24กย.2557: รวมเป็นหนึ่ง_พึ่งพากัน_แผน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว_จุดเริ่มต้นที่ดี
วันที่
24-25 กันยายน 2557 ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม คณะทำงาน การจัดทำแผนยุทธสาสตร์
คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
ณ ห้องประชุม โรงแรม อุ่นเรือนเรสสิเดน แอนด์เรสตัวรองด์ อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี
แพทย์หญิง เพชรวันชัย จางไววิทย์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ประธาน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะจากเครือข่ายบริการสุขภาพ ทั้งโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หัวหน้ากลุ่มงาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
เข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำแผนครั้งนี้ กว่า 50 คน
วิทยากร โดย รศ.ดร.สรุชาติ ณ หนองคาย จาก
อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
จุดประสงค์ที่สำคัญ คือ
การมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนโดยมีผลพลอยได้คือ แผนยุทธสาตร์ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม
ของพวกเราทุกคน
วันที่ 25 กันยายน 2557 ประชุมจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการ (ต่อ)
วิสัยทัศน์ เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้
ที่มีเอกภาพและคุณภาพเพื่อประชาชน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
พันธกิจ
ที่ 1 บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ 44 KPI กระทรวง บวก 6 KPI เขต
พันธกิจ
ที่ 2 บรรลุเป้าหมายตามนโยบาย Service Plan บวก 20KPI
QOF และ ODOP
พันธกิจ ที่ 3 บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์
ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว
พันธกิจ
ที่ 4 ตามการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอื่นๆ
เป้าประสงค์ระดับลูกค้าประชาชน(มุมมองเชิงคุณภาพ)
บุคลากรพึงพอใจในการทำงานร่วมกับเครือข่าย
ปชช.พึงพอใจในบริการ ภาคีเครือข่ายพึงพอใจในการทำงานร่วมกับเครือข่าย
เป้าประสงค์ระดับองค์กร
บริหารจัดการ (มุมมองเชิงประสิทธิภาพ) ไม่มีขั้นตอนเกินความจำเป็น
ต้นทุนการทำงานลดลง
เป้าประสงค์ระดับรากฐาน(มุมมองเชิงประสิทธิผลและL&G) PMQA PCA HA ICT HRM
วิสัยทัศน์ เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้
ที่มีเอกภาพและคุณภาพเพื่อประชาชน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
พันธกิจ เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว
1.
พัฒนาระบบการเรียนรู้ของบุคลากรเพื่อให้เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้
2.
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรและภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ
3.
พัฒนาระบบบริการให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี
4.
พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์หลักเครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว
1. บุคคลากรและเครือข่ายเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2. องค์กรและภาคีเครือข่าย
มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ
3. ระบบบริการได้มาตรฐานและคุณภาพ
ประชาชนมีสุขภาพดี
4. ระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพภายใต้(ตาม)
หลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- พัฒนากระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่ายบริการสุขภาพ
- พัฒนาคุณภาพและความเข้มแข็งของเครือข่ายสุขภาพ
- การพัฒนาระบบบริการให้ได้มาตรฐานและคุณภาพ
เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี
- เสริมสร้างวัฒนธรรมเครือข่ายให้มีเอกภาพและธรรมาภิบาล
4. ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการสุขภาพตำบล
Definition ตาม
วิสัยทัศน์ เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ที่มีเอกภาพและคุณภาพเพื่อประชาชน
โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
เครือข่ายสุขภาพ
หมายถึงการที่
รพสต. รพช. สสอ.และองค์กรในชุมชน ประชาชน ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวมในการให้บริการสาธารณสุขโดยยึดปัญหาสุขภาพของพื้นที่เป็นหลัก
เอกภาพ
(Unity) คือ
การมีและปฏิบัติตามค่านิยมร่วมกัน ( Share Value) ซึ่ง
ค่านิยมร่วม คปสอ.คำเขื่อนแก้ว คือ ยึดมั่นในคุณภาพและธรรมาภิบาล
คุณภาพ
(Quality) เป็นเรื่องของการทําได้ตรงตามรูปแบบรายการที่กําหนด
(Specification)
และได้มาตรฐาน (Standard) สามารถสร้างความพึง พอใจให้กับลูกค้าได้
(Customer Satisfaction) หรืออาจกล่าวโดยสรุปว่าคุณภาพเป็นเรื่องของ
3S คือ Specification
Standard และ Satisfaction
คุณภาพ ประกอบด้วย 3 S หรือคุณสมบัติ
3 ประการของงานยอมรับ อยากได้ ชื่นชมเมื่อได้รับ
Specification อยากได้ เพราะตรงกับ Specification
Standard ยอมรับด้วย มี Standard
Satisfaction และ
ชื่นชมเพราะ เกิดความพึงพอใจ Satisfaction
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Sharing หมายถึง การปฏิสัมพันธ์
เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในและนอกหน่วยงาน เช่น การจัดเวทีประชุมวิชาการ
การจัดมหกรรมนำเสนอผลงาน การจัดเวที CBL การจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน
COPs เป็นต้น
ธรรมาภิบาล (Good Governance) ยึดตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good
Governance) การบริหารหรือการปกครองที่มีความถูกต้อง
มีความยุติธรรม และมีคุณความดีอย่างยิ่ง
ตามที่ สำนักงาน ก.พ.
ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า
หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย หลักการสำคัญ
6 ประการ คือ 1.หลักคุณธรรม 2. หลักนิติธรรม 3.หลักความโปร่งใส 4.หลักความมีส่วนร่วม 5.หลักความรับผิดชอบ 6.หลักความคุ้มค่า
องค์กรธรรมาภิบาล หมายถึง หน่วยงานที่มีการบริหารจัดการเป็นแนวทางการปกครอง ที่เน้นความเป็นธรรม
เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สามารถประสานประโยชน์
และคลี่คลายปัญหาข้อขัดแย้ง โดยสันติวิธี และพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืน ตาม พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
เพื่อให้เข้าใจง่าย
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผมขอ
แปลงเป็น Slogan
ให้จำง่ายๆ ต่อการจดจำและนำไปใช้ เป็น
MR APLE Good governance:
MR APLE ดังนี้
M
1.หลักคุณธรรม Morality หมายถึง
การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน
เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ อดทน มีระเบียบวินัย
ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ
R 2.หลักความพร้อมรับผิด Responsibility หมายถึงความตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหา
R 2.หลักความพร้อมรับผิด Responsibility หมายถึงความตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหา
A
3.หลักความโปร่งใส Accountability หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ
P 4.หลักความมีส่วนร่วม Participation หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ เช่น การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ
สาธารณะของบ้านเมือง การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน
P 4.หลักความมีส่วนร่วม Participation หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ เช่น การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ
สาธารณะของบ้านเมือง การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน
L
5.หลักนิติธรรม Legislative หมายถึง
การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การกำหนดกฎ
กติกาและการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิ
เสรีภาพความยุติธรรมของสมาชิก
E 6.หลักความคุ้มค่า Economize หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนร่วม เช่น รณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
E 6.หลักความคุ้มค่า Economize หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนร่วม เช่น รณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
ซึ่งหลักการทั้งหลายล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะ รักษา “ความสมดุล” ในมิติต่างๆไว้ เช่น หลักคุณธรรมก็คือการรักษาสมดุลระหว่างตนเองกับผู้อื่น
คือไม่เบียดเบียน ผู้อื่นหรือตัวเองจนเดือดร้อน ซึ่งการที่มีความโปร่งใส
เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตรวจสอบ
ก็เพื่อมุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสมดุลดังกล่าวว่าอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้
ส่วนหลักความรับผิดชอบ ก็ต้องสมดุลกับเสรีภาพที่เป็นสิ่งที่สำคัญของทุกคน
และหลักความคุ้มค่า ก็ต้องสมดุลกับหลักอื่นๆ เช่น
บางครั้งองค์การอาจมุ่งความคุ้มค่าจนละเลยเรื่องความเป็นธรรมหรือโปร่งใส
หรือบางครั้งที่หน่วยงานโปร่งใสมากจนคู่แข่งขันล่วงรู้ความลับที่สำคัญในการประกอบกิจการ ความสมดุล หรือ ธรรม จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาล
เครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ( Learning Network:LN)
ประกอบด้วย หน่วยบริการ หน่วยบริหาร
ที่ประกอบด้วยองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organizational)
ที่มีที่มาจากฐานคิด ความรู้ เท่ากับ
วงเล็บเปิดบุคคล บวกด้วย สารสนเทศวงเล็บปิด ยกกำลัง S คือ การ Sharing
ตามสมการดังนี้
K= (P+I)S
ตามสมการด้านบน แสดงให้เห็นว่า
ตัวสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ คือ การ Sharing หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร
ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก โดยมีเป้าประสงค์สำคัญของการเรียนรู้
คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core
competence) ขององค์กร
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบที่ 1. การเรียนรู้
