2/14/21

7 ก.พ.64 Health Literacy : หลากความหมาย หลายมุมมอง_อำเภอความรอบรู้ด้านสุขภาพ 7 ระบบ 9 ขั้นตอน

 7 ก.พ.64 Health Literacy : หลากความหมาย หลายมุมมอง_อำเภอความรอบรู้ด้านสุขภาพ 7 ระบบ 9 ขั้นตอน  

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวัง  

บันทึก สรุปบทเรียน ที่ผ่านมา จาก หลักสูตร ผบส.

ผบส. หรือชื่อเต็มหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงระดับอำเภอ ( การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ) 

เข้าถึง เข้าใจ ไถ่ถาม ตัดสินใจ นำไปใช้(ปรับเปลี่ยน)  บอกต่อ

 หลากความหมาย หลายมุมมอง สมาคมความรอบรู้ด้านสุขภาพ THLA

 สาเหตุที่เกิดเหตุการณ์ทางสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ นั้น THLA ฟันธงบอกว่า ส่วนใหญ่เกิดจาก 1.ความไม่รู้ 2.ไม่ตระหนัก 3.ปฏิบัติตนไม่ถูกวิธี จึงส่งผลตามมาด้วย การเจ็บป่วยรุนแรง สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต   การแก้ ต้องแก้ที่ 3 ไม่ นึ้ให้เหมาะสม

และ THLA ก็ฟันธง อีกว่า คำตอบ ที่เชื่อว่าจะ สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างถาวรคือ Health literacy  ความถ่องแท้ เป็นแท้ คือแท้ ด้านสุขภาพ 

 THLA  หรือ สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย (Thai Health Literacy Promotion Association - THLA)

นายกสมาคมคนปัจจุบัน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อดีต อธิบดีกรมอนามัย

 ความสำคัญของความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องสุขภาพ Health Literacy

THLA ระบุว่า ปัญหาสุขภาพมีรากฐานมาจาก การขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องสุขภาพ บุคลากรสาธารณสุขจึงต้องมี Health literacy เพื่อทำให้ประชาชนอและคนไข้ อได้รับข้อมูลทางสาธารณสุขเพียงพออจนเข้าใจ มั่นใจ นำไปปฏิบัติจนเกิดผลดีต่อสุขภาพ

 Health Literacy จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

บุคคล หรือ องค์กร หรือ ชุมชน จะเกิด ความรู้ และ ความเข้าใน ในเรื่องสุขภาพ อย่างถ่องแท้ หรือ  Health Literacy จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

Health Literacy ไม่สามารถเกิดเองได้ จะเกิด Health Literacy ได้ ต้อง มีคุณลักษณะ สำคัญ 6 ประการ SPECT

  1. มีการสนับสนุนแหล่งความรู้ ที่สามารถเข้าถึงหรือได้มาทางด้านสุขภาพ นั่นคือ บุคคลต้องมีความรู้เบื้องต้นเป็นพื้นฐาน และมีแหล่งความรู้ ที่ทันสมัยและถูกต้อง เช่น ตำรา เว็บไซต์วิชาการ การฝึกอบรม ครูบาอาจารย์ โซเชียล บุคลากรทางการแพทย์ ที่เชื่อถือได้
  2. สร้างองค์ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน บุคคลต้องสนใจ อัพเดตความรู้ในปัจจุบัน ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่เชื่อข้อมูลที่แชร์ต่อๆ กันมา ไม่รู้ ต้องอ่าน ฟัง พูดคุย ปรึกษาผู้รู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดความสงสัย ต้องค้นคว้า หรือถามผู้รู้จนเข้าใจ
  3. จัดตั้งกลุ่ม นำความรู้ความเข้าใจมาสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน เช่น กลุ่มวิชาการ กลุ่มไลน์ กลุ่มในสื่อโซเชียล กลุ่มในสถานศึกษา กลุ่มเพื่อน กลุ่มเพื่อนร่วมโรค เป็นต้น
  4. เป็นผู้ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างผู้อื่นได้ เช่น ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เมาไม่ขับ ลดน้ำหนัก ทำตามนโยบาย 5 อ. ออกกำลังกาย ดูแลด้านอาหาร อารมณ์ อากาศ การขับถ่ายอุจจาระ เป็นต้น  หรือ เป็นบุคคลต้นแบบ
  5. สามารถถ่ายทอดความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพพื้นฐาน การรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ครอบครัวและชุมชน
  6. รู้เท่าทันสื่อ ไม่แชร์ข่าวปลอม (Fake news) ทางสุขภาพ และการโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง ซึ่งระบาดหนัก สร้างปัญหาให้สังคม ควรอ่านเนื้อหาข่าวทางสุขภาพอย่างละเอียดระมัดระวัง

รอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy จากบุคคล สู่ครอบครัว องค์กร หรือ ชุมชน  มีขั้นตอนอย่างไร

 

อำเภอรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 7 ระบบและ 9 ขั้นตอน

ตามแนวทางการพัฒนาอำเภอรอบรู้ด้านสุขภาพ โดย นพ.สราวุฒิ บุญสุข (ผบส:2564)

ระบบหรือองค์ประกอบของ อำเภอรอบรู้ด้านสุขภาพ 7 ระบบ ประกอบด้วย

1. ระบบ การนำองค์กร Leadership

 2. ระบบ การจัดการด้านยุทธศาสตร์ Strategic

 3. ระบบ ผู้รับผลงาน / ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stake Holder

 4. ระบบ การวัด วิเคราะห์ และการสื่อสารสุขภาพ  Knowledge Management

 5. ระบบ ทรัพยากรบุคลากร (ผู้ร่วมขับเคลื่อน) Human Resource

 6. ระบบ การพัฒนาสู่อำเภอรอบรู้ด้านสุขภาพ Process

 7. ระบบ ผลสัมฤทธิ์ Result

 และทั้ง 7 ระบบนี้ อยู่ภายใต้ Area Context เดียวกัน ในระดับอำเภอ หาก เป็นการประเมินคุณภาพด้านอื่นๆ จะเรียก ระบบที่ 8 นี้ว่า หมวด P หรือ Unit Profile สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และ ความท้าทาย

 ระดับพฤติกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ

สำหรับประเทศไทยนั้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำ หนดเป็น 6 ระดับพฤติกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพของพลเมือง 4.0 (Smart Thai People 4.0) ได้แก่ เข้าถึง เข้าใจ ซักถาม ประเมิน ตัดสินใจ รับปรับใช้ และบอกต่อ

 องค์ประกอบ 6 ด้าน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ด้าน คือ

1. การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ (Access skill) หมายถึง ความสามารถในการค้นหาข้อมูลทางด้านสุขภาพ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและการใช้บริการทางด้านสุขภาพ

2. ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive skill) หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านสุขภาพในการที่จะนำไปปฏิบัติในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

3. ทักษะการสื่อสาร (Communication skill) หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ ด้วยวิธีการพูด อ่าน เขียน เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจและสามารถโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพ

4. ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management skill) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน และปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

5. ทักษะการตัดสินใจ (Decision skill) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดทางเลือก และหลีกเลี่ยงวิธีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมโดยการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ผลดี-ผลเสีย เพื่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพแก่ตนเองและผู้อื่นน้อยที่สุด

6. การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy skill) หมายถึง ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางด้านสุขภาพที่สื่อนำเสนอ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและสามารถประเมินข้อความสื่อเพื่อชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติตนให้กับชุมชนและสังคม

 

แล้ว ความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy คือ อะไร  แปลว่า อะไร ให้คำจำกัดความว่า อย่างไร

 WHO ให้คำจำกัดความบอกว่า ..”ความสามารถของแต่ละบุคคล ที่จะเข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูล ในการรับบริการทางสุขภาพและตัดสินใจเลือกวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม”  (”The degree to which individuals have the capacity to obtain, process, and understand basic health information and services needed to make appropriate health decisions”)  ซึ่ง Reference จาก Davis TC, Long SW, Jackson RH, et al. Rapid estimate of adult literacy in medicine: a shortened screening instrument. Fam Med 1993; 25:391.

