20 มค.2558 _สรุปสาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
วันที่
19-22 มกราคม 2558 ผม
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้ารับการอบรม
ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง หน่วยงานในสังกัด
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรมพูลแมน จังหวัดขอนแก่น
สรุปเนื้อหา
สำหรับเตือนความจำและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ได้คร่าวๆ ดังนี้
วันที่
20 มกราคม 2558 สรุปสาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
การบรรยายเรื่อง
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
วิทยากรโดย นางกิตติมา อังกินันท์
ผู้อำนวยการกลุ่มวินัย กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
กฎหมาย และระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง
พระราชกฤษฎีกา
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
พ.ศ. 2550 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554
การบรรยายเรื่องค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
การจัดงาน
วิทยากร
โดย กรมบัญชีกลาง
กระทรวงการคลัง
วิทยากรโดย นางกิตติมา อังกินันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มวินัย
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
กฎหมาย
และระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อแตกต่าง
ของค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการกับสิทธิ สวัสดิการ คือ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ผู้เข้ารับการอบรม มีสิทธิในการเบิกจ่าย แต่ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้กฎหมาย ให้อำนาจ
หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม สามารถควบคุมการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ ตั้งแต่
อำนาจการส่งคนเข้ารับการอบรม จนถึงอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ส่วนสิทธิ สวัสดิการ เช่น
ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร หากกฎหมายเขียนไว้ และ ผู้เบิกเบิกตามสิทธิ
ที่เบิก หัวหน้าส่วนราชการไม่สามารถตัดสิทธิ์ หรือ ควบคุมการเบิกจ่ายได้
การเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ
เงินบำรุง กับ
เงินงบประมาณ ข้อเหมือนคือ สามารถเบิกจ่ายได้ ตาม กฎหมาย ระเบียบ ที่กำหนด เช่น
เงินบำรุง
ให้เบิกจ่ายเป็นค่าตอบแทนได้ ตามระเบียบเงินบำรุง
เงินบำรุงสถานบริการ
ไม่สามารถเบิกจ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศได้
แต่ หาก สถานบริการ
ได้รับงบประมาณ หมวดรายจ่ายอื่น สำหรับ เดินทางไปต่างประเทศ เป็นการเฉพาะ
ก็สามารถเบิกจ่ายได้
ข้อสังเกต
คือ เงินบำรุงสถานศึกษา สามารถเบิกจ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศได้
งบดำเนินงาน
(งบประมาณประจำปี) ไม่สามารถเบิกจ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศได้
หากจะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศได้
ต้อง เสนอขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ เป็นหมวดงบรายจ่ายอื่นๆ ก่อน จึงจะสามารถเบิกได้ ( ขอเสนอไปยังกรมบัญชีกลาง โดยมีแนวปฏิบัติ คือผู้เสนอขอ ต้องเป็น
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ในฐานะปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอไปยัง
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แล้ว ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะเสนอไปยัง กรมบัญชีกลาง ต่อไป )
การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
กับ การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ข้อเหมือนคือ 1.จะไปได้ต้องได้รับอนุมัติ
จากผู้มีอำนาจก่อน (ผู้ว่าราชการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย)
2. ค่าเดินทาง
ใช้ระเบียบเดียวกัน คือใช้ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางอนุมัติบุคคลและระยะเวลาในการเดินทางไปราชการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ส่วนมาก จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
การเดินทางไปราชการ ( เช่น
ไปให้การการสอบวินัย ไปชี้แจงกรรมาธิการ ไปตามผู้บังคับบัญชามอบหมาย)
1.
การเดินทางไปราชการ สามารถเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้เต็มวัน
แม้ว่าผู้จัดจัดอาหารให้ ก็ สามารถเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้เต็มวันโดยไม่ถูกตัด
ค่าใช้จ่าย จากมื้ออาหาร
2.
