6/11/10
ไหว้พระ วัดตึก วัดพนมยงค์ วัดเชิงท่า วัด หน้าพระมรุ
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และ นายอภิชาต เกิดศรีทอง จากสำนักงานเกษตรอำเภอทรายมูล ไปร่วมไหว้พระทำบุญ ๙ วัด ณ พระนครศรีอยุทธยา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
วัดที่ ๔. วัดตึก ตั้งอยู่ถนนอู่ทองห่างจากทางแยกไปวัดภูเขาทอง(ถนนสาย 309) ประมาณ 300 เมตร มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่โบสถ์มหาอุตม์ เรียกตามลักษณะที่พิเศษกว่าโบสถ์ลักษณะอื่น ที่ว่า มีทางเข้าออกเพียงด้านเดียวและไม่มีหน้าต่าง เหตุผลในการสร้างโบสถ์แบบนี้หลายคนเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธี พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ในการลงอาคมของขลัง การทำเป็นอาคารทึบก็เพื่อให้อาคมคงอยู่และมีพลังความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะอย่างไรก็ดี พระอุโบสถมหาอุตตม์ นี้ คงเหลืออยู่น้อยมากภายในประเทศไทย อาจเหลืออยู่เพียง 3-4 แห่งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นศาสนโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง(ข้อมูลจาก โบสถ์มหาอุตม์วัดนางสาว สมุทรสาคร
๕. วัดพนมยงค์ หรือ วัดแม่นมยงค์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกรุงเก่า ริมคลองเมือง เยื้องหน้าโรงเรียนประตูชัย ตำบลท่าวาสุกรี(ในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา) วัดนี้เป็นนามของแม่นมของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเป็นสวนหลวงของแม่นมยงค์ซึ่งเป็นคนดีสัตย์ซื่อ ยึดถือคุณธรรมเป็นหลักของชีวิต ขยันต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานจนสำเร็จทุกเรื่อง จึงเป็นที่โปรดปรานขององค์พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อแม่นมยงค์ชราภาพลงและหมดอายุขัย พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสวนหลวงเป็นที่ธรณีสงฆ์ และให้สร้างวัดขึ้นที่นั่นโดยให้พ้องกับชื่อแม่นมยงค์ เพื่อบุญกุศลจะได้ตกแก่แม่นมยงค์
๖. วัดเชิงท่า เป็นวัดโบราณสร้าง ขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้ง อยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมืองริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างพุทธศักราช ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ มีหลักฐานว่าเมื่อครั้งเจ้าพระยาโกษา ปานเป็นราชทูต กลับจาก ประเทศฝรั่งเศสแล้วได้ปฏิสังขรณ์วัดนี้และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดโกษาวาส ตั้งแต่ รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๓๐๑) บริเวณ วัดนี้คงจะเป็นที่รวบรวมหญ้า เพื่อนำข้ามฝั่งไปให้ช้างม้าในวัง จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดติณ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้งหนึ่ง และจากหนังสือเรื่องของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๗ หน้า ๑ บันทึกไว้ว่า วัดโกษาวาสแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดคลัง กับมีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์มีนามว่า สิน ขณะพระชนมา ยุได้ ๙ พรรษา เจ้าพระยา จักรีได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ให้ ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย ขอม และคัมภีร์พระไตรปิฎก เมื่อ พระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ในวันหนึ่ง นายสินคิดตั้งตนเป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการพนัน พระอาจารย์ทองดีทราบเรื่องจึงลงโทษทุกคน เฉพาะนายสินเป็นเจ้ามือถูกลงโทษหนักมากกว่าคนอื่น ให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้ำประจานให้ เข็ดหลาบ นายสินถูกมัดแช่ น้ำตั้งแต่เวลาพลบค่ำ พอดี เป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น พระ อาจารย์ทองดีไปสวดพระพุทธมนต์ลืมนายสิน จนประมาณยามเศษ พระ อาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นอันเตวาสิก ช่วยกันจุดไต้ค้นหาก็พบนายสินอยู่ริม ตลิ่ง มือยังผูกมัดติดอยู่ กับบันได แต่ตัวบันไดกลับ หลุดถอนขึ้นมาได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันแก้มัดนายสินแล้ว พระอาจารย์ทองดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถให้นั่งลงท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธ มนต์ด้วยชัยมงคลคาถาเป็นการรับขวัญ ต่อมา เมื่อนาสินเรียนจบการศึกษา เจ้า พระยาจักรีก็ได้นำไปถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ จนอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส และบวชอยู่นานถึง ๓ พรรษา ในระหว่างนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เป็นพระสหายกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะนั้นก็บวชอยู่ ณ วัดมหาทลาย (วัด ไฟไหม้)
๗. วัด หน้าพระมรุ
ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม”
มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046 วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบ ศึกเมื่อ พ.ศ. 2106ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส
วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่ สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลก นาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏ อยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ 6 เมตรหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้
No comments:
Post a Comment