วันที่ 26 มีนาคม 2555 Yasothon Model: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน:ยโสธร
ภาคเช้าผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ คณะ ทำงาน การขับเคลื่อนการดำเนินงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตามรูปแบบ Yasothon Model เข้ารับนโยบาย จาก ท่านประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุม มณีนพเก้า โรงแรม The Green Park อำเภอเมืองยโสธร
เลขานุการการจัดประชุม โดย นายร็อกกี้ พลเยี่ยม พัฒนาการจังหวัดยโสธร
ประสานงานผู้เข้าร่วมประชุมระดับอำเภอด้วยดี โดย นายวุฒิศักดิ์ ดอกพุฒ พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ทั้งนี้ สรุปความจากการประชุม ได้โดยย่อ ดังนี้
จังหวัดยโสธร โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดยโสธร (กบจ.ยโสธร) กำหนดแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน เพื่อให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข กินอิ่ม นอนอุ่น โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง สลายขั้ว กระทรวง ทบวง กรม และบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ ของ กรมยโสธร ทั้งนี้ในระยะเริ่มต้น ได้ใช้ โครงการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์อุทกภัย จังหวัดยโสธร เป็นเครื่องมือ ภายใต้ RBCF YASOTHON MODEL และ นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้มอบหมายให้ใช้ตัวแบบดังกล่าว เป็นรูปแบบ Model การ ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน ทุกภาคส่วนราชการ ใน จังหวัดยโสธร
หัวใจการบูรณาการ คือ Team work Net Work และ Partnership ความเป็นหุ้นส่วน หรือ การมีส่วนร่วม
Team work การทำงานเป็นทีม ร่วมกันของทุกภาคส่วน
Net Work สร้างเครือข่ายการทำงานของทีมงานเข้าด้วยกัน ให้เป็น
Partnership ให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องทุกคน มีความรู้สึกร่วมในความเป็นหุ้นส่วน หรือ การมีส่วนร่วม
หลักที่ 1 คือ หลักคิด เดิมพวกเรามีหลักคิด คือ ติดกรม ติดกรอบ ติดระเบียบ ติดประเพณี (Insight Out) แบบใหม่ ต้อง Outsight In
YASOTHON MODEL เรา ต้องคิดนอกกรอบ พวกเราต้องสลายขั้ว กระทรวง ทบวง กรม และบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ ของ กรมยโสธร เป็นศูนย์เรียนรู้ของพวกเราด้วย ที่สามารถ ทำงาน ให้กับประชาน กลุ่ม เป้าหมายเดียวกัน ในพื้นที่เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่ต่างส่วนต่างออกไป อบรม ไป สอน ไปแนะนำ คนละครั้ง ประชาชนก็ไม่มีเวลาไปทำจริง เพราะมีแต่ไป อบรม เป็นต้น
ส่วนราชการเรา ต้อง รวมคน รวมเงิน รวมของ ในการทำงาน เพื่อเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน
หลักที่ 2 คือ หลักธรรม ใช้ หลักธรรม ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือ หลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ ประชาชน สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้
โดย ส่วนราชการเรา ต้อง เปลี่ยนจาก บทบาท ผู้ดำเนินการให้ เป็น ผู้อำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหา เปลี่ยนจาก ให้ปลา มาเป็น ให้เบ็ด แล้ว สอนวิธี ตกเบ็ด ให้กับประชาชน
ฉะนั้น หน้าที่ ของ ส่วนราชการที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ทำหน้าที่เป็น Matching Layer
ทำหน้าที่เป็นFacilitator และ ทำหน้าที่เป็น Sponsor ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
หลักที่ 3 คือ ข้อมูล matching ข้อมูลซึ่งกันและกัน ในแต่ละส่วนราชการ
ให้มีข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 25,316 คน ใน 27 หมู่บ้านเป้าหมาย* ของจังหวัดยโสธร โดย มี ตัวอย่างที่ดี ที่ได้ดำเนินการเรื่องข้อมูล ในระดับ บุคคลและในระดับครัวเรือน ที่ดีมากๆแล้ว คือ Family Folder ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต.) ทุกแห่ง
ฉะนั้น ให้ นำ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาด้านอื่นๆ มารวมไว้ใน Family Folder เช่น การได้รับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย ยาฆ่แมลง การได้รับเงินช่วยเหลือ ภัยแล้ง น้ำท่วม เป็นต้น
หรือ นำเอา Demand Site กับ Supply Site มา Match กัน
หลักที่ 4 หลักการตรวจสอบ โดยเป้าหมาย ในการ พัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน ตามรูปแบบ YASOTHON MODEL ให้ประชาชน มีความสุข ให้รู้จักให้ รู้จักรัก รู้จักรอ ไม่แงแย่ง แต่ แบ่งปัน ความสุขซึ่งกันและกัน
ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ คือ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส โดยมีการทำบัญชีครัวเรือน เป็นการประเมินผล และ เครื่องมือสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ตาม ภารกิจ ใน YASOTHON MODEL นี้ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 2 ตำบลกุดกุง บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลกุดกุง และ บ้านทรายงาม หมู่ที่ 5 ตำบลกุดกุง
เพื่อให้การขับเคลื่อน การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน ตามรูปแบบ YASOTHON MODEL ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร บรรลุตามเป้าหมาย ของโครงการ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว จึงได้แต่งตั้ง คณะทำงาน จากหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต ). กุดกุง กำนันตำบลกุดกุง โดยมี นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นประธาน มี นายวุฒิศักดิ์ ดอกพุฒ พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นเลขา และ มี นายเนรมิต สายสุด ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). กุดกุง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ยกตัวอย่าง โครงการที่ เสนอ จาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เช่น
การฝึกอาชีพหลังน้ำลด หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้า หลักสูตรการเพาะเลี้ยงเห็ด
การฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
การซ่อมถนน สาย บ้านลุมพุก – บ้านกุดกุง
การสนับสนุนปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ผัก รายละ 120 บาท
การสนับสนุนปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าว
การปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (ปูนโดโลไมท์) หมู่บ้านละ 24 ครอบครัว
การขยายผล พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ
การพัฒนาเยาวชนอาสาเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูระบบการจัดการชุมชนด้านภัยพิบัติ
การฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ เป็นต้น
พัฒนาการจังหวัดยโสธร
ประชาชนที่เป็นศูนย์กลาง ประมาณ 25,316 คน ประกอบด้วยประชากร จำนวน 4 กลุ่ม
1. กลุ่มผู้ประสบ อุทกภัย
2. กลุ่มคนเปราะบาง เด็ก คนชรา ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
3. กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย
4. กลุ่มคนที่น้ำท่วมบ้านเรือน
ข้อกำหนดที่สำคัญตาม YASOTHON MODEL นั้นทุกครัวเรือน ใน หมู่บ้าน พื้นที่เป้าหมาย ต้อง จัดทำ Family Folder ครบทุกหลังคาเรือน
Criteria ในการเลือกพื้นที่เป้าหมาย
1. เป็นหมู่บ้านที่ประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม หรือ ตกเกณฑ์ จปฐ.
