วันที่ 9-11 พฤษภาคม 2555 สาธารณสุขติวเข้มงานควบคุมภายใน:จังหวัดยโสธร
วันหยุดราชการวันพืชมงคล
แต่ คณะของเรา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ไม่ยอมหยุด
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายชัยวัฒน์ หอมสุดชา หัวหน้าฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรและติดตามกำกับการดำเนินการจัดวางระบบควบคุมภายใน
ณ โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมืองยโสธร
ประธานการระชุม โดย ภก.องอาจ แสนศรี รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วิทยากร โดย นางพรทิพย์ วงรัตน์พงษ์ หัวหน้ากลุ่มตรวจสบภายในระดับกระทรวงสาธารณสุข
นาง อรวรรณ ยืนยง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายมงคล สุทธิอาคาร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
พ.ญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
นำทีม ผู้บริหารจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง โรงพยาบาลทุกแห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ทุกแห่ง ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 250 คน
พิเศษ ได้รับเกียรติจาก นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร มาร่วมให้กำลังใจด้วย
เลขานุการการประชุมและสร้างสรรค์บรรยากาศที่ดีในการประชุมด้วยดี โดย นางสุวรรณี แสนสุขหัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชน และ คณะ จากกลุ่มงานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
สรุปสั้นๆ จากการประชุมที่ผมได้จากอาจารย์พรทิพย์ วงรัตน์พงษ์ ว่า แต่ละหน่วยงานย่อยมีบริบทที่แตกต่างกัน การประเมินสภาพแวดล้อม ทุกแห่งต้องทำเอง ทำแทนกันไม่ได้ ความเสี่ยงที่มี ของแต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน กำหนดแทนกันไม่ได้ เมื่อประเมิน สภาพแวดล้อมการควบคุมแล้ว สิ่งสำคัญ 2 ประการคือ
ประการที่ 1 ต้องระบุความเสี่ยงให้ถูกต้อง
ประการที่ 2 ต้องกำหนดกิจกรรมการควบคุมที่ดี ซึ่ง กิจกรรมการควบคุมที่ดี คือ กิจกรรมนั้นต้องสามารถลดความเสี่ยงนั้นๆได้ หรือบางทีผมขอเสนอให้เรียกว่า กิจกรรมการปรับปรุงก็ จะเหมาะสมดีกว่าก็ได้
ส่วน ภก.องอาจ แสนศรี รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าวสรุปก่อนปิดการประชุมได้อย่างประทับใจว่า
2 Fails in organization คือ Theoretical Failed และ Operational Failed
ตลอด 3 วันที่ได้รับเทคนิควิธีการที่ดีจาก อาจารย์พรทิพย์ และคณะนั้น เชื่อมั่นว่าภาคทฤษฎีนั้นพวกเราจะไม่ Fail แน่นอน ส่วนที่ยังเป็นห่วงคือ Fail การปฏิบัติ ทั้งจากการที่ไม่ปฏิบัติและจากการปฏิบัติที่ผิดพลาด ฉะนั้นพวกเราทุกคนพึงตระหนักและกำหนดกิจกรรมควบคุมให้ดีเพื่อป้องกันการ เกิด Operational Failed โดยตัวชี้วัดที่สำคัญคือ ต้องส่งการบ้านตามที่อาจารย์กำหนดให้ทันเวลา
ความหมายของการควบคุมภายใน
การควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ กำหนดให้
มีขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุ วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน3ประการ
1.ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Effective Operation:O) ได้แก่ การดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรของ หน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การ
ป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ
2.ความเชื่อถือได้ของการรายงานทางการเงิน (Finance:F)ได้แก่ การจัดทำรายงานทางการเงินที่ใช้ภายในและ
ภายนอกหน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลา
3.การปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Compliance: C) ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจ รวมทั้งการปฏิบัติตาม
นโยบาย และวิธีการปฏิบัติงานที่หน่วยรับตรวจได้กำหนดขึ้น
..จริงๆแล้ว วัตถุประสงค์ข้อนี้ ถ้าทำได้สมบูรณ์ ข้อ1 และ 2 นั้น ถือเป็นเพียงส่วนย่อยของ ข้อ3 นี้ครับ..
กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ข้อ 7.5 กำหนดให้ใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมและกำกับให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผนการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในระบบราชการและรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรี
ประโยชน์ของการควบคุมภายใน
การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารนำมาใช้เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ว่าภายในองค์กร:
• มีการปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ และคำสั่งของผู้บริหาร
• ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ ประหยัด มีประสิทธิผล และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
• มีการดูแลป้องกันทรัพยากรจากการทุจริต ความเสียหาย การสูญเปล่าหรือการบริหาร จัดการที่ผิดพลาด
• จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งข้อมูลทางการเงินและการบริหารที่เชื่อถือได้ และทันต่อเวลา
มาตรฐานการควบคุมภายใน
ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ
ที่มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน คือ
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)
2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
4. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications)
5. การติดตามประเมินผล (Monitoring)
องค์ประกอบทั้ง 5 ประการ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมเป็นรากฐานที่จะทำ ให้องค์ประกอบอื่น ๆ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการควบคุมภายในเป็นพื้นฐานสำคัญทำให้มีการ ปฏิบัติตามองค์ประกอบอื่น ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 3 ประการข้างต้น
Yasothon: We are ready to do
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พรทิพย์ วงรัตน์พงษ์ 0819842199
อย่าลืม สิ่งที่ต้องส่ง ภายใน วันที่ 6 มิถุนายน 2555 คือ
1. เขียน Flow Chart ของทุกส่วนงานย่อย ในทุกกระบวนงาน
2. เขียนตามแบบฟอร์มที่กำหนดคือประกอบด้วย 5 หัวข้อ เป็นอย่างน้ย
2.1 วัตถุประสงค์
2.2 กระบวนงาน
2.3 จุดควบคุม หรือ จุด ที่ควรปรับปรุง
2.4 ผู้รับผิดชอบ
2.5 ระยะเวลา
No comments:
Post a Comment