3/18/09
ห้องน้ำ HAS ศูนย์ 3 วัย สถานีอนามัยนาเวียง
วันที่ 18 มีนาคม 2552: สำหรับการก่อสร้างห้องน้ำ สถานีอนามัยนาเวียง นั้น หลังจากที่ผมได้ดูรูปภาพเมื่อวานแล้วประทับใจ จึงออกมาดูสถานที่จริง เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม ขณะก่อสร้าง เช่นความสะอาด และการปูกระเบื้องเพิ่มเติมเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ สามารถผ่าน มาตรฐานส้วมของกรมอนามัย หรือ มาตรฐานส้วม HAS หรือเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะไทย
เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะไทยการพัฒนาส้วมสาธารณะในประเทศไทยให้ได้มาตรฐาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดต่อและเพื่อความพึงพอใจของประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จะเน้นพัฒนาส้วมสาธารณะในประเทศไทยให้บรรลุ 3 เรื่อง คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ให้ได้มาตรฐาน หรือ Healthy Accessibility Safety (HAS)
(1) สะอาด (Healthy) หมายถึง ส้วมจะต้องได้รับการดำเนินการให้ถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitation Conditions) เช่น ห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีวัสดุ อุปกรณ์บริการ เช่น น้ำสะอาด สบู่ล้างมือ กระดาษชำระ เพียงพอ การเก็บกักหรือบำบัดสิ่งปฏิกูลถูกต้องและมีสภาพแวดล้อมสวยงามซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งทางร่างกาย และ จิตใจของผู้ใช้ส้วม
(2) เพียงพอ (Accessibility) หมายถึง ต้องมีส้วมให้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาส
(3) ปลอดภัย (Safety) หมายถึง ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ส้วม เช่นสถานที่ตั้งส้วมไม่เปลี่ยว แยกเพศชาย หญิง มีแสงสว่างพอเพียง เป็นต้น
ความสะอาด (Healthy :H)
1. พื้น ผนัง เพดาน โถส้วม ที่กด โถส้วม โถปัสสาวะ ที่กดโถปัสสาวะ สะอาด ไม่มีคราบสกปรก อยู่ในสภาพดีใช้งานได้
2. น้ำใช้สะอาด เพียงพอ และไม่มี ลูกน้ำ ยุง ภาชนะเก็บกักน้ำ ขันตักน้ำ สะอาด อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้
3. กระดาษชำระเพียงพอต่อการ ใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ (อาจจำหน่ายหรือบริการฟรี) หรือมีสายฉีดน้ำชำระที่สะอาด อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้
4. อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ กระจก สะอาด ไม่มีคราบสกปรก อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้
5. สบู่ล้างมือ พร้อมให้ใช้ ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
6. ถังรองรับมูลฝอยสะอาด มีฝาปิดอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือ บริเวณใกล้เคียง
7. มีการระบายอากาศดี และไม่มี กลิ่นเหม็น
8. สภาพท่อระบายสิ่งปฏิกูลและ ถังเก็บกักไม่รั่วแตกหรือชำรุด
9. จัดให้มีการทำความสะอาด และระบบการควบคุมตรวจตรา
เป็นประจำ
ความเพียงพอ (Accessibility: A)
10. จัดให้มีส้วมนั่งราบสำหรับผู้พิการ ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์ และประชาชนทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งที่
11. ส้วมสาธารณะพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการความปลอดภัย (Safety :S)
12. บริเวณที่ตั้งส้วมต้องไม่อยู่ที่ลับตา / เปลี่ยว
13. กรณีที่มีห้องส้วมตั้งแต่ 2 ห้อง ขึ้นไป ให้แยกเป็นห้องส้วม สำหรับชาย – หญิง โดยมีป้าย หรือสัญลักษณ์ชัดเจน
14. ประตู ที่จับเปิด-ปิด และที่ล็อค ด้านใน สะอาด อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้
15. พื้นห้องส้วมแห้ง
16. แสงสว่างเพียงพอ สามารถ มองเห็นได้ทั่วบริเวณ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment