6/26/10
คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ดงแคนใหญ่
18 มิถุนายน 2553:ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ คลินิก เกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ณ องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) ดงแคนใหญ่ ท่านสินอุดม ศิลารักษ์ นาก องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) ดงแคนใหญ่ พร้อมทีมงาน อาทิ นายบุญสอน ทองลือ กำนันตำบลดงแคนใหญ่ นายสุพจน์ นักผูก รองนายก อบต.ดงแคนใหญ่ นายแสงจันทร์ ภาคะ รองนายก อบต.ดงแคนใหญ่ นางสำราญ ทำทอง เลขานุการนายก อบต.ดงแคนใหญ่ นายสุพรรณ ศิลารักษ์ ประธานสภา อบต.ดงแคนใหญ่ นายเรียน เจือทอง เลขานุการสภา อบต.ดงแคนใหญ่ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง นำโดย ท่านถวิล เศษบุบผา เกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว พร้อมคณะ นายเกษ วัฒน์ทัน นายวิสันต์ พองชัยภูมิ นายเจน ร่วมสุข นางกุหลาบ พองชัยภูมิ เป็นต้น ประธานในงาน โดย ท่านประวัติ ถีถะแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ท่านชื่น วงษ์เพ็ญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร นำทีม หัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมต้อนรับ กิจกรรมจาก หมู่บ้าน ตำบลต่างๆ และโรงเรียนในเขตตำบลดงแคนใหญ่ ร่วมแสดงหน้าเวทีและจัดนิทรรศการแสดงผลงาน เช่น ผอ.สมชาย วัฒนาไชย อ.อนันต์ ดีวงษ์ โรงเรียนบ้านผักบุ้ง ผอ.สุกิจ ร่วมสุข อ.สินีนาถ วงษ์เพ็ญ โรงเรียนชุมชนดงแคนใหญ่ อ.วิไล สารกิจ อ.ลำดวน เหล้กกล้า โรงเรียนบ้านบกน้อย ท่านเชิดชัย สิงคิบุตร จาก โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นต้น
ที่มาของโครงการนี้ .... การใช้เทคโนโลยีการเกษตรหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการ พัฒนาการเกษตร ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างแรงจูงใจในการกระตุ้นเศรษฐกิจการผลิตภาคการ เกษตร โดยจำเป็นต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรวิจัยและพัฒนาภาคการ เกษตร ที่เป็นแหล่งบริการความรู้เฉพาะด้านกับเกษตรกรเป้าหมายที่จะต้องนำความรู้ วิทยาการใหม่ และบริการทางวิชาการโดยอาศัยช่องทาง (Channel) ต่าง ๆ ที่สามารถให้บริการตรงความต้องการและทันต่อเหตุการณ์ การจัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้การบริการทาง วิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีบรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวังเร็วขึ้น ซึ่งการดำเนินงานในรูปแบบนี้จะเป็นการบูรณาการนักวิชาการแต่ละสาขาทั้งด้าน พืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนาที่ดิน ฯลฯ โดยอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ เข้าช่วยในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ทุกจุด สร้างแรงดึงดูดใจจากเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป้าหมาย เป็นการกระตุ้นเกษตรกรให้เกิดการตื่นตัว และยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี
ในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2545 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอพระราชานุญาตจัดทำโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ กราบบังคมทูลถวาย และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงรับโครงการดังกล่าวไว้ในพระราชานุเคราะห์ และทรงพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่องหมายตรา สัญลักษณ์โครงการ
วัตถุ ประสงค์
1. เพื่อให้บริการแก่เกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
2. เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริมและศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในการพัฒนาฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถทำการผลิตทางการเกษตรได้อย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาร่วมกั
กิจกรรมด้านคลินิก ได้แก่ การให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยและให้บริการโดยการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ
1. คลินิกพืช (กรมวิชาการเกษตร) โรคและแมลงศัตรูพืช วัชพืช สารพิษตกค้าง การขาดธาตุอาหารพืช วัตถุมีพิษทางการเกษตร
2. คลินิกดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) วิเคราะห์และตรวจสอบดินและปุ๋ย
3. คลินิกสัตว์ (กรมปศุสัตว์) โรคสัตว์ ควบคุมบำบัดโรคสัตว์ ตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ ฉีดวัคซีนสัตว์
4. คลินิกประมง (กรมประมง) โรคสัตว์น้ำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ กิจกรรมเสริมสร้าง ความรู้ การฝึกอบรมและจัดนิทรรศการที่เป็นความต้องการของเกษตรกรหรือเป็นเทคโนโลยี ที่เกษตรกรควรรู้ ได้แก่
5. คลินิกบัญชี (กรมตรวจบัญชีสหกรณ์) การจัดทำบัญชีฟาร์ม
6. คลินิกชลประทาน (กรมชลประทาน) การบริหารจัดการน้ำ ฯลฯ
7. คลินิกสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) การดำเนินงานด้านสหกรณ์ ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ
8. คลินิกกฎหมาย (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) การดำเนินงานด้านกฎหมายที่ดิน
9. อื่น ๆ
10. กิจกรรมสนับสนุนโครงการสายใยรักจากแม่สู่ลูก
10.1 คลินิกอาชีพเสริมสำหรับแม่ (เพื่อเพิ่มรายได้ของครอบครัว)
- การแปรรูปอาหาร
- หัตถกรรม อื่น ๆ
10.2 นิทรรศการเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพูนสุขภาพแม่ลูก (เพื่อโภชนาการของแม่และเด็กลดรายจ่ายของครอบครัว)
- ชุมชนในชนบท
- ชุมชนในเมือง
No comments:
Post a Comment