8/31/21

31 ส.ค.2564 รองผู้ว่า จ.ยโสธร เปิดเวที เรียนรู้การกำจัดสิ่งปฏิกูล ณ อำเภอเลิงนกทา _ยโสธร จังหวัดสะอาด

31 ส.ค.2564 รองผู้ว่า จ.ยโสธร เปิดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้การกำจัดสิ่งปฏิกูล ณ อำเภอเลิงนกทา

31 สิงหาคม 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ

เข้าร่วมกิจกรรมเวที  ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การกำจัดสิ่งปฏิกูลฯ ณ หอประชุมอำเภอเลิงนกทา

ประธานโดย นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

              ข่าวดี จังหวัดยโสธร ได้รับการคัดเลือก รับรางวัล จังหวัดสะอาด

โดยการจัดการขยะ 3 R  หรือ 3 ช. ที่มีประสิทธิภาพ

            นวัตกรรมที่นำเสนอ 5 อย่างประกอบด้วย

1.     การลดขยะในครัวเรือน ชุมชน ในงานศพปลอดเหล้า ด้วยข้าวต้ม แทนการจัดเลี้ยงเป็นโต๊ะ (โต๊ะกิน)

โดย  ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว

2.     หมู่บ้านการจัดการขยะต้นแบบ ระดับประเทศ โดย บ้านสองคร อำเภอกุดชุม

3.     การนำผักตบชวา ทำเป็นปุ๋ย อินทรีย์  โดย สภาอุตสาหกรรม จังหวัดยโสธร

4.     การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ด้วย การสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูล ที่มากที่สุดในประเทสไทย

5.     การบำบัดขยะ ด้วยลานตาก นำไปทำเป็นดินปลูก ที่มีคุรภาพ โดย เทศบาลเมืองยโสธร

 

หนึ่งใน 5 ด้าน คือ เรื่องที่เรา มาร่วมแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ ซึ่งผมได้รับทราบข่าวดี จาก ท่านนายก ชัชชัย นายก อบต.สามแยก ว่า จะสร้าง เป็นบ่อแรกของอำเภอเลิงนกทา ในปีนี้     นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

 

วิทยากร โดย นพ.ดนัย เจียรกูล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี 

นางไฉไล ช่างดำ รอง ผอ.ศูนย์อนามัยที่10 อุบลราชธานี

นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา

นายวสันต์ ชัยภูมิ นายก อบต.ลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว

นายรักทวี ผลขาว นายก อบต.น้ำคำ อำเภอไทยเจริญ

นายสุวิช ชูรัตน์ ผอ.กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลคำเตย

            น้อมนำศาสตร์พระราชา ในหลวงร.9 เข้าใจ เข้าถึง ร่วมพัฒนา"  เพื่อไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ในตับ มะเร็งท่อน้ำดี  จังหวัดยโสธรจะเป็นจังหวัดชั้น นำเป็นจังหวัดที่มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลมากที่สุดในประเทศไทย

เวทีนี้นาย มนต์ชัย พันธ์สวัสดิ์ ท้องถิ่นอำเภอเลิงนกทา   นำผู้บริหารท้องถิ่น และคณะจากทุกตำบลเข้าร่วมงาน

ประสานการปฏิบัติด้วยดี โดย

            นายอัมพร อุ่นชิน หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

ว่าที่ ร.ต.อุทิศ อินธิชัย หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

 ขอขอบพระคุณทุกๆท่านไว้ ณ โอกาสนี้




 







                        

คำกล่าวรายงาน โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔  วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔  ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา

กระผม นายสุพิช สามารถ  นายอำเภอเลิงนกทา ในนามเจ้าของพื้นที่และผู้เห็นชอบการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี  จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔ ขอกราบขอบพระคุณ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร  ที่ท่านได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในวันนี้  กระผมอนุญาตนำเรียนความเป็นมาของการจัดงาน พอสังเขป ดังนี้

              พยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราความชุกของโรคสูงที่สุด จากการคาดการณ์ประชาชน  ๒๐ ล้านคนติดโรคหรือเคยติดโรคพยาธิใบไม้ในตับมากกว่า ๖ ล้านคน หรือนับเป็น ๑ ใน ๓ ของประชากรในภาค สอดคล้องกับสถิติการเสียชีวิตของโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงสุดในปี ๒๕๔๘ เมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตวันละ ๗๐ รายหรือเฉลี่ยชั่วโมงละ ๓ ราย ในปี ๒๕๕๙- ๒๕๖๑  จากสถิติกองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีคิดเป็น ๒๖.๓,๒๕.๑และ ๒๕.๓ ต่อแสนประชากร  เกิดขึ้นกับประชากรวัยทำงานที่เป็นหัวหน้าครอบครัว อายุระหว่าง ๔๐-๖๐ ปี ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉพาะผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดี รายละประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท หรือประมาณ ๑,๙๖๐ ล้านต่อปี ถือว่าเป็นโรคที่รุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมเป็นอย่างมาก แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี ๒๕๕๙- ๒๕๖๘  ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนผ่านโครงการรณรงค์การกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ เป็นต้นมา  สำหรับจังหวัดยโสธร ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ เป็นต้นมาโดยดำเนินการในทุกอำเภอ มีตำบลเป้าหมาย ๖๑ ตำบล คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๒ ของตำบลทั้งหมด กิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้มาตรการหลัก 5 มาตรการ ในเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกัน การรักษาพยาบาล  การดูแลบริการรับ - ส่งต่อ การสื่อสารสาธารณะ 

              การดำเนินงานมาตรการ ในเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ ได้นำประเด็นการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสจ.)  เมื่อวันที่ ๑๗  กรกฎาคม  ๒๕๖๑  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลในระดับจังหวัดอย่างเป็นระบบ ผ่าน เทศบาล อบต. บังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ตามบริบทของพื้นที่ โดยท้องถิ่นจังหวัดยโสธร ได้วางแผนงานขับเคลื่อน  ( Road Map ) ของจังหวัดยโสธรไว้ ๓ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔  โดยภายในปี ๒๕๖๔ อปท.ทุกแห่ง  มีการออกข้อบัญญัติ  ว่าด้วยการเก็บขนสิ่งปฏิกูล โดยกำหนดสถานที่ทิ้งชัดเจน และอปท.ทุกแห่ง มีการดำเนินการจัดหาหรือให้มีระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ ในเขตพื้นที่หรือร่วมกับอปท.อื่นที่อยู่ใกล้เคียง โดยให้กำหนดที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะในข้อบัญญัติ มีการควบคุมกำกับติดตามเฝ้าระวังของผู้ประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต และมอบหมายให้ท้องถิ่นจังหวัดยโสธรแจ้งอปท.ทุกแห่งดำเนินการตามแผนของจังหวัดยโสธร ระดับอำเภอขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของอำเภอ มีการควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงาน ในเวทีคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดและคณะกรรมการปฏิกูลมูลฝอยของจังหวัด  ในปัจจุบันจังหวัดยโสธร  มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลจำนวน ๑๒ แห่งใน ๖ อำเภอ คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ มากที่สุดในเขตสุขภาพที่ ๑๐

                เพื่อประกาศจังหวัดยโสธร  เป็นจังหวัดที่มีผลงานเด่น ในการดำเนินงานมีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะมากที่สุด ในเขตสุขภาพที่ ๑๐ และประกาศเป็นจังหวัดเป็นจังหวัดที่มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลมากที่สุดของประเทศไทยและมีครบทุกอำเภอ ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งมีแผนพร้อมจะก่อสร้างเพิ่มอีก ๑๔ แห่ง  จังหวัดยโสธรจึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี  จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔ ขึ้นและได้คัดเลือกอำเภอเลิงนกทา ซึ่งเป็นอำเภอที่มีความพร้อมที่จะก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูล จำนวน ๕ แห่งในพื้นที่ ในปี ๒๕๖๕ ที่สามารถจะเป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้แก่หน่วยงานอื่นได้  เพื่อส่งเสริมให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ยังไม่ได้ดำเนินการในพื้นที่ ให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ตามมาตรฐานวิชาการและตามกฎหมาย  การจัดงาน ในวันนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ นิทรรศการ วิชาการจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคและศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานี และศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานี  ท้องถิ่นจังหวัดยโสธร ส่วนราชการรัฐ ท้องถิ่น เอกชนชุมชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว  และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

                   บัดนี้ ได้เวลาอันสมควร  ขอกราบเรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร  ได้มอบโล่แก่หน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นสนับสนุนการดำเนินงาน “บ่อบำบัดและสิ่งปฏิกูล” อย่างต่อเนื่อง และเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี  จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔ พร้อมมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงาน  ณ ห้องประชุมที่ว่าการเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา  ขอกราบเรียนเชิญครับ

                                  ........................................................................................

คำกล่าวเปิดงาน

ของ นายสมเพชร  สร้อยสระคู  รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

              ในการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัด

สิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔  วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔

ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา

..................................................................................................

