8/11/10
Best Practice ของดี 4 จังหวัด:ผลงานสถานีอนามัยดีเด่น
วัน ที่ 02 สิงหาคม 2553 Best Practice ของดี 4 จังหวัด: ภาคค่ำ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ทำหน้าที่ วิทยากร ผู้วิพากษ์ การนำเสนอ Best Practice เพชรน้ำเอก แต่ละจังหวัด ที่เข้าร่วม สัมมนา โครงการพัฒนาบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เขต ๑๓ ประจำปี ๒๕๕๓ ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุขโขงเจียม (ศอข.) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รุ่นที่ 11 ซึ่งเป็นเรื่อง และเวที ที่ดีมากๆ แต่ละจังหวัด มีข้อดี ที่น่าเรียนรู้ แตกต่างกันไป เริ่มจาก
++จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอ โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอโดย นางสำราญ พูลทอง นี้ มี จนท.11 คน ซึ่งถือว่า มากที่สุด ในบรรดา รพ.สต.ในเขต 13 Best Practice ที่นำเสนอ การดำเนินงานสุขภาพจิต โดยเครือข่าย 5 ดาวกระจาย ซึ่ง เป็น Stake Holder ที่สำคัญ ในชุมชน คือ อสม.ครูผู้นำนักเรียน ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน และแกนนำเยาวชน สืบเนื่องจาก เป็นพื้นที่ที่มี ปัญหาสุขภาพจิตมากในหลายๆด้าน มีการ Screening เบื้องต้นโดย อสม. มีการประสานทางวิชาการ จาก รพ.พระศรีมหาโพธิ์ หลายๆ อย่างที่ได้รับ รพ.สต.ประทุม ได้รับ Award จากการทำงานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่นำเสนอ เพราะ สามารถคืนความเป็นคนให้กับ หลายๆคน ตามตัวอย่าง ที่นำเสนอ 3 เรื่อง ประกอบด้วย ชีวิต ที่ไม่โดดเดี่ยวของรุ่ง จาก รุ่งคนไข้ที่อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจะมีชีวิตต่ออยู่ในสังคมได้ จนสามารถ ทำมาหาเลี้ยงชีพ ได้ สังคมยอมรับ และ ปัจจุบัน ทำงานเป็น จิตอาสาให้กับ รพ.สต.ปทุมได้ เบื้องหลัง จนท.ต้องทำงานไปให้การดูแล ร่วมกับ ภาคี ต่างๆ และญาติ มิตร แถวนั้น ทุกวัน จนรุ่งสามารถ เข้าสู่กระบวนการบำบัดได้โดย จนท.และชุมชน...
+++กรณีคุณลุงชิน คนไข้โรคจิต ที่ ญาติๆ ปกปิดไว้ หลังบ้าน ไม่ให้ คนอื่นรับรู้ แต่ อสม. รับรู้ แจ้ง จนท.สอ.ปทุม แล้ว ร่วมกัน แก้ไขปัญหา จนในปัจจุบัน คุณลุงชิน มีชีวิต ในสังคมด้วยความปกติ… .
+++กรณีต๊อด คนพิการ ที่สามารถเดินได้อีกครั้ง ...ให้กำลังใจ ต๊อด และญาติๆ ช่วยกัน ฝึกให้ต๊อดเดินโดยราวไม้ไผ่ จนเขาเดินได้ด้วยตนเอง......ในพื้นที่เรา มีคนเยี่ยง รุ่ง คุณลุงชิน หรือ ต๊อด อีกไหม ลองช่วยกันค้นหา แล้ว เราจะมีความสุขมาก ที่ สามารถ คืนความเป็นคนที่สมบูรณ์แบบให้กับคนเหล่านี้ได้..
++จังหวัดยโสธร นำเสนอโดย ผอ. พัณพ์ลิฏา แก้วรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสิงห์ อำเภอเมืองยโสธร เจ้าของ Slogan ของ สอ. อนามัยเฮา ปัวเซา เว่าม่วน วิเคราะห์ ตนเอง เอง ด้วย MVOSA ใช้กลยุทธ SO ซึ่งเป็นกลยุทะ ชั้นดี นำเสนอเรื่อง Sofatole แผ่นปิดแผลสมุนไพร ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและการแพทย์แผนไทย ผลิต แผ่นปิดแผล สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ทำแผลเรื้อรัง กว่า 300 คน ในเขตรับผิดชอบ ซึ่งได้ผลดี และสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ จาก เดิม ค่าใช้จ่ายแผ่นละ 5 บาท แต่ จากการที่ผลิตเองนี้ ต้นทุน 15 สตางค์ เท่านั้น
++จังหวัดอำนาจเจริญ นำเสนอโดย นายพิชิต กงทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาผาง เรื่อง กิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืนโดยชมรมผู้สูงอายุ ซึ่ง มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง และ ครบองค์ประกอบ 5 ก คือ กำลังคน(สมาชิก) กรรมการ กองทุน กิจกรรม และการประเมินผล จุดเด่น คือ เขาจะ ดำเนินงานเอง โดยชมรมผู้สูงอายุ ทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย มีข้อมูล GIS ผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ
++จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอโดย ท่าน ว่าที่ ดร.ประกอบ คงยะมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปราสาท อำเภอขุขันธ์ นำเสนอเรื่อง งดเหล้าในงานบุญ ซึ่งเป็นเรื่องที่ ทำยากมาก เพราะ สถานีอนามัยปราสาทนี้ อยู่ติดกับพื้นที่ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ถิ่น คนกินสุรา แต่เขาทำได้ ด้วยหัวใจของ คนทำงาน เพื่อมวลชนที่แท้จริง เพราะต้องฟันฝ่ากับปัญหาอุปสรรค มากมาย ทั้ง เอเย่นขายเหล้า ทั้ง นักดื่ม ที่มีมากมายในทุกหลังคาเรือน รวมทั้ง นักดื่มที่มีพลังอำนาจ ในหมู่บ้าน ในตำบล ทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส. อ บต. ไม่เว้นแม้แต่ อสม. ยังดี ที่มี คุณ หมอ และ พระ ในวัด ไว้บ้าง ... เขาสามารถขับเคลื่อนได้ ดวยการใช้ กลยุทะ ให้เป็นโครงการของชาวบ้าน ไม่ใช่ โครงการของคุณหมอ โดย การให้ Stake Holder ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกส่วน เข้ามามีส่วนอนุมัติโครงการ โดยการ จัดเวที เสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากนั้น ประชาคมเขาจะขับเคลื่อนเอง โดย คุณหมออนามัย เพียง แต่เป็นคนอำนวยความสะดวกเท่านั้น เริ่มจาก งานศพปลอดเหล้า ปัจจุบัน ขยายผลไป เป็น งานบุญปลอดเหล้าได้สำเร็จ ... ขอชื่นชม ครับเหมาะสมแล้ว ที่ ท่านไดรับ รางวัล สถานีอนามัยดีเด่นระดับเขต ประจำปีนี้ ครับ...
สิ่งที่พวกเรา ได้รับฟังนี้ ถือเป็น การสร้างบุญ กุศล ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อประชาชนครับ... ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงาน คุณ ภาพ ทุกๆ ทีมนะครับ...
No comments:
Post a Comment