29สค.2559ประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ณ
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่28-30สิงหาคม2559 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และ คณะ รายงานตัวเข้าร่วม ประชุมวิชาการสาธารณสุขประจำปี 2559 ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติฉลองสิราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
“ภายใต้ชื่องาน
ปฏิรูประบบสุขภาพไทย ประชารัฐร่วมใจ ชาวไทยสุขภาพดี”
พิธีเปิด วันที่29สิงหาคม2559 ประธานในงานโดย
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล
สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
โดยนายสาธิต ธรรมประดิษฐ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นำผู้บริหารระดับต่างๆร่วมต้อนรับ
วิทยากรหลัก โดย
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อำนวยการจัดงาน โดย ดร.ปรเมษฐ์
จินา ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และคณะ
ขอแสดงความยินดี กับ หน่วยงานที่ได้รับ โล่ รางวัลพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานให้ ตามโครงการ ประชุมวิชาการ
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิ
และประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยประจำปี
2559 อาทิเช่น
รางวัล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่น
ระดับประเทศ
ภาคเหนือ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
ท่าสองยาง จังหวัดตาก
ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอ ดีเด่น
โดย นายประเสริฐ สอนเจริญทรัพย์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กันทรลักษณ์
จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอ ดีเด่น โดย นายปัญญา
พละศักดิ์
ภาคกลาง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอ ดีเด่น โดย นายศุภกร
สุขประสิทธิ์
ภาคใต้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ไชยา
จังหวัด สุราษฎร์ธานี
ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอ ดีเด่น โดย นายสัมพันธ์
กลิ่นนาค
รางวัล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ดีเด่น ระดับประเทศ
ภาคเหนือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัด
สุโขทัย
ผู้บริหารสาธารณสุขระดับตำบล ดีเด่น โดย นายอัศวิน
ลิ้มฤกษ์ลำรึก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แร่ อำเภอ พังโคน
จังหวัด สกลนคร
ผู้บริหารสาธารณสุขระดับตำบล ดีเด่น โดย นางสุพรรณี
หน่อแก้ว
ภาคกลาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
กุดเวียน อำเภอตาพระยา จังหวัด สระแก้ว
ผู้บริหารสาธารณสุขระดับตำบล ดีเด่น โดย นางบำรุงรัตน์
เพ็ชรพรม
ภาคใต้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บางโงยซิแน
อำเภอยะหา จังหวัด ยะลา
ผู้บริหารสาธารณสุขระดับตำบล ดีเด่น โดย นายอโนชา
เหละดุหวี
ทั้งนี้ จังหวัดยโสธร ได้รับ โล่รางวัล ระดับ
จังหวัด 2 รายการ คือ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
ทรายมูล จังหวัด ยโสธร
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัด ยโสธร
ขอแสดงความยินดี..กับทีมงาน
สสอ.ทรายมูล และ รพ.สต.ตาดทอง
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข มอบโล่ หน่วยงานดีเด่น ให้กับ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สสอ.ทรายมูล และ
รพ.สต.ตาดทอง ในเวทีวิชาการระดับประเทศ ณ หอประชุมนานาชาติ หาดใหญ่ จ.สงขลา
29 สค.2559
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
และภาคีเครือข่ายต่างๆด้านสุขภาพ
ได้จัดประชุมวิชาการขึ้น ในระหว่าง วันที่
๒๘ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบริการสุขภาพในระดับอำเภอและตำบล
รวมทั้งร่วมรับทราบนโยบายและศาสตร์ในการบริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลงานวิชาการ และ นวตกรรมงานสาธารณสุขในระดับประเทศ มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ กว่า 5,000 คน
สรุป ข้อมูลบางส่วน จากการประชุม
สรุป ข้อมูลบางส่วน
จากการประชุม อาทิเช่น ประธานกล่าวในงาน ...
