11/16/16

3พย.2559ข้อมูลSWOT_แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปี 2560 จ.ยโสธร_TOWS

3พย.2559ข้อมูลSWOT_แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปี 2560 จ.ยโสธร_TOWS
วันที่3 พฤศจิกายน 2559 ผมนายพันธุ์ทอง   จันทร์สว่าง  ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ เข้าร่วมกิจกรรม  ตามโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ  การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขและแผนปฏิบัติราชการประจำปี  ปีงบประมาณ  2560 จังหวัดยโสธร ซึ่งจัดขึ้น ในวันที่ 2-4 พฤศจิกายน  2559
ณ ห้องบุษราคัม โรงแรม เจพี.เอ็มเมอรัลด์  จังหวัดยโสธร
              นพ.บัญชา  สรรพโส  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  มอบหมายให้ผู้เข้าร่วมประชุม
ภายใต้คำแนะนำจาก ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร และคณะร่วมกันตกผลึกความคิด จนสามารถสรุป ข้อมูลจากการระดมสมองร่วมกัน โดยการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (Internal and External Environment Scanning) ได้ดังนี้

การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายใน (Internal Environment Scanning)
จุดแข็ง (Strengths)
มีระบบการติดตาม นิเทศ ประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ (3.44)
ผู้นำทุกระดับในองค์กรมีวิสัยทัศน์ มุ่งมั่น ตั้งใจในการนำองค์กร (๓.38)
โรงพยาบาลกุดชุมมีสถานที่และแหล่งผลิตสมุนไพรที่มีมาตรฐาน GMP และกระจายผลิตภัณฑ์ไป    ยังสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ (๓.36)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสภาครัฐ (ITA) ได้รับการประเมินและจัดลำดับเป็นอันดับ 1  ของภาค และอันดับ 3 ของประเทศ (๓.3๔)
ระบบบริหารจัดการของระบบสุขภาพจังหวัดใช้การแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานสาธารณสุข ทุกระดับ เป็นเครื่องมือทางการบริหารที่สำคัญ เพื่อความโปร่งใส  เป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางการบริหาร (๓.26)
เครือข่ายทุกระดับมีความเข้มแข็ง และเน้นการปฏิบัติงานเชิงรุก (๓.17)
บุคลากรสาธารณสุขมีทีมสหวิชาชีพซึ่งพร้อมให้บริการแบบองค์รวม (.1๑)
การใช้โปรแกรมการเงินการคลังควบคุมระบบการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ (๓.1๐)
บุคลากรทุกระดับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรู้ ความสามารถ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ และส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ เข้าใจปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่เป็นอย่างดี และมีอัตราการโยกย้ายต่ำ (๓.0๙)
การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงร่วมกันมีประสิทธิภาพ เช่น Fundus camera เป็นต้น ทำให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง (๓.00)
การจัดสรรการเงินและงบประมาณ มีแผนการเงินการคลังชัดเจนทุกระดับ   ทำให้เกิดความรวดเร็ว ชัดเจน ตรงตามงวด (2.98)
การพัฒนาการใช้สมุนไพร และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2.91)























จุดอ่อน (Weaknesses)
บุคลากรบางส่วนขาดความก้าวหน้า และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความเหลื่อมล้ำด้านค่าตอบแทน เงินเดือนไม่ได้รับตามรอบการประเมิน (๓.๗4)
ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ จิตแพทย์ สูติแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นักจิตวิทยา พยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน (๓.๖6)
บุคลากรในหน่วยบริการไม่เพียงพอ ทำให้ต้องรับภาระงานอื่นๆ และมีความเสี่ยงสูง เช่น นักวิชาการสาธารณสุขทำหน้าที่รักษาพยาบาล(๓.๖3)
บุคลากรส่วนใหญ่มีภาระงานมาก ได้รับการมอบหมายงานและปฏิบัติงานไม่ตรงสายวิชาชีพ  (๓.57)
ขาดการบูรณาการงานทุกระดับ เช่น การจัดประชุมซ้ำซ้อน และผู้ปฏิบัติงานต้องเดินทางมาประชุมบ่อย ในขณะที่เวลาในการปฏิบัติงานและภาระงานไม่สมดุลกัน (๓.56)
บุคลากรการแพทย์ และทันตแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ใช่บุคคลในพื้นที่ ทำให้อัตราการย้ายและลาออกสูง ทำให้อัตรากำลังไม่เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน (๓.52)
การกระจายตัวของบุคลากรไม่เหมาะสมกับพื้นที่ (๓.๔1)
ขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณยุ่งยาก มีมาตรฐานต่างกัน  (๓.๓4)
การจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย และงบพัฒนาบุคลากรไม่เพียงพอ (๓.31)
การจัดสรรงบประมาณบางส่วนไม่สอดคล้องกับแผนงานโครงการ (๓.๒6)
ขาดยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ได้รับไม่ตรงตามงวดที่เบิก ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นไม่เพียงพอ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (๓.๑0)
การนำนโยบายสู่การปฏิบัติไม่ลงถึงผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ปฏิบัติบางรายตอบไม่ได้ (2.96)
การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอก (External Environment Scanning)
โอกาส (Opportunities)
ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เครือข่ายสังคม เช่น Internet, Facebook, Line เป็นต้น ทำให้สามารถใช้ในการเข้าถึง สืบค้นข้อมูลสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว และ เจ้าหน้าที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านสุขภาพ เช่น ไลน์ปรึกษา กลุ่มเยี่ยมบ้าน ฯลฯ (๓.๕7)
สภาพสังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทร ส่งผลให้เกิดเครือข่ายการพึ่งตนเองในการช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน (๓.๓9)
ชาวยโสธรมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจ ส่งผลต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี(๓.52)
จังหวัดยโสธรมีปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ทำให้สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายมาประยุกต์ใช้ในระบบการดูแลสุขภาพ  (๓.๓6)
นโยบายและกฎหมายหลายฉบับที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ เช่น พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พ.ศ. 2551 ธรรมนูญสุขภาพ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการดำเนินงานด้านสุขภาพที่คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น (๓.3๐)
ภายในจังหวัดยโสธร มีโรงพยาบาลเอกชน สถานบริการเอกชน คลินิก เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และเป็นเครือข่ายในงานสาธารณสุขมากขึ้น (๓.23)
นโยบายระบบสุขภาพของอำเภอ (DHS) สามารถบูรณาการให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓.15)
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณ ในการพัฒนาสุขภาพมากขึ้น ส่งผลต่อประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง (๓.0๓)
ผู้บริหารการศึกษาให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านสุขภาพ เช่น โรงเรียนระดับเพชร การสอดแทรกหลักสูตรด้านสุขภาพ การลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เป็นต้น (2.99)
หน่วยงานอิสระ สสส./สกว.สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ส่งผลให้เกิดการพัฒนางาน พัฒนาคนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง (2.86)
อุปสรรคหรือภาวะคุกคาม (Threats)
ในระยะเวลาอันใกล้ สัดส่วนของผู้สูงอายุ ผู้ต้องการการพึ่งพิง หรือผู้พิการจากโรคเรื้อรังหรือปัญหาสุขภาพ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพที่มีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (๓.๗0)
ประเพณีบุญบั้งไฟ สงกรานต์ หรือการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลปีใหม่ทำให้การดื่มสุรา และการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น (๓.66)
การย้ายถิ่นของประชากรหนุ่มสาว วัยทำงานเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ และการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ทำให้ผู้สูงอายุและเด็กขาดคนดูแล เกิดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ เช่น ปัญหายาเสพติด มารดาตั้งครรภ์ก่อนวัย รวมทั้งเกิดอุบัติการณ์โรคติดต่อ (๓.๖2)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว    ทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงในการใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพถึงประชาชนมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคและผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว (๓.๖๐)
นโยบายในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจากราชการส่วนกลาง และตัวชี้วัดที่กำกับการดำเนินงานมีมากเกินไป และไม่สัมพันธ์กับอัตรากำลังที่มีอยู่ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความท้อแท้ และขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน (๓.5๙)
ปัญหาเด็กติดเกมส์ สมาธิสั้น ผู้ใหญ่ติดเฟซบุ๊ค ไลน์ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการใส่ใจสุขภาพลดลง (๓.50)
วัฒนธรรมการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ ของประชากรในภาคอีสาน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น (๓.๔6)
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามภารกิจด้านสุขภาพตามที่กฎหมายกำหนด และการบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ทำให้การบูรณาการงานไม่ทั่วถึงและครอบคลุมประชากร (๓.41)
งบประมาณบางส่วนที่ต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ถูกจัดสรรผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณส่วนนี้ทำได้ยาก (๓.4๐)
ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย (GDP ลำดับที่ 73 ของประเทศ) และให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้องมากกว่าการรักษาสุขภาพตนเองและครอบครัว ทำให้การเข้าถึงบริการลดลง เกิดภาวะเครียด (3.3๙)
การขาดความต่อเนื่องการเมือง การเมืองไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลให้การพัฒนางานด้านสุขภาพทางนโยบายไม่มีความต่อเนื่อง (3.38)
การควบคุมคุณภาพสถานบริการไม่ทั่วถึง ส่งผลต่อคุณภาพบริการที่ประชาชนได้รับ และเกิดเรื่องร้องเรียนมากขึ้น (3.22)

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customers) : ผู้รับบริการ
1.หน่วยบริการ
1.1 ผู้ป่วยและญาติ
ความคาดหวัง
1. หายจากการเจ็บป่วย
2. การบริการที่สะดวก  รวดเร็ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก มีความปลอดภัย มีมาตรฐาน
3. One Stop Service
4. ช่องทางแสดงความคิดเห็นต่อบริการ
5 .ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนฟังเข้าใจง่าย
6.ให้บริการตรงตามเวลาหรือตารางให้บริการของแพทย์ หน้าห้องรอตรวจไม่แออัด
7.มีเครื่องมือที่ทันสมัย เพียงพอ สะอาดผ่าน IC
8.การส่งต่อข้อมูลระหว่างจุดบริการ
9. อาคารสถานที่ ภูมิสถาปัตย์สะอาดสวยงาม มีสิ่งความสะดวก
10.ผู้ให้บริการพร้อมให้บริการตลอดเวลา
มีความสุภาพ น่าเชื่อถือ มีความใส่ใจ พูดเพราะ
11.ยาและเวชภัณฑ์มีความเพียงพอ
12. ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์อย่างเป็นธรรม
ผู้ป่วย (บริการเชิงรุก)  มีความคาดหวัง
1. มีการติดตามเยี่ยมต่อเนื่องและได้รับบริการตามที่ร้องขอ
2.ได้รับความช่วยเหลือในสิ่งที่ขาดแคลน
3. เจ้าหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ
4. ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย
5. เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพและอื่นๆ
6.ผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแล
7. เข้าไปดำเนินการควบคุมโรคได้ตามมาตรฐาน
8. คุ้มครองผู้บริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน  ลดความเสี่ยง
9. ส่งต่อผู้ป่วยในชุมชนอย่างรวดเร็ว สะดวก
10.ส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย
1.2 เจ้าหน้าที่(ผู้ป่วย) มีความคาดหวัง
1. ช่องทางด่วน/พิเศษ
2. สวัสดิการ /การเยี่ยมให้กำลังใจจากผู้บริหาร
1.3 ประชาชนทั่วไป มีความคาดหวัง
1. สะดวก ปลอดภัย
2. มีการประชาสัมพันธ์และได้รับข้อมูลข่าวสารชัดเจน เข้าใจง่าย
3. มีขั้นตอนบริการที่ชัดเจน
2.หน่วยบริหาร
 2.1 ผู้ประกอบการด้านบริการสุขภาพ
2.2 เจ้าหน้าที่
2.3 ประชาชนทั่วไป
2.4 ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก/ส่ง
มีความคาหวัง
1. สะดวก รวดเร็ว
2. One Stop Service
3. ได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพชัดเจน 
4. โปร่งใส เป็นธรรม ไม่เรียกรับผลประโยชน์
5. ยิ้มแย้มแจ่มใส
6. มีช่องทางในการติดต่อที่สะดวก หลายช่องทาง
7. มีคู่มือหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน

การตอบสนองขององค์กร
1. พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการบริการ
1. พัฒนาระบบบริการด่านหน้า
2.พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
3. พัฒนาศักยาภาพบุคลากรทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
4. พัฒนาระบบบริการส่งต่อให้มี
    ประสิทธิภาพ
1. บริการ one stop service
มีช่องทางในการรับข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
1. จัดช่องทางการสื่อสาร/ ประชาสัมพันธ์
2. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540
1.ปลูกจิตสำนึกเรื่องตรงต่อเวลา
2.จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และจัดบริเวณห้องตรวจ/ รอตรวจให้เพียงพอ
3. พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
1. พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการบริการ
2. จัดหาครุภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้มีคุณภาพและเพียงพอ
1. พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
2. จัดช่องทางการสื่อสาร/ ประชาสัมพันธ์
1. ปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งภายใน ภายนอกของหน่วยงาน และสถานบริการทุกระดับ
2. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ
1. พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
2. พัฒนาศักยาภาพบุคลากรทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
1. จัดหายาและเวชภัณฑ์มีความเพียงพอต่อการให้บริการในสถานบริการทุกระดับ
มีกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการ
1. พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
2. พัฒนาศักยาภาพบุคลากรทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเพื่อ
พัฒนาระบบงานและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
จัดให้มีบุคคลตัวอย่างด้านสุขภาพและมีการส่งเสริมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1. จัดช่องทางการสื่อสาร/ ประชาสัมพันธ์
2. มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540
พัฒนาศักยาภาพบุคลากรทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเพื่อ
พัฒนาระบบงาน
1. พัฒนาศักยาภาพบุคลากรทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
2. มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาระบบงาน
มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเพื่อ
พัฒนาระบบงาน
พัฒนาระบบบริการส่งต่อให้มี
ประสิทธิภาพ
1. พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
2. พัฒนาศักยาภาพบุคลาทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
1. จัดให้มีช่องทางด่วน/พิเศษ สำหรับเจ้าหน้าที่แยกจากผู้รับบริการทั่วไป
2. จัดสวัสดิการ และการเยี่ยมให้กำลังใจจากผู้บริหาร
1. ปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งภายใน ภายนอก ของหน่วยงาน และสถานบริการทุกระดับ
2.จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก
ให้เพียงพอ
3. จัดช่องทางการสื่อสาร/ ประชาสัมพันธ์
4. มีช่องทางในการรับข้อเสนอแนะ/     ร้องเรียน
1. จัดช่องทางการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์
2. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ.2540
จัดทำคู่มือหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก
ให้เพียงพอ
2. พัฒนาศักยาภาพบุคลาทุกระดับให้ความเชี่ยวชาญในงานหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
จัดให้มีบริการ one stop service
1. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
2. มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ.2540
จัดให้มีธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน
พัฒนาพฤติกรรมบริการของผู้ให้บริการทุกระดับ
จัดช่องทางการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์
จัดทำคู่มือหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน

การวิเคราะห์ลูกค้า (Customers) อื่นๆ(ที่ไม่ใช่ผู้รับบริการ)
ผู้มีส่วนได้เสีย
กระทรวงสาธารณสุข/เขตบริการสุขภาพ
- รมต.สาธรณสุข
- ข้าราชการประจำ(ปลัดกระทรวง)
- อธิบดีกรมต่างๆ
- เขตสุขภาพ
- ผวจ.ยโสธร /เครือข่าย
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีความคาดหวัง
ทำงานตอบสนองนโยบาย
-บุคลากรมีความสุข
-งานบรรลุตามตัวชี้วัด
-ประชาชนมีสุขภาพดี
-รายงานข้อมูลถูกต้องครบถ้วนทันเวลา
-เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ
-การประสานงานที่สะดวก รวดเร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
-ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย
-ให้ความร่วมมือในการจัดบริการด้านสุขภาพอื่นๆ
-การงานแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม
การตอบสนองขององค์กร
พัฒนาระบบสุขภาพให้บรรลุตามเกณฑ์เป้าหมาย(KPI)
-นำแผนไปปฏิบัติในพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
-มีการติดตามประเมินผล
-สร้างพันธมิตรเครือข่ายในการปฏิบัติงานรวมกัน
-พัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
-สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร
สังคม
- ภาคเอกชน องค์กร เอกชน NGO สสส.สป.สช.
มีความคาดหวัง
-เป็นหน่วยงานต้นแบบหรือเป็นผู้นำด้านสุขภาพ
-มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสุขภาพ
การตอบสนอง
-จัดทำแผนบูรณาการกับภาคส่วนอื่น
-จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
-พัฒนาเครือข่ายในการให้บริการ
สถานีวิทยุกระจายเสียง
นักข่าว วิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์
-กลุ่มผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และโฆษณา
มีความคาดหวัง
-ต้องการข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ถูกต้อง
-มีการสนับสนุนสื่อ/สิ่งพิมพ์ต่างๆด้านสาธารณสุข
-ต้องการค่าจ้างแรงงานผลิตสื่อต่างๆที่ตรงเวลาโปร่งใสและยุติธรรม
การตอบสนอง
จัดตั้งฝ่ายที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเผยแพร่/ผลิต/สนับสนุนสื่อ
-พัฒนาระบบการจัดซื้อ/จัดจ้างให้โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
ผู้มีส่วนได้เสีย
คู่ค้าและอุตสาหกรรมและสมาคม(ผู้ประกอบการ)
   -แมคโคร
   -โลตัส
   -บิ๊กซี
   -โกลบอลเฮ้า
   -7-11
   -โรงน้ำแข็ง-น้ำดื่ม
   -ผู้แทนตำหน่ายยา เวชภัณฑ์
ความคาดหวัง
- ความสะดวกในการติดต่อประสานงาน
-การจ่ายเงินตรงเวลา
-ระบบงานโปร่งใส
การตอบสนองขององค์กร
-จัดระบบการติดต่อประสานงานให้มีประสิทธิภาพ
-จัดตั้งฝ่ายที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบการจัดซื้อ/จัดจ้างให้โปร่งใสทันเวลา มีการติดตามและสามารถตรวจสอบได้
-จัดช่องทางในการรับข้อร้องทุกข์สำหรับผู้ประกอบการ
ชุมชน
ความคาดหวัง
-การได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพ
-การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพ
การตอบสนองขององค์กร
-พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
-จัดให้ช่องทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

-จัดให้ชุมชนเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ

No comments:

Post a Comment