5/16/09

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒

วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 สรุปและศึกษา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารงานภายใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และ สถานีอนามัย ทุกแห่งต่อไป
สรุป รายการที่เปลี่ยนแปลง จาก
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๒
……
การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อและการจ้าง
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๓๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติ
เบื้องต้น ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอย่างน้อยห้าคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความ รับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และในจำนวนนี้ต้องมีผู้ชำนาญการในเรื่องที่จัดซื้อหรือ จัดจ้างนั้นอย่างน้อยหนึ่งคน”
สรุป ไม่จำกัดระดับของข้าราชการ แต่ยังต้องแต่งตั้งข้าราชการเป็นคณะกรรมการ รวมอย่างน้อยหกคน
(แต่งตั้งลูกจ้างไม่ได้)
....ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป....เดิม ข้อ ๓๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน
โดยให้แต่งตั้งจาก ข้าราชการระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
และจะต้องมีผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย ๑ คน

การซื้อการจ้าง หมวดกรรมการ
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๓๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๕ คณะกรรมการตามข้อ ๓๔* แต่ละคณะ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย
หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการ ด้วยก็ได้”

ไม่จำกัดระดับของข้าราชการ ( ลูกจ้างไม่ได้)

* ข้อ ๓๔ มีรายละเอียดคือ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลา ในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
(๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
(๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(๔) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
(๕) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
(๖) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
(๗) คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ให้คณะกรรมการแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณา ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็น

….ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิมข้อ ๓๕ คณะกรรมการตามข้อ ๓๔ แต่ละคณะให้ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคล ที่มิใช่ข้าราชการ ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งข้าราชการ ที่มีคุณสมบัติ ดังกล่าวข้างต้น ทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน

การจ้างที่ปรึกษา การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย กรรมการ
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘๐ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๘๐ คณะกรรมการตามข้อ ๗๙ ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น
อย่างน้อยสี่คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ
โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ในกรณีจำเป็นหรือ
เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทนจากส่วนราชการอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ
ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาอีกไม่เกินสองคนเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทนจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะด้วยหนึ่งคน”

......ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิม ข้อ ๘๐ คณะกรรมการ ตามข้อ ๗๙ ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการ อย่างน้อย ๔ คน โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัด ตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทน จากส่วนราชการอื่น หรือบุคคล ที่มิใช่ข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษา เป็นกรรมการด้วย และในกรณี การจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทน จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ด้วย ๑ คน …….

การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การจ้างโดยวิธีตกลง
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๙๘ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลงแต่ละครั้ง ให้หัวหน้า
ส่วนราชการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และอาจมีผู้ชำนาญการในกิจการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าวต้องมี จำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้”
....ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิมข้อ ๙๘ ในการดำเนินการ จ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยวิธีตกลง แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลง ขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้ เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๑ คน และควรมี ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนี้ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
คณะกรรมการดังกล่าว ต้องมีจำนวน ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้ …..
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การจ้างโดยวิธีคัดเลือก
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๑๐๑ แห่งระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการรับซองเสนองาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอย่างน้อย
สองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ
โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น
อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน
ของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และอาจมี
ผู้ชำนาญการในการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย”
.......ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิม ข้อ ๑๐๑ ….คณะกรรมการรับซองเสนองาน ให้ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน คณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก ให้ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน และควรมี ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนี้ เข้าร่วมด้วย
คณะกรรมการ ดังกล่าวในข้อนี้ ต้องมีจำนวน ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้ …..
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
การตรวจและรับมอบงาน
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๑๑๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น
อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน
ของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และอาจมี
ผู้ชำนาญการในกิจการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย”
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
จนกว่าจะแล้วเสร็จ
....ข้อความเดิมที่ยกเลิกไป.... เดิม ข้อ ๑๑๖ ในการจ้าง ออกแบบและควบคุมงานแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน เพื่อปฏิบัติการ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน
ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน และควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าว ต้องจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้ …
ฉบับอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕ เพิ่มเติม 1 ข้อ คือ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ในข้อ 18 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
พัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
"(6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด"
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่เปลี่ยนแปลงคือ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" ในข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตร ี ว่าด้วยการพัสด ุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ข้อวามตอ่ ไป
นี้แทน
""โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" หมายความว่า โรงงานที่ได้รับการ
รับรองระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๙๐๐๑ หรือ มอก. ๙๐๐๒ ในกิจการและ
ขอบข่าย ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือหน่วยงานที่กระทรวงอุตสหกรรมให้การรับรองระบบงาน (accreditation)"
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทาง...ทั้งนี้ควรดูจากต้นฉบับจริงด้วย
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.tu.ac.th/internet/ref/regulations/gbid/
นิติกร ประจำสำนักงานของท่าน หรือ สำนักนายกรัฐมนตรีครับ...555
http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/

No comments:

Post a Comment