วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2551 วันเข้าพรรษา .... คุณธรรม นำชีวิต ปฏิบัติดี เพื่อความดี สำหรับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และ ประเทศชาติ วันนี้ฤกษ์ดี ผม งดเหล้า เข้าพรรษา ...จะไดอานิสงค์ใดบ้าง ...เพื่อนๆลองดูนะครับ ขอชื่นชม สกู๊ปจากไทยรัฐ ที่เขียนบทความดีมาก ดังนี้..
ปฏิบัติกันอยู่บ้างแล้วในอดีตที่ผ่านมา สำหรับการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” จนมาปีนี้ ปี พ.ศ. 2551 ครม. รัฐบาลปัจจุบัน สมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบตามที่เครือข่ายภาคประชาชนยื่นหนังสือขอให้พิจารณากำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” อย่างเป็นทางการ ซึ่งแม้จะมิใช่การบังคับ แต่ก็ถือเป็นเรื่องดีมากอีกเรื่องหนึ่งเพราะสุรา-น้ำเมาต่าง ๆ นั้นมีพิษภัยหลายด้าน แม้มิใช่สิ่งผิดกฎหมายโดยตรง...แต่ก็ใช่ว่าดี !!
ทั้งนี้ กับชาวพุทธ ในด้าน “ศีล-ธรรม” สุรา-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น การดื่มถือเป็นการผิดศีลพื้นฐาน-ศีล 5 ในข้อที่ 5 คือสุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ของมึนเมา อันเป็นสิ่งเสพติดให้โทษ ซึ่งทางพระท่านว่าการดื่มสุรามีผลร้าย 2 แบบคือ...1. ผลในปฏิสนธิกาล เกิดในนรก, ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย และ 2. ผลในปวัตติกาล ถ้าเกิดเป็นคนแล้วจะรับผล 6 ประการหลัก ๆ คือ ทรัพย์ถูกทำลาย เกิดวิวาทบาดหมาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เสื่อมเกียรติ หมดยางอาย ปัญญาเสื่อมถอยหรือพิการทางปัญญา
ถ้าไม่ดื่ม ผลดีมีอย่างน้อย ๆ ก็ตั้ง 35 ประการหลัก ๆ คือ...รู้กิจการ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้รวดเร็ว, มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ, มีปัญญาดี มีความรู้มาก, มีแต่ความสุข, มีแต่คนนับถือยำเกรง, มีความขวนขวายน้อยหากินง่าย, มีปัญญามาก, มีปัญญาบันเทิงในธรรม, มีความเห็นถูกต้อง, มีศีลบริสุทธิ์, มีใจละอายแก่บาป, รู้จักกลัวบาป, เป็นบัณฑิต, มีความกตัญญู, มีกตเวที, พูดแต่ความสัตย์, รู้จักเฉลี่ยเจือจาน, ซื่อตรง, ไม่เป็นบ้า, ไม่เป็นใบ้, ไม่มัวเมา, ไม่ประมาท, ไม่หลงใหล, ไม่หวาดสะดุ้งกลัว, ไม่บ้าน้ำลาย, ไม่งุนงง ไม่เขรอะขระ, ไม่มีความแข่งดี, ไม่มีริษยาใคร, ไม่ส่อเสียดใคร, ไม่พูดหยาบ, ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ-ไร้ประโยชน์, ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน, ไม่ตระหนี่, ไม่โกรธง่าย, ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และโทษ ซึ่งทั้งหมด “ล้วนเป็นสิ่งดีต่อการดำรงชีวิต”
จากด้านของศีล-ธรรม ผลจากการดื่ม-ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นส่งผลเกี่ยวเนื่องร้าย-ดีไปยังด้านอื่น ๆ ทุกด้าน ซึ่งหากจะขยายความให้เห็นกันชัด ๆ อีกสัก 4 ด้าน ก็เช่น...ด้าน “สังคม” ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน ต่อเนื่องไปถึงระดับประเทศชาติ การไม่ดื่ม-ไม่ติดเครื่องดื่มมึนเมา ย่อมนำสุขมาสู่ชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัวในแง่มุมต่าง ๆ มีความอบอุ่นเป็นสุขในครอบครัว ครอบครัวไม่เป็นทุกข์ ไม่แตกแยก ลูกเต้า-คู่ชีวิตไม่ลำบาก ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน-สังคม เป็นต้น แต่ถ้าเป็น “ขี้เมาหยำเป” ผลที่เกิดก็ตรงกันข้าม “มีแต่ที่แย่ ๆ”
“เศรษฐกิจ” ในด้านนี้ การไม่ดื่มน้ำเมาก็ไม่ต้องเสียเงิน มีเงินนำไปใช้สร้างประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว ส่งผลดีต่อเนื่องไปถึงชุมชน สังคม ประเทศชาติ แต่ถ้าดื่ม-ถ้าติดมัน...ก็ตรงกันข้าม
ด้าน “กฎหมาย” ยุคนี้-เดี๋ยวนี้ก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มมึนเมาในหลายประการ ซึ่งกับตัวผู้ดื่มเองนั้น “ถ้าเลิกได้-ไม่ดื่มได้ อย่างน้อย ๆ ที่จะดีก็คือไม่สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย” โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายน้ำเมา พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับโทษของผู้ดื่มโดยฝ่าฝืนกฎหมายนั้นคือ “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ตามมาตรา 42 หากเป็นการดื่มโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ของพระราชบัญญัติ
มาตรา 31 นั้น เนื้อหาก็คือ...ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้ (1) วัด หรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธี กรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา (2) สถานบริการ สาธารณสุข ของรัฐ สถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และ ร้านขายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล (3) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี (4) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (5) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (6) สวนสาธารณะ ของทางราชการที่จัดไว้ เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป (7) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ นักดื่มทั้งหลายสังวรมาตรานี้ไว้ให้จงดี !!
