11/29/16

15พย.2559DHB ขับและเคลื่อนระบบสุขภาพ ณ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

15พย.2559DHB ขับและเคลื่อนระบบสุขภาพ ณ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ผมนายพันธุ์ทอง   จันทร์สว่าง พร้อมด้วย นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  และคณะ จัดการประชุม และต้อนรับ อำนวยความสะดวก ในการประชุม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health Board: DHB)ครั้งที่ 1
ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว





มีคณะกรรมการ ตามคำสั่งจังหวัดยโสธร ที่ 4365 / 2559  ลงวันที่ สิงหาคม 2559 เข้าร่วมประชุม โดยพร้อมเพรียงกัน
รายชื่อคณะกรรมการ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
วาระการประชุมที่ 1. ประธานแจ้งให้ทราบ
                   นโยบายและแนวทางการดำเนินงาน ระบบสุขภาพอำเภอ ปี 2560 เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายระยะยาว เพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน โดยมีการดำเนินงานหลักใน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ 16 แผนงาน 48 โครงการ
                   แจ้งรายชื่อคณะกรรมการ ตามคำสั่งจังหวัดยโสธร ที่ 4365 / 2559  ลงวันที่ สิงหาคม 2559 เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health Board: DHB) อำเภอคำเขื่อนแก้ว
(รายชื่อคณะกรรมการ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้)

วาระการประชุมที่ 2. รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
                  
วาระการประชุมที่ 3. ติดตามการประชุมครั้งที่แล้ว
                  
วาระการประชุมที่ 4. เรื่องพิจารณา
                   4.1 แนวโน้ม นโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต
โดย นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
                   4.2 สรุปผลการดำเนินงาน ของ ระบบสุขภาพอำเภอ ประจำปี 2559
โดย นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
                   ทั้งนี้ สรุปได้ตาม วาระสุขภาพ 5 ดี ประจำปี 2559
                   4.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ประจำปี 2560
4.3.1 การใช้และการเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนระบบสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่
                   ในภาพรวมทั้งอำเภอ มี งปม.กองทุนคงเหลือ 3,526,853.58 บาท
โดยเฉพาะ ใน กองทุน ตำบลทุ่งมน 1,356,825.55 และ กองทุน ตำบล ลุมพุก 1,076,929.51 บาท
                   คณะทำงาน กำลังประสานข้อมูล และการปฏิบัติในระดับพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานในพื้นต่อไป

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
การหาแนวทางในเชิงระบบทั้ง ภายใน อปท. และการชี้แจงของคณะกรรมการ
1.    ส่งบุคลากรเข้ารับการประชุม อบรม ตามความเหมาะสม
2.    การจัดทำโครงการตามคำแนะนำของ สปสช.(31 เมนู) ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
3.    การเบิกจ่าย และ ใช้รายงานตามระบบ งบประมาณ ให้ถูกต้อง

4.3.2 การเสนอเพิ่มเติม คณะกรรมการ 2 ตำแหน่ง คือ ท้องถิ่นอำเภอ และ ผู้แทนผู้บริหาร โรงเรียนมัธยม
4.3.3 การเสนอจัดเวที การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์การดำเนินงานทั้ง 14 กองทุน
                   ประธาน มอบหมายให้เลขานุการประสานการจัดประชุม ตามความเหมาะสมต่อไป

