5 กพ.2558: ยโสธร DHS
_DHML_ FCT มีเป้าหมาย 4 ดี
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
กิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาดูงาน(Sources for Learning)
ของทีมผู้เรียนรู้หลัก
(Learning
Team:LT) ครูพี่เลี้ยง (Preceptor:P)
LCC ภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทีมหมอครอบครัว (FCT)
เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ
(DHML)
ในวันที่
๓-๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ อำเภอลำสนธิ
จังหวัดลพบุรี และโรงแรมลำนารายณ์แกรนด์ จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมวันนี้ ประธานผู้ดำเนินการระดมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
โดย นพ.ทวีเกียรติ
บุญยไพศาลเจริญ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เขตสุขภาพที่ 10
วิทยากรร่วมให้คำแนะนำที่ดี
โดย นพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพ ที่ปรึกษาโครงการ เสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHML) ผู้รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นพ.สันติ
ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
ผมได้อะไร จาก ลำสนธิ ดูที่นี่ ยโสธร ลำสนธิ
DHML in DHS
Input
1. การสนับสนุน
คน Man
2. งปม.
UC
สป. Money
3. Unity
Team
4. วัสดุ
Material
ตาม แผนเงินบำรุง แผน PP แผนเงินลงทุน
5. Appreciation
/ Inspiration
Process
CBL
(ศูนย์เรียนรู้เวชศาสตร์ครอบครัว)
SRM
กองทุนตำบล
R2R
DHML
Output
หมอครอบครัว
Self Care
Essential Care
ตำบลจัดการสุขภาพ
วิสาหกิจชุมชน
หนึ่งอำเภอหนึ่งโครงการแก้ปัญหาสุขภาพ
ODOP
Appreciation
การมองเห็นคุณค่าการทำงานร่วมกัน
อย่างมีความสุข
Outcome
4 ดี
สุขภาพดี (ตามตัวชี้วัด PP )
คนดี มีความรู้
รายได้ พอดี
สิ่งแวดล้อมดี
DHS ทำงานร่วมกันให้เป็นระบบจะทำได้อย่างไร
ต้องมี ODOP เป็นแบบฝึกหัด โดยไม่ได้ยึดความสำเร็จของ
โครงการมาเป็นเป้าหมายในการทำงาน จะสำเร็จ หรือไม่สำเร็จก็ได้ หลักการคือ เรียนรู้ร่วมกัน
โดยเน้นการทำงานร่วมกันทำไปปรับไปเรียนไปร่วมกัน ทั้ง ผู้เรียน ครูที่ปรึกษา และอาจารย์สถาบันการศึกษา
ที่ไม่ใช่มาสอนเรา แต่เข้ามาร่วมเรียนรู้กับเรา
เพื่อนำเอาองค์ความรู้เหล่านี้ไปสอนนักศึกษา ที่เรียกว่า กระบวนการทำไปเรียนไปParticipatory
Interactive Learning Trough Action: PILLA ตาม หลัก 4 D
(Discovery Dream Design Destiny) Destiny คือการเดินไปสู่เป้าหมาย
โดยใช้แผนปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการเดินทาง
หากรอให้พร้อมแล้วจึงทำ
จะไม่มีโอกาสได้ทำ ก้าวไปข้างหน้าดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่
แพทย์เฉพาะทาง
หมอครอบครัว แตกต่างกันอย่างไร
แพทย์เฉพาะทางรู้จักประชาชนของเขา
เมื่อประชาชนป่วยแล้ว และสามารถเข้ามาหาเขาได้
แต่หมอครอบครัวรู้จักประชาชนของเขาตั้งแต่ก่อนป่วย
ในทุกมิติในบริบทของเขา
อปท.คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน
ที่อำเภอลำสนธิ อปท.จัดสรรเงินสมทบ
เข้ากองทุน สปสช. เกิน 100
% ทั้งนั้น 200 %
300 %บางแห่ง ถึง 500 %
การจัดทีมนักบริบาลชุมชน
Care Team
วิธีการ
ระยะที่
1. ใช้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)เป็น Care Team
ระยะที่
2. อสม.ทำไม่ไหม อบต.จึง จัดจ้าง โดยตรง Care Team แต่ถูกท้วงติง
โดย สตง.
ระยะที่
3. ปัจจุบัน เพื่อความคล่องตัว อบต.จัดสรรเงินสมทบ เข้ากองทุน สปสช.
ซึ่งกฎหมาย ไม่ได้ห้าม Maximum
มีแต่
Minimum จัดสรรเข้าไปแล้ว เขียนโครงการ ใช้งบประมาณตามโครงการ
เบิกเงินออกมาเป็นรายงวด ทุก 3 เดือน
ที่ไม่ใช่การจ่ายเงินเดือนทุกเดือน
(อำเภอลำสนธิ จ่ายให้กับ Care
Team เดือนละ 6,000 บาทต่อคน)
ทำได้ง่ายโดย
อบต.เขาเห็นคุณค่าในงานเหล่านี้ร่วมกัน เขาจึงจัดสรรงบประมาณเข้ามาใช้เพื่อการนี้
ตามความเหมาะสม
คุณลักษณะ นักบริบาลชุมชน Care Team คือ มีจิตอาสา และผ่านการอบรมหลักสูตรา 120 ชั่วโมง
การสร้างเด็ก
ข้อสังเกต
เงิน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารจัดการ
หากใช้ให้ถูกทาง จะเกิดการทุ่นแรงสำหรับเรา ในการทำงานของเรา หากใช้ไม่ถูกทาง
จะเกิดเป็นภาระ และกลายเป็นหอกทิ่มแทงทีมงานของเรา
สิ่งสำคัญ กว่าเงิน คือ ทีมงาน การพัฒนาสมรรถนะ
ของทีมงาน ให้มีสมรรถนะมากพอที่จะให้การดูแลประชาชน ของเขา
Long
Term Care ที่ดี ต้องมี Community Base ไม่ใช่
Hospital Base
Community Base มี Care
Team ส่งเสริมศักยภาพ ญาติ ให้เป็น Care giver ที่ดี ให้สังคมสามารถดูแลกันและกันได้
ทั้งนี้
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร จัด กิจกรรม
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาดูงาน(Sources for Learning) ของทีมผู้เรียนรู้หลัก
(Learning Team:LT) ครูพี่เลี้ยง (Preceptor:P)
LCC ภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทีมหมอครอบครัว (FCT)
เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ
(DHML) ณ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี และโรงแรมณารายณ์แกรนด์ อำเภอชัยบาดาล
จังหวัดลพบุรี
No comments:
Post a Comment