4/28/17

21เม.ย.2560 ดงแคนใหญ่ นาแก กู่จาน เตรียม Pre survey DHSA อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

21เม.ย.2560 ดงแคนใหญ่ นาแก กู่จาน เตรียม Pre survey DHSA อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร  

            วันที่ 21 เมษายน 2560 คณะทำงาน  ลงพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง เพื่อ เตรียมความพร้อมรับการประเมิน เตรียม Pre survey DHSA คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
พื้นที่ ที่อาสาพัฒนาร่วมกัน ในครั้งนี้ ต้องชื่นชมและขอบคุณทีมงานจาก
รพ.สต. ดงแคนใหญ่ รพ.สต. นาแก รพ.สต. กู่จาน ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
            ประสานไปยัง ผอ.อุทิศ ฝูงดี ผอ.รพ.สต.กู่จาน หน.อภิญญา บุญถูก และคณะ จาก รพ.สต. นาคำ นาเวียง เหล่าไฮ โพนสิม ทุ่งมน ย่อ วันจันทร์ ที่ 24 เมย. 60 นัดพบกัน ที่ รพ.สต.กู่จาน เวลา 09.30 น. ให้กำลังใจและ เตรียมความพร้อม (เอกสาร หลักฐาน ) ในกิจกรรม Preparation survey : DHSA
โดยทั้ง  รพ.สต. ดงแคนใหญ่ รพ.สต. นาแก รพ.สต. กู่จาน จัดเตรียมอย่างน้อย 5 ส่วน ประกอบด้วย
1 การเตรียม Case ในชุมชนที่มีการบูรณาการให้การดูแลร่วมกัน ทุกภาคส่วน
2 การเตรียมภาคีภาคส่วนต่างๆในชุมชน เป็นกลุ่มย่อย หรือ ตามความเหมาะสม
3 การเตรียมพื้นที่ ใน รพ.สต.
4 การเตรียม เอกสาร ตามหมวดการประเมิน ใน รพ.สต.
5 การเตรียม ไฟล์ และเอกสารการนำเสนอผลงาน บรรยายสรุป ตามกระบวนการ 555 หรือ UCAREC
ทั้งนี้ นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี และคณะ จาก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) มีกำหนด การเยี่ยมสำรวจเพื่อเตรียมความพร้อม (Preparation Survey)
การประเมินและรับรองระบบสุขภาพอำเภอ ณ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ในวันที่ 26 - 27 เมษายน 2560 นี้



















ข้อมูลส่วนกลางประกอบการเตรียมความพร้อม
อำเภอคำเขื่อนแก้ว  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๓  ตำบล  ๑๑๕  หมู่บ้าน  มีประชากร
ตามทะเบียนราษฎร์  จำนวน  ๖๗,๒๙๘  คน  มีคำขวัญคือ “เมืองโบราณ ธารสองสาย ไก่รสเด็ด
เมล็ดข้าข้าวหอม”
            อำเภอคำเขื่อนแก้ว ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอแบบ มีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ ๕๕๕ เพื่อขับเคลื่อนวาระสุขภาพ ๕ ดี  กระบวนการ ๕๕๕ ได้แก่ การตั้งคณะกรรมการจาก๕เครือข่ายหลัก คือ ส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน  ครู ศาสนา สาธารณสุข และสร้างกระบวนการให้ ๕ เครือข่ายมีส่วนร่วมภาย
ใต้หลัก ๕ ร่วม คือ ร่วมคิดและวางแผน, ร่วมดำเนินการตามแผนที่กำหนดร่วมกัน ,ร่วมประเมินผล  ,
ร่วมรับผลประโยชน์ และ ร่วมพัฒนาการดำเนินงานให้มีความยั่งยืน ทั้งนี้การดำเนินงานของ ๕ เครือข่าย
มีกรอบการดำเนินงานภายใต้ ๕ คุณลักษณะ คือ การมีคณะกรรมการ ,มีระบบข้อมูลข่าวสารและระบาดวิทยาที่ดี สามารถใช้ในการวางแผนได้ ,การวางแผน มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ ปฏิทินการทำงาน  ,การระดมทรัพยากรจากเครือข่ายในชุมชน  และทั้ง ๕ เครือข่าย มุ่งผลลัพธ์การดำเนินงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนวาระสุขภาพ ๕ ดี  ได้แก่ ดูแลกันและกันดี , สะอาดดี, แม่และเด็กสุขภาพดี ,วัยเรียนวัยรุ่นพฤติกรรมดี
และดูแลสุขภาพตนเองดี
            ดำเนินการครอบคลุม ทั้งอำเภอ มีการจัดการระบบสุขภาพในระดับตำบล,หมู่บ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมลงบันทึกตกลงความร่วมมือทุกแห่ง โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น วงเงิน ๗ ล้านกว่าบาท จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดผลงานเด่น คือ
๑. คนคำเขื่อนแก้วดูแลกันและกันดี ดำเนินงานผ่านระบบทีมสุขภาพครอบครัว ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องและคลังอุปกรณ์ โดยภาคีเครือข่ายสนับสนุนงบประมาณและผู้มีจิศรัทธาบริจาค จำนวน  ๘๖๘,๙๐๐ บาท  
๒. แม่และเด็กสุขภาพดี มุ่งเน้นการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ป้องกันเด็กน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กระตุ้นพัฒนาการ โดยภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดตั้งธนาคารนมแม่ครบทุกสถานบริการ ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น   ๑,๔๕๙,๕๐๐ บาท
๓. สะอาดดี ทุกหมู่บ้าน (๑๑๕ หมู่บ้าน) ดำเนินการให้ชุมชน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ถูกสุขลักษณะตามสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงาน ๕ป ๑ข ๑ส ให้ความชุกลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์ ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ๑,๗๒๕,๐๐๐ บาท
๔. วัยเรียน วัยรุ่น พฤติกรรมสุขภาพดี เน้นแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น จัดการสอนทักษะชีวิตเพศวิถีรอบด้าน ใช้หลักสูตร PATH โดยครูในโรงเรียนมัธยมและขยายโอกาส ทุกแห่ง (๑๗ โรงเรียน) ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น   ๘๕๒,๐๐๐ บาท
๕. ดูแลตนเองดี เน้นแก้ปัญหาเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยทีมหมอครอบครัวจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิถีธรรม ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น   ๑,๕๗๕,๐๐๐ บาท

ในกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว มีแผนงานโครงการรองรับและมีการประชุมติดตามประเมินผลเป็นระยะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

No comments:

Post a Comment