3/5/12

ศพส.อ.คำเขื่อนแก้วลงนามคำรับรองแก้ไขปัญหายาเสพติด








วันที่ 1 มีนาคม 2555 ศพส.อ.คำเขื่อนแก้วลงนามคำรับรองแก้ไขปัญหายาเสพติด

ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการ ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว (ศพส.อ.คำเขื่อนแก้ว) ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ณ หอประชุมอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

ประธานการประชุม โดย นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว (ศพส.อ.คำเขื่อนแก้ว) วาระที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือการร่วมกันแสดงเจตนาอันมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม จึงได้กำหนดให้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ไขปัญหายาเสพติด เอ็มโอยู หรือ MOU คำเต็มคือ Memorandum Of Understanding

ซึ่งได้เห็นชอบร่วมกันในการประกาศเจตนารมณ์เพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน และสังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างความเชื่อมั่นและอุ่นใจให้กับประชาชนในจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นหลักในการปฏิบัติและให้น้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องยาเสพติดมาดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อ 1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ที่กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น "วาระแห่งชาติ

2) เพื่อดำเนินการยุติปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่อย่างจริงจัง

3) เพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2555 โดยมีเป้าหมายเชิงปริมาณ (จำนวน) ของเป้าหมายทุกเรื่องให้ชัดเจน สามารถเห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

ข้อ 2 แนวทางการดำเนินงาน

ใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2555 ตามคำสั่งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ที่ 1/2554 ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 เป็นยุทธศาสตร์หลักในการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานของจังหวัด เพื่อยุติสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด ที่ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชน ให้บังเกิดผลภายในระยะเวลา 6 เดือน (16 มิถุนายน 2555 วันต่อต้านยาเสพติดโลก) ตามเป้าหมายต่าง ๆ ประกอบด้วย

2.1) เป้าหมายผลผลิต (Output) คือ เป้าหมายที่ต้องแก้ไขปัญหา ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ กลุ่มเสี่ยง พื้นที่ ตัวยาเสพติดฯลฯ

2.2) เป้าหมายที่เป็นปัจจัย (Input) ที่จะต้องสร้าง พัฒนา ขยาย เพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ชุดวิทยากร ฯลฯ

2.3) เป้าหมายระยะเวลา (Time) คือ กำหนดระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จ

โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 แผนในห้วง 6 เดือน ถึง มิถุนายน 2555 กำหนดระยะเวลาดังนี้

เป้าหมายตามแผนงานที่ 1 แผนสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด

๑) หมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรากฏข่าวสารได้รับการแก้ไข โดยการประชาคม ๑๑๕ หมู่บ้าน

๒) เสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดินที่ได้รับเดิม ๒๕ หมู่บ้าน

๓) สร้างศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ๑ แห่ง

๔) เพิ่มจำนวนหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินใหม่ ๒ หมู่บ้าน

๕) จัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือ ตาสับปะรดหมู่บ้าน/ชุมชนละ ๒๕ คน ๑๑๕ หมู่บ้าน

๖) จัดตั้งชุดปฏิบัติการอำเภอ/ชุดวิทยากรกระบวนการ ๑ ชุด

๗) จัดตั้งชุดวิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ๑ ชุด

๘) จัดตั้งชุดปฏิบัติการจัดระเบียบสังคม ๑ ชุด

๙) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ้นสนับสนุนกิจกรรม/งบประมาณ ต้านยาเสพติด ทุกแห่ง

เป้าหมายตามแผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด ( Demand)

๑) บำบัดผู้เสพ/ผู้ติด จำนวน 331 คน

๒) ติดตามผู้เสพที่ผ่านการบำบัดรักษาไม่ให้กลับมาเสพซ้ำอีก 265 คน

๓) จัดตั้งค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 ค่าย

๔) จัดตั้งชุดวิทยากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพ 1 ชุด

๕) จัดให้มีศูนย์ข้อมูลด้าน Demand 1ศูนย์

๕) จัดตั้งศูนย์ติดตามช่วยเหลือฟื้นฟู

เป้าหมายตามแผนงานที่ ๓ การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย

๑) จับกุมผู้ค้ายาเสพติดในข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย

๒) การดำเนินการยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด จำนวน ๔ คดี

๓) ดำเนินการต่อข้อร้องเรียนของประชาชนทุกเรื่อง ภายใน ๓๐ วันหลังได้รับเรื่องร้องเรียน

๔) การดำเนินการตามหมายจับคดียาเสพติดค้างเก่า ๓๒ หมาย/คดี

๕) จัดตั้งชุดปฏิบัติการจัดระเบียบสังคม ๑ ชุด

๖) ชุดปฏิบัติการจัดระเบียบสังคมออกตรวจพื้นที่ อย่างน้อย ๔ ครั้งต่อเดือน

ส่วนแผนงานที่ ๔ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติด (Potential Demand)

ดำเนินการ ในระดับจังหวัด โดย ลง MOU กับ ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่ง ประกอบด้วย

๑) สร้างภูมิคุ้มกันนักเรียนป้องกันยาเสพติด

๒) สร้างวิทยากรให้ความรู้เสริมสร้างป้องกันยาเสพติด

๓) จัดทำ M.O.U. กับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง

๔) นำนักเรียนเข้าบำบัดโดยสมัครใจในรูปแบบที่เหมาะสม

๕) จัดตั้งและเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย จพง.ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน/นักศึกษา

๖) ส่งเสริมกิจกรรม To be number one

๗) จัดตำรวจประสานงานในโรงเรียน

ในการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ไขปัญหายาเสพติดในวันนี้ประกอบด้วย

1. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ไขปัญหายาเสพติด ระหว่าง นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว กับหัวหน้าส่วนราชการ โดยตัวแทนประกอบด้วย

พ.ต.อ.รัฐศักดิ์ สุขเจริญ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว

นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ไขปัญหายาเสพติด ระหว่าง นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว กับ กำนัน ทุกตำบล ประกอบด้วย

นายประมวล เจนร่วมจิต กำนันตำบลลุมพุก ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอคำเขื่อนแก้ว

นายสุดใจจวนสาง กำนันตำบลแคนน้อย

นายประสิทธิ์ รวมธรรม กำนันตำบลดงแคนใหญ่

นายกำนัน ณรงค์ วงศ์ศิริ กำนัน ตำบลนาแก

นายสุภาษิต วารีสระ กำนันตำบลนาคำ

นายชุมพล พอกพูน กำนัน ตำบลกู่จาน

นายกำนัน จันที พนาสันต์ กำนัน ตำบลเหล่าไฮ

กำนันเหลี่ยน พิจารณ์ กำนันตำบลทุ่งมน

นายพิกุล คำวัง กำนันตำบลย่อ

นายกำนัน คำนึง แก้วศิริ กำนัน ตำบลดงเจริญ

นายชินกร ประกอบแสง กำนัน ตำบลโพนทัน

กำนันสุบรรณ สายสวาท กำนันตำบลสงเปือย

นายกำนัน นิยม สร้อยหล้า กำนัน ตำบลกุดกุง

3. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ไขปัญหายาเสพติด ระหว่าง นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว กับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) ทุกตำบล นายกเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว

ประกอบด้วย นายสมาน มาลัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). แคนน้อย

นายสินอุดม ศิลารักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) ดงแคนใหญ่

นายภานุพงศ์ มุ่งงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). นาแก

นาย ภานุมาศ แก้วพิลึก นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). นาคำ

นายอนุสรณ์ นาเวียง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). กู่จาน

นายวรรณี ละหุ่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). เหล่าไฮ

นายอาคม สีดาจิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). ทุ่งมน

นายอุดร สมจิตร นายก องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) ย่อ

นาย บุญจันทร์ สืบวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). ดงเจริญ

นาย ณัฐชนก โคตรภักดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). โพนทัน

นายสมพงษ์ ศรีลา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). สงเปือย

นายวิชัย ไกยราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). กุดกุง

นายประพนธ์ โตจำเริญ นายกเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว

นายบัญชา ชารีแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก

กลยุทธ์ ๗ แผน ๔ ปรับ ๓ หลัก ๖ เร่ง แก้ปัญหายาเสพติด

ทังนี้กลยุทธการดำเนินงานของรัฐบาล ฯพณฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รัฐบาลถือว่าปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในเรื่องยาเสพติดมาปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วง โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นยุทธศาสตร์หลัก กำหนดกลยุทธ์สำคัญ ที่จะดำเนินการ คือ ๗ แผน ๔ ปรับ ๓ หลัก ๖ เร่ง เพื่อเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติด

๗ แผน ประกอบด้วย

แผนที่ ๑ แผนสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด

แผนที่ ๒ แผนการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand)

แผนที่ ๓ แผนการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด (Potential Demand)

แผนที่ ๔ แผนการปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย

แผนที่ ๕ แผนความร่วมมือระหว่างประเทศ

แผนที่ ๖ แผนสกัดกั้นยาเสพติด

แผนที่ ๗ แผนบริหารจัดการแบบบูรณาการ

๔ ปรับ ประกอบด้วย

ปรับที่ ๑ ปรับปรุงข้อมูล การข่าวให้ถูกต้อง ทันสมัย

ปรับที่ ๒ ปรับบทบาท พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ปรับที่ ๓ ปรับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ

ปรับที่ ๔ ปรับทัศนคติของสังคมและชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด

หลัก ประกอบด้วย

หลักที่ ๑ หลักการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักเมตตา ความรักในเพื่อนมนุษย์ อยากเห็นคนผิดกลับตัวเป็น

คนดี คืนความรักให้ครอบครัว คืนสุขให้ชุมชน

หลักที่ ๒ ยึดหลักนิติธรรม ใช้การบำบัด ป้องกัน ควบคู่การปราบราม

หลักที่ ๓ หลักแก้ปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง หรือ Area Approach

เร่ง ประกอบด้วย

เร่งที่ ๑ เร่งดำเนินการในด้านข้อมูล ปัญหา

เร่งที่ ๒ เร่งลดจำนวนผู้เสพยาจากหมู่บ้าน/ชุมชน

เร่งที่ ๓ เร่งแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศและการสกัดกั้นยาเสพติด

เร่งที่ ๔ เร่งปราบปรามผู้ค้า ลดความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหายาเสพติด

เร่งที่ ๕ เร่งแก้ไขปัญหาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทั้งในและนอกสถานศึกษา ที่เป็นความห่วงใยของพ่อแม่

ผู้ปกครองทั้งประเทศ จะเร่งให้ทุกจังหวัดเข้มงวด กวดขันพื้นที่เสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับชุมชนและสังคม ที่สำคัญ ได้แก่ สถานบันเทิง แหล่งมั่วสุมของเยาวชน การรวมกลุ่มรถซิ่งตามท้องถนน การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และมีผลต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ จะเร่งสร้างระบบป้องกัน และเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาในทุกจังหวัด เพื่อสร้างความสบายใจให้กับผู้ปกครอง

เร่งที่ ๖ เร่งสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

No comments:

Post a Comment