5/20/21

14 พ.ค.64 EOC เลิงนกทา ใช้กลไก พชอ. สู้ศึก COVID -19 นายตรงสิทธิ์ ตั้งจตุรวิธ มอบ 1 หมื่นบาท สนับสนุนกองทุน พชอ. ช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบาง

14 พ.ค.64  EOC เลิงนกทา ใช้กลไก พชอ. สู้ศึก COVID -19 นายตรงสิทธิ์ ตั้งจตุรวิธ มอบ 1 หมื่นบาท สนับสนุนกองทุน พชอ. ช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบาง

วันที่ 14 พฤษภาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา เลขานุการ พชอ.เข้าประชุม

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ครั้งที่ 2/2564  กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   ณ ห้องประชุมสิงห์ทอง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

 ประธานการประชุมโดย  นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา ผู้บัญชาการเหตุการณ์ EOC ประธาน พชอ.เลิงนกทา

โดยมี นายแพทย์เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ในฐานะรองผู้บัญชาการเหตุการณ์ นำคณะกรรมการ คณะทำงานฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุม เข้าร่วมการประชุม 49 คน

 วัตถุประสงค์หลักเพื่อเตรียมความพร้อม และ รับมือสถานการณ์การระบาดของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)    บูรณาการ ผ่านกลไก พชอ.  ไปในทุกพื้นที่ ซึ่งมี พชต. หรือ EOC ตำบล เป็นองค์กรหลักในระดับื้นที่ต่อไป

 ในโอกาสนี้ นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา ประธาน พชอ.เลิงนกทา ได้มอบเกียรติบัตร ให้กับ

นาย ตรงสิทธิ์ ตั้งจตุรวิธ รองประธานมูลนิธิ โรงพยาบาลเด็จพระยุพราชสาขาเลิงนกทา ที่เป็นผู้เริ่มต้นให้การสนับสนุน กองทุน พชอ.เลิงนกทา จำนวน 10,000 บาท ( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน )  สำหรับใช้ในกิจการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนคนอำเภอเลิงนกทา ต่อไป

            ในระยะแรก พชอ.เลิงนกทา จะให้ความช่วยเหลือ ประชาชนคนอำเภอเลิงนกทา ประชาชน กลุ่มเปราะบาง ก่อน

1.    ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก

2.    แม่เลี้ยงเดี่ยว

3.    ผู้สูงอายุ

4.    คนพิการ

5.    ผู้ป่วยติดเตียง

6.    มีปัญหาที่อยู่อาศัย

7.    ประสบปัญหา อื่น ๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย เป็นต้น ฯลฯ


 สรุปประเด็นจากที่ประชุมดังนี้

1. ให้ปฏิบัติตาม มาตรการ ข้อสั่งการของ ศบค. และประกาศจังหวัดยโสธร อย่างเคร่งครัด 

2. ให้ทุกส่วนราชการ ทุกองค์กร ภาคเอกชน ร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมตามเป้าหมาย

3. เตรียมความพร้อม ให้วัคซีน คนเลิงนกทา ให้ครอบคลุม ร้อยละ 80  เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ประโยชน์หลักที่จะได้จากการรวมพลังที่เราจะได้คือ  เอาความปกติสุขของคนเลิงนกทากลับมา

อาวุธ หลักคือ ในการสู้ศึก ที่มองไม่เห็นตัวในวันนี้ คือ วัคซีน   

กลยุทธ์หลักคือ การมีส่วนร่วม

เป้าประสงค์ ให้ คนเลิงนกทาปลอดโรค ปลอดภัย

ค่าเป้าหมาย กลุ่มเปราะบาง ร้อยละ 100 (ผู้สูงอายุ 60 ปี และ กลุ่มโรคเรื้อรัง 7 โรค )  ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 80

กลวิธี หาวิธี ให้ คนฉีดวัคซีน ให้มากที่สุด

            ข้อคิดเพิ่มเติม

ผลที่ได้หลักๆ นอกจาก การป้องกันควบคุมโรค ลดการป่วย ลดการตายแล้ว

ทุกคนที่ฉีดวัคซีน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา สามารถนำใบรับรองการฉีดวัคซีนไปใช้ประโยชน์ได้

เช่น หากท่านไป หรือ มาจาก สถานที่ ที่กำหนดให้บุคคลทั่วไปกักตัว 14 วัน ผู้มีใบรับรอง อาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องกักตัว  เอกสารนี้เป็น COVID-19 Vaccine Passport ไปต่างประเทศได้

หรือ ใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ตามหลักเกณฑ์ในอนาคต เป็นต้น

           

 

มติที