การเบิกจ่ายค่าที่พัก การเดินทางไปราชการ
ผู้เดินทางสามารถเบิกจ่ายค่าที่พักได้ตามที่จ่ายจริง หรือ เบิกเหมาจ่ายตามระเบียบที่กำหนดก็ได้
หากเบิกเหมาจ่าย ไม่ต้องใช้หลักฐานใดๆ ไม่ว่า จะเป็น บก.111 หรือใบเสร็จ ระบุว่า เหมาจ่ายได้เลย นอนที่ใดก็เบิกได้ ( ระดับ 8 วันละ 800 ) ไปเป็นคณะ ต้องเบิกเหมือนกัน
หากใช้ใบเสร็จรับเงิน
ให้ใช้ตามที่จ่ายจริง ของสถานที่ สถานที่พักแรม ที่มีรายละเอียดครบ 5 รายการ
ชื่อ ที่อยู่ ผู้รับเงิน
วันเดือนปีที่จ่ายเงิน รายการการจ่าย จำนวนเงินที่จ่าย และ ลายมือชื่อผู้รับเงิน
( สำหรับใบเสร็จของ เอเจนซี่
ไม่สารถนำมาเบิกได้ )
ระดับ 8 ลงมา ต้อง นอน 2 คน ขึ้นไป ยกเว้น มีเหตุจำเป็น หรือ
ไม่เหมาะสม เช่น
ไปกัน 5 คน เหลือ 1 คน ต้อง นอน คนเดียว หรือ เหลือ เศษ ต่างเพศ ที่ไม่ใช่คู่สมรส
ต้องนอนคนเดียว
หรือเหลือเศษ คนต่าง ระดับ ตำแหน่ง ชั้นยศ หรือ มีโรคติดต่อ ที่ไม่สามารถนอนกับเพื่อนได้
( โรค นอนกรน
ไม่เป็นเหตุ ให้อ้างการนอนเดี่ยวได้ วิธีแก้คือต้องชิงหลับก่อน)
เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
1.
การเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม
ค่าเบี้ยเลี้ยง จะถูกตัด ตาม มื้ออาหาร ที่ผู้จัดจัดให้ คิดมื้อละ 1 ใน 3 ของ ค่าเบี้ยเลี้ยง
2. การเบิกจ่ายค่าที่พัก
การเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม ผู้เดินทางสามารถเบิกจ่ายค่าที่พัก ได้ตามที่จ่ายจริงไม่สามารถเบิกเหมาจ่ายได้
ลูกจ้างทุกประเภท
ทำงานที่ไหน เบิกจ่ายจาก หน่วยงานนั้นๆ
อัตราการเบิกจ่าย
ให้เบิกจ่าย เท่ากับ ข้าราชการระดับปฏิบัติงาน
บุคคลภายนอก
สามารถเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ได้
บุคคลภายนอก
หากไม่มีระเบียบการเทียบตำแหน่งไว้ ให้ หัวหน้าส่วนราชการ(ปลัดกระทรวง อธิบดี)
เสนอ ขอเทียบตำแหน่งได้
เช่น ลูกจ้างทุกประเภท
เทียบได้กับข้าราชการระดับปฏบัติงาน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เสนอขอให้เทียบเท่า ข้าราชการระดับ 3 ปัจจุบันคือ
ข้าราชการระดับปฏิบัติการ ซี 3 เดิม
ขอลาพักผ่อน แล้ว
ต่อด้วย ขออนุมัติเดินทางไปราชการ
กรณีตัวอย่าง เช่น
ข้าราชการ จังหวัด สงขลา มีกำหนดเข้ารับการอบรม ที่เชียงใหม่ วันพุธ ที่ 9 ถึง วัน พฤหัสบดี ที่ 10 วันศุกร์ที่ 11 เป็นวันหยุดราชการ แต่ผู้เดินทาง
ต้องการเดินทาง ไปราชการ วันศุกร์ ที่ 6 เสาร์อาทิตย์
มีธุระส่วนตัว หรือไปเที่ยว แล้ว ขอลาพักผ่อน วันจันทร์ ที่ 7 ถึง วันอังคารที่ 8 วันพุธ ที่ 9 จึงจะเข้ารับการอบรม แล้วใช้วันหยุดวันศุกร์ที่ 11 ต่อ
แล้วเดินทางกลับ วันอาทิตย์ ที่ 13
ระเบียบ กฎหมาย ค่าเดินทาง
(ค่ารถ ค่าเครื่องบิน ค่ารถ ค่าเรือ) ขอให้ครอบคลุม ตามที่เราต้องการได้
แต่ขอเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
และ ค่าที่พัก ขอเบิกได้ ตาม ระเบียบ ตามเวลาที่ปฏิบัติราชการ
หากอยู่ยาว
ไม่ว่าจะเป็นหยุดยาว หรือ ลาพักผ่อน ให้เบิกตามมาตรา 11 ผู้เดินทาง
หยุดอยู่ที่ใด ที่ไม่มีเหตุอันควร ไม่สามารถเบิกได้
กรณีตามด้านบน สามารถเบิกจ่ายได้ดังนี้
1. ค่าเดินทาง
สามารถเบิกค่าเครื่องได้ ทั้ง 2 เที่ยว ในเที่ยวไป
วันศุกร์ ที่ 6 และเที่ยวกลับวันอาทิตย์ ที่ 13
(ตาม
มาตรา ๘ สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ
)
2. ค่าใช้จ่ายอืนๆ
เบิกได้ ตามระเบียบ ตั้งแต่ เริ่มการปฏิบัติราชการ จนถึง สินสุด การปฏิบัติราชการ
2.1 ค่าเบี้ยเลี้ยง
เบิกได้ จาก วันที่ 8 ถึงวันที่ 11 (เบิกได้ตามการเดินทางก่อน
หลังตามความจำเป็น )
2.2 ค่าที่พัก
เบิกได้ คืนวันที่ 8 ถึงคืน วันที่ 10
(ตามมาตรา ๘/๑ ถ้าผู้เดินทางไปราชการมีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับ
ท้องที่ตั้งสำนักงานปกติเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ
เพราะมีเหตุส่วนตัว โดยได้รับอนุมัติให้ลากิจหรือลาพักผ่อน
ตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
และได้รับอนุมัติระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทางตามหลักเกณฑ์ที่
กระทรวงการคลังกำหนดด้วยแล้ว
ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามที่พระราชกฤษฎีกานี้)
กรณีเดียวกัน นี้
หากต้องการเดินทางไปที่เชียงรายก่อนด้วยเหตุส่วนตัว
แล้วจึงเดินทางไปราชการที่เชียงใหม่
ก็ให้ขออนุญาตเดินทางไปตามความเป็นจริง
แล้วเบิกตามความเป็นจิง คือสามารถเบิกไปยังเชียงรายได้
ข้อสังเกต
กรณีการเดินทางไปราชการก่อนด้วยเหตุส่วนตัว จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ได้น้อยกว่า
การเดินทางไปปกติ
เพราะ
ค่าเบี้ยเลี้ยงในกรณีนี้ จะเบิกได้ เมื่อเริ่มการปฏิบัติราชการ จนถึง สินสุด การปฏิบัติราชการ เท่านั้น
การเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงการออกไปปฏิบัติงานต่างอำเภอ
ตามระเบียบเงินบำรุงสถานบริการ
การออกไปปฏิบัติงานต่างอำเภอในระดับ หากผู้บังคับบัญชา(ผู้บริหารหน่วยงาน)
อนุมิติเดินทาง ก็สามารถเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้
การเบิกเบี้ยเลี้ยง
มี 2 กรณี
เบี้ยเลี้ยง กรณีพักแรม เบี้ยเลี้ยง
ครึ่งวัน ไม่มี
เบี้ยเลี้ยง กรณีไม่พักแรม เบี้ยเลี้ยง ครึ่งวัน สามารถเบิกได้ ( เกินกว่า
6 ชม. นับเป็น ครึ่งวัน )
การเบิกค่าพาหนะส่วนตัว
สามารถเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายได้
(ตาม มาตรา ๒๕ การใช้ยานพาหนะส่วนตัวไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ดังต่อไปนี้ จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่าย
ให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าพาหนะ
ส่วนตัวได้ คือ
(๑)
อธิบดีขึ้นไปหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง
(๒)
หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค
หรือมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม
(๓) หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดซึ่งเป็นผู้เบิกเงิน
หรือนายอำเภอท้องที่แล้วแต่กรณี สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค
มาตรา ๒๖ เงินชดเชยเป็นค่าพาหนะตามมาตรา ๒๕ ให้เบิกจ่ายในประเภทค่าพาหนะตามหลักเกณฑ์และ
อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (ปัจจุบัน ในอัตรา รถยนต์
กิโลเมตร ละ 4
บาท รถมอเตอร์ไซด์ กิโลเมตร ละ 2 บาท)
การนับระยะทาง ให้คำนวณ จาก กรมทางหลวง หรือ
หน่วยงาน ราชการที่กำหนด ไม่ต้องแนบบิลน้ำมัน
พาหนะส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น
กรรมสิทธิ์ ของผู้เดินทางหรือไม่ก็ตาม หลักฐานในการขอคือ ระบุหมายเลขทะเบียนรถ
และแนบเอกสารทะเบียนรถ ( ของผู้ใดก็ได้ ติดไฟแนนซ์ก็เบิกได้)
รถทัวร์
เบิกได้ ทุกคน
เฉพาะรถไฟ เท่านั้น ที่กำหนดระดับ การเบิก คือ ปฏิบัติงาน
ปฏิบัติการ เบิกค่ารถไฟ ชั้นหนึ่ง นั่งนอน ปรับอากาศไม่ได้
ค่าจ้างเหมารถรับจ้าง ระดับปฏิบัติงาน
ปฏิบัติการ เบิกได้ เฉพาะ กรณีที่มีสัมภาระเท่านั้น
ค่าพาหนะรับจ้าง
เพื่อไปยังสถานที่ปฏิบัติงาน หรือ สถานีขนส่ง กรณีในเขตจังหวัด
เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง หรือ ข้าเขตจังหวัดเขตที่ติดต่อ กทม. หรือ ผ่าน กทม.
ไม่เกินเที่ยวละ 600
บาท และเขตติดต่อจังหวัดอืน ไม่เกินเที่ยวละ 500 บาท
กรณีที่หน่วยงานจัดหาพาหนะให้
โดยการเช่าเหมารถให้แล้ว ผู้เดินทางไม่สามารถเบิกค่าเดินทางได้ กรณีนี้ หน่วยงาน ต้องขออนุมัติ เช่าเหมารถให้ผู้เดินทาง
แตกต่างจากข้าราชการได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการแล้วเช่าเหมาพาหนะ
ขนย้ายสิ่งของเพื่อไปปฏิบัติราชการตามคำสั่ง กรณีนี้ สามารถเบิกค่าเช่าเหมาพาหนะเหมาจ่ายได้เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้เดินทาง
หน่วยงานไม่ต้องทำขออนุมัติซื้อจ้างตามระเบียบพัสดุ
ตาม ว.25 กรณีเดินทางไปต่างประเทศ
ของผู้เดินทาง สามารถ นำหลักฐานการจ้างเหมาบริษัททัวร์
มาประกอบการขออนุมัติเบิกจ่ายได้
ภายใต้สิทธิในการเบิกของแต่ละคน
ค่าเครื่องบิน ข้าราชการ
ระดับปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติการ ปกติไม่มีสิทธิ์เบิกค่าเครื่องบิน
แต่หาก
โดยความเป็นจริงต้องนั่งเครื่องบิน ก็สามารถเบิกค่าเครื่องบินได้ ใช้หลักฐาน
ใบเสร็จ ของสายการบินเบิกได้ แต่ ในช่องพาหนะ ให้ใส่เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราค่าเดินทางภาคพื้นบิน
( ตามมาตรา 27 การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม
(๑) หรือ (๒) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้)
ลูกจ้างทุกประเภท
