2/19/08

ประชุมงานPPที่สสจ.ได้อังเปา จาก ท่านสุรพร







วัน ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 เช้า ผมพร้อมด้วย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นางจงจิต สร้อยจักร นักวิชาการสาธารณสุข 7 เข้าร่วม การประชุมการประเมินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และ งานคุณภาพบริการ ปีงบประมาณ 2551 ณ ห้องประชุมบั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ประธาน โดย นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
- ตัวชี้วัดเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพบริการ (Quality Surveillance Indicator)
- แนวทาง / เกณฑ์การจัดสรร งบกองทุนคุณภาพบริการ (Payment for Performance: P4P)
วาระก่อนการประชุม 1. ท่าน นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร มอบอังเปา ซองแดง แก่ ผู้เข้าร่วมประชุม ที่มาเซ็นต์ชื่อ เข้าร่วมประชุม ก่อนเพื่อน ตั้งแต่ 08.00 น. คือ คุณ อนัญญา เดชสุภา จาก รพ.กุดชุม และคุณ เสาวนีย์ แสนศรี พี่เชียงน้อย จาก โรงพยาบาลยโสธร
2. ตรวจ check รายชื่อผู้ร่วมประชุม ต่างๆ เช่น สาธารณสุขอำเภอ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงานการพยบาล จาก รพ.ต่างๆ เป็นต้น
ข้อคิดเพื่อการบริหาร
ข้อจำกัดทงการบริหาราชการคือ ระบบ 2 ขั้น คนทำงานดี จะได้ดีทุกคนเป็นไปไม่ได้ เช่น ทำงานดี 10 คน จะได้ 2 ขั้น ไม่เกิน 2 คน เป็นต้น ข้อเสียคือ ทำให้ คนที่ทำดีบางคนท้อแท้
ความตั้งใจ ของท่านคือ อยากจะใช้ RBM มาใช้ ในการประเมิน รวมทั้งใช้ ระบบ Performance ในการจัดสรร งบประมาณ ที่ไม่มีข้อจำกดัในการใช้ เช่น เงิน Bonus_UC เป็นต้น
จะจัดสรร 50-50 สำหรับ เหมาจ่ายรายหัว แ ละตาม Performance
50% ตาม Performance จะจัดสรร เป็น รางวัล สำหรับ อำเภอที่มีผลงานดี ลำดับที่ 1 2 3 รางวัลละ 500,000 300,000 200,000 เป็นต้น
ซึ่งหากเป็นไปตามแนวความคิดนี้ ถือว่า เป็นรูปแบบใหม่ ทางการจัดสรรงบประมาณ และเป็นการใช้ระบบคุณธรรมที่เป็นรูปธรรม ในเชิงการบริหาร
วิสัยทัศน์ ทางการบริหารหน่วยงาน ที่ประทับใจ ในการบริหารสาธารณสุข ระดับ อำเภอ คือ
วาทะที่นำไปใช้ได้ดี คือ “ประสิทธิภาพของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คือ ทำให้ ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอได้เป็น สาธารณสุขอำเภอ” ทั้งนี้ หมายถึงผู้ริหารทุกระดับ เพราะ หากผู้บริหารระดับรองของเราเก่ง หมายถึงเราก็เก่ง แล้เราจะสบายในการบริหารและการติดตามงาน
นพ.สจ.ตามงาน ตามจาก ผชช.ว.ผชช.ส. สสอ.ก็ตาม จาก ผช. บ. ผช. ว. ถือเป็นหลักในกาบริหารงาน ที่มีประสิทธิภาพ
ข้อคิด ในการรับการตรวจเยี่ยม ของผู้บริหาร ให้ หน.สอ. และ จนท.มารายงานความก้าวหน้าและตอบคำถาม ไม่ใช่ ไปชงกาแฟ ไปเตรียมอาหาร เป็นต้น
งานที่ต้องดำเนินการหังการประชุม
1.รายละเอียดราย Record ในแต่ละงาน ออกแบบงานให้เรียบร้อย
2. การติดจาม งปม.จาก กองทุน สุขภาพท้องถิ่น ใน 3 ตำบล กุดกุง กู่จาน สงเปือย
ว่าดั้ดทำแผนงาน โครงการไว้รองรับหรือไ ม่
3. การจัดสรรงบประมาณ 37.5 บาท ในภาพรวมของ อำเภอ สามารถบริหารในภาพรวมได้
สามารถใช้ ในโครงการในภาพรวมของอำเภอได้ เช่น การแก้ปัญหามะเร็งตับ เป็นต้น
การบันทึกผลงานทาง Internet ในงาน ส่งเสริมสุขภาพ เช่น วางแผนครอบครัว
ในกลุ่ม ข้าราชการ ประกันสังคม (Non_UC) ในปี 2551 ทุกสถานบริการ ต้องมีการบันทึกผลงานทั้งกลุ่ม UC และ Non_UC
หมายเหตุ สิ่งที่ภูมิใจ วนภาพรวมของทีมคำเขื่อนแก้ว ในวันี้คือ มี จนท.จากคำเขื่อนแก้ว สามารถบันทึกงานและตอบคำถาม ท่าน นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้ อังเปา ซองแดง 3 คน คือ นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ(วิชาการ) พัฒนาวดี การุณย์ และ นางจงจิต สร้อยจักร นักวิชาการสาธารณสุข 7 ....
แต่สิ่งที่ภาคภูมิใจมากที่สุดของผมวันนี้คือ โดยความตั้งใจแล้ว ซองแดงที่ได้รับจากท่าน นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ผมจะเก็บไว้เป็นที่ระลึก แต่เมื่อได้เห็นน้องต้อย แฟนของอี๋ รักศักดิ์ ทอมูล ผมได้ฝากสิ่งที่ผมประทับมจที่ได้จากท่าน นพ.สสจ. เป็นฝาก เป็นของขวัญ ให้กับ น้องรักศักดิ์ ทองมูล ที่ปัจจุบัน กำลังไม่สบาย


No comments:

Post a Comment