                   DHB ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ใช้ชื่อว่า ระบบสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว (รสอ.) District Health System:DHS มีศูนย์ประสานงานอยู่ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ขับเคลื่อนผ่านกลไกสุขภาพแบบบูรณาการใน 3 ระดับ ทั้งระดับอำเภอ(DHS) ซึงมีนายอำเภอเป็นประธาน ระดับตำบล(THS) 13 ตำบล มี นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นประธาน ระดับหมู่บ้าน(VHS) 115 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ร่วมกันขับเคลื่อนวาระ 5 ดี มุ่งสู่  “คนคำเขื่อนแก้วสุขภาพดีอย่างยั่งยืน”  เป้าหมาย 1.อายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 80 ปี
เป้าหมาย2. อายุเฉลี่ยการมีสุขภาพดี 72 ปี 
                   โดยการพัฒนา ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการคืนข้อมูลสุขภาพอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ประสานความร่วมมือจากกลไกทุกภาคส่วนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ร่วมกันประกาศและลงนาม ขับเคลื่อนวาระ 5 ดี    ได้แก่
 1.ดูแลตนเองดี (เน้นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
 2. สะอาดดี (เน้นสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน)
 3. วัยเรียนวัยรุ่นพฤติกรรมสุขภาพดี (เน้นลดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม/การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น) 
 4. แม่และเด็กสุขภาพดี (เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนและเด็กมีพัฒนาการสมวัย)
5. ดูแลกันและกันดี (เน้นพัฒนาคุณภาพศูนย์ดูแลต่อเนื่องผู้สูงอายุติดเตียง,ผู้พิการต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน,ผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้าย)
 โดยใช้กระบวนการ 5:5:5 คือ 5 : ภาคีเครือข่ายบวร ( 1.ท้องถิ่น 2.ท้องที่ 3.การศึกษา 4.ศาสนา
5.สาธารณสุข),
 5 ร่วม : 1.ร่วมคิด 2.ร่วมทำ 3.ร่วมรับผิดชอบ 4.ร่วมกำกับประเมินผล 5.ร่วมพัฒนาต่อเนื่อง และมีกระบวนการ ดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ตามลำดับ คือ
                1. การคืนข้อมูลข่าวสารโรคและภัยสุขภาพ
                2. กรรมการทั้ง 5 ภาคีเครือข่ายร่วมตัดสินใจ
                3. จัดทำแผนสุขภาพชุมชน
                4. บูรณาการงบประมาณ
               5. ดำเนินงานกำกับและประเมินผล
ผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนโดยกลกสุขภาพในทุกระดับ
มีผลลัพธ์การพัฒนาเกิดเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพในอำเภอคำเขื่อนแก้ว ดังนี้

http://ptjsw.blogspot.com/2016/06/242559-dhs.html

หลักการและเหตุผล จาก DHS สู่ DHB (District Health Board: DHB)
                   ด้วยกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
ระบบสุขภาพระดับอำเภอ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวทางประชารัฐ ร่วมกับ
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน และบูรณาการร่วมกัน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชน โดยจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ
(District Health Board: DHB) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมถึงให้มีการระดมทรัพยากร ด้านบุคลากร เทคโนโยลี สารสนเทศ องค์ความรู้และงบประมาณร่วมกัน
                   เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ
คำเขื่อนแก้ว ดังนี้
นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว                             ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว                      รองประธานกรรมการ
ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว                  กรรมการ
ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง           กรรมการ
เกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว                         กรรมการ
ปศุสัตว์อำเภอคำเขื่อนแก้ว                         กรรมการ
พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว                     กรรมการ
ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคำเขื่อนแก้ว    กรรมการ
ประธานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก้วบูรพา   กรรมการ
นายกเทศมนตรีตำบลคำเขื่อนแก้ว               กรรมการ
นายกเทศมนตรีตำบลดงแคนใหญ่               กรรมการ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ลุมพุก                      กรรมการ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นาคำ                       กรรมการ
ประธานชมรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอคำเขื่อนแก้ว    กรรมการ
ประธานชมรม อสม. อำเภอคำเขื่อนแก้ว                   กรรมการ
ประธาน ชมรม พ่อค้า อำเภอคำเขื่อนแก้ว     กรรมการ
ประธาน พัฒนาสตรี อำเภอคำเขื่อนแก้ว                    กรรมการ
ประธานชมรม สภาวัฒนธรรม อำเภอคำเขื่อนแก้ว       กรรมการ
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว                   กรรมการและเลขานุการ
ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว                       กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หัวหน้าฝ่ายเวชปฏิบัติและครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยให้คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1.พิจารณาเห็นชอบแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ แผนการปฏิบัติงาน
2.พิจารณาเห็นชอบรายงานความก้าวหน้าของแนวทางปฏิบัติงานและพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตในทุกไตรมาส
รับทราบและเห็นชอบ การจัดหาและนำทรัพยากรต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ภายในอำเภอมาใช้ร่วมกัน รวมถึงการดำเนิน นวัตกรรม ในการใช้ทรัพยากรต่างๆ จากหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ภายในอำเภอมาใช้ร่วมกัน
เพื่อการพัฒนาสุขภาพ และ คุณภาพชีวิต แก่ประชาชนภายในอำเภอ
3.ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้า ของแนวทางปฏิบัติและกิจกรรมต่างๆทางด้านสุขภาพ
และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในอำเภอ
4.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ

และดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 

No comments:

Post a Comment