Change การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา เราต้องฉลาดที่จะอยู่และเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง พายุ ที่พัดเข้ามา ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นการเปลี่ยนแปลง
เมื่อพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดมา หลายคนสร้างกำแพง บางคนขุดหลุมหลบภัย
บางคนสร้างกังหันลม ที่ผ่านมาคนไทยต้องขอบคุณ หมออนามัย ในตำบล อำเภอ
ที่ได้ร่วมกัน ก่อ ต่อ สร้าง กังหันลม เพื่อสร้างสุขภาพ
ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และเราหมอนามัย
ยังจะร่วมกันสร้างสุขภาพเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ในอดีตมีคนเปรียบ
หมออนามัยในระดับตำบล อำเภอ เป็นกระดูกสันหลัง ของระบบสุขภาพไทย เพราะ เป็นคนทำ กระดูกสันหลัง
คือ สั่งให้มือทำงาน จนมีวลีว่า คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด เมื่อต้นปี2559 ผมจึงให้ทั้งคนทำคนคิดมาร่วมกันทำงานร่วมกันกำหนดทิศทางร่วมกัน
เอาตัวแทนเขต ละ 5 คน หรือ 5 เสือ
ในแต่ละเขตมาร่วมกันกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาตร์
และค่านิยมหลัก ร่วมกัน กับนักวิชาการและผู้บริหารในกระทรวงฯ (ตัวแทนเขต ละ 5
คน ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล)
จึงได้ออกมาเป็น
วิสัยทัศน์ Vision กระทรวงสาธารณสุข เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพ ที่รวมพลังสังคม
เพื่อประชาชนสุขภาพดี
พันธกิจ Mission พัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพ อย่างมีส่วนร่วม และยั่งยืน
เป้าประสงค์ Intention(Goal)
ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ Strategy
กำหนด 4 Excellence Strategies หรือ 4 ดี
ค่านิยม (Core
Value) และ แนวทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย MOPH
ค่านิยมองค์กร (core
value): MOPH
M: Mastery ฝึกฝนตนเองให้มีศักยภาพสูงสุด
(ควบคุมตนเองให้ทำงาน คิด พูด อย่างมีสติ ใช้กิริยาวาจาเหมาะสม
มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม รักการเรียนรู้
ค้นหาความรู้สม่ำเสมอ มีวินัย ตรงต่อเวลามีความรับผิดชอบ)
O: Originality สร้างสรรค์
นวัตกรรม สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพ
P: People-centered approach ยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง เป็นศูนย์กลางในการทำงาน
H: Humility
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน การเคารพผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รู้แพ้ รู้ชนะ
เปิดใจกว้างรับฟังความเห็นต่าง จัดการความขัดแย้งด้วย
วิธีสร้างสรรค์
ช่วยผู้อื่นแก้ปัญหาในยามคับขัน
รายละเอียดตามเอกสารตามที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น
...
ซึ่ง จาก group line มี
ผู้ที่ประพันธ์ ค่านิยม (Core
Value) ไว้เป็นบทกลอน ที่ประทับใจ คือ
นพ.พิเชษฐ์ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ความว่า
Mastery มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
Originality ผู้สร้าง ทางสดใส
People จัดวาง ไว้กลางใจ
Humility น้อมให้ ไหว้ ถ่อมตน ( ต้นฉบับของท่าน คือ น้อมให้ ได้ ถ่อมตน)
ในเวทีนี้ ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ
นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เน้นย้ำความสำคัญของ
ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน หรือ 4 Excellence Strategies หรือ 4 ดี
ซึ่ง คือ 4
Excellence Strategies ที่จะนำองค์กรหรือกระทรวงสาธารณสุขไปข้างหน้า
หรือ ความเป็นเลิศ
4 ด้าน (4
Excellences)
ดีที่ 1. ประการแรกที่สำคัญที่สุดคือ คือ
1) Prevention Promotion and Protection : P&P Excellence เน้นในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของทุกกลุ่มวัย
ซึ่ง ผู้ที่มีส่วนให้เกิด Excellence นี้ได้ดีที่สุดคือ
พวกเราที่ทำงาน
ในระดับ ตำบล อำเภอ
ดี ประการที่สอง คือ 2)
Service Excellence เน้นการบริการที่เป็นเลิศ
ดี ประการที่สาม คือ 3)
People Excellence คนของเราต้องเป็นเลิศ ซึ่ง ข้อนี้หากคนเป็นเลิศ
ก็จะส่งผลต่อ 3 ดี ที่เหลือ ให้เป็นเลิศได้ เสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
และ ดีประการที่สี่ 4)
Governance Excellence ก็คือ บริหารจัดการที่เป็นเลิศ
“ที่สำคัญ ขอให้พวกเราทุกคนเข้าใจคำว่า
Excellence ก่อนนะครับ Excellence ไม่ใช่
Complement
ที่มีความหมายว่าทำให้ครบทำให้สมบูรณ์เท่านั้นนะครับ
และ Excellence ก็ไม่ใช่ได้เพียงตาม
เป้าประสงค์ แล้วบอก
Excellence องค์กรไหนบอกว่าได้ Complement ตามเป้าประสงค์
แล้วบอก
Excellence องค์กรนั้นไม่หมดความเป็น
Excellence เพราะว่าหยุดทำ”
“Excellence คือ
Performance ที่เป็น เค้าเรียกว่า ever on board ที่จะพัฒนาตัวเอง พัฒนาองค์กร
ไปอยู่ตลอดเวลา นั้นคือเป็น
Excellence ตลอด นั่นคือ Excellence ever on board ตลอดที่จะพัฒนา
ตลอดไปเรื่อยๆ นั่นก็คือความหมายที่ไปกันมาทั้งหมดนี่นะครับ
ตั้งแต่ตั้งกระทรวงสาธารณสุขมา พึ่งเกิดในปี
2559 ที่มีการจัดทำค่านิยมของบุคลากรสาธารณสุขเป็นครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับทิศทางการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม
เศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งในอนาคต นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะได้นำ เอา ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน หรือ 4 Excellence Strategies หรือ 4 ดี นี้ไปแปลงเป็น PA กับ ท่าน นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหา ฉบับร่าง PAปี2560 รมว.สธ. กับ ปลัด สธ.
