7/29/10
รพ.สต.จุดเปลี่ยนระบบดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานแนวใหม่:พัทยา
วันที่ 22-23 กรกฎาคม 2553:เข้าร่วมการประชุมเวทีเสวนา“มองทิศการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน กับทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุข” ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี
09.00 – 09.15 น. - ชมวิดิทัศน์ เรื่อง “๙๖ ปี สถานีอนามัย: บทเรียนสำหรับสังคมสุขภาพไทย”
09.15 – 10.00 น. – พิธีเปิดประชุม “รพ.สต. กับจุดเปลี่ยนระบบการจัดการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานแนวใหม่” ประธานในพิธีเปิดโดย: ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนา เรื่องมองทิศทางการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานกับทศวรรษใหม่แห่งการ เปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมีตัวแทนเครือข่ายสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 2,000 คน
กล่าวรายงานโดย: นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด
ประทับใจ ความมุ่งมันตั้งใจ ของทีมงานผุ้จัดการประชุมในครั้งนี้ ที่ล้วนแล้วแต่ มีความเห็นอกเห็นใจ และ ตั้งใจ ที่จะช่วยให้ ชาวหมออนามัยของพวกเรา ได้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีที่ยืนในสังคม ให้ควรค่าแก่คุณงานความดีที่พวกเราได้ร่วมกันสร้างมา ร สถานีอนามัย ทั่วประเทศ เป็นระยะเวลากว่า 96 ปีแล้ว ทีมงานที่เข้มแข็ง นำโดย ท่านไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข น.พ.พูนชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษานายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ที่ปรึกษา สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และ ดร.ทัศนีย์ บัวคำ อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เป้นต้น
ส่วน คณะวิทยากร ที่ขอปรบมือให้ ในการขับเคลื่อนไปด้วยกัน ประทับใจ ท่าน นพ.ดร.ภูดิท เตชาติวัฒน์ คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ... วิชาชีพการสาธารรสุขจำเป็นต้องมี เพราะเป็นสิ่งที่สามารถรับรองและประกันมาตรฐานให้กับประชาชน รวมทั้งหากมหาวิทยาลัยผลิตบุคลากรสายนี้ไปแล้ว แต่ไร้เกียรติและศักดิ์ศรี ไม่มีงานทำ แล้ว ครู อาจารย์ที่สอน จะมีศักดืศรีได้จากไหน มหาวิทยาลัยจะอยู่ได้อย่างไร... นพ.พีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว รองประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด... พวกเราทำงานหนักและเป็นงานที่ไม่มีใครสามารถเข้าไปทำในชุมชนได้ดี เหมือนหมออนามัยได้ ฉะนั้น ควรที่พวกเขาจะได้มีวิชาชีพ เพราะสิ่งที่เขาทำอยู่ในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นวิชาชีพแล้ว เพราะครบองค์ประกอบทั้ง 2 อย่าง คือ มี มาตรฐานวิชาการ และ มีจริยธรรมวิชาชีพ นายเมธี จันท์จารุภรณ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข ... พวกเราทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร และทุกชมรม ทั้งในกระทรงสาธารณสุขและสถาบันการศึกษาต้อง รัก สามัคคีรวมกันเป็นหนึ่ง แล้วจะสำเร็จ... นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข … ในช่วงที่ผมเข้ามารับหน้าที่นี้ผมจะพยายามช่วยเหลือ สนับสนุนและกระทำในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ต่อพวกเราให้ได้มากที่สุด และหาวิธีการที่จะทำให้ใช้ เวลาให้สั้นที่สุดในการผลักดันร่างกฎหมายนี้ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะให้เข้าสู่สภาได้ ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือพวกเราให้คัดเลือกบุคลากรฝีมือดีเข้าร่วมชี้แจงกับคณะกรรมการชุดต่างด้วย โดยเริ่มจาก ขั้นกฤษฎีกาเป็นต้นไป...และดำเนินรายการได้ดีมากๆ โดย.. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเหตุ... บุคคลที่ ท่าน นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ พูดถึงนั้น ผมเสนอชื่ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อให้ท่านพิจารณาเพราะเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่ดีที่สุดเท่าที่ผมรู้จัก..
...
10.30 – 12.00 น. – เปิดเวทีเสวนาหัวข้อ “มองทิศการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานกับบริบทของความ เปลี่ยนแปลงในการปฏิรูปประเทศไทย”
ประเด็นการเสวนา แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา (เช้า บ่าย):
1. การถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปี 2553: ทางออกในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพที่เหมาะสมจริงหรือ”
2. ข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบที่เกิดจาก 5 รูปแบบของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยัง อปท.ในแต่ละ ระดับ คือ อบจ. อบต. หรือเทศบาล หรือการซื้อบริการ หรือการกำหนดรูปแบบใหม่โดย มีการออกกฎหมายด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครองรับเป็นการเฉพาะ
3. ใครได้ ใครเสีย อะไร? เมื่อสถานีอนามัยกลายเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. จะปฏิรูประบบดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างไร? เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพของชุมชนสังคมไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
นพ.พีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
น.พ.พูนชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษานายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข
อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นางทัศนีย์ บัวคำ
วิทยากรร่วม 1. กรรมการและสมาชิกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข
2. เลขาธิการสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายสมบัติ ชูเถื่อน
วิทยากรดำเนินรายการ: นายเมธี จันท์จารุภรณ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข
15.15 – 17.00 น. - ตกผลึกความคิดร่วมกัน และจัดทำ “ข้อเสนอเกี่ยวกับการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (มีผลตามแผนปฏิบัติการฯ ในปี 2553) เพื่อยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในฐานะประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
วันที่ 23 กรกฎาคม 2553 09.00 – 09.15 น. - ประกาศแถลงการณ์ “ข้อเสนอเกี่ยวกับการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมข้อเสนอแนวทางการปฏิรูประบบสาธารณสุขและระบบการดูแลสุขภาพขั้น
พื้นฐานที่มีความมั่นคงและยั่งยืน” โดย: นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด
- พิธีส่งมอบข้อเสนอฯ ให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และประธาน
อนุกรรมการเฉพาะกิจด้านการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์การบริหารส่วน จังหวัด
นำโดย: นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด
คณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และสมาชิก
09.15 – 10.00 น. – ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาโครงสร้างการกระจายอำนาจกับการปฏิรูปประเทศไทย”
10.00 – 14.00 น. - เวทีเสวนาหัวข้อ “นานาทรรศนะเกี่ยวกับ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข”
ประเด็นในการเสวนา: 1. กระบวนการ ขั้นตอน การพิจารณาออกกฎหมาย
2. ผลดี ผลกระทบต่อการมี พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขในสังคมสุขภาพไทย
3. ผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข
โดย: 1. ศาสตราจารย์ นพ.วิฑูรย์ อึงประพันธ์ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาตร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการกฤษฎีกา
2. นพ.ดร.ภูดิท เตชาติวัฒน์ คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
3. นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้เข้าร่วมเวที: กรรมการและสมาชิกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข (ซักถาม)
วิทยากรดำเนินการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
14.00 – 15.00 น. – อภิปราย/สรุปผลการประชุมเสวนา
โดย นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายไพศาล บางชวด
No comments:
Post a Comment