เทียบได้กับข้าราชการระดับปฏบัติงาน ฉะนั้น โดยปกติไม่มีสิทธิ์เบิกค่าเครื่องบิน
หากประสงค์จะนั่ง ต้อง ปฏิบัติตามมาตรา 27
หลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบการเดินทางไปราชการ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการนั้นๆที่กำหนด
เช่น
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ แนบ Boarding Pass ด้วย
หรือ
บางกรม ก็กำหนดให้แนบกากตั๋วรถไฟด้วย ก็ให้ ผู้ขอเบิกปฏิบัติตามนั้น
แบบรายงานการเดินทางไปราชการ
กรณี ไปราชการคนเดียว ให้ใช้ แบบฟอร์มเฉพาะ แบบฟอร์ม
ชุดที่ 1 เท่านั้น(แบบฟอร์มแนวตั้ง)
แบบรายงานการเดินทางแผ่นขวางไม่ต้องใช้ เพราะ
แบบรายงานการเดินทางแผ่นขวาง ให้ใช้ ในการเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
กรณีการยืมเงิน ไปราชการ ต้องส่งคืนภายใน 15 วัน (รวมวันหยุดด้วย)
นับจากกลับจากไปราชการ
กรณีไม่ยืมเงินสามารถเบิกได้
ไม่เกิน ปีงบประมาณนั้นๆ
(หลักเกณฑ์ หากเป็นเงินงบประมาณ
ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นปีใด ต้องเบิกจ่ายในปีนั้น
หากเป็นเงินบำรุง ให้เป็นไปตามระเบียบเงินบำรุง
ไม่เกินระยะเวลา 1
ปี )
ระเบียบการเดินทางไปราชการ
ไม่ได้เขียนเรื่องการยืมเงินไปราชการไว้ แต่ที่สามารถ ยืมได้ เนื่องจากใช้ระเบียบ
การเบิกจ่ายเงินจากคลัง
การเดินทางไปราชการประจำ สามารถเบิกได้
ทั้งคู่สมรส ผู้ติดตาม (ที่ตาไปอยู่ด้วยกัน) ในกรณีที่มีคำสั่งย้าย สามารถเบิกได้
รวมทั้ง สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ด้วย
กรณีที่ขอย้าย
จะไม่สามารถเบิกได้
การเดินทางกลับภูมิลำเนา กรณีเกษียณ หรือลาออก
สามารถเบิกได้ ทั้งค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่าขนย้ายสิ่งของ
แต่ไม่สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้
เพราะ ไม่ได้ไปปฏิบิติราชการแล้ว
ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
สามารถเบิกได้ เช่น
ค่าธรรมเนียมการทำ
วีซ่า ค่าหนังสือเดินทาง ค่าเหยียบแผ่นดิน ค่าฉีดวัคซีนป้องกันโรค ค่าประกันสุขภาพ
เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายอื่น หมายถึงถ้าไม่จ่ายค่าเหล่านี้
ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศนั้นๆได้
การเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถเบิกได้
แต่สามารถเบิกจ่ายเป็นค่าตอบแทนได้ เมื่อเป็นค่าตอบแทน
คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบประจำ ในภารกิจนั้นๆ จะไม่สามารถเบิกได้
ถาม ตอบ ทั่วไป เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน
ค่าโทรศัพท์มือถือสำหรับใช้ส่วนกลางเบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง
ค่าโทรศัพท์มือถือที่ระบุคนถือครอง ระดับ 8 ลงมา
เบิกได้ รอบบิลละ ไม่เกิน 1,000 บาท
ค่าวิทยากรภายในหน่วยงาน สามารถเบิกจ่ายได้ ไม่เกินชั่วโมงละ