อีกด้านที่ก็มีการรณรงค์กันมานานแล้วคือด้าน “สุขภาพ” ซึ่งว่ากันอย่าง กระชับเลยก็คือ “การดื่มเครื่องดื่มมึนเมานั้นในทางการแพทย์ยืนยันได้ชัดเจนแน่นอนเลยว่า ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้มากกว่า 60 โรค” ส่งผลเสียทั้งกับสุขภาพจิต ที่บางรายถึงขั้นบ้า หรือฆ่าตัวตาย ส่งผลเสียทั้งกับสุขภาพกาย ที่รวมถึงโรคร้ายแรงสารพัด เช่น มะเร็งต่าง ๆ โรคหัวใจ ฯลฯ ตลอดจนการบาดเจ็บล้มตายเพราะเมาแล้วเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การบาดเจ็บล้มตายเพราะเกิด อุบัติเหตุ จากการใช้ยานพาหนะขณะมึนเมา
ทั้งนี้และทั้งนั้น ว่ากันเฉพาะ 5 ด้านหลัก ๆ ที่ว่ามาข้างต้นซึ่งมีความเกี่ยวพันกันกับการ “ดื่ม-ไม่ดื่มน้ำเมา” กับ “ผลร้าย-ผลดี” จะเกิดขึ้น ก็มีอะไรที่สำคัญ ๆ มากมายจนเกินกว่าจะสาธยายได้หมด-โดยละเอียด
แต่สรุปแล้วก็คือถ้า “งด-ลด-เลิก” ได้...ย่อมมีคุณอนันต์ หากใครยังทำไม่ได้...ก็ “เข้าพรรษา” นี่ไง “ฤกษ์ขลัง” ที่จะ “หันหลังให้น้ำเมา” ที่เป็น...น้ำเสียทำลายชีวิต !!!.
ปฏิบัติกันอยู่บ้างแล้วในอดีตที่ผ่านมา สำหรับการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” จนมาปีนี้ ปี พ.ศ. 2551 ครม. รัฐบาลปัจจุบัน สมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบตามที่เครือข่ายภาคประชาชนยื่นหนังสือขอให้พิจารณากำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” อย่างเป็นทางการ ซึ่งแม้จะมิใช่การบังคับ แต่ก็ถือเป็นเรื่องดีมากอีกเรื่องหนึ่งเพราะสุรา-น้ำเมาต่าง ๆ นั้นมีพิษภัยหลายด้าน แม้มิใช่สิ่งผิดกฎหมายโดยตรง...แต่ก็ใช่ว่าดี !!
ทั้งนี้ กับชาวพุทธ ในด้าน “ศีล-ธรรม” สุรา-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น การดื่มถือเป็นการผิดศีลพื้นฐาน-ศีล 5 ในข้อที่ 5 คือสุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ของมึนเมา อันเป็นสิ่งเสพติดให้โทษ ซึ่งทางพระท่านว่าการดื่มสุรามีผลร้าย 2 แบบคือ...1. ผลในปฏิสนธิกาล เกิดในนรก, ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย และ 2. ผลในปวัตติกาล ถ้าเกิดเป็นคนแล้วจะรับผล 6 ประการหลัก ๆ คือ ทรัพย์ถูกทำลาย เกิดวิวาทบาดหมาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เสื่อมเกียรติ หมดยางอาย ปัญญาเสื่อมถอยหรือพิการทางปัญญา
ถ้าไม่ดื่ม ผลดีมีอย่างน้อย ๆ ก็ตั้ง 35 ประการหลัก ๆ คือ...รู้กิจการ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้รวดเร็ว, มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ, มีปัญญาดี มีความรู้มาก, มีแต่ความสุข, มีแต่คนนับถือยำเกรง, มีความขวนขวายน้อยหากินง่าย, มีปัญญามาก, มีปัญญาบันเทิงในธรรม, มีความเห็นถูกต้อง, มีศีลบริสุทธิ์, มีใจละอายแก่บาป, รู้จักกลัวบาป, เป็นบัณฑิต, มีความกตัญญู, มีกตเวที, พูดแต่ความสัตย์, รู้จักเฉลี่ยเจือจาน, ซื่อตรง, ไม่เป็นบ้า, ไม่เป็นใบ้, ไม่มัวเมา, ไม่ประมาท, ไม่หลงใหล, ไม่หวาดสะดุ้งกลัว, ไม่บ้าน้ำลาย, ไม่งุนงง ไม่เขรอะขระ, ไม่มีความแข่งดี, ไม่มีริษยาใคร, ไม่ส่อเสียดใคร, ไม่พูดหยาบ, ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ-ไร้ประโยชน์, ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน, ไม่ตระหนี่, ไม่โกรธง่าย, ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และโทษ ซึ่งทั้งหมด “ล้วนเป็นสิ่งดีต่อการดำรงชีวิต”
