3พค.2557: วาระอีสานต้านภัยมะเร็งท่อน้ำดี
กับมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีสัญจร ครั้ง9 ณ จ.ยโสธร
วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2557 ผม
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมงาน “วาระอีสานต้านภัยมะเร็งท่อน้ำดี
กับมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีสัญจร ครั้งที่ 9” ณ ห้องประชุม OTOP
สวนสาธารณะพญาแถน อำเภอเมืองยโสธร
ประธานการเปิดงาน
โดย นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ร่วมกับ ผศ.พญ.เนตรเฉลียว
สัณฑ์พิทักษ์ ประธานมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี และคณะ
อำนวยการจัดงาน
โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กำหนดการดังนี้
เวลา
08.00 –
12.00 น. ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยการอัลตร้าซาวด์ จำนวน 600 คน
เวลา
18.00 น. เป็นต้นไป คอนเสิร์ต มหกรรมกำจัดพยาธิใบไม้ตับฯ โดยมีศิลปิน ประกอบด้วย
ครูสลา คุณวุฒิ ดอกรักดวงมาลา ดันดาราตี 10 พิธีกร คือ ปุ๊ยตี 10
ทั้งนี้ มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี ได้จัดงานนี้ ร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิเช่น
สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ร่วมกับจังหวัดยโสธร โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และเทศบาลเมืองยโสธร ภายใต้ชื่องาน
"วาระอีสานต้านภัยมะเร็งท่อน้ำดี กับมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีสัญจร ครั้งที่ 9” ภายใต้แนวคิด
"มะเร็งท่อน้ำดีหมู่เฮา บ่ เอาแล้ว” ซึ่งเป็นโครงการที่ดีและได้กุศลมาก เนื่องจาก
แนวคิดสำคัญคือ การนำเอาความรู้ทางวิชาการ ที่มีอยู่ในหนังสือของมหาวิทยาลัย
ออกจากรู้มาสู่ประชาชน
รายละเอียด โรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นสาเหตุทำให้คนอีสานเสียชีวิตปีละประมาณ ๒๘,๐๐๐ คน หรือวันละ
๗๖ คน
เฉลี่ยชั่วโมงละ ๓ คน
จัดว่าเป็นปัญหาสำคัญและรุนแรงอย่างมากก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
คุณภาพชีวิต และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
เนื่องจากผู้ป่วยมักอยู่ในช่วงอายุ ๔๕ – ๕๕ ปี ซึ่งเป็นวัยทำงานและผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักไม่แสดงอาการ
จะรู้ตัวเมื่อเป็นระยะที่อันตรายยากแก่การรักษา นั้นคือ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากและไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ฉะนั้น หากการคัดกรองค้นพบผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกและได้รับการรักษาที่รวดเร็วจะทำให้มีโอกาสรักษาโรคให้หายขาดได้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จึงกำหนดนโยบายให้มี การค้นหา คัดกรอง
และตรวจรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มแรกเข้าสู่ระบบการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย
มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี
เป็นองค์กรอิสระที่มีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในลักษณะที่
ครบวงจร ทั้งให้ความรู้ ดูแลสิทธิการคัดกรองผู้ป่วย วางแนวทางรักษา และการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยในระบบCASCAP (Cholangiocarcinoma
Screening and Care Program : CASCAPX) ตลอดจนพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับมะเร็งท่อน้ำดี
ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหามะเร็งท่อน้ำดีมีประสิทธิภาพยิ่ง
โดยการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีสัญจรด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์
จากการวิเคราะห์สถานการณ์การตายของจังหวัดในเครือข่ายบริการสาธารณสุขที่
10 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และ
มุกดาหาร พบว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับหนึ่ง โดย
อัตราตายด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีของจังหวัดในเครือข่ายบริการสาธารณสุขที่ 10
เป็นลำดับที่ 1 เมื่อเทียบกับผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด
และมีแนวโน้มการตายด้วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีมีอัตราตายด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ข้อมูลปี พ.ศ. 2550
พบว่า 33.54 ต่อแสนประชากร
เพิ่มเป็น 42.86 ต่อแสนประชากร ในปี 2553 ขณะที่โรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี
มีเพียงแห่งเดียวในโลก คือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ซึ่งมี ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
ของคณะแพทย์ทำการศึกษาเรื่องนี้มานานกว่า 10 ปี
อนึ่ง พยาธิใบไม้ตับ หรือ OV Opisthorchis
viverini ถูกตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการครั้งแรกในโลก โดย ค้นพบ Case
ครั้งแรก ณ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ. 1915 หรือ เมื่อประมาณ 100 ปี ที่ผ่านมา
ขอบพระคุณแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน
อาทิเช่น
นายวีระวัฒน์
ภักตรนิกร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร
นายประครอง
วิเศษรัตน์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร
นายแพทย์ธนิต
สุขผ่องศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร
นพ.ถวิล
กลิ่นวิมล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
ดร.
สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ (ผู้บริหารดีเด่น ระดับดีเยี่ยม)
ดร.ยงค์วนิช
เกียรติภักดี เลขานุการ มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี
นพ.จักราวุธ
จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
นางเยาวดี
ชาญศิลป์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ )
นายโกวิท
โพธิวรรณา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายชำนาญ
มาลัย สาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
นายสง่า
อยู่คง สาธารณสุขอำเภอทรายมูล
นายรัศมี
ตรีแสน สาธารณสุขอำเภอกุดชุม
นายวิทยา
เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นาย
วิระมิตร บุญโถน สาธารณสุขอำเภอ มหาชนะชัย
นายพรชัย ทองบ่อ สาธารณสุขอำเภอ ไทยเจริญ
นายพิบูล
ฝ่ายดี นายกเทศมนตรีตำบลตาดทอง
นางสุวรรณี แสนสุข หัวหน้างกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและ
สสม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางประชุมพร กวีกรณ์ หัวหน้างกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายบรรจบ แสนสุข หัวหน้างกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นต้น
อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ได้รับเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 รายประกอบด้วย ตำบล ดงเจริญ
ทุ่งมน ย่อ ซึ่ง นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ขอชื่นชมและขอบคุณผู้เกี่ยวข้อง ที่นำกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงานตั้งแต่ เวลา 07.00
น. ประกอบด้วย นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
นส.อุทัยวรรณ สุภี จพ.ทันตสาธารณสุข ชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ย่อ
นางสาวกนกวรรณ
ชาวอุบล จพ.สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย
นายสมร พลทิพย์ พนักงานบริการทั่วไป นายบุญเยี่ยม กาศักดิ์ พนักงานบริการทั่วไป เป็นต้น
No comments:
Post a Comment