25มค2559เข้าใจ
เข้าถึง พึ่งได้ จากผู้สูงวัยสู่5กลุ่มวัยตำบลจัดการสุขภาพ ต้นแบบ
วันที่ 25-26 มกราคม 2559 วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วมประชุม ประชุมพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน โครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long
Term Care “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้”ซึ่ง กรมอนามัย ได้จัดขึ้น ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ มกราคม
๒๕๕๙ ณ โรงแรมพูลแมน อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ประธานในงานโดย ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวรายงานและ
บรรยายพิเศษโดย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง LTC.บูรณาการ
5 กลุ่มวัย ในตำบลต้นแบบ
กล่าวต้อนรับโดย
นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย
ผู้บริหารจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และผู้รับผิดชอบงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ทั้งในระดับเขต จังหวัด
และพื้นที่ และเครือข่าย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด จำนวนประมาณ 1,800 คน
กระทรวงสาธารณสุข
เตรียมพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ
ยั่งยืน เร่งค้นหาผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงใน 1,092 ตำบลเป้าหมาย เฉพาะที่ภาคอีสาน คัดกรองใน 370 ตำบล
คาดว่าจะมีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ร้อยละ 10-15 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในภาคอีสาน
ศ.คลินิก
เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ภายในปี 2568 นี้ จะมีผู้สูงอายุประมาณ
14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ
20 ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือจะมีผู้สูงอายุ 1 คนในประชากรทุก 5 คน การจัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล
(Long Term Care) จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ
ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การบูรณาการ 5กลุ่มวัยในตำบลจัดการสุขภาพ
ซึ่งในปี 2559 รัฐบาลให้ความสำคัญการดูแลผู้สูงอายุ
ได้อนุมัติงบประมาณ 600 ล้านบาท มีเป้าหมายดำเนินการใน 1,092 ตำบลทั่วประเทศ
เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 100,000 คน
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุใน 370 ตำบล คาดว่าจะเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงประมาณร้อยละ 10 -15 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข
กำลังเร่งดำเนินการมีดังนี้ 1.ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด
ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในตำบลเป้าหมาย ให้แล้วเสร็จพร้อมส่งข้อมูลให้ศูนย์อนามัย
กรมอนามัยภายใน 31มกราคมนี้ 2.จัดการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ
(Care Giver) หลักสูตร 70 ชม.
ให้เสร็จใน 28 กุมภาพันธ์นี้ โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดอบรม
2 วัน และอบรมต่อให้ครบตามหลักสูตรต่อไป
เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน
ในตำบลพื้นที่เป้าหมาย กำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 10 คน 3.ส่งเสริมให้คนในครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เป็น อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อีกด้วย
เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมต่อเนื่อง 4.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
คัดเลือกผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) จำนวน
1 คนดูแลรับผิดชอบ 1 ตำบล
ทำหน้าที่วางแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล และเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต่อไป
ทั้งนี้
การดำเนินงานทั้งหมด จะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายกเทศมนตรี เป็นประธาน คณะกรรมการกองทุนตำบล เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลบริการที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานจากอาสาสมัครประจำครอบครัว
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ และทีมหมอครอบครัวโดยในปี 2561
จะขยายให้ครอบคลุมครบทุกตำบล 100 เปอร์เซ็นต์
เนื้อหา
การประชุมอื่นๆ
อภิปราย
"จากนโยบายสู่การปฏิบัติท าอย่างไร....ผู้สูงวัยสุขภาพดี”
นายแพทย์ประทีป
ธนกิจเจริญ รักษาการเลขาธิการ สปสช.
นายแพทย์ณัฐพร
วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย
นายแพทย์เปรมศักดิ์
เพียยุระ นายกเทศมนตรีบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
นายแพทย์สุวรรณชัย
วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อภิปราย
"แนวทางการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ 5 กลุ่มวัย”
รองอธิบดีกรมอนามัย
(แม่และเด็ก/วัยเรียน)
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
(วัยรุ่น)
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
(วัยทำงาน)
รองอธิบดีกรมการแพทย์
(วัยสูงอายุ) (ไม่มีเอกสารประกอบการประชุม)
รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
(ตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ)
บรรยาย เรื่อง
"เงื่อนไขการจ่ายงบประมาณ LTC ในพื้นที่”
โดย นางอรจิต บำารุงสกุลสวัสดิ์
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน สปสช
No comments:
Post a Comment