จากด้านของศีล-ธรรม ผลจากการดื่ม-ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นส่งผลเกี่ยวเนื่องร้าย-ดีไปยังด้านอื่น ๆ ทุกด้าน ซึ่งหากจะขยายความให้เห็นกันชัด ๆ อีกสัก 4 ด้าน ก็เช่น...ด้าน “สังคม” ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน ต่อเนื่องไปถึงระดับประเทศชาติ การไม่ดื่ม-ไม่ติดเครื่องดื่มมึนเมา ย่อมนำสุขมาสู่ชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัวในแง่มุมต่าง ๆ มีความอบอุ่นเป็นสุขในครอบครัว ครอบครัวไม่เป็นทุกข์ ไม่แตกแยก ลูกเต้า-คู่ชีวิตไม่ลำบาก ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน-สังคม เป็นต้น แต่ถ้าเป็น “ขี้เมาหยำเป” ผลที่เกิดก็ตรงกันข้าม “มีแต่ที่แย่ ๆ”
“เศรษฐกิจ” ในด้านนี้ การไม่ดื่มน้ำเมาก็ไม่ต้องเสียเงิน มีเงินนำไปใช้สร้างประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว ส่งผลดีต่อเนื่องไปถึงชุมชน สังคม ประเทศชาติ แต่ถ้าดื่ม-ถ้าติดมัน...ก็ตรงกันข้าม
ด้าน “กฎหมาย” ยุคนี้-เดี๋ยวนี้ก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มมึนเมาในหลายประการ ซึ่งกับตัวผู้ดื่มเองนั้น “ถ้าเลิกได้-ไม่ดื่มได้ อย่างน้อย ๆ ที่จะดีก็คือไม่สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย” โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายน้ำเมา พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับโทษของผู้ดื่มโดยฝ่าฝืนกฎหมายนั้นคือ “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ตามมาตรา 42 หากเป็นการดื่มโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ของพระราชบัญญัติ
มาตรา 31 นั้น เนื้อหาก็คือ...ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้ (1) วัด หรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธี กรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา (2) สถานบริการ สาธารณสุข ของรัฐ สถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และ ร้านขายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล (3) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี (4) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (5) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (6) สวนสาธารณะ ของทางราชการที่จัดไว้ เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป (7) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ นักดื่มทั้งหลายสังวรมาตรานี้ไว้ให้จงดี !!
อีกด้านที่ก็มีการรณรงค์กันมานานแล้วคือด้าน “สุขภาพ” ซึ่งว่ากันอย่าง กระชับเลยก็คือ “การดื่มเครื่องดื่มมึนเมานั้นในทางการแพทย์ยืนยันได้ชัดเจนแน่นอนเลยว่า ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้มากกว่า 60 โรค” ส่งผลเสียทั้งกับสุขภาพจิต ที่บางรายถึงขั้นบ้า หรือฆ่าตัวตาย ส่งผลเสียทั้งกับสุขภาพกาย ที่รวมถึงโรคร้ายแรงสารพัด เช่น มะเร็งต่าง ๆ โรคหัวใจ ฯลฯ ตลอดจนการบาดเจ็บล้มตายเพราะเมาแล้วเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การบาดเจ็บล้มตายเพราะเกิด อุบัติเหตุ จากการใช้ยานพาหนะขณะมึนเมา
ทั้งนี้และทั้งนั้น ว่ากันเฉพาะ 5 ด้านหลัก ๆ ที่ว่ามาข้างต้นซึ่งมีความเกี่ยวพันกันกับการ “ดื่ม-ไม่ดื่มน้ำเมา” กับ “ผลร้าย-ผลดี” จะเกิดขึ้น ก็มีอะไรที่สำคัญ ๆ มากมายจนเกินกว่าจะสาธยายได้หมด-โดยละเอียด
แต่สรุปแล้วก็คือถ้า “งด-ลด-เลิก” ได้...ย่อมมีคุณอนันต์ หากใครยังทำไม่ได้...ก็ “เข้าพรรษา” นี่ไง “ฤกษ์ขลัง” ที่จะ “หันหลังให้น้ำเมา” ที่เป็น...น้ำเสียทำลายชีวิต !!!.
No comments:
Post a Comment