2. เป็นหมู่บ้านที่มีประชากร 4 กลุ่ม หนาแน่น
3. เป็นหมู่บ้านที่ท้องถิ่น องค์กรในชุมชน เข้มแข็ง
หมู่บ้านเป้าหมาย27 หมู่บ้าน* การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน ตามรูปแบบ YASOTHON MODEL
บ้านดอนยาง หมู่ที่ 6 ตำบลค้อเหนือ อำเภอ เมืองยโสธร ประชาชนเป้าหมาย 123 คน
บ้านแจ้งน้อย หมู่ที่ 12 ตำบลค้อเหนือ อำเภอ เมืองยโสธร ประชาชนเป้าหมาย 141 คน
บ้านหนองหอย หมู่ที่ 8 ตำบล เขื่องคำ อำเภอ เมืองยโสธร ประชาชนเป้าหมาย 215 คน
บ้าน กุดปลาขาว หมู่ที่ 2 ตำบล สามัคคี อำเภอ เลิงนกทา ประชาชนเป้าหมาย 22 คน
บ้าน บุ่งค้า หมู่ที่ 1 ตำบล บุ่งค้า อำเภอ เลิงนกทา ประชาชนเป้าหมาย 105 คน
บ้าน แย หมู่ที่ 2 ตำบล สวาท อำเภอ เลิงนกทา ประชาชนเป้าหมาย 50 คน
บ้าน หัวเมือง หมู่ที่ 8 ตำบลหัวเมือง อำเภอ มหาชนะชัย ประชาชนเป้าหมาย 100 คน
บ้าน บัวขาว หมู่ที่ 9 ตำบล ม่วง อำเภอ มหาชนะชัย ประชาชนเป้าหมาย 143 คน
บ้าน ป่าตอง หมู่ที่ 7 ตำบล ฟ้าหยาด อำเภอ มหาชนะชัย ประชาชนเป้าหมาย 104 คน
บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 2 ตำบลกุดกุง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประชาชนเป้าหมาย 246 คน
บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลกุดกุง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประชาชนเป้าหมาย 91 คน
บ้านทรายงาม หมู่ที่ 5 ตำบลกุดกุง อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ประชาชนเป้าหมาย 78 คน
บ้านโคกยาว หมู่ที่ 9 ตำบล ทรายมูล อำเภอ ทรายมูล ประชาชนเป้าหมาย 0 คน
บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 6 ตำบล ไผ่ อำเภอ ทรายมูล ประชาชนเป้าหมาย 25 คน
บ้านหนองแวง หมู่ที่ 4 ตำบล นาเวียง อำเภอ ทรายมูล ประชาชนเป้าหมาย 52 คน
บ้านติ้ว หมู่ที่ 4 ตำบล กุดน้ำใส อำเภอ ค้อวัง ประชาชนเป้าหมาย 115 คน
บ้านตูม หมู่ที่ 10 ตำบล กุดน้ำใส อำเภอ ค้อวัง ประชาชนเป้าหมาย 88 คน
บ้านโพนเมือง หมู่ที่ 5 ตำบล ฟ้าห่วน อำเภอ ค้อวัง ประชาชนเป้าหมาย 110 คน
บ้านคำไผ่เหนือ หมู่ที่ 4 ตำบล คำไผ่ อำเภอ ไทยเจริญ ประชาชนเป้าหมาย 42 คน
บ้านพืชคาม หมู่ที่ 5 ตำบล ไทยเจริญ อำเภอ ไทยเจริญ ประชาชนเป้าหมาย 12 คน
บ้านคำสร้างบ่อ หมู่ที่ 6 ตำบล น้ำคำ อำเภอ ไทยเจริญ ประชาชนเป้าหมาย 58 คน
บ้านคำกลาง หมู่ที่ 9 ตำบล โคกนาโก อำเภอ ป่าติ้ว ประชาชนเป้าหมาย 63 คน
บ้านเซ หมู่ที่ 2 ตำบล เชียงเพ็ง อำเภอ ป่าติ้ว ประชาชนเป้าหมาย 52 คน
บ้านกุดสำโรง หมู่ที่ 6 ตำบล ศรีฐาน อำเภอ ป่าติ้ว ประชาชนเป้าหมาย 69 คน
บ้านคำกลาง หมู่ที่ 13 ตำบล กุดชุม อำเภอ กุดชุม ประชาชนเป้าหมาย 1 คน
บ้านนาโส่ หมู่ที่ 1 ตำบล นาโส่ อำเภอ กุดชุม ประชาชนเป้าหมาย 26 คน
บ้านผักกะย่า หมู่ที่ 2 ตำบล โนนเปือย อำเภอ กุดชุม ประชาชนเป้าหมาย 79 คน
No comments:
Post a Comment