1. PP Excellent
1. การส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย.
1.1. ดูแลพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
1.2. ดูแล LTC. ในผู้สูงอายุ
2. การป้องกันควบคุมโรค
2.1. โรคติดต่อ ตามยุทธศาสตร์โรคอุบัติใหม่ และควบคุมTB
2.2. โรคไม่ติดต่อNCD ตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย เป้าหมายที่ อาหาร ออกกำลังกาย อ้วน ภัยอื่นๆเช่น RTI
3. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงฯ คุ้มครองผู้บริโภค
3.1. Food Safety
4. การดูแลสิ่งแวดล้อม
4.1. Green and Clean Hospital เตรียมรองรับ100ปี การสาธารณสุขไทย
2. Service Excellent
5. PCC คลินิกหมอครอบครัว
6. Service Plan
6.1. ลดตาย โรค STEMI. Stroke. CA
6.2. ลดป่วย โรค. CKD. CVD. OV/CCA
6.3. การใช้ยา RDU/AMR/ยาสมุนไพรไทย
7. การพัฒนางานการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจร. พัฒนาER. EOC
8. การพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล. HA. รพสต. ติดดาว
3. People Excellent
9. การพัฒนาบุคลากร ให้มีค่านิยมMOPH
4. Governance Excellent
10. ธรรมาภิบาล. ไม่มีทุจริตคอรับชั่น. ITA
11. ระบบข้อมูลข่าวสาร. ระบบเฝ้าระวัง. ระบบบริการ. ระบบสนับสนุน
12. ระบบการเงิน. ไม่มีรพระดับ7
13. การศึกษาวิจัยผลิตนวัตกรรม. ประเทศไทย4.0
14. การพัฒนากฎหมายที่จำเป็น
14.1. การพัฒนากฎหมาย
14.2. การบังคับใช้กฎหมาย เช่น พรบ. อำนวยความสะดวก
...การบริหารเงินงบประมาณ. จัดให้ รพสตได้รับงบประมาณขั้นต่ำ(Fixed Cost)ตามอัตราที่ได้แจ้งเวียนไปแล้ว.
เนื้อหา ฉบับร่าง PAปี2560 รมว.สธ. กับ ปลัด สธ.
1. PP Excellent
1. การส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย.
1.1. ดูแลพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
1.2. ดูแล LTC. ในผู้สูงอายุ
2. การป้องกันควบคุมโรค
2.1. โรคติดต่อ ตามยุทธศาสตร์โรคอุบัติใหม่ และควบคุมTB
2.2. โรคไม่ติดต่อNCD ตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย เป้าหมายที่ อาหาร ออกกำลังกาย อ้วน ภัยอื่นๆเช่น RTI
3. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงฯ คุ้มครองผู้บริโภค
3.1. Food Safety
4. การดูแลสิ่งแวดล้อม
4.1. Green and Clean Hospital เตรียมรองรับ100ปี การสาธารณสุขไทย
2. Service Excellent
5. PCC คลินิกหมอครอบครัว
6. Service Plan
6.1. ลดตาย โรค STEMI. Stroke. CA
6.2. ลดป่วย โรค. CKD. CVD. OV/CCA
6.3. การใช้ยา RDU/AMR/ยาสมุนไพรไทย
7. การพัฒนางานการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจร. พัฒนาER. EOC
8. การพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล. HA. รพสต. ติดดาว
3. People Excellent
9. การพัฒนาบุคลากร ให้มีค่านิยมMOPH
4. Governance Excellent
10. ธรรมาภิบาล. ไม่มีทุจริตคอรับชั่น. ITA
11. ระบบข้อมูลข่าวสาร. ระบบเฝ้าระวัง. ระบบบริการ. ระบบสนับสนุน
12. ระบบการเงิน. ไม่มีรพระดับ7
13. การศึกษาวิจัยผลิตนวัตกรรม. ประเทศไทย4.0
14. การพัฒนากฎหมายที่จำเป็น
14.1. การพัฒนากฎหมาย
14.2. การบังคับใช้กฎหมาย เช่น พรบ. อำนวยความสะดวก
...การบริหารเงินงบประมาณ. จัดให้ รพสตได้รับงบประมาณขั้นต่ำ(Fixed Cost)ตามอัตราที่ได้แจ้งเวียนไปแล้ว.
ค่าตอบแทนฉบับที่ 11 12
กระทรวงได้มีนโยบายให้ใช้เงินงบประมาณสำหรับรพสต. เป็นลำดับแรก 100%
เสนอปรับแก้ไขระเบียบเพื่อให้สาสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอสามารถรับเงินส่งเสริมป้องกันไปบริหารจัดการได้และให้DHSBบริหารเงินในพื้นที่นำร่อง 73 อำเภอจำนวน 14 บาทต่อหัวประชากร
อื่นๆ..
Change การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา
หรือภาษาพระเรียกว่า อนิจจัง
ไดโนเสาร์ ครองโลกเมื่อ140
ล้านปี แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ สามเหตุหนึ่งคือไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
100 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ ครองโลก เดิมมีความเชื่อกันว่าโลกแบน
ผู้ที่มีความคิดอย่างอื่นจะถูกเพ็งเล็งว่า
เป็นผู้ต่อต้านศาสนา
หลายคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ เช่น กาลิเลโอ ต้องพยายามเก็บความเชื่อของตนเองไว้
กว่าจะเป็นที่ยอมรับกันก็อีกหลายสิบปีต่อมา
ด้านอาวุธ เดิมเราเคยรบราฆ่าฟัน ทำสงความกันโดยใช้อาวุธที่ล้าสมัย
เช่น หอก ดาบ ง้าว
หรือหากจะนึกไปถึงพระขรรค์
ตรี จักร ก็ไม่เป็นเรื่องแปลก แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นสงครามกดปุ่มแทน
การเดินทางที่เชื่องช้า ด้วยพาหนะโบราณ หมดสิ้นไป เหลืออยุ๋เพียงในความคิดและความทรงจำของคนรุ่นเก่าๆ
เพราะถูกทดแทนโดยสิ่งที่รวดเร็วกว่า ทันสมัยกว่า ทั้งใต้ดิน บนดิน บนฟ้า ในน้ำ
สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นที่หนึ่ง
ที่ใดก็ตาม แล้วจะ กระจาย ขยายตัว ลุกลาม ไปยังอีกที่หนึ่งด้วยความรวดเร็ว โดยไม่มีใครยับยั้งได้
เทคโนโลยีสารสนเทศ ในอดีตการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นเหมือนๆ
กับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่การเจริญเติบโตและการขยายตัวและการลุกลามของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่รวดเร็วเหมือนในปัจจุบัน
เคยมีผู้เปรียบเทียบถึงความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารว่าหากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นไม่ว่ามุมใดของโลก
เราจะรับรู้เรื่องราวดังกล่าว พร้อม ๆ กับผู้อยู่ในเหตุการณ์เลยทีเดียว
ผู้มีความเร็วในการรับรู้จะเป็นผู้ได้เปรียบในทุกทาง ในยุคของมหาคัมภีร์ภารตะ
มักจะเปรียบเทียบผู้ที่ทำงานรวดเร็วและประสพความสำเร็จว่า รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม
แต่ในยุคนี้อาจนี้อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วภายในพริบตาเดียว
กรณีการล่มสลายของสถาบันการเงินหรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทุกวัน
เป็นตัวอย่างดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
โดยสรุปแล้ว เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่
การเปลี่ยนแปลงของความคิดและความเชื่อ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การศึกษา
สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม หากเราจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เราต้องมีความแข็งแรงพอ
มีรากฐานที่หยั่งลึก หากเราจะหลบหนี อาจยังพอยืดเวลาไปได้สักระยะหนึ่ง
แต่เราก็จะอยู่อย่างลำบาก เพราะสถานที่ที่กระแสการเปลี่ยนแปลงไปไม่ถึงมีน้อยนิด
และในที่สุดมันจะหาเราเจออยู่ดี ถึงตอนนั้นเราไม่มีแรงแม้ที่จะต่อสู้
ทำไมเราไม่มาทำความรู้จัก และมีชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
ใช้การเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีคุณสมบัติกว่าสัตว์โดยทั่วไปหลายประการ
ประการหนึ่งคือ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และอีกประการหนึ่ง คือ
มนุษย์ฝึกฝนและพัฒนาได้ จากคุณสมบัติ 2 ประการนี้
หากเราใช้ความเป็นมนุษย์ให้เกิดประโยชน์อย่างมีคุณค่า
มนุษย์จะต้องร่วมกลุ่มกันพัฒนาและปรับปรุงให้อยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนแปลงให้ได้
“ เมื่อพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดมา บางคนสร้างกำแพง บางคนขุดหลุมหลบภัย บางคนสร้างกังหันลม ”
“ เมื่อพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดมา บางคนสร้างกำแพง บางคนขุดหลุมหลบภัย บางคนสร้างกังหันลม ”
No comments:
Post a Comment