24กย2558 ยโสธร_เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน_ยาเสพติด
วันที่ 24 กันยายน 2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ คณะทำงาน จากอำเภอคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วม ประชุม
เชิงปฏิบัติการ เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตามยุทธศาสตร์
การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด และยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบ รองรับ
การคืนคนดีให้สังคม จังหวัดยโสธร
ณ
โรงแรม เจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
จัดโดย
ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จังหวัดยโสธร (ศอ.ปส.จ.ยส.)
วิทยากร
หลัก จากสำนักงาน ปปส.ภาค ๓ นครราชสีมา
ประธานและบรรยายพิเศษโดย
นายจรรยา สุคนคันธชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
ผู้เข้าร่วม
ประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบล หมู่บ้าน
แต่สิ่งที่กระทบต่อการทำงานของ “ตำรวจ” อย่างมากตอนนี้ เห็นจะเป็นประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 108/2557 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ซึ่งออกมาตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. 2557
ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 108/2557 เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู
ระบุว่า เพื่อให้การดําเนินการบําบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดเป็นไปโดยเหมาะสม
สมควรกําหนดให้ผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง
ตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดตามบัญชีท้ายประกาศนี้
ซึ่งไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม
ได้รับการบําบัดฟื้นฟูโดยการยินยอม
และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องภายหลังผ่านการบําบัดฟื้นฟู
รวมทั้งกําหนดอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการดังกล่าว เพื่อให้การบําบัดฟื้นฟูเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุด คสช.จึงมีประกาศ
ข้อ 1 ในกรณีที่ผู้ใดต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครองตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจําคุกตาม คําพิพากษาของศาล และไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม หากผู้นั้นยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดดําเนินการให้ผู้นั้นเข้ารับ การบําบัดฟื้นฟู ในกรณีที่ผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกําหนดเกี่ยวกับการบําบัดฟื้นฟู และได้รับการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐานการนําตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู การบําบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประกาศกําหนด
ข้อ 1 ในกรณีที่ผู้ใดต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครองตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจําคุกตาม คําพิพากษาของศาล และไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม หากผู้นั้นยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดดําเนินการให้ผู้นั้นเข้ารับ การบําบัดฟื้นฟู ในกรณีที่ผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกําหนดเกี่ยวกับการบําบัดฟื้นฟู และได้รับการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐานการนําตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู การบําบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประกาศกําหนด
ข้อ 2
ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังว่าผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูนั้นต้องหา
หรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกหรือต้องคําพิพากษาให้จําคุก
ให้ส่งตัวผู้นั้นดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ข้อ 3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดตั้งศูนย์เพื่อการคัดกรองผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูในทุกอําเภอและทุกเขต
และจัดตั้งศูนย์เพื่อประสานการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูในระดับอําเภอหรือ เขต
และระดับจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร
ข้อ 4
ให้ศูนย์เพื่อการคัดกรองผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการคัดกรองและจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการคัดกรองเพื่อจําแนกผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟู
และการส่งต่อผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูไปยังสถานบําบัดฟื้นฟูหรือสถานที่อื่นตามที่หัวหน้าศูนย์กําหนด
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุข
และกรุงเทพมหานครประสานการดําเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 5 ให้ศูนย์เพื่อประสานการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูมีอํานาจหน้าที่จัดระบบ ดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูในจังหวัดให้มอบหมายกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เป็นผู้ติดตามดูแลและช่วยเหลือผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู สําหรับกรุงเทพมหานครให้มอบหมายผู้อํานวยการเขต ผู้นําองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครดําเนินการดังกล่าว
ข้อ 6 เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการบําบัดฟื้นฟู ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล เลขประจําตัวประชาชน และที่อยู่ของผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ต่อสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อใช้ในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่ดําเนินการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูต่อไป
คำถาม ตอบ แนวปฏิบัติ ตามคำสั่ง หรือ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 108/2557
ข้อ 5 ให้ศูนย์เพื่อประสานการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูมีอํานาจหน้าที่จัดระบบ ดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูในจังหวัดให้มอบหมายกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เป็นผู้ติดตามดูแลและช่วยเหลือผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู สําหรับกรุงเทพมหานครให้มอบหมายผู้อํานวยการเขต ผู้นําองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครดําเนินการดังกล่าว
ข้อ 6 เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการบําบัดฟื้นฟู ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล เลขประจําตัวประชาชน และที่อยู่ของผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ต่อสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อใช้ในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่ดําเนินการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูต่อไป
คำถาม ตอบ แนวปฏิบัติ ตามคำสั่ง หรือ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 108/2557
จุดเริ่ม คือ ต้องมีการตรวจปัสสาวะ
คัดกรองแล้ว เป็นผู้เสพ ผู้ติด ให้ตรวจสอบว่า เข้าข่าย ตามประกาศ
คสช.ฉบับที่ 108/2557 หรือไม่
คำถาม กรณีที่มีการคัดกรองหน้าค่าแล้วพบว่าเป็น ผู้ติดรุนแรง
จะให้ทำอย่างไร
คำตอบ คัดกรองแล้วพบว่า เป็นผู้ติดรุนแรง ให้รายงาน ผู้อำนวยการค่าย เป็นผู้ อนุมัติ
คำถาม ถ้าอายุ ไม่ครบ 18 ปี เข้าค่ายได้ไหม
คำตอบ ได้ โดยให้ผู้ปกครองเซ็นต์ยินยอม
คำถาม กรณีที่เป็น นักเรียน จะ เข้าค่ายได้ไหม
คำตอบ ได้ แต่ ไม่สมควร
เพราะ นักเรียน ไม่ควรจะไป รวมกับกลุ่ม เข้าค่าย
นักเรียน
ควรเข้าระบบสมัครใจ ใน โรงพยาบาล
คำถาม หากถูกจับหรือตรวจปัสสาวะพบ ครบ 3 ครั้ง แล้วยังไม่มารายงานตัวเข้าค่าย
จะทำอย่างไร
คำตอบ สามารถส่งเข้าระบบบังคับบำบัด แบบควบคุมตัว ได้เลย
โดยไม่ต้องรอให้ครบ 5 ครั้ง
เพราะปกติ ติดรุนแรง ห้ามให้เข้าค่ายบำบัด
เพราะจะเป็นผู้สร้างปัญหาในค่าย และ ขยายเครือข่ายในค่าย
คำถาม ตรวจปัสสาวะแล้วไม่พบ เข้าค่ายได้ไหม
คำตอบ ได้ หากเขาสมัครใจเข้ารับการบำบัด
คำถาม เข้าค่ายแล้ว ออกก่อนครบหลักสูตรได้ไหม
คำตอบ ได้ ตามพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ระหว่างเข้าค่าย พบว่า มีอาการทางจิตร่วมด้วย
ก็ให้ออกจากค่ายไปบำบัด ในสถานบำบัดอื่นได้
ระหว่างเข้าค่าย พบว่า ถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกหรือต้องคําพิพากษาให้จําคุก
ให้ส่งตัวผู้นั้นดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
คำถาม หากไม่ยินยอม หรือ เข้าค่ายบำบัดครบ 5 ครั้ง แล้ว จะทำอย่างไร
คำตอบหากเจ้าตัวไม่ยินยอม หรือ เข้าค่ายบำบัดครบ 5 ครั้ง แล้ว
ให้ส่งเข้ารับการักษาแบบบังคับบำบัดแบบควบคุมตัว
สภาพปัญหา
ที่ผ่านมา
แม้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะจับมือกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(ป.ป.ส.) แต่อุปสรรคการทำงานในการจับกุมเรื่องยาเสพติด
โดยเฉพาะ “ผู้เสพ” รายย่อย
ก็ยังเป็นปัญหาอยู่
สิ่งที่ “ตำรวจ” ท้องที่ทั่วประเทศกำลังเผชิญ คือ เหล่าผู้ค้ารายย่อยอาศัยช่องโหว่กฎหมายกระทำผิด โดยจะนำยามาขายทีละ 5 เม็ด หากถูกจับกุมจะถือเป็นผู้เสพ เข้าตามบัญชียาเสพติดท้ายประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 และกรณี ถูกจับไม่เกิน 5 ครั้ง สามารถที่สามารถสมัครใจเข้าบำบัดได้
นอกจากนี้ ศูนย์คัดกรองผู้เสพ ที่มีการกำหนดขึ้นก็ยังไม่มีความพร้อม และส่วนใหญ่จะเปิดปิดตามเวลาราชการ ถ้าตำรวจจับกุมนอกเวลาราชการก็จะไม่รู้จะคุมตัวไปส่งที่ไหน เพราะกฎหมายให้เป็นผู้เสพต้องส่งเข้าศูนย์คัดกรองผู้เสพ ไม่สามารถจับเข้าห้องขัง ไม่ต้องติดคุก เป็นต้น
สิ่งที่ “ตำรวจ” ท้องที่ทั่วประเทศกำลังเผชิญ คือ เหล่าผู้ค้ารายย่อยอาศัยช่องโหว่กฎหมายกระทำผิด โดยจะนำยามาขายทีละ 5 เม็ด หากถูกจับกุมจะถือเป็นผู้เสพ เข้าตามบัญชียาเสพติดท้ายประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 และกรณี ถูกจับไม่เกิน 5 ครั้ง สามารถที่สามารถสมัครใจเข้าบำบัดได้
นอกจากนี้ ศูนย์คัดกรองผู้เสพ ที่มีการกำหนดขึ้นก็ยังไม่มีความพร้อม และส่วนใหญ่จะเปิดปิดตามเวลาราชการ ถ้าตำรวจจับกุมนอกเวลาราชการก็จะไม่รู้จะคุมตัวไปส่งที่ไหน เพราะกฎหมายให้เป็นผู้เสพต้องส่งเข้าศูนย์คัดกรองผู้เสพ ไม่สามารถจับเข้าห้องขัง ไม่ต้องติดคุก เป็นต้น
ข้อเสนอ
การปรับปรุงกฎหมาย และ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ
กฎหมายเดิม
จำนวนเม็ดยา เป็นตัวกำหนดบทลงโทษ สำหรับผู้ค้า
เสนอให้
คำนึงถึง พฤติกรรม เป็นตัวกำหนดบทลงโทษ
สำหรับผู้ค้า
No comments:
Post a Comment