1/31/17

26มค.2560 ประชุม คปสอ.คำเขื่อนแก้ว สรุปกระบวนการ 555 ขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี

26มค.2560 ประชุม คปสอ.คำเขื่อนแก้ว สรุปกระบวนการ 555 ขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี
              วันที่ 26 มกราคม 2560 ภาคบ่าย ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ เข้าร่วม ประชุม คณะกรรมการ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุข อำเภอคำเขื่อนแก้ว
              ประธานการประชุม โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ในฐานะ ประธาน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
                   เนื้อหาการประชุม อาทิเช่น
วาระประธานแจ้งให้ทราบ
                   บรรยายพิเศษ นโยบายและการขับเคลื่อนงานสาธารณสุข ปี 2560
สรุปความว่า  เป็นการดำเนินงาน ภายใต้  นโยบายรัฐบาล
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และปฏิรูปประเทศไทย ด้านสาธารณสุข
ประเทศไทย 4.0 ขับเคลื่อน โดยรูปแบบประชารัฐ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนSustainable Development Goals (SDGs)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ.2560 2564)
แบ่ง ทิศทางการวางแผน 20 ปี ออกเป็น 4 Phase คือ
Phase 1 ปฏิรูป (2560-2564)
Phase 2 สร้างความเข้มแข็ง (2565-2569)
Phase 3 สู่ความยั่งยืน (2570-2574)
Phase 4 เป็น 1 ใน 3 ของเอเซีย (2575-2579)
                   โดยแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขได้กาหนดเป้าหมาย คือ ประชาชน
สุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ 1.การส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค (P&P Excellence) 2.ระบบบริการ (Service Excellence) 3.การพัฒนาคน (People
Excellence) และ 4.ระบบบริหารจัดการ (Governance Excellence)
ในการนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มี
ความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืนหน่วยงานต่างๆจึงได้ร่วมกันจัดทาแผน และรายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี
ภายใต้กรอบ 16 แผนงาน 48 โครงการ และ 96 ตัวชี้วัด
            ซึ่งหาก แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข)บรรลุผลตามที่กำหนด
จะส่งผลให้ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด(LE) ไม่น้อยกว่า 80 ปี   และ อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี (HALE)
อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด(LE) ไม่น้อยกว่า 80 ปี นั้น มีปัจจัยหลักจาก  1)External causes  และ 2)Chronic diseases
ส่วนอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี (HALE) ต้องให้ความสำคัญกับ 1)การลดปัจจัยเสี่ยงและการเจ็บป่วย   2)ส่งเสริมสุขภาพของคนไทย
มติที่ประชุม รับทราบ

วารเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ 1 เตรียมความพร้อม รับการนิเทศงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ครั้งที่ 1/ 2560
            ตามที่ นพ.บัญชา สรรพโส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ ได้มีกำหนดการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตัวชี้วัด (การนิเทศงานผสมผสาน) ระดับอำเภอ ตามนโยบายและตัวชี้วัด ที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค ความต้องการรับการสนับสนุนการดำเนินงาน ครั้งที่ 1/ 2560 ในพื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560  นั้น ขอให้คณะทำงาน เตรียมความพร้อม ทั้งด้านข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ ใช้ห้องประชุมนำชัย โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
มอบหมายผู้รับผิดชอบหลัก จาก ทั้ง 2 หน่วยงานหลักดังนี้
คนที่ 1. นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
คนที่ 2. นายทรงพล พลไชย หัวหน้ากลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ผู้นำเสนอในนภาพรวมของ คปสอ. คำเขื่อนแก้ว มอบความไว้วางใจให้กับ นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ภายใต้กรอบความคิด ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ 1.การส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค (P&P Excellence) 2.ระบบบริการ (Service Excellence) 3.การพัฒนาคน (People
Excellence) และ 4.ระบบบริหารจัดการ (Governance Excellence) และรายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี
ภายใต้กรอบ 16 แผนงาน 48 โครงการ  96 ตัวชี้วัด และ PA กระทรวง
มติที่ประชุม รับทราบและเห็นชอบ
เรื่องที่ 2 การดำเนินงาน DHS ด้วยกระบวนการ 555 ขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
              สืบเนื่องจาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ใช่ กระบวนการ 555 ขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
มาอย่างต่อเนื่องนั้น พบว่า ผู้ประสานหลัก หรือ Innovation ด้านการบริหารสำคัญคือ หมอครอบครัว ผู้รับผิดชอบพื้นที่ เป็นเลขานุการการขับเคลื่อนการบูรณาการ พัฒนางานสาธารณสุข ทุกๆงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จากการรับผิดชอบงาน เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ ( One Man One Area : OMOA )ภายใต้Concept พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ตามแนวทาง UCAREC
              ส่งผลให้   วาระสุขภาพ 5 ดี ส่วนมากมีผลการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และมี ความสุขจากการทำงานระหว่างทาง ( Small success ) เกิดขึ้นในทุกๆพื้นๆที่ แต่อาจจะไม่ครบทุกๆดี แต่มีดี ในทุกๆพื้นที่
            ฉะนั้นเพื่อการพัฒนาสุขภาพให้เกิดความต่อเนื่องและครอบคลุม นอกจากการดำเนินงานตาม  ยุทธศาสตร์ 20 ปี ภายใต้กรอบ 16 แผนงาน 48 โครงการ  96 ตัวชี้วัด และ PA กระทรวง แล้ว จึงเห็นสมควร คงให้การขับเคลื่อน
วาระสุขภาพ 5 ดี อำเภอคำเขื่อนแก้ว ทั้ง 5 ด้านต่อไป ประกอบด้วย
1.ดูแลตนเองดี (เน้นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
2. สะอาดดี (เน้นสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน)
3. วัยเรียนวัยรุ่นพฤติกรรมสุขภาพดี (เน้นลดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม/การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น) 
4. แม่และเด็กสุขภาพดี (เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนและเด็กมีพัฒนาการสมวัย)
5. ดูแลกันและกันดี (เน้นพัฒนาคุณภาพศูนย์ดูแลต่อเนื่องผู้สูงอายุติดเตียง,ผู้พิการต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน,ผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้าย)
                 เดิม เจ้าหน้าที่เรา ดูแลเป็นงานๆ เหมือนการเป็นเจ้ากรม หรือ เป็นขาช้าง งวงช้าง มาเป็น เจ้ากระทรวง หรือ เป็นการดูช้างทั้งตัว
-พวกเราเป็นคนทำงานระดับพื้นที่ ระดับอำเภอ ตำบล เป็นจุดที่สำคัญ
-ที่พี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
-มีศักยภาพมากพอ ที่สามารถช่วยทำงานต่างๆให้สำเร็จได้ดี
โดย ทำงานแบบมี Evidence Based ใช้หลักวิชาการสนับสนุนการทำงาน
มติที่ประชุม รับทราบและเสนอให้ขยายพื้นที่ ผู้รับผิดชอบพื้นที่ ที่เป็นเลขานุการการขับเคลื่อนการบูรณาการ
( One Man One Area : OMOA )ภายใต้Concept พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวทาง UCAREC
จากเดิม ในเฉพาะพื้นที่ รพ.สต. 16 แห่ง ขยายให้ครอบคลุมทั้งอำเภอ โดยตำบลลุมพุก ซึ่งเป็น เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ก็ให้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกันต่อไป
                  
เรื่องที่ 3 การดำเนินงาน DHB งปม. 50,000 บาท
              ตามที่ สปสช.สนับสนุน งปม. 50,000 บาท สำหรับการดำเนินงาน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(DHB) อำเภอคำเขื่อนแก้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้ ส่วนงานเลขานุการวาระสุขภาพ แต่ละ ดี ทั้ง 5 ดี สรุปข้อมูล ให้ สาธารณสุขอำเภอนำเสนอข้อมูล โรคและภัยสุขภาพ รวมถึงการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในรอบปีที่ผ่านมาต่อคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอต่อไป
              มติที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 4 การดำเนินงาน DHML โซนใต้ 3 อำเภอ วังคำชัย งปม. 60,000 บาท
เรื่องที่ 5 การดำเนินงาน DHS งปม.CUP 150,000 เป็นต้น
                   มติที่ประชุมมอบหมายให้ ผู้รับผิดชอบจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วประสานการปฏิบัติ รวมถึงเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาต่อไป
ทั้งนี้ มีกำหนดการรับประเมิน DHSA ประมาณปลายเดือนเมษายน 2560
                  
หมายเหตุ :ระบบสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว (รสอ.) District Health System:DHS  ร่วมกันขับเคลื่อนวาระ 5 ดี มุ่งสู่  “คนคำเขื่อนแก้วสุขภาพดีอย่างยั่งยืน”  รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ นี่














                   เนื้อหาการประชุม อาทิเช่น
เรื่องที่ 1 เตรียมความพร้อม ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้มีกำหนดการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตัวชี้วัด (การนิเทศงานผสมผสาน) ระดับอำเภอ ตามนโยบายและตัวชี้วัด ที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค ความต้องการรับการสนับสนุนการดำเนินงาน ครั้งที่ ๑/ ๒๕๖๐ ในพื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว ในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐  
เรื่องที่ 2 การดำเนินงาน DHB งปม. 50,000
เรื่องที่ 3 การดำเนินงาน DHML 3 อำเภอ วังคำชัย งปม. 60,000

เรื่องที่ 4 การดำเนินงาน DHS งปม.CUP 150,000 เป็นต้น 

No comments:

Post a Comment