3 เม.ย.64 Problem Three _ Objective Three _Analysis 7 ระบบ 9 ขั้นตอน
วันที่ 3 เมษายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
สาธารณสุขอำเภอค้อวังและคณะ ผบส.1
กิจกรรมตามหลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงระดับอำเภอ ผบส. (
การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม : Health Literacy) ณ โรงแรมแสน
โอเตล จังหวัดเชียงราย
วิทยากรหลัก โดย รศ.ดงวงศา
เล้าหศิริวงศ์ คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Problem Three _ Objective Three _Analysis
7 ระบบ 9 ขั้นตอน HL เขตสุขภาพที่ 10
การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเครือข่ายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เขตสุขภาพที่ ๑๐
Step
1 Context Analysis
กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย
สถานการณ์มารดาตายเขตสุขภาพที่
10 ปีงบประมาณ 2560-2562 เท่ากับ 10.10, 13.20 และ 5.41
ต่อแสนการเกิดมีชีพ ตามลาดับ (เป้าหมายไม่เกิน 17 ต่อแสนการเกิดมีชีพ) ขณะที่ปี
2563 (ตุลาคม 2562 ถึง กรกฏาคม 2563) พบมารดาตายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
3 ปีที่ผ่านมา โดยพบมารดาตาย จำนวน 7 ราย คิดเป็น 24.53
ต่อแสนการเกิดมีชีพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ พบว่าสูงกว่าค่าเป้าหมาย
ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
ร้อยละ 83.43 (เป้าหมาย ร้อยละ 75) ฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 85.50
(เป้าหมาย ร้อยละ 75) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 13.86 (เป้าหมาย
ไม่เกินร้อยละ 16) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ ร้อยละ
14.44 (เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 16) หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์
ร้อยละ 85.50 (เป้าหมาย ร้อยละ 65)
แต่อัตราความครอบคลุมการได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก
และกรดโฟลิกของหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรแล้วยังต่ำกว่าเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ
90.62 (เป้าหมาย ร้อยละ 100) ส่วนอัตราทารกแรกเกิดน้าหนักน้อยกว่า
2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 6.97 (เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 7)
สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยรอบ
9 เดือน ของเขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2563 (ตุลาคม 2562 – มิถุนายน 2563) พบว่ามีความครอบคลุมในการคัดกรองพัฒนาการเด็ก
ร้อยละ 94.38 (เป้าหมายร้อยละ 90)
พบพัฒนาการสงสัยล่าช้าจากการคัดกรองครั้งแรกซึ่งต้องพบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
ในภาพรวมของเขต พบร้อยละ 26.86 การติดตามเด็กประเมินซ้า ภายใน 1 เดือน
โดยภาพรวมเขตฯ เท่ากับ ร้อยละ 93.57 (ข้อมูลปีงบประมาณ 2562 คัดกรองร้อยละ 94.57
พบสงสัยล่าช้าร้อยละ 26.61 ติดตามได้ ร้อยละ 94.32)
การติดตามเด็กพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นด้วย TEDA4I
ร้อยละ 75.75 (เป้าหมายร้อยละ 60) สำหรับการติดตามเด็กพัฒนาการล่าช้า
ให้ได้รับการกระตุ้นด้วย TEDA4I ในภาพรวมเขตสุขภาพที่
10 พบว่า เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า รวมทั้งสิ้น จำนวน 433 คน
ได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I จำนวน 328 คน ร้อยละ 75.75 กระตุ้นครบเกณฑ์ที่กำหนด (3 เดือน) จำนวน 154
คน ร้อยละ 46.95 กลับมาปกติ จำนวน 55 คน ร้อยละ 35.71 เมื่อแยกเป็นรายจังหวัดพบว่า
จังหวัดอำนาจเจริญ สามารถติดตามและกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I
ได้มากที่สุดถึงร้อยละ 100 รองลงมาคือ
จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 87.13
จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 85.71 จังหวัด อุบลราชธานี
ร้อยละ 64.49 และจังหวัดยโสธร ร้อยละ 60.53 ยังมีเด็กพัฒนาการล่าช้าที่อยู่ระหว่างการติดตาม
เพื่อให้เข้าสู่บริการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ภาพรวมเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 44 คน ร้อยละ 10.16