(Learning)
องค์ประกอบที่ 2. องค์การ
(Organization)
องค์ประกอบที่ 3. สมาชิกในองค์การ
(People)
องค์ประกอบที่ 4. ความรู้
(Knowledge)
องค์ประกอบที่ 5. สารสนเทศเทคโนโลยี
(Information Technology)
องค์ประกอบที่ 1 การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1) ระดับการเรียนรู้
ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ
(ระดับ
การเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับ กลุ่มขึ้นไป เรียกว่า GROWTH ใน BSC
เรียกว่า Learning & Growth)
2) ประเภทของการเรียนรู้
ได้แก่ การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์
การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
3) ทักษะการเรียนรู้
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)
3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model)
3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue
องค์ประกอบที่ 2. องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่
VC2S
1) วิสัยทัศน์
(Vision)
2) วัฒนธรรมองค์การ
(Organization Culture)
3) กลยุทธ์
(Strategy)
4) โครงสร้าง
(Structure)
องค์ประกอบที่ 3. สมาชิกในองค์การ (People
, Person) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล
(People
Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1)
บุคลากร
2)
ผู้บริหาร / ผู้นำ
3)
ผู้รับบริการ / ลูกค้า
4)
คู่ค้า
5)
พันธมิตร / หุ้นส่วน
6)
ชุมชน
องค์ประกอบที่ 4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ประกอบด้วย
1)
การแสวงหาความรู้
2)
การสร้างความรู้
3)
การจัดเก็บความรู้
4)
การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์
องค์ประกอบที่ 5.สารสนเทศเทคโนโลยี (Information
Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology
Application) ประกอบด้วย
1)
เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)
เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้
3)
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน
โดยให้พิจารณา อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์กรที่อาจเกิดขึ้นได้
ทั้งจากผู้บริหารและ จาก สมาชิก
จากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งดังนี้
1) สมาชิกรู้แต่หน้าที่ของตนเอง แต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ (I'm my
position)
2) สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์การอยู่ที่ใด
แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร (The enemy is out there)
3) ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง (The
Illustration of taking change)
4) ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป (A fixation on events)
5)
ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน
(The delusion of learning from experience)
6) มีผู้บริหารที่ดีแต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The
myth of management team)
7) ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป (The boiled
frog syndrome)
(ขอบพระคุณข้อมูลประกอบเพิ่มเติม จากคุณ
กมลรัตน์ วัชรินทร์)
Concept การจัดทำแผน
มาจากทฤษฎีเชิงระบบ Input Process Output Outcome
หรือ SIPOC ร่วมกับ Balanced Scorecard : BSC
Supplier: แหล่งของปัจจัยนำเข้า หรือ ทิศทางของหน่วยเหนือที่ชี้นำกระบวนการขององค์กร
Input: ปัจจัยนำเข้า Man(BSC L&G) พัฒนาองค์การ Money(BSCมุมมองด้านการเงิน) Material M(ความรู้ เทคโนโลยี
สารสนเทศ) SRMฐานราก
Process: BSCกระบวนการ (บริหาร/ บริการ) SRM กระบวนการ Internal Process ประเมินเชิงประสิทธิภาพ
Output 1 : ผลผลิตหรือผลงาน ,Output 2 : ผลลัพธ์,Output
3 : ผลสัมฤทธิ์
Output ประเมินเชิงประสิทธิผล SRMภาคีเครือข่าย
Customer ประเมินเชิงคุณภาพ SRM สุขภาพของชุมชน BSCลูกค้า
Customer: ลูกค้า
สรุปว่า กระบวนการของ KKK คือ
ยึดหลักธรรมาภิบาลในการ : -บริหารจัดการอย่างมีระบบ(คุณภาพ) ดำเนินงานตามพันธกิจอย่างมีระบบ
(คุณภาพ)ส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม รักษา
ฟื้นฟู ส่งต่อ
คุ้มครองผู้บริโภค รักษา/พัฒนา เครือข่าย และการมีส่วนร่วมของ ประชาชน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ
No comments:
Post a Comment