13 มีค.2562_หัวหน้าทีมควบคุมโรคPHE ICS EOCณ อุบลฯร้ายแรง ต่อติด ผิดธรรมชาติ จำกัดเคลื่อนที่
ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency-PHE)
· Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
· Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรค โดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
· Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
· Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
วันที่ 13-15 มีนาคม 2562 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ
เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร หัวหน้าทีมควบคุมโรค
เขตสุขภาพที่ 10
ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี
จัดโดย สำนักงาน สคร.10 อุบลราชธานี
วัตถุประสงค์หลักคือ
อำนวยการหน่วยปฏิบัติการควบคุมใน 2 โรค คือ โรคติดต่อ และ โรคไม่ติดต่อ
หรือ กล่าว สั้นๆ ได้ว่า ควบคุม โรค และ ภัยสุขภาพ ก็ได้นะครับ
เพราะ โรคไม่ติดต่อ ให้รวมความถึง ภัยสุขภาพต่าง ๆ ด้วย
เพราะ โรคไม่ติดต่อ ให้รวมความถึง ภัยสุขภาพต่าง ๆ ด้วย
ภายใต้คำสำคัญใหญ่ๆ 3 คำ คือ
คำที่
1. การจัดการ ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข Public Health Emergency Management :PHEM
คำที่ 2.
ระบบ บัญชาการเหตุการณ์ Incident
Command System :ICS
คำที่ 3. ศูนย์
ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทาง Emergency Operations
Center:EOC
ข้อสังเกต คำว่า Operations ต้องเติม s เสมอ เพราะจะมีภารกิจที่ทำ มากกว่า 1 ภารกิจเสมอ
ไล่เรียง เคียงวัน ...เหตุการณ์จริง เริ่มจากไหน ไปไหน ใน EOC ( PHE ICS EOC )
ลำดับที่ 1. เกิด PHE ต้องเริ่มจากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
เหตุการณ์นั้น หากเข้า Criteria 2 ใน 4
เหตุการณ์ รัฐ จะต้องประกาศ ภาวะฉุกเฉิน
ซึ่งผม(พันธุ์ทอง) จะใช้คำเพื่อช่วยจำง่ายๆ ว่า ร้ายแรง ต่อติด ผิดธรรมชาติ จำกัดเคลื่อนที่
คำค้นหา #พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง PHE
# ร้ายแรง ต่อติด ผิดธรรมชาติ จำกัดเคลื่อนที่ #
ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency-PHE)
เหตุการณ์ที่เป็นโรคและภัยคุกคามสุขภาพ
มีเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ
l เกิดผลกระทบทางสุขภาพที่มีความรุนแรง
:
ร้ายแรง
l มีโอกาสแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น : ต่อติด
l เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อน: ผิดธรรมชาติ
l ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า : จำกัดเคลื่อนที่
เข้าเข้าหลักเกณฑ์อย่างน้อย
2 ใน 4 ประการ ต้องประกาศเป็น PHE
เมื่อประกาศ เป็น PHE แล้ว ต้อง มี การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
Public Health Emergency Management :PHEM
เพื่อ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
(Public
health Emergency response:PHER)
โดยทั่วไป
ใช้หลัก 2P2R ในการจัดการภาวะฉุกเฉิน PHEM หรือการจัดการภัยพิบัติต่างๆ
2P2R คือระยะ หรือ Phase ของการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 4
ระยะ
คือ Prevention Preparation Response Recovery
คำถาม เหตุการณ์ 2 ใน 4 ที่จะนำมาพิจารณา
ได้มาจากไหน
คำตอบ ได้มาจาก SRRT ทีมเฝ้าระวังเหตุการณ์
ในแต่ละระดับ
ซึ่ง SRRT มี ตั้งแต่ในระดับ หมู่บ้าน จนถึง
ประเทศ ทำหน้าที่ เฝ้าระวังเหนตการณ์
สำคัญ 4 ประการนี้
คือเกิดหลาย(ร้ายแรง) ต่อติด ผิดธรรมชาติ จำกัดการเคลื่อนที่
ส่วน การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข PHER
มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ
ตามลำดับความสำคัญ คือ Safety
Recovery Efficiency
1)
ให้มีความปลอดภัยทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้เสี่ยงต่อภัยสุขภาพ
: Safety
(หากยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยจะยังไม่ออกปฏิบัติงาน)
2)
เพื่อหยุดยั้งและ/หรือลดผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์รุนแรงจากโรคและภัยสุขภาพ
และเพื่อให้เหตุการณ์กลับสู่สภาวะปกติในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
: Recovery
3) เพื่อระดมทรัพยากร
และบริหารจัดการ อย่างคุ้มค่าและ มีประสิทธิภาพ : Efficiency
และ PHEM
ลำดับที่ 2. เกิด ระบบ
Incident
Command System : ICS เพื่อแก้ปัญหา
เหตุการณ์ฉุกเฉิน
จึงต้องมีผู้ผู้รับผิดชอบตามภารกิจต่างๆ
และผู้รับผิดชอบหากใช้โครงสร้างตามภารกิจปกติจะไม่ทันเหตุการณ์
จึงต้องมี ระบบบัญชาการ เกิดขึ้น ระบบ ICS เกิดขึ้น
เพื่อ Command ให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อด้านบน
คือ Safety Recovery Efficiency ที่ว่า Command นั้น Command ใคร คำตอบคือ Command กลุ่มหรือกล่องต่างๆ ใน EOC ตามหลักแต่ละกล่องต้อง Command 3 – 7
มากสุดไม่ควรเกิน 7 คน
ข้อสังเกต ต้อง ให้ความสำคัญกับคำว่า
Safety เป็นอันดับแรก
ทำไมต้องตั้ง EOC
ลำดับที่ 3. เกิด Emergency Operations Center:EOC หลักการคือ ICS จะทำงานไม่ได้เลย
หากไม่มีมือ ไม่มีไม้ สนับสนุนการทำงานของ ICS ฉะนั้นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในแต่ละละระดับ
จึงต้องประกาศ ตั้ง Center หรือ ศูนย์ ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทาง
Emergency Operations Center:EOC
ICS จะตั้งกี่แผนก
กี่กล่องก็ได้ ตามความเหมาะสม แต่ละกล่อง แต่ละแผนกที่ตั้งขึ้น จะขึ้นกับสายบังคับบัญชาของใคร
ให้เป็นไปตามความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่แต่ละเหตุการณ์ แต่ ต้องอยู่ในหลัก
Line
of Command 3-7 ซึ่ง EOC
ที่ตั้งขึ้นนี้ จะต้อง ปฏิบัติหน้าที่ ทั้ง 4 Phase ตาม2P2R เป็นวัฏจักร
วัตถุประสงค์ 3 ประการ ด้านบนเพื่อ ลด ผลเหล่านี้
ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
l มีการป่วย การตายเพิ่ม
l ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
l ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
l การสัมผัสสารพิษ สารเคมี รังสี
l การทำลายระบบบริการพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิต
l การทำลายระบบบริการและผู้ให้บริการพื้นฐานต่างๆ
l การอพยพย้ายที่อยู่ของประชากร
l การล่มสลายของระบบสังคม
l การสูญเสียระบบข้อมูลข่าวสาร
l ผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
หลักระบาดวิทยา
บันทึกเพิ่มเติม.. หลักระบาดวิทยา ไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ
การเจ็บ การป่วย ทุกเหตุการณ์ที่เกิดล้วนเกิดแต่ การลงตัวของปัจจัย ทั้งนั้น
การลงตัวของปัจจัย หรือ ความสัมพันธ์ หรือ การสมรู้ร่วมคิดของ Host Hazards Environment 3 สิ่งนี้ เสมอ
3 สิ่งสำคัญ หรือ 3 เหลี่ยมระบาดวิทยา คือ
เดิมใช้คำว่า Host Agent Environment ในครั้งนี้ ใช้คำว่า Host Hazards Environment
(Agent : Hazards ความหมายเดียวกัน)
• การเจ็บ การป่วย ไม่ได้เกิดโดยบังเอิญ แต่เป็นการลงตัวของปัจจัย
Host , Harzard , Environment
· ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ทำให้เสี่ยงเป็นโรคมากขึ้น เรียก ปัจจัยเสี่ยง Risk Factor
ป้องกันไม่ให้เกิด เรียก ปัจจัยป้องกัน Protective Factor
(การจัดการ Risk ตัวอย่างที่ดีคือ กรณี 13 หมูป่า ติดถ้ำหลวง 17 วัน)
· การจะควบคุมโรคได้ต้องมีความรู้
รู้เขา ( ธรรมชาติของโรคและปัจจัย) Distribution & Determinants
รู้เรา ( ความสามารถในการออกแบบและควบคุม) Design & Delivery (Develop)
· วิธีหาความรู้ทางระบาดวิทยา 3 ประการคือ
รู้การเฝ้าระวัง
รู้การสอบสวน
รู้การวิจัย
การสมรู้ร่วมคิด หรือต่อสู้กันของ Host Hazards โดยมี Environment เป็นกรรมการห้ามมวย
เช่น พิษสุนัขบ้า เป็นความสัมพันธ์ของ คน กับ สุนัข เป็นต้น
มาตรการ จะทำสิ่งใด เช่น ฉีดวัคซีนในคนทุกคน หรือ ฉีดวัคซีนในสุนัขทุกตัว
สิ่งไหนจะดีกว่ากัน เป็นต้น
ตัวอย่างที่ดีระบบบัญชาการเหตุการณ์ คือ กรณี 13 หมูป่าติดถ้ำหลวง
แม้นายกรัฐมนตรีไป ก็ไม่ได้ไป รบกวนการตัดสินใจ ของ ICS ในพื้นที่ ซึ่ง ICS คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
หลักการบริหารความเสี่ยง Risk Management
1. โยนความเสี่ยงออกไป เช่น ขับรถ ต้องซื้อประกันภัย หากมีอุบัติเหตุ โยนให้ประกันรับผิดชอบ
2. กระจายความเสี่ยงออกให้หมด เช่น การช่วยเด็กให้รอดออกมามี 4 วิธี
วิธีที่ 1. ดำน้ำเข้าไปนำเด็กออกมาทันที ประสิทธิภาพรอด 50%
วิธีที่ 2. เจาะผนังถ้าข้าไปนำเด็กออกมา ประสิทธิภาพ .... ?
วิธีที่ 3. สูบน้ำออกให้หมดแล้วข้าไปนำเด็กออกมา ประสิทธิภาพ .... ?
วิธีที่ 4. หาช่องทางเข้าถ้าช่องทางอื่นๆ ( จากทุกๆทีม จาก ทุก ๆ ส่วน )
1) ทางอากาศ โรยตัวหา ป ระสิทธิภาพ .... ?
2) ทางพื้นดิน เดินสำรวจ ประสิทธิภาพ .... ?
3) ทางหน้าผา ปีนผาหา ประสิทธิภาพ .... ?
วิธีการลดความเสี่ยง ที่ดีที่สุด มีไหม
วิธีการลดความเสี่ยง ที่ดีที่สุด มีไหม
3. ลดความเสี่ยง กรณี นี้ ผู้ว่าเชียงรายใช้ทั้ง 4 วิธี และ เน้นการซ้อม ตามแผน ให้ มั่นใจว่าปลอดภัยที่สุด ทั้ง 4 วิธี โดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไป เหลือวิธีเดียว คือ ดำน้ำเข้าไป จึงต้อง ซ้อม ให้ดีที่สุด
ซ้อม ให้ดีที่สุดแล้ว สูญเสียได้ไหม
ซ้อม ให้ดีที่สุดแล้ว สูญเสียได้ไหม
เพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น กระนั้น ก็ยังมีการสูญเสีย 1 ชีวิต คือ จ่าแซม เป็นต้น
กรณี 13 หมูป่าติดถ้ำหลวง
การบริหารภายในถ้ำ แม้ยากแล้ว การบริหารนอกถ้ำยิ่งมากขึ้น เมื่อความจริงพบว่า
มีคนทุกสาขาอาชีพ จากทั่วโลก หลั่งไหล ไปออกันอยู่หน้าถ้ำ วันละ 10,000 หมื่นคน
การจัดการอำนวยความสะดวก คน วันละ 10,000 หมื่นคนไม่ใช่เร่องง่ายเลย
ในกรณีนี้ ผู้ว่าเชียงราย ตัดสินใจเปิดกล่อง 13 กล่อง มอบภารกิจที่ชัดเจน เป็นต้น
ข้อควรคำนึง เมื่อต้องออกปฏิบัติงานภาคสนาม
ต้องยอมรับร่วมกันก่อนว่า ทุกสิ่งอย่างนั้น ไม่ต้องหวังไปพึ่งใคร เราไม่มีคนช่วย เราไม่รู้
แต่เรารู้อยู่อย่างเดียวคือ Mission หรือภารกิจ ที่เราได้รับมอบหมาย ตองร่วมกันปฏิบัติตามนั้น
บทสรุป ของ นักบริหารงานสาธารณสุข
· ต้องรู้ระบาดวิทยา
• ถามหกคำถาม 6 D
• ศึกษาระบบงานและดูว่าอะไรควรต้องปรับปรุง
• สนับสนุนบุคลากรทางด้านระบาดวิทยาให้เพียงพอและมีคุณภาพ
ข้อคิดจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่ ในฐานะผู้บริหารงานสาธารณสุข
“ถ้าเราอยากให้ ชาวบ้าน ทำอะไร จงให้ สุขศึกษา ถ้าเราอยากให้ เจ้าหน้าที่ ทำอะไร ให้ใช้ ระบาดวิทยา ” นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นำทฤษฎีหมวก 6 ใบ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถนำ เรื่อง "ทฤษฎีหมวก 6 ใบ" ของ ดร.เอดเวิร์ด เดอ โบโน มาประยุกต์ใช้โดยให้มีการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ในหลายมุมมอง
6 D หรือ Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ โบโน" จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ
· White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น· Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
· Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรค โดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
· Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
· Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
· Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด
No comments:
Post a Comment