6/20/23

8 มิ.ย.66 สำรวจ HI CI BI ควบคุมไข้เลือดออก ด้วย 5 ป 1 ข อ.เลิงนกทา สุ่มลูกน้ำยุงลาย ณ รพ.สต.สามแยก

8 มิ.ย.66 สำรวจ HI CI BI ควบคุมไข้เลือดออก ด้วย 5 ป 1 ข อ.เลิงนกทา สุ่มลูกน้ำยุงลาย ณ รพ.สต.สามแยก

วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

ชื่นชม ให้กำลังใจ  ทีมควบคุมโรค โดยผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ทุกแห่ง

ร่วมประเมินผล ติดตามการเฝ้า ควบคุมระวังโรคไข้เลือดออก และออกสุ่มลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ รพ.สต.สามแยก

               ผลการสำรวจ มีความเสี่ยงต่ำ

 

ทั้งนี้ อำเภอเลิงนกทา  บูรณาการ ผ่านกลไก พชอ. งานควบคุมโรค ในประเด็น อำเภอสะอาด ประเมินผลในระดับครัวเรือน  (  หน้าบ้านน่ามอง  ในบ้านน่าอยู่  หลังบ้านน่าดู ) เชิญชวนประชาชน รณรงค์ป้องกัน  โรคไข้เลือดออก ทั้ง 145 หมู่บ้าน

Breteau Index ( BI )  House Index (HI)  Container Index (CI)

งานควบคุมโรคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  ได้กำกับ ติดตาม ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย  เพื่อชี้วัดความเสี่ยงการเกิดไข้เลือดออกอย่างสม่ำเสมอ

           

Breteau Index (BI) คือจำนวนภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลายต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน

BI = (จำนวนภาชนะขังน้ำที่พบลูกน้ำยุงลาย ) x 100 หารด้วย จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด

Breteau Index เป็นค่าที่ดีที่สุดในการประมาณความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ให้ทราบจากภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในบ้าน 100 หลัง

 

HI สูง CI สูง = ชุมชนนี้มีปัญหามากโดยรวม

HI ต่ำ CI  ต่ำ = ชุมชนนี้มีปัญหาน้อยโดยรวม

HI สูง CI ต่ำ = ชุมชนนี้มีปัญหาทั่วไปกระจายทั้งชุมชน

HI ต่ำ CI สูง = ชุมชนนี้มีปัญหาเป็นบางจุดของ ชุมชน แก้ไขเฉพาะจุดได้

ทั้งนี้ หาก ค่า HI เกิน 10 หรือ ค่าBI เกิน 50ในพื้นที่ใด ให้ถือว่าพื้นที่นั้นเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

House Index (HI) คือ ร้อยละของบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย

HI = (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย ) x 100 หารด้วย จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด

Container Index (CI) คือ ร้อยละของภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย

CI = (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย ) x 100 หารด้วย จำนวนภาชนะที่สำรวจทั้งหมด

 

 


 

วิธีสำรวจ  Visual Larval Survey  ตามองค์การอนามัยโลก (WHO )

คือ จุดประสงค์ เพื่อ สำรวจและนับจำนวน ภาชนะที่มีน้ำขังว่า พบ หรือ ไม่พบ ลูกน้ำ

คำว่าพบลูกน้ำ คือ เพียง 1 ตัว ไม่ว่าพบระยะใดก็ตามให้ถือว่าพบ  ทั้ง ลูกน้ำ (larva) และ ตัวโม่ง (pupa)

 

         ทั้งนี้ ในชุมชนได้ช่วยเหลือกัน ตาม 5 1

เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งนอกจากการป้องกันโดยระวังอย่าให้ยุงกัดแล้ว สามารถป้องกันได้โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ด้วยวิธีต่างๆ ตาม 5 1ดังนี้

1 - ปิด ภาชนะเก็บกักน้ำให้มิดชิด ป้องกันการเข้าไปวางไข่ของยุงลาย

2 - เปลี่ยน น้ำในภาชนะต่างๆ อยู่เสมอๆ เพื่อไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงสามารถไปเพาะพันธุ์ได้

3 - ปล่อย ปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว

4 - ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมรอบข้างให้ปลอดโปร่ง ลมพัดผ่านได้ 

5 –เป็นนิสัย  ปฏิบัติตามทั้ง 4 ป ข้างตนอย่างเป็นประจำ เพื่อป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

สุดท้ายคือ 

ข - ขัด ขัดล้างไข่ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังให้หมด เพื่อกำจัดการเพาะพันธุ์และการวางไข่ของยุงลาย

No comments:

Post a Comment