300 บาท
การเบิกค่าวิทยากร
แม้ไม่มีหนังสือเชิญ หรือ หนังสือตอบรับ ก็สามารถเบิกจ่ายได้
แต่หลักการคือ ขอให้เขียนรายละเอียดไว้ในโครงการ
และตารางประกอบการ อบรม ให้ชัดเจนว่า ชั่วโมงนี้ เรื่องอะไร วิทยากร โดยใคร
ก็สามารถเบิกจ่ายได้แล้ว
หลักการคือ วิทยากร นั้นเราเชิญเขาแล้ว เขาตอบรับ อาจจะทางโทรศัพท์แล้ว ก็น่าจะเพียงพอ
ยังจะต้องให้เขาส่งเอกสารตอบรับการเป็นวิทยากร
และ หลักฐานอื่นๆอีกมากมาย จะถือว่า เรา ยุ่งยากจนเกินไป
หลักฐานประกอบคือ
บำคัญรับเงิน และ สำเนาบัตรประจำตัว วิทยากร
ค่าพาหนะ ไปราชการชั่วคราว หรือ เข้ารับการอบรม
ไปกลับ ภายในจังหวัด หรือ ต่างอำเภอ โดยไม่พักค้างคืน สามารถ
เบิกค่าเพินทางได้หรือไม่
ตอบ
สามารถเบิกได้ ตามดุลพินิจ ของผู้บังคับบัญชา
ค่าที่พัก หากผู้จัดอบรม ไม่ประสานที่พักให้
ให้เบิกจ่ายค่าที่พักได้ ตามที่จ่ายจริง
คนขับรถ สามารถ เบิกค่าที่พักได้ตามที่จ่ายจริง แต่
ค่าเบี้ยเลี้ยงคนขับรถจะเบิกจ่ายเต็ม เพราะเขาไม่ได้มาทานอาหารกับเรา
ข้าราชการจบการศึกษาใหม่
สามารถเบิกค่าใช้จ่าย ในการเข้ารับปริญญาได้หรือไม่
โดยปกติ
การเข้ารับปริญญา จากทุกสถาบัน ไม่สามารถเบิกได้ในทุกกรณี
แต่กระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถให้เบิกได้
เพราะเขาไม่ได้เบิกจ่าย ค่าใช้จ่าย ในการเข้ารับปริญญา
เขาเบิกจ่ายในการเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนา ซึ่งผู้เข้าสัมมนา
ก็มีกำหนดเข้ารับปริญญาด้วย
เดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม
ไม่สามารถจองที่พักได้ จะสามารถเบิกค่าที่พักเหมาจ่ายได้หรือไม่
ตอบ การเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม
สามารถเบิกจ่ายค่าที่พักได้ตามที่จ่ายจริงไม่สามารถเบิกเหมาจ่ายได้
ผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการที่เบิกจ่ายจากเงินบำรุง
ให้ปฏิบัติตามระเบียบเงินบำรุง
ตามอำนาจของผู้มีอำนาจอนุมัติ ซื้อจ้าง หรืออนุมัติเบิกจ่าย ตามระเบียบเงินบำรุง
เช่น
ไม่เกิน 100,000
เป็นอำนาจของ สาธารณสุขอำเภอ หากเกินกว่าอำนาจ
ต้องเสนอขอตามอำนาจที่ได้รับมอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข เช่น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
เป็นต้น
กรณีมีกำหนดการไปราชการติดต่อกัน 2 ท้องที่
ติดต่อกัน จะปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ให้ขออนุญาตเดินทางไปราชการ
ในคราวเดียวกันเลย โดยคำนึงถึงความประหยัด ของส่วนราชการ
ไม่ใช่ว่าต้องกลับมาจากการไปราชการครั้งแรกแล้ว
มาเดินทางไปใหม่
ค่าวิทยากร หากจัดแบบบรรยาย
ในหัวข้อเดียวกัน วิทากรหลายคน สามารถเบิกได้คนเดียว แล้ว บริหารกันเอง
แนวปฏิบัติ คือ แบ่งกันคนละชั่วโมงไปเลย
จึงจะสามารถแยกเบิกได้ทุกคน
เงินกองทุน
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .)