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต้องเร่งดาเนินการติดตาม
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก
อาทิ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
ภาพรวมเขตเท่ากับร้อยละ 58.56 สูงที่สุดที่จังหวัดยโสธร (ร้อยละ 81.18) รองลงมาคือ
จังหวัดอานาจเจริญ (ร้อยละ 76.83) จังหวัดศรีสะเกษ (ร้อยละ 62.14)
จังหวัดอุบลราชธานี (ร้อยละ 51.22) และจังหวัดมุกดาหาร
(ร้อยละ 48.14) ตามลาดับ
อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในภาพรวมของเขตฯ
เท่ากับร้อยละ 6.96 ต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย (ไม่เกินร้อยละ 7)
โดยพบสูงที่สุดที่จังหวัดมุกดาหาร (ร้อยละ 9.40) รองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ
(ร้อยละ 7.33) จังหวัดอุบลราชธานี (ร้อยละ 7.22) จังหวัดอำนาจเจริญ (ร้อยละ 5.65)
และจังหวัดยโสธร (ร้อยละ 3.32) ตามลำดับ การคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็ก 6-12 เดือน
พบว่ามีภาวะโลหิตจางร้อยละ 25.13
(เป้าหมายไม่เกินร้อยละ
30) พบภาวะโลหิตจางมากที่สุดที่จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 35.89 รองลงมา จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 32.32
จังหวัดอานาจเจริญ ร้อยละ 31.35 จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ35.89 จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 25.62
และจังหวัดยโสธร ร้อยละ 12.03 ตามลาดับ
(ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2563)
สาหรับภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยของเขตสุขภาพที่
10 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 (เมษายน - มิถุนายน 2563) พบว่า เด็กสูงดีสมส่วน ร้อยละ 67.31 (เป้าหมาย ร้อยละ 60) โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีเด็กสูงดีสมส่วนมากที่สุด
(ร้อยละ 71.17) รองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ (ร้อยละ70.02) จังหวัดยโสธร (ร้อยละ 69.47)
จังหวัดมุกดาหาร (ร้อยละ 64.93) และจังหวัดอุบลราชธานี
(ร้อยละ 63.85) ตามลาดับ ปัญหาเด็กเตี้ย
พบร้อยละ 8.79 (ไม่เกินร้อยละ 14) จังหวัดอุบลราชธานี มีปัญหาเด็กเตี้ยมากที่สุด (ร้อยละ 10.35)
รองลงมาจังหวัดมุกดาหาร (ร้อยละ 9.15) จังหวัดอำนาจเจริญ (ร้อยละ 7.84)
จังหวัดศรีสะเกษ (ร้อยละ 7.73) และจังหวัดยโสธร (ร้อยละ 7.11) ตามลาดับ
ปัญหาเด็กผอม ร้อยละ 5.74 (ไม่เกินร้อยละ 6) จังหวัดมุกดาหาร พบเด็กผอมมากที่สุด
(ร้อยละ 7.62) รองลงมาคือ จังหวัดอุบลราชธานี (ร้อยละ 6.44) จังหวัดศรีสะเกษ (ร้อยละ 5.20) จังหวัดยโสธร (ร้อยละ 4.89) และจังหวัดอานาจเจริญ (ร้อยละ 4.56)
ตามลาดับ ปัญหาเด็กอ้วน ร้อยละ 7.39 (ไม่เกินร้อยละ 10) จังหวัดอุบลราชธานี
พบเด็กอ้วนมากที่สุด (ร้อยละ 8.26) รองลงมา คือจังหวัดมุกดาหาร (ร้อยละ 8.22)
จังหวัดยโสธร (ร้อยละ 6.92) จังหวัดอานาจเจริญ (ร้อยละ 6.80) และจังหวัดศรีสะเกษ
(ร้อยละ 6.55) ตามลาดับ ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี ในเด็กชาย เท่ากับ 109.96 เซนติเมตร
เด็กหญิง เท่ากับ 109.49 เซนติเมตร (ข้อมูลปีงบประมาณ 2562 ไตรมาสที่ 3
เด็กสูงดีสมส่วน ร้อยละ 61.00 เด็กเตี้ย ร้อยละ 13.24 เด็กผอม ร้อยละ 6.90
เด็กอ้วน ร้อยละ 9.28)
ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน
1. พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก
บางคนไม่ได้ใช้เครื่องมือ DSPM ในการกระตุ้นประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
เนื่องจากผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุอ่านไม่ออก ไม่เข้าใจวิธีการประเมินและกระตุ้น
และด้วยภาวะด้านเศรษฐกิจทำให้บิดามารดาต้องหารายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวจึงมีเวลาดูแลบุตรน้อยลง
2. อุปกรณ์ในการเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของสถานบริการสาธารณสุข/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ชุมชนบางแห่งยังไม่ได้มาตรฐานซึ่งได้ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุงและพัฒนา
3. ผู้ปกครอง/ครู สถานพัฒนาเด็ดปฐมวัย บางแห่ง
บางคนยังขาดความรู้เรื่องกิจกรรมโภชนาการ กิน กอดเล่น เล่า นอนเฝ้า ดูฟัน
4.
บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน ANC และ WCC มีจำนวนน้อย
ภาระงานมากทำให้ไม่สามารถให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้คู่มือในการดูแลสุขภาพตนเอง แก่ผู้รับบริการได้
แนวทางแก้ไข
1.พัฒนาระบบการควบคุม
กำกับ ติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการคัดกรองและที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าและพัฒนาการล่าช้าให้ถึงรายระดับบุคคล
เน้นการบริการเชิงรุกมากขึ้น
2.
พัฒนาทักษะการสื่อสารให้กับบุคลากรสาธารณสุขทุกแห่งเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจประเมินพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรหลาน
3.
ขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงรุกโดยใช้เครือข่าย (โค้ชเด็ก)
ในการช่วยเหลือเด็กแบบองค์รวม
4.พัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือการตรวจคัดกรองพัฒนาการของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและอาสาสมัคร
สาธารณสุข
(อสม.)
5. พัฒนามาตรฐานบริการและมาตรฐานของอุปกรณ์ในการชั่งน้าหนัก/วัดส่วนสูงครอบคลุมทุกสถาน
บริการและในหมู่บ้าน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สรุปเนื้อหา
ตามไฟล์เอกสาร ( อยู่ระหว่างการปรับปรุง)
บันทึก (ผมพันธุ์ทอง
ประกอบความทรงจำ )
Changing_ปรับ_เปลี่ยนให้ทันการเปลี่ยนแปลง_อย่าหลงของเก่า
อย่าเมาของใหม่
อย่าหลงของเก่า อย่าเมาของใหม่
ของเก่าที่ไม่ดี จำต้องทิ้ง
ของใหม่ที่ไม่เหมาะกับเรา ก็อย่ารับ
ปรับให้เหมาะสม ปรัโลกภายนอกให้ดี
ปรับราศีภายใน ให้ สมดุล Balance
บุคคล ที่จะทำงานเป็นทีมที่ดี ไม่จำเป็นต้อง
เก่งมาก
เพราะ คนเก่ง เดิม มี 2 คน ชาย 1 หญิง 1
ปัจจุบัน ยุค IT
4.0 มีเหลืออยู่คนเดียว ชื่อ โทรศัพท์
คนที่พร้อมจะ Share
ทั้ง ความสำเร็จ และ ความ ผิดพลาด จาการทำงาน
ให้ทีมงาน
ได้รับทราบ
ร่วมกัน
ฉะนั้น ความสำเร็จ ยุค IT
4.0 ลักษณะเฉพาะ ในยุคคนี้
จึงขับเคลื่อนด้วย
เครือข่าย หรือ Participation
หรือ Partnership เพื่อ
สร้าง Team
Note : RIT
ขยายความภายหลัง
จงพึงพอใจ กับความไม่สมบูรณ์
ภายนอก คือ ความเลิศเลอ Perfect
จึงจะชื่นชอบ ชื่นชมกระนั้นหรือ
อีกมุมมมองหนึ่ง คุณค่าภายในจิตใจ ก็มีความสำคัญ
ในพิพิธภัณฑ์ พบว่า ปูชนียวัตถุ
ไม่มีชิ้นใด
ที่ไม่มีตำหนิ
ปูชนียบุคคล
ย่อม
คละเค้าไปด้วย ทั้งความทุกข์ ความสุข
ความผิดพลาด
สำเร็จ ล้มเหลว
ความงามที่มีรอยตำหนิแห่งกาลเวลา