 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (2541) ..  เป็นการบรรลุถึง ระดับความรู้ ทักษะ ส่วนบุคคล  และความมั่นใจ ในการที่จะลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยให้สุขภาพตนเอง และชุมชนดีขึ้น  โดยการปรับเปลี่ยน วิถีชีวิต และ สภาพความเป็นอยู่

 ความรอบรู้สุขภาพ คือ ความรู้ และ ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในเรื่องสุขภาพ  ( พญ.ชัญวลี ศรีสุโข : มติชน 31 มกราคม 2564 ) H

 Sorensen K. ความรู้ แรงจูงใจ และ สมรรถนะ ในการเข้าถึง เข้าใจประเมินค่า และ การประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพ  เพื่อการให้คุณค่าและตัดสินใจ ในการใช้ชีวิต ประจำวัน เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อคงไว้ หรือปรับปรุงให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตลอดชีวิต  :  Sorensen K, Van den Broucke S, Fullam J, et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012;12:80.

 Nutbeam D. ทักษะทางปัญญา และทักษะทางสังคม ที่ทำให้เกิดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจและใช้ ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสุขภาพดีของตนเอง  : Nutbeam D. Health Promotion Glossary (1999) Health Promotion International, 13(4): 349-364. 1999 (also - WHO/HPR/HEP/98.1)

 องค์การอนามัยโลก : WHO (1998)

คําจํากัดความจากองค์การอนามัยโลก : WHO (1998)  เป็นกระบวนการทาง ปัญญา และทักษะทางสังคม ที่ก่อเกิดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลที่จะเข้าถึง เข้าใจและใช้ ข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมและรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ

  

องค์การอนามัยโลก(WHO), (1998) ได้กล่าวไว้ว่า “Health literacy represents the cognitive and social skills which determine the motivation and ability of individuals to gain access to, understand and use information in ways which promote and maintain good health

 กรมอนามัย   กระทรวง สาธารณสุข  : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ หมายถึง ขีดความสามารถทางปัญญา (การคิด พิจารณา ไตร่ตรอง เลือกด้วยตนเอง) และสังคม ในระดับปัจเจกชนที่รอบรู้แตกฉานด้านสุขภาพ จนสามารถกลั่นกรอง ประเมินและเลือกรับ นำ ไปสู่การตัดสินใจด้วยความเฉียบคมที่จะเลือกรับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และเลือกใช้บริการสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเอง

 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส., 2541)  แปลนิยาม ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของ องค์การอนามัยโลก(WHO) เป็นภาษาไทย โดยใช้ชื่อง่ายๆ ว่า   “ความแตกฉานทางสุขภาพ” คือ ทักษะต่าง ๆ ทางการรับรู้และทักษะทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถ ของปัจเจกบุคคล ในการที่จะ เข้าถึง เข้าใจ และใช้ข้อมูล ในวิธีการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ

 นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ : อธิบดีกรมอนามัย  2560   ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ ความสามารถหรือทักษะของบุคคลในการ เข้าถึง เข้าใจข้อมูลสุขภาพ โต้ตอบ ซักถาม จนสามารถประเมิน ตัดสินใจ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม เลือกรับบริการ เพื่อการจัดการสุขภาพตนเองได้อย่าง เหมาะสม และ สามารถบอกต่อผู้อื่นได้

 กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2554)  ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ

ความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถ ชี้แนะเรื่องสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชนเพื่อสุขภาพที่ดี

  กรอบแนวคิด ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

 Nutbeam เสนอกรอบแนวคิด (Conceptual model) ของความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นครั้งแรก “conceptual model of health literacy as a risk” โดยเสนอองค์ประกอบหลักของความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การตัดสินใจ ทักษะการจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ ต่อมา Sorensen และคณะ14 เสนอกรอบ แนวคิดที่ได้จากการสังเคราะห์กรอบแนวคิดที่รวบรวมได้ในระหว่าง ค.ศ. 2000 - 2009 Integrated model of health literacy” และเสนอองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึง หมายถึง ความสามารถที่จะ แสวงหา ค้นหา และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ การเข้าใจ หมายถึง ความสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับ สุขภาพ การประเมิน หมายถึง ความสามารถในการอธิบาย การตีความ การคัดกรองและประเมินข้อมูล ด้านสุขภาพที่ได้รับจากการเข้าถึง และการปฏิบัติ หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารและการใช้ข้อมูล ในการตัดสินใจในการรักษาและปรับปรุงสุขภาพ


1เข้าถึง  2เข้าใจ 3ไถ่ถาม 4ตัดสินใจ 5ปรับเปลี่ยน 6บอกต่อ 




No comments:

Post a Comment