6/26/09
95 ปี สถานีอนามัย: ทศวรรษใหม่กับการเปลี่ยนแปลง
วันที่ 18 มิถุนายน 2552 : ประชุมที่โคราช “95 ปี สถานีอนามัย: ทศวรรษใหม่กับการเปลี่ยนแปลง”
ภาคเช้า เพื่อเข้าร่วมการประชุมวิชาการ ซึ่ง สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข จัดโครงการประชุมวิชาการ “95 ปี สถานีอนามัย: ทศวรรษใหม่กับการเปลี่ยนแปลง” ครั้งที่ 3 เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายระดมความคิดเห็นร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ระหว่างวันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2552 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา มีจนท.จาก สถานีอนามัย ในภาค อีสานเข้าร่วมประชุม ประมาณ 1,600 คน ประธานการประชุม โดย ท่านไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขและคณะ ซึ่ง บุคคล สำคัญ ที่จัดให้มีงานนี้ขึ้น นำโดย ท่านไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขและคณะ อาทิเช่น คุณทัศนีย์ บัวคำ อุปนายกคนที่ 1 และกรรมการ รวมทั้ง ที่ปรึกษา สมาคม เช่น นายสามัคคี เดชกล้า นายแพทย์พูนชัน จิตอนัตวิทยา นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรร่วม เช่น รศ.ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท่านพิเชษฐ์ พัฒนโชติ ประธานที่ปรึกษา ฯพณฯวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น และ ท่านวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรร่วม ในการเสวนา ครั้งนี้ด้วย สรุป: ในวันนี้ เป็นเนื้อหาการประชุมที่ดีมาก ในการหาแนวทางร่วมกัน ที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้กับ สถานีอนามัย และติดดาวุธทางปัญญา รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ สถานีอนามัย โดยการ เดินหน้า ผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ และ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข
เหตุผล : โดยที่เป็นการสมควรพัฒนาให้มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยและการเกิดโรค ด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค และการอนามัยสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืนของประชาชน โดยการจัดตั้งสภาวิชาชีพการสาธารณสุขขึ้น เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการประกอบวิชาชีพ กำหนดมาตรฐานจริยธรรมและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ และควบคุมมิให้มีการแสวงหาประโยชน์มิชอบจากบุคคลซึ่งมีความรู้ไม่เพียงพอ อันจะก่อให้เกิดภัยและความเสียหายต่อสุขภาพของบุคคลและชุมชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment