12/16/11

ความสุข7อย่างชาวอีสานนำไปใช้ในการทำงาน กับ ปปส.



วันที่ 1 ธันวาคม 2554 ความสุข7อย่างชาวอีสานนำไปใช้ในการทำงาน กับ ปปส.

ภาคเช้า ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้า ประชุม สัมมนา เสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน/ชุมชน ภายใต้พลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดยโสธร

ประธานการประชุม โดย นายชูศักดิ์ ตรีสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

คณะวิทยากร นำ โดย นายอำนาจ เหล่ากอที ผู้อำนวยการส่วนประสาน สำนักงาน ปปส.ภาค 3 นครราชสีมา

วิทยากร กองทุนแม่ของแผ่นดิน โดย นายศุภเกียรติ บุญทศ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย และคณะ

เนื้อหาสำคัญ คือ ระดมความคิดแนวทางการขับเคลื่อนแผนการสร้างพลังสังคมและพลังชุมชน เอาชนะยาเสพติดระดับอำเภอ ทั้ง 9 อำเภอ และ จัดทำแผน ตามห้วงเวลา (Road Map)

ประชาชนในชุมชน ย่อมรู้ดี เรื่องของชุมชนดีที่สุด ฉะนั้น ผู้ที่จะแก้ปัญหาของชุมชนได้ดีที่สุด ก็คือคน ในชุมชน นั่นเอง

หลักคิดในการดำเนินงานที่สำคัญ ของ กองทุนแม่ของแผ่นดิน คือ หมู่บ้านเป็นโรงพยาบาล บ้านเป็นเตียงนอน ผู้เกี่ยวข้อง เป็น คนไข้ ให้คณะกรรมการกองทุน เป็น หมอ ญาติ พี่น้อง เป็น พยาบาล ในการดูแล รักษา เปลี่ยน จาก นำ เอากลุ่ม เป้าหมาย ออกจาก ชุมชน ไป เข้ารับการบำบัดที่อื่น เพราะ ในวันที่ เขากลับเข้าสู่ ชุมชน ชุมชนก็รู้อยู่ดี ว่า นายดำ ลูก ยายแดง กลับมาจากการบำบัดยาเสพติด ชุมชน ก็ ปฏิเสธ ทำให้เขา ไม่มี ที่ยืน ในสังคม เขาต้องกลับในสังคมที่ มีคนยกย่อง มีคน ยอมรับเขา คือ กลุ่ม ขบวนการ ผู้เสพ ผู้ค้า ต่อไป

แนวคิด ของ กองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่ใช้หลักคิดสำคัญ คือ หลักความรัก ความเมตตา ความห่วงใย ให้อภัย และให้โอกาส กลับตัวเป็นคนดี ฉะนั้น จึง ใช้ในการบำบัด โดยคนในชุมชนเอง ซึ่งจะให้หมู่บ้าน/ชุมชนเกิด ความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ต่อไป

2บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนYasothon Modelกองทุนแห่งปัญญา

ในการจ่ายเงิน เข้า กองทุนแม่ของแผ่นดิน ของสมาชิกกองทุนนั้น Yasothon Model ได้กำหนดให้ จ่ายเงินเดือนละ 2 บาท โดยการเก็บเงินเข้ากองทุน แห่งศรัทธา หรือ ทุนแห่งปัญญา ครั้งละ 1 บาท ทุก 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ เพื่อ เป็นการให้ สมาชิก มีส่วนร่วม อย่างต่อเนื่อง ทุก 15 วัน

ในเวทีการสัมมนา ได้รับทราบถึง ความสุข 7 อย่าง ของพวกเรา ชาวอีสาน เล่าตำนานเอาไว้ เป็นเวลานาน ประกอบด้วย ความสุข ที่เกิดจาก

1. มีของกิน

2. มีแผ่นดินอยู่

3. มีคู่นอนนำ

4. มีเงินคำเต็มถุง เต็มไถ่

5. มีเฮือนใหญ่แอ้มแป้นกระดาน

6. มีลูกหลานนั่งเฝ้า

7. พวกเราได้ช่วย ชาติ บ้าน เมือง

แนวปฏิบัติ ของ วิทยากร ที่ ต้องนำไปปรับใช้ คือ หลักของการเป็นคนดี เริ่มจากตัวเรา เป็นคนดี แล้ว ส่งเสริมให้คนอื่นเป็นคนดี ในสังคมต่อไป ซึ่ง ใช้หลัก อปริหานิยธรรม 7 (condition of welfare)
อปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมสำหรับใช้ในการปกครอง เพื่อป้องกันมิให้การบริหารหมู่คณะเสื่อมถอย แต่กลับเสริมให้เจริญเพียงส่วนเดียว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมู่ชนและผู้บริหารบ้านเมืองและพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้คือ อปริหานิยธรรมสำหรับหมู่ชนและการบริหารบ้านเมือง เป็นหลักในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วย
ป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว มี 7 ประการคือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และทำกิจกรรมร่วมกัน 3. ไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกข้อบัญญัติต่าง ๆ 4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ 5. ไม่ข่มเหงสตรี 6. เคารพบูชาสักการะศาสนสถาน ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ 7. ให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทรงศีล

คนดี นั้นคือ คน ที่มีองค์ ประกอบ สำคัญ 3 ประการ คือ คิดดี พูดดี ทำดี ซึ่ง ดีดีดี ความดี 3 ระดับนั้น สามารถปรับใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ชุมชน)ได้ มีระยะเวลาที่จำกัดต่างกันดังนี้

คิดดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 1 เดือน

คิดดี พูดดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 1 ปี

คิดดี พูดดี ทำดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ตลอดไป

ใครอยากประสบผลสำเร็จ ในชีวิต อย่าจำ นะครับ ให้ ทำ

นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว มอบความไว้วางใจให้ วิทยากรระดับอำเภอคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 6 คน ประกอบด้วย

1. นายเชิดศักดิ์ คำเติม ตำแหน่งปลัดอำเภอ โทร. 0816605353

2. พ.ต.ต. เทอดรัฐ จงจิตชอบ สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว โทร. 0878799939

3. นายรพีภัทร มั่นจิต ตำแหน่ง ครู สังกัด โรงเรียนกู่จานวิทยาคม โทร. 0850978942

4. นางนัยนา ดวงศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โทร. 0819772682

5. นางสาวจุฑามาส เรืองบุตร ครูอาสาสมัคร กศน.คำเขื่อนแก้ว โทร. 045 791698

6. นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง

No comments:

Post a Comment