ให้เบิกจ่ายอย่างไร
ตอบ เบิกจ่าย ได้ใน 2 กรณี คือ
เบิกจ่ายตามแผนงานโครงการ ไปยังกองทุนโดยตรง หรือ
เบิกจ่ายตามระเบียบเงินบำรุง กรณีกองทุนโอนเงินเข้าเงินบำรุงสถานบริการ
การเดินทางไปอบรม
จะสามารถเบิกจ่ายได้ในกรณีใด
1. ได้รับอนุมัติ
จากผู้บังคับบัญชา ( หากเดินทางไปเอง ไม่สามารถเบิกได้ )
2. มีเอกสาร
หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย ที่ครบถ้วน
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุทุกรายการหรือไม่
ตอบ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 15 ประเภท ส่วนมากต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ
ยกเว้น 3 รายการดังนี้ ได้รับการยกเว้น
1. ค่าอาหารว่าง
และ เครื่องดื่ม ไม่ต้องดำเนินการ ตามระเบียบพัสดุ
2. ค่าอาหาร
ไม่ต้องดำเนินการ ตามระเบียบพัสดุ
3. ค่าเช่าที่พัก
ไม่ต้องดำเนินการ ตามระเบียบพัสดุ
โดยให้ใช้เอกสารประกอบการเบิกจ่าย ดังนี้
ใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบรับรองการจ่ายเงิน หรือ
ใบสำคัญรับเงิน แล้วแต่กรณี
แต่ในทุกกรณี ต้องมีรายละเอียดครบ 5 รายการ
ตาม ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง
การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ
การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ
ประกอบด้วย 1.
ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
2. วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
3. รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
4. จำนวนเงินทั้ง
ตัวเลข และตัวอักษร
5. ลายมือชื่อผู้รับเงิน
ถาม : โรงพยาบาลจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่
อสม. และมีรายการเบิกค่าวิทยากร โดยวิทยากรเป็นบุคลากรสังกัดโรงพยาบาล
ขอรับการสนับสนุนเงินจากเงินบำรุงได้หรือไม่
ตอบ : กรณีโรงพยาบาลจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่
อสม. และมีรายการเบิกค่าวิทยากร โดยวิทยากรเป็นบุคลากรสังกัดโรงพยาบาล
หากเป็นงานเชิงรุกและไม่ซ้ำซ้อนกับงานประจำซึ่งใช้งบประมาณปกติ ผู้บริหารมีอำนาจพิจารณา
ให้เบิกค่าวิทยากรได้ตามความเหมาะสม ( ชั่วโมงละ 300 บาท)
ถาม การฝึกอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
จ่ายค่าตอบแทนได้ในอัตราเท่าใด
ตอบ ไม่มีระเบียบ ให้สามารถจ่ายค่าตอบแทน ให้กับ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ได้ ฉะนั้น การอบรม อสม. จึงถือเป็นการ
ฝึกอบรม บุคคลภายนอก ให้เบิกจ่ายในอัตรา การฝึกอบรมบุคคลภายนอก ซึ่ง อสม . เทียบได้กับข้าราชการระดับ
3 หรือระดับปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายที่เบิกได้
คือ ค่าอาหารเหมาจ่าย ในอัตราวันละ ไม่เกินคนละ 240 บาท
ต่อวัน (มื้อละ 80 บาท ) ตามระเบียบ ข้อ ๑๙ การจัดการฝึกอบรมบุคคลภายนอก
ถ้าส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรมไม่จัดอาหาร ที่พัก หรือยานพาหนะ ทั้งหมดหรือจัดให้บางส่วน
ให้ส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นบุคลากรของรัฐตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
No comments:
Post a Comment