ถือเป็นกัลยาณมิตร
ตาม วาบิ ชาบิ
เป้าหมายคือ หมอกสวย อาทิตย์ ใน บนภูกระดึง
บางครั้งขึ้นไปถึง อาจมีเมฆบดบัง หรือ ฝนตกปรอยๆ
ก็ได้
จุดชมวิว จึงเป็นความสุข
ระหว่างทาง สำคัญกว่าหรือ พอ ๆ กับ เป้าหมาย
ทำงานให้สนุก
คือ มีความสุขกับการทำงาน รู้จัก
เข้าใจ ให้อภัยกัน
เป้าหมาย ให้ลูกรับราชการ
จะรอมีความสุขครังเดียว
ตอนลูกบรรจุทำงานเป็นข้าราชการ
หรือ มีความสุขทุกๆ การเปลี่ยนแปลงของลูก
เคลื่อนไหว
ขี้ เยี่ยว ยิ้ม หัวเราะ ดำนา เลี้ยงไก่
นึ่งข้าว ล้างถ้วย ซักผ้า
ยิงกระปอม
ตักน้ำ ตำข้าว หาปลา ก้อยกุ้ง เลี้ยงไก่ ไถนา ขี่จักรยานได้
แต่งตัวเป็น
สอบผ่าน แข่งกีฬาได้
ร้องเพลงเป็น
เล่นสนุก ๆ กับเพื่อนๆ แบ่งปันของกินกับเพื่อนๆ
ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ
ชาวแพร่ แห่ระฆัง
จากไม่มีค่า นำมาเป็นสิ่งสวยงาม
สิ่งทำลายล้าง สร้างสันติภาพ
ขอซื้อ
1 ล้าน บาท 50 ปีที่แล้ว
ปัจจุบัน อาจจะหลายร้อยล้าน
สวนลอยฟ้า เจ้าพระยา ศิลปะ
จากสะพานพัง
ศิลปิน อย่าดูหมิ่นศิลปะ กองขยะดูดีๆ ก็มีศิลป์
พระพรหมบัณฑิต
เจ้าอาวาสวัดประยูร และคณะ ขับและเคลื่อน สะพานพัง ให้เป็น สวนสาธารณะลอยฟ้า
โกวเล้ง
“ขุนเขาไม่ต้องสูงเด่น มีเพียงเซียนสถิต
ก็เลื่องชื่อ”
“สายน้ำไม่ต้องลึกล้ำ มีเพียงมังกรอาศัย….ก็ศักดิ์สิทธิ์”
“สุราไม่ต้องราคาแพง ขอเพียงมีคนรู้ใจ
ก็เลิศรส”
“ขาดอาหารอยู่ได้
10 วัน ขาดน้ำอยู่ได้
3 วัน
ขาดอากาศอยู่ได้
3 นาที แต่ถ้าขาดเพื่อน
ผบส.ผู้รู้ใจ
แม้อยู่ได้นานหลายปีไป
ก็ไร้ค่า”
“古龍” (โกวเล้ง)
การเปลี่ยนแปลง : โลก มีการพร่อง อยู่ตลอดเวลา พร่อง หรือ
Change
อาวุธ ที่ใช้ต่อสู้ คือ การไม่ประมาท
ปรับ หรือ เปลี่ยน
โลก ไม่ได้
แต่สามารถ ปรับ
หรือ เปลี่ยน ใจ ภาย ตนได้
จนทั้งนอก ทั้งใน ไม่ได้การ ต้องคิดอ่าน แก้จน เป็นคน พอ
ไม่ได้งานที่เราชอบ
ก็ ต้อง ชอบงาน ที่เราทำ
อย่างน้อย ก็ทำให้เรามีกิน มีใช้ ค่าเทอมลูก ค่ารักษาพ่อ แม่
ค่าดูแล รถ บ้าน งาน สวน
มีความสุขกับสิ่งที่เรามี
ยินดีกับสิ่งทีเราทำ
พอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ ใจก็จะมีความสุข
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลง ทรัพย์สิน เงินทอง คู่ครอง อำนาจ
รัฐบาลจีน ส่งเสริม ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ณ มณฑล ยูนนาน นำไปขาย ที่ อู่ฮั่น
สัตว์ป่า
เหล่านั้น สัมพันธ์กับค้างคาว เช่น เก้ง กวาง ที่โดนค้างคาวกัด หรือ กินค้างคาว
คน กินลิงป่า ปี 2527 AIDS เกิดขึ้น
No comments:
Post a Comment