พอ.สว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลและด้อยโอกาสให้มีสุขภาพดี ไม่ทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น ในวโรกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้ จึงขอเชิญชวนท่านถวายเงินโดยเสด็จพระกุศลสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิ พอ.สว. ตามกำลังศรัทธา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ที่บริจาคเงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป ขอเรียนเชิญท่าน เข้าเฝ้าและรับพระราชทานของ ที่ระลึกจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
2.ในวันเข้าเฝ้าและรับพระราชทานของที่ระลึก คือ วันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553 อำเภอ ขอความร่วมมือให้ท่านเดินทางถึงโรงเรียนชุมชนบ้านเชียงเพ็ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ก่อนเวลา 10.00 น. เพื่อซักซ้อมความเรียบร้อย และเข้าประจำที่นั่งเพื่อรอรับเสด็จ
3. การแต่งกาย
3.1. ประชาชนทั่วไป
1) สุภาพบุรุษ แต่งกายด้วย ชุดผ้าไหม หรือชุดสุภาพ สวมรองเท้าหุ้มส้น
2) สุภาพสตรี แต่งกายด้วย ชุดผ้าไหม หรือชุดสุภาพ ( นุ่งกระโปรง )
ใส่เสื้อแขนยาว หรือแขนสามส่วน ( งดใส่เสื้อแขนกุด )
สวมรองเท้าหุ้มส้น
3.2 อาสาสมัคร พอ.สว. แต่งกายสวมเสื้อ พอ.สว. ปักชื่อ – ชื่อสกุล และ
ตำแหน่งด้วยไหมสีแดง อาสาสมัครสตรีสวมกระโปรงสีน้ำเงินหรือดำ
คลุมเข่าและสวมรองเท้าหุ้มส้น
3.3 ข้าราชการ แต่งกายชุดเครื่องแบบสีกากี คอพับ แขนยาว
4. ท่านสามารถติดต่อผู้ประสานงานในอำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อบริจาคเงินและเข้ารับ
ของที่ระลึกประกอบด้วย
4.1 นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว โทร. 0813932211
4.2. นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว โทร. 0893552547
4.3. นางจำนรรจา บุญแจ้ง หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ โทร. 045791124
4.4. นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วโทร. 0893552547
5. การส่งเงินบริจาคหากประสงค์จะให้อำเภอจัดเจ้าหน้าที่ไปรับเงินบริจาคโดยตรงขอให้ติดต่อผู้ประสานงานทั้ง 4 คนข้างต้น ทั้งนี้ขอความร่วมมือได้แจ้งความประสงค์การบริจาคเงินถวายโดยเสด็จพระกุศลฯ ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วทราบ ภายใน วันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2553
จึงเรียนมาเพื่อทราบ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดี และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว หมายเหตุ: ที่เห็นเพิ่มอีก 1 คน คือ นายพันธุ์ศักดิ์ ธรรมรัตน์ ป่าไม้อำเภอคำเขื่อนแก้ว น้องชายที่รักของผมเองครับ..
5/14/10
14 พฤษภาคม 2553 กิจกรรมที่สำคัญวันนี้
ประสานงานและส่งบทความวิชาการ เพื่อจัดพิมพ์คู่มือ สำหรับ ผู้เข้ารับการอบรม การพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขต 13
ประสานงานและส่งข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ กับ เขตตรวจราชการที่ 13 จำนวน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่จาน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย ส่งคืนพื้นที่ อาคาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว หลังเดิม ให้กับ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ประสานความร่วมมือ กับ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ สภ.คำเขื่อนแก้ว เรื่อง ระบบความปลอดภัย อาคาร
ป้ายชื่อรมดำหน้าอาคารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
เรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ตามที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ใช้พื้นที่อาคารโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว (อาคารโรงพยาบาล ๑๐ เตียง) สำหรับใช้เป็นที่ทำการอาคารชั่วคราว สำนักงานสาธารณสุข อำเภอคำเขื่อนแก้วมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยมีลักษณะการทำงานเป็นเครือข่ายบริการที่ใกล้ชิดและได้รับความร่วมมือด้วยดีในทุกๆด้านจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วนั้น
บัดนี้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ย้ายไปปฏิบัติงาน ณ อาคาร สำนักงานแห่งใหม่บริเวณถนนแจ้งสนิทเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นจึงขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงยิ่ง ที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่อาคารและให้ความร่วมมือระหว่างกันด้วยดีตลอดมา พร้อมนี้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ขอส่งคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กับโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วสำหรับใช้ประโยชน์ในการบริหารและการบริการสุขภาพแก่ประชาชนต่อไป
เรียน ผู้กำกับกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
ด้วยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ย้ายอาคารที่ทำการจาก อาคารโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ไปปฏิบัติงาน ณ อาคาร สำนักงานแห่งใหม่ บริเวณด้านหน้าถนนแจ้งสนิท ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เรียบร้อยแล้วนั้น
เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของทางราชการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จึงขอความร่วมมือมายังท่านเพื่อขอความอนุเคราะห์ ให้สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้วติดตั้ง ตู้บันทึกการตรวจตราการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ(ตู้แดง) ณ บริเวณป้ายด้านหน้า อาคารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วหลังใหม่ และกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกตรวจตราและเฝ้าระวังภัยตามมาตรการของทางตำรวจ ณ อาคารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วหลังใหม่ ตามความเหมาะสมต่อไป
.... สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว แห่งใหม่ของเรา ณ วันนี้ ถือได้ว่า พร้อมที่จะอำนวยการบริหารงานสาธารณสุขอย่างเต็มรูปแบบแล้ว...
เกล็ดคิด เพื่อชีวิตดีๆ จากเพื่อนดีๆ มีให้แก่กัน
13 พฤษภาคม 2553 เกล็ดคิด เพื่อชีวิตดีๆ จากเพื่อนดีๆ มีให้แก่กัน : ภูมิพันธุ์ไปใส่ปุ๋ยต้นไม้ที่ไร่: หยุดราชการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ภาคบ่ายพา ลูกชายภูมิพันธุ์ จันทร์สว่าง ไปใส่ปุ๋ยต้นไม้ที่ไร่ … วันนี้ เวลา 07.29 น. ที่งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน โดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ มายังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จ
..... คำพยากรณ์งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปีนี้ "พระยาแรก" นาเสี่ยงหยิบผ้า 6 คืบ พยากรณ์ น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี "พระโค" กินหญ้า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร พร้อมด้วยธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี...
... วันนี้ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง และการกลับกลอกของนักกวนเมืองกลุ่มเล็ก...
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ได้รับ mail ดีๆ อ่านแล้วประทับ จากท่านผู้พิพากษา มงคล พิมพ์ทรัพย์
โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก
อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง
คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย
ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ ขอให้จับหนูได้ก็พอ
ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น
ในโลกกลม ๆ ใบนี้ ไม่มีคำว่า }แน่นอน~
คนเราเมื่อ ตัวตายก็ต้องลงดิน
ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย อิจฉาได้ แต่อย่าริษยา พักได้ แต่อย่าหยุด
เหตุผลของคน ๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่ของคน ***กคนหนึ่ง
ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้ได้เลยว่า ข้างหน้าเป็นอย่างไร
หนทางอันยาวไกลนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นด้วยก้าวแรกก่อนเสมอ
ปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น
จะเห็นค่าของความอบอุ่น เมื่อผ่านความเหน็บหนาวมาแล้ว
อันตรายที่สุดคือ การคาดหวัง
เริ่มต้นดีแล้ว ลงท้ายก็ต้องดีด้วย
อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่
จงใช้สติ อย่าใช้อารมณ์
เบื้องหลังความเข้มแข็ง สมควรมีความอ่อนโยน
ไม่มีคำว่า บังเอิญ ในเรื่องของความรัก มีแต่คำว่า ตั้งใจ
ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป
หลังพายุผ่านไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ
หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่าปัญหานั้นเล็กนิดเดียว
ไม่เป็นขุนนางนะ ได้ แต่ไม่เป็นคนไม่ได้
มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง
เมื่อวานก็สายเกินแล้วพรุ่งนี้ ก็สายเกินไป
อย่าหวังว่าจะได้รับความรัก จากคนที่คุณรัก
เพราะคนที่คุณรัก ไม่ได้รักคุณ หมดทุกคน
เพื่อนทั่วไป ไม่เห็นคุณร้องไห้
เพื่อนแท้ มีหัวไหล่ไว้คอยซับน้ำตาให้
เพื่อนทั่วไป ถือขวดไวน์ติดมือมางานปาร์ตี้ของคุณ
เพื่อนแท้ จะมาแต่หัววันเพื่อช่วยเตรียมงาน
เพื่อนทั่วไป คาดหวังให้คุณเคียงข้างเขาเสมอ
เพื่อนแท้ คาดหวังที่จะอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป
เพื่อนทั่วไป เข้าหาผลประโยชน์ ที่ได้รับจากเรา
เพื่อนแท้ มีหัวไหล่ไว้คอยซับน้ำตาให้
เพื่อนทั่วไป ถือขวดไวน์ติดมือมางานปาร์ตี้ของคุณ
เพื่อนแท้ จะมาแต่หัววันเพื่อช่วยเตรียมงาน
เพื่อนทั่วไป คาดหวังให้คุณเคียงข้างเขาเสมอ
เพื่อนแท้ คาดหวังที่จะอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป
เพื่อนทั่วไป เข้าหาผลประโยชน์ ที่ได้รับจากเรา
5/12/10
สสอ.คำเขื่อนแก้วจัดสำนักงานใหม่พร้อมทำงานแล้ว
12 พฤษภาคม 2553 สสอ.คำเขื่อนแก้วจัดสำนักงานใหม่พร้อมทำงานแล้ว : วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และ คณะของพวกเราจัดเตรียมสำนักงานใหม่ เพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงานแล้ว เมื่อวาน (11 พฤษภาคม 2553)ต้องขอขอบพระคุณ ท่านพรชัย ทองบ่อ สาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ รักษ์ชัย ไชยรักษ์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ ที่เป็นแขกคณะแรกของพวกเรา ที่ให้เกียรติมาแวะเยี่ยมชม อาคารสำนักงานใหม่ของเรา ... วันนี้ กำลังออกแบบการจัดวาง ผนังกั้นห้องทำงาน การเปลี่ยนป้ายชื่อ จาก สถานีอนามัยคำเขื่อนแก้ว เป็น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ... การปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น (ด้านหลังและด้านข้าง) มี ต้นแคนา ต้นลำดวน ต้นมันปลา ต้นประดู่ ต้นคูณ และต้นหูกระจง .. ส่วนการเตรียมห้องประชุม มี นายวีระวัฒน์ กำศร สอ. นาคำ นายบุญทศ ประจำถิ่น สอ.ดงเจริญ นายอรุณ ฉายแสง หัวหน้าสถานีอนามัยโพนทัน และ นายอุทิศ ฝูงดี หัวหน้าสถานีอนามัยกู่จาน มาช่วยงานเตรียมลงรหัสครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้ต่างๆ...