สวัสดี ท่านผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานี ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ท่านท้องถิ่นจังหวัดยโสธร ท่านหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน ท่านนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ท่านนายกเทศมนตรี ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล แขกผู้มีเกียรติทุกๆท่าน

               กระผมนายสมเพชร  สร้อยสระคู  รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธาน  ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔  วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา ในวันนี้

                        จากการกล่าวรายงานความเป็นมา  ของท่านนายเลิงนกทา ทำให้ทราบว่า  พยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดยโสธร พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีคิดเป็น จำนวนมาก  ถือว่าเป็นโรคที่รุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมเป็นอย่างมาก จังหวัดยโสธร ได้เริ่มดำเนินการโครงการรณรงค์การกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ ตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี ๒๕๕๙- ๒๕๖๘  ดำเนินการในทุกอำเภอ มีกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้มาตรการหลัก 5 มาตรการ ในเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกัน การรักษาพยาบาล  การดูแลบริการรับ - ส่งต่อ การสื่อสารสาธารณะ  ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การตัดปัญหาวงจรการเกิดโรคที่สำคัญ  ต้องส่งเสริมการดำเนินงานมาตรการ ในเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ  ซึ่งจังหวัดยโสธรได้ตระหนักในความสำคัญของปัญหา ได้นำประเด็นการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (คสจ.)  เมื่อวันที่ ๑๗  กรกฎาคม  ๒๕๖๑  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลในระดับจังหวัดอย่างเป็นระบบ ผ่าน เทศบาล อบต. บังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ตามบริบทของพื้นที่ โดยท้องถิ่นจังหวัดยโสธร ได้วางแผนงานขับเคลื่อน    ( Road Map ) ของจังหวัดยโสธรไว้ ๓ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ ซึ่งได้กำหนดให้ อปท.ทุกแห่ง  มีการออกข้อบัญญัติ  ว่าด้วยการเก็บขนสิ่งปฏิกูล ซึ่งจังหวัดยโสธร ได้ออกข้อบัญญัติครบทุกแห่ง ร้อยละ ๑๐๐ในประเด็นกำหนดสถานที่ทิ้งชัดเจน ยังไม่ครอบคลุมและบังคับใช้ตามกฎหมาย  ในส่วนให้อปท.ทุกแห่ง มีการดำเนินการจัดหาหรือให้มีระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ ในเขตพื้นที่  หรือร่วมกับอปท.อื่นที่อยู่ใกล้เคียง โดยให้กำหนดที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะในข้อบัญญัติ มีการควบคุมกำกับติดตามเฝ้าระวังของผู้ประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต  การดำเนินงานขับเคลื่อนในระดับอำเภอขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของอำเภอ มีการควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงาน ในเวทีคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการปฏิกูลมูลฝอย ของจังหวัดยโสธร  และเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจน่าชื่นชม จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดที่มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลมากที่สุด  ในเขตสุขภาพที่ ๑๐ อุบลราชธานี  มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลจำนวน ๑๒ แห่งใน ๖ อำเภอ คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ ยโสธร  และเป็นจังหวัดที่มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลมีครบทุกอำเภอมีจำนวนที่สุดของประเทศไทย ในปี ๒๕๖๕ ซึ่งมีแผนพร้อมจะก่อสร้างเพิ่มอีก ๑๔ แห่ง ต้องขอบคุณทางอปท.ทุกแห่งที่ให้ความสำคัญ ตระหนักสำคัญในปัญหา และชื่นชมเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลแล้วเสร็จ  ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในวันนี้

                ในนามจังวัดยโสธร ผมขอประกาศให้จังหวัดยโสธร พร้อมเป็นจังหวัดที่มีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลครบทุกอำเภอและมีจำนวนมากที่สุดของประเทศไทย  ในปี ๒๕๖๕   และขอบคุณอำเภอเลิงนกทา เป็นอำเภอที่มีความพร้อม มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และพร้อมจะมีการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลในปี ๒๕๖๕ ถึงจำนวน ๕ แห่ง   พร้อมเป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้แก่หน่วยงานอื่นๆได้ ในระดับจังหวัด เขต และระดับประเทศในลำดับต่อไป  ผมขอความร่วมมือให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ให้ความสำคัญเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ร่วมกันแก้ปัญหาการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

              ในโอกาสนี้ขอขอบคุณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานี ที่สนับสนุนงบประมาณ วิชาการ ขอบคุณท่าน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ท่านท้องถิ่นจังหวัดยโสธร นายอำเภอเลิงนกทา  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินงานในวันนี้

                บัดนี้ ได้เวลาอันสมควร  ขอเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  โครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดยโสธรประจำปี ๒๕๖๔  อำเภอเลิงนกทา


No comments:

Post a Comment