4กพ.2558:ยโสธร_ลำสนธิ_แลกเปลี่ยนประสบการณ์_หมอครอบครัวเพื่อสังคม
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 17.19 น.
เสร็จจากศึกษาดูงานในพื้นที่ ภาคค่ำวันนี้
ผม
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
เข้าร่วมกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากการศึกษาดูงาน
ณ โรงแรมลำนารายณ์แกรนด์ จังหวัดลพบุรี
ประธาน
โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วิทยากร
ให้คำแนะนำ และแลกเปลี่นประสบการณ์ โดย นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ
บันทึกโดยย่อ ของผม
ในค่ำคืนนี้ ก่อนที่พวกเราจะ ไปรับประทานอาหาร 20.30 น.
คำว่าผู้สูงอายุหรือผู้พิการได้รับการดูแล
ความหมายแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน
บางแห่ง
หมายถึงแค่ ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตปีละครั้ง
แต่
ที่ลำสนธิ หมายถึง ได้รับการดูแลจริงๆจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
โดยการนำสภาพปัญหาของผู้สูงอายุหรือผู้พิการเหล่านั้นให้เป็นปัญหาของคนทั้งอำเภอ
ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการระบบสุขภาพระดับอำเภอ
โดยการกำหนดคำที่สามารถระดมความร่วมมือจากทุกส่วนร่วมกันได้ดี ที่ ว่า คนลำสนธิ
ไม่ทอดทิ้งกัน หรือ ลำสนธิโมเดล
รับทราบสภาพปัญหาของคนได้จากการ่วมรับทราบทุกข์
ของกลุ่มเป้าหมายด้วยการออกไปเยี่ยมถึงบ้าน ไปเยี่ยมแล้ว ต้องดูร่วมกันในทุกระบบ
เช่น คนแก่ อายุ 80
ปี 2 คน ดูแลกันเอง ไม่มีบุตรหลานอยู่ด้วย
คนหนึ่งมองไม่เห็น อีกคนเดินไม่ได้ เขาจะดูแลกันเองได้อย่างไร สภาพที่เห็นคือ
ไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้ทานยา หรือทานก็ทานไม่ครบ ทานไม่ถูก ผมไม่ได้คัด เล็บไม่ได้ตัด
เดินเข้าห้องน้ำไม่ได้ หลายคนต้องอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยจิตเวช
คนลำสนธิเราจะทำอย่างไร
กับคนเหล่านี้
คนลำสนธิ ไม่ทอดทิ้งกัน เป็นวลี
ที่สามารถสร้างพลังร่วมได้ดี คนลำสนธิเรา ทำได้โดย การสร้างระบบการดูแลกันที่ดี
วางตำแหน่งของแต่ละคนให้เหมาะสม ว่าแต่ละส่วนจะสามารถช่วยเหลือกันได้อย่างไร เช่น
หมอครอบครัว รพ.สต. นักจิตวิทยา พยาบาล Care Team Care Giver อบต.
นักพัฒนาชุมชน กิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือ จาก Health Sector เป็น
Social Sector การฝึกอาชีพ การปรับสภาพบ้าน การซ่อมห้องน้ำ
เตียงนอนเคลื่อนที่ เครื่องซักผ้าเคลื่อนที่ ช่างปรับบ้าน
ดูแลเฉพาะเมื่อเขามาหา หรือ
เราไปหาเขา ชั่วครั้ง ชั่วคราว หรือ เปล่าเลย คนลำสนธิต้องมองลงไปจนถึงว่าเมื่อเขาดีขึ้นแล้ว
เราจะสร้างคุณค่าให้เขาได้อย่างไร เช่นผู้ป่วยจิตเวช เขายังมีร่างกายที่แข็งแรง ให้เขามาทำงาน
ในโรงพยาบาล
ปลูกผัก ซักผ้า ล้างเครื่องมือ คนสวน เป็นต้น ส่วนผู้สูงอายุ อบต.ก็จ้างทำของ เช่น
ดอกไม้จันท์ ของที่ระลึก จักสาน เป็นต้น
อะไรคือ สิ่งที่ยากที่สุด ในการทำงานการสร้างระบบสุขภาพระดับอำภอ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลถึงความสำเร็จคือ
การแก้ปัญหาในแต่ละเรื่อง ต้องทำให้เป็นระบบ ทำโดยทีมงานที่มีคุณภาพ
และทำไปอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่ยากที่สุดในการสร้างระบบคือ
การ Integrate การทำงานกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ทั้งใน และนอก
หน่วยงานด้านสาธารณสุขของเรา
สิ่งที่ปิดกั้น ในการ Integrate ของคน คือ ความเชื่อ ยกตัวอย่าง เรื่องเล่า จากประสบการณ์
“สิ่งที่คุณหมอเล่าให้ฟังนั้นเป็นสิ่งที่โรงพยาบาลเราอยากทำมานานแล้ว
เสียดายที่ นายก อบต. ไม่เอาด้วย”หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
“เรื่องที่คุณหมอเล่าให้ฟังนั้นเป็นสิ่งที่
อบต.เราอยากทำมานานแล้ว เสียดายที่ โรงพยาบาล
เราไม่เคยมาพูดคุยเรื่องเหล่านี้ให้พวกเราฟังเลย ” นายก
อบต.
คำตอบที่ง่ายที่สุด
ในการ แก้ปัญหา เรื่องยากที่สุด คือ ตอบได้ 3 คำ สั้นๆว่า ไปชวนเขา
คุณยายบู่ และ คุณหนู นิตยา เทวดาของคนลำสนธิ_วันเปลี่ยนโลก
จุดเปลี่ยน คือ ตัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลเดิมไม่เคยก้าวออกนอกรั้วไปรู้จักใครเลย
วันนั้น วันที่ เดือน พ.ศ. 5 ปี หลังจากที่หมอสันติ
ไม่เคยก้าวออกนอกรั้วโรงพยาบาลไปหาคนไข้ วันนั้น เมื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีโอกาสได้เห็นความทุกข์ของคน
จากการไปเยี่ยมบ้าน คุณยายบู่ และเรียนรู้ชิวิต ของนิตยา ผู้ป่วยสุขภาพจิต ถือเป็นจุดเปลี่ยนวิธีคิด
หรือ Mind Set ของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ที่อำเภอลำสนธิ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลต้องก้าวขาออกนอกรั้วโรงพยาบาล แล้วโน้ม ไปชวนเขา เหล่านั้น
ทั้ง
นายอำเภอ นายก อบต.ผู้อำนวยโรงเรียน ไปชวนเขาคือวิธีการท่ายทีสุด
คำว่าไป
เอาประโยชน์อะไรไปให้กับประชาชนของเรา ที่เขาและเราจะได้ประโยชน์ร่วมกัน สร้างบรรยากาศ
ของการพูดคุย ให้เขาเกิดอารมณ์ร่วม อยากจะทำงานร่วมกัน เพื่อประโยชน์ ของประชาชน
ทุกคนต่างรับผลปประโยชน์ร่วมกัน
มีความจำเป็นต้อง มีหมอสันติ 2 หรือไม่
ตอบว่า จำเป็นมาก เพราะ
คนที่จะทำได้ ต้องมีคุณลักษณะของ หมอสันติ ที่สำคัญ คือต้องมี Relationship
ที่ดี
“คุณหมอคะ รพ.เราทำ HA มาได้ 80 % แล้ว พวกเราจะไปต่อดีไหม เพราะ ผอ.ไม่เอาด้วยเลย”
คุณก่อศักดิ์
ชัยรัศมี ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ CEO ของ CP 7-11 ผู้เข้มงวดกับตนเองแต่ไม่แล้งน้ำใจกับบุคคลอื่น
KPI
ใดที่ไม่ผ่าน ไม่ใช่ว่าไม่มีความสามารถอย่างเดียว
บางครั้งผู้บริหารและองค์กร อาจจะสนับสนุนเขาไม่ดีพอก็ได้
คุณหมอมีทางเลือก อยู่ 3
ทาง คือ 1.เปลี่ยน ผอ.โรงพยาบาล 2.หยุดทำซะ 3.มีบริหารเจ้านายที่ดี
สิ่งที่สำคัญในการทำงานให้สำเร็จ
คือ ต้องมี Leader
ที่ดีในการทำงาน
Leader ที่ดีในการทำงาน คือ
คนที่สามารถบริหารเจ้านายได้ดี ได้ดีหมายถึงผู้ที่ให้ข้อมูลที่ดีเพื่อประกอบการตัดสินใจที่ดี
ข้อเสนอ การ Integrate ต้อง เชิญสำนักงาน
สตง.เข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการดูแล ประชาชนเหล่านี้ด้วย
เพราะ พ่อ แม่ ของ สตง. ก็คือ ประชาชน
เหมือนกัน
การลงทุนกับคุณภาพชีวิต
ในระบบสุขภาพอำเภอ เป็นเรื่องที่ มีต้นทุนที่ถูกมาก
จากการประเมินผล
ท้องถิ่น ใช้จ่ายเงิน ตามระบบสุขภาพอำเภอ เพียง ร้อยละ 3 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดเท่านั้นเอง
การบริหารทีมงานสิ่งสำคัญคือให้ความสำคัญกับคนทำงาน
เรื่องง่ายๆ สั่งๆไปเถอะ ใครๆก็สามารถทำได้
แต่ถ้าเป็นเรื่องยาก
หรือเรื่องที่ไม่มีใครอยากทำ สั่งไปแล้วก็ไม่มีใครทำ
วิธีการคือ
ต้องหาวิธีการให้เขาอยากทำงานเหล่านั้น ให้เขารู้สึกให้ได้ว่า สิ่งเหล่านั้น มี Passion ความหลงใหลในงาน
รู้สึกมีคุณค่าในงาน ผู้ที่จะสามารถทำเรื่องนี้ได้คือ Leader แล้ว Empowerment Leader ให้สามารถทำงานได้ต่อไป ไม่ว่าทำงานนั้นแล้ว จะ ล้มเหลว หรือ สำเร็จ
การ Empowerment Leader
ที่ดีที่สุด คือ การ Empowerment แบบ ลูก น้อง ลูก กะ น้อง
อาจจะใช้
ทฤษฎี MK ก็ได้ คือ พาไปกิน MK แล้ว คุยกัน ในวงพาข้าว ซึ่ง
ในวงนั้น มี Relationship ที่ดี
ซึ่งพวกเขาสามารถพูดคุยได้ในทุกๆเรื่อง
ใช้ Soft
side กับ Hard side ให้ Balance โดยส่วนมาก จะใช้ Soft side มากกว่า Hard
side
Out
put ของ Relationship ที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
เริ่มจากเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น
คุณหมอ รพ.สต. สามารถ โทรประสาน
อบต.ได้ มีรถเข้าจังหวัด ไหม จะได้ฝากคนไข้ไป
คุณหมอ รพ.สต. สามารถ โทรประสาน โรงพยาบาล
ได้ว่า มีรถเข้าจังหวัด ไหม จะได้ฝากคนไข้กลับด้วยได้
คณะกรรมการ คปสอ.
การประชุม คณะกรรมการในระดับอำเภอ ลำสนธิ
จะเอางานเป็นที่ตั้ง ไม่เอาเงินเป้นที่ตั้ง
คำนึงถึงงานที่จะทำเพื่อประโยชน์ให้ตกแก่ประชาชนร่วมกัน
หลักการสำคัญ เวทีการประชุม คปสอ.ไม่ใช่เวทีแห่งการแย่งชิงทรัพยากร
ซึ่งกันและกัน ต้องระลึกเสมอว่า คน เงิน
ของ เหล่านั้น เหมาะสมที่จะไปตกอยู่ที่ใด ประชาชนจะเกิดประโยชน์มากที่สุด
ทำงานแบบคนใน เข้าใจพื้นที่
นายอำเภอ
กับ สาธารณสุขอำเภอ เป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนกับพื้นที่
เพราะเข้าต้องย้ายสับเปลี่ยนบ่อยๆ
ทางแก้ไขคือ
ต้องใช้ ฐาน อำนาจให้น้อยลง ต้องใช้ ฐาน คุณค่าของการทำงาน ให้มากๆ
ภายใต้
Concept
เช่น เจ้าหน้าที่คนไหน มี Passion ในเรื่องใดได้ดี
ก็ให้เป็น Focal Point หรือ Project Manager ในเรื่องนั้นๆ ในระดับอำเภอ แล้ว CUP สนับสนุน
งบประมาณให้กับ Leader เหล่านั้น ไปทำแผนงานโครงการตาม Passion
ของเขา
โดยใช้งบประมาณ
PP ของ CUP
คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน_ได้รับการดูแลระยะยาวให้เป็นระบบโดยทีมงานที่มีคุณภาพ
สาเหตุหลัก ของปัญหา
สุขภาพและปัญหาสังคม คือ ความโง่เขลา
ที่อำเภอลำสนธิ
จึงแก้ปัญหาความโง่เขลาตั้งแต่เด็ก ตามหลักวิชาการ ที่เป็นรูปธรรม เช่น
ขอความร่วมมือ
จาก อบต.ให้สนับสนุน งบประมาณ แห่งละ 20,000 บาทสำหรับ จัดซื้อหนังสือนิทาน
สำหรับสนับสนุน เป็น Gift Set ให้ทุกรายที่คลอด
ไม่ว่าจะคลอดที่ใดก็ตาม นิทานเสริมสร้างจินตนาการ จำนวน 10 เรื่อง
(นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ
คัดเลือกเรื่องด้วยตนเอง รวมทั้งประสานงานกับโรงพิมพ์หนังสือ เพื่อลดต้นทุนงบประมาณด้วย)
Integrate ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลให้หายดีแล้ว
ก็สามารถอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง กลางวัน พ่อแม่ไปทำงาน คุณตาคุณยาย
อ่านหนังสือให้ฟัง ได้ความอบอุ่นในครอบครัว ได้ภูมิคุ้มกัน เรื่องเอดส์
เรื่องยาเสพติด เรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เรื่องเรื่องพัฒนาการเด็ก โภชนาการ อุบัติเหตุ
เรื่องสุขภาพจิต สุขภาพฟัน การจัดการขยะ และสภาพแวดล้อม เป็นต้น
เมื่อเด็กเหล่านี้ไปเข้าโรงเรียนที่ศูนย์เด็กเล็ก
หรือโรงเรียนประถม มัธยม ก็มีระบบการจัดการกับความโง่
ของเด็กๆ
เหล่านั้นตามกลุ่มอายุของเขาต่อไป สรุปกิจกรรมการสร้างเด็ก สั้นๆ ได้ว่า กิน กอด เล่น เล่า
เป็นต้น
มุมมองของคนอื่นๆบ้าง
ผอ.สันติ
ผอ.รพ.เล่าเรื่องเหมือนนั่งฟังโชว์เดี่ยว
เปี่ยมไปด้วยสาระ
ชอบคำว่า หาความสุขให้เจอในงานที่เราทำ ธัญนันท์ ศรีชนะ
สุดยอดบริการด้วยใจ
ไพรวัลย์ กาลจักร
Low
cost high quality in thailand ชอบเหมือนกันค้า นัยนา ดวงศรี
No comments:
Post a Comment