11/1/10
นศ.สาธารณสุขราชภัฎอุบลฝึกงาน สสอ.คำเขื่อนแก้วฯ
28 ตุลาคม 2553: นศ.สาธารณสุขราชภัฎอุบลฝึกงาน สสอ.คำเขื่อนแก้วฯ : ช่วงนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
เห็น บรรยากาศ แห่งความสุข ที่อาจารย์แฟรงค์ นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว กำลังสนุก กับการ บรรยาย ในฐานะอาจารย์ พิเศษ ให้กับ นักศึกษาสาขาธารณสุขชุมชน คณวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่มาฝึกปฏิบัติงาน ร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ในเนื้อหาเกี่ยวกับ งานระบาดวิทยา ทั้งนี้ อาจารย์แฟรงค์ กำลัง ศึกษา ระดับปริญญา ด? จาก มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ซึ่ง นักศึกษาสาขาธารณสุขชุมชน คณวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ชุดนี้ประกอบด้วย
1. นางสาวจันทร์เพ็ญ พลอาจ (เพ็ญ) นาย นายธีรพงษ์ ซอนทรัพย์ (ปั๊ก)
3 นางสาว จันทร์สุดา สุดใจ (แอน) 4 นางสาว เจนจิรา เสนจันทร์ฒิไชย (เจน)
5. นางสาว ดวงใจ ก้านกิ่ง (จอย) 6. นางสาวนรินทร สองศรี (ริน)
7. นางสาววงค์เดือน วงศ์ด้วง (กิ๊ก)
ที่ผม บอกว่า เป็นบรรยากาศ แห่งความสุข เพราะ ผมถือว่า สิ่งเหล่านี้เป็น สุดยอดของการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพราะ การที่ เราสามารถ ถ่ายทอดวิชาการให้กับบุคคลอื่นๆได้นั้น แสดงว่า จะต้อง ศึกษาค้นคว้า และสอนได้ อย่างรู้จริง .. ฉะนั้น ผมจึงมีความสุขทุกครั้ง ที่เห็น พวกเรา ได้มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลและหน่วยงานอื่นๆอยู่เสมอ นั่นหมายถึงว่า องค์กรของเรา กำลังก้าสู่ ยุคของเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้อย่างไม่ยากนักในอนาคต
.... ทำอย่างไรให้ความรู้ในทางปฏิบัติ ซึ่งมักเป็นที่ทราบกันในตัวคนหรือกลุ่มคน ถูกปรับเปลี่ยนและจัดการอย่างเป็นระบบ (Knowledge Management) เพื่อรักษาองค์กรไว้ ซึ่งจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ ให้ความรู้ทั้งหลายนั้นกลายเป็นความรู้ที่เกิดประ โยชน์สำหรับคนทั้งองค์กร เพื่อการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพราะ “ความรู้” คือ “อำนาจ”
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) คืออะไร ?
Peter Senge ( 1990 ) แห่ง Massachusetts Institute of Technology กล่าวว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน
David A. Gavin (1993) แห่ง Harvard University กล่าวว่า คือ องค์กรที่มีลักษณะในการสร้าง แสวงหา และถ่ายโยงความรู้ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากความรู้ใหม่ และการเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างถ่องแท้
Michaek Marquardt (1994) แห่ง George Washington University กล่าวว่า องค์กรที่ซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีการสอนคนของตนเองให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่ง ขณะเดียวกันทุกคนก็ช่วยองค์การ จากความผิดพลาดและความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลให้ทุกคนตระหนักในการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช แห่งสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า องค์การเอื้อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamics) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้าน ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์การในลักษณะที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยว ข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้
ทำไมต้องมีการจัดการความรู้ ?
ด้วยวัฒนธรรมการทำงานขององค์การไม่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ บุคลากรส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะคนที่มีอายุเฉลี่ยค่อนข้างมากจะทำงานตามหน้าที่ ที่เคยปฏิบัติ ทำให้ขาดความกระตือรือร้น และความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง องค์กรขาดความต่อเนื่อง ในการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างบุคลากรแต่ละรุ่น หรือกลุ่มวัยที่ต่างกัน
...
รศ.ดร. เอื้อน ปิ่นเงิน และ รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง สาเหตุการคิดการจัดการความรู้ (เอื้อน ปิ่นเงิน และ ยืน ภู่วรวรรณ, 2546) เรื่องนี้ว่า
“สารสนเทศล้น กระจัดกระจาย และจัดเก็บอยู่ในแหล่งเก็บที่หลากหลาย ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ เรามีข้อมูลมากมาย แต่ความรู้มีน้อย ในยามที่ต้องการข้อมูลการตัดสินใจ การรวบรวมข้อมูลได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และไม่ครบถ้วน อีกทั้งใช้เวลาค้นหานาน การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบจะช่วยให้ปัญหาดังกล่าว บรรเทาลงหรือหมดไป ยิ่งไปกว่านั้นการก้าวเข้าสู่สังคมภูมิปัญญาและความรอบรู้ เป็นแรงผลักดันทำให้องค์การต้องการพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Enterprise) เพื่อสร้างความคุ้มค่าจากภูมิปัญญาและความรอบรู้ที่มีอยู่ เปลี่ยนสินทรัพย์ทางปัญญาให้เป็นทุน ด้วยการจัดการความรอบรู้และภูมิปัญญา ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เป็นแบบ Knowledge Worker ด้วย
เก่งมากครับอาจารย์แฟร้ง
ReplyDelete