20 สค.2562 ฉุกเฉินทางจิต1669_191จ.ยโสธร EMS ทั้งจังหวัดรับทราบแนวทาง ณ
สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วันที่ 20 สิงหาคม 2562 วันนี้นายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง และคณะ EMS จาก ตำบลน้ำคำ ส้มผ่อ คำเตยอำเภอไทยเจริญ ร่วมการประชุม รับทราบแนวทาง การส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางจิต
ณ
ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจังหวัดจากทั้ง
9 อำเภอ
วัตถุประสงค์หลักคือจัดการช่วยเหลือ
นำผู้ที่มีอาการผิดปกติทางจิตในระยะฉุกเฉิน
รักษาในสถานพยาบาลจนพ้นภาวะฉุกเฉินอย่างมีมาตรฐาน
หรือได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
EMS การแพทย์ฉุกเฉิน เพิ่มการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินทางจิต
อารมณ์ และพฤติกรรมรุนแรง ทั้งก้าวร้าว อาละวาด หลงผิด หวาดระแวง
ให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูโดยด่วน
ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา
รวมถึงบัตรทอง ผ่านสายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
เริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพจิตถือเป็นภาวะวิกฤติอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจที่แสดงออกมาทางอารมณ์และพฤติกรรมที่รุนแรงและเป็นอันตรายทั้งต่อตนเอง
ทรัพย์สิน และสังคมรอบข้าง
จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการวิกฤติทางกาย
ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ
มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
ซึ่งสามารถรักษาให้หายหรือทุเลาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้ ทั้งนี้
เพื่อคุ้มครองผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตและสังคมให้มีความปลอดภัย
ฉุกเฉินทางจิต
6 อาการ เข้าข่าย เรียก EMS
1669 ได้ทันที
อาการและพฤติกรรมที่เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
มี 6 ลักษณะ ได้แก่ 1.หูแว่ว 2.เห็นภาพหลอน
3.หวาดระแวงไร้เหตุผล 4.ก้าวร้าว อาละวาด
5.หลงผิดคิดว่าตัวเองมีความสามารถเหนือคนอื่นเช่นเป็นเทพเจ้า
เทพเทวดา เป็นต้น และ
6.แต่งกายแปลกกว่าคนปกติและมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือคนอื่นได้แก่พยายามจะฆ่าตัวตาย
ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น
หากประชาชนพบเห็นผู้ที่มีอาการที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
อันตรายจาก
ป้องกันได้ ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดก่อความรุนแรง
ชุมชนช่วยดู 7 สัญญาณเตือน*ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดก่อความรุนแรง
สังเกตง่ายๆ ด้วยรหัส 25
มาจาก 2+5 = 7
2
คือ 2 หู สังเกตจากหู 2 อย่าง คือ 1. เอะอะ โวยวาย 2. ขู่จะทำร้าย
5
คือ 5 ตา สังเกตจากตา 5 อย่าง คือ 3. สิ่งของกระจัดกระจาย 4. สิ่งของถูกทำลาย 5. พก
/สะสม มีด
6. กรีด ร่างกาย 7. ทำร้ายคนอื่น
ชีวิตสมดุล Balance of Life ใช้ได้กับทุกๆคน รหัส 24
หากไม่อยากให้เกิด 25 ให้ใช้ รหัส 24 24 คือ 1 วัน มี 24 ชั่วโมง
แบ่ง
ออกเป็น สี่ส่วน บริหารชีวิตให้เหมาะสม ส่วนละ 6 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย คือ
6 หลับสนิท 6 คิดสร้างสรรค์ 6
ขยันหาเงิน 6 เพลิดเพลินกับชีวิต
ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง
และใช้แนวทางการสังเกตจาก 7
สัญญาณเตือนผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดก่อความรุนแรง มีดังนี้
1.
ขีดข่วนหรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล 2. ส่งเสียงดังหรือตะโกนด่าด้วยคำหยาบคายรุนแรง
3. ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น 4. ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ
5. พกพาหรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล 6. รื้อ ขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย และ 7. ทำลายสิ่งของจนแตกหัก
รวมถึงการสังเกตเฝ้าระวังพฤติกรรมและอาการที่เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ได้แก่ หูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวงไร้เหตุผล อยากฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่น
พูดจาก้าวร้าว พูดจาเพ้อเจ้อ หลงผิด และแต่งกายแปลกกว่าคนปกติ
โดยสามารถส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้
ยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ผู้นำชุมชน หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวช
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป
เป็นการช่วยลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม ตามแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย
ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
นอกจากนี้ คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้
ดังนี้ 1.
ช่วยกันดูแล ติดตามให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง 2. ร่วมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยจากการถูกเอาเปรียบจากสังคม 3. เฝ้าระวังสังเกตอาการ
หากผิดปกติหรือมีอาการกำเริบให้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ 4. ส่งเสริมอาชีพ
หางานอดิเรกให้ทำ เพื่อฝึกสมาธิและให้ผู้ป่วยมีรายได้ และ 5. ให้กำลังใจผู้ป่วยและสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนได้
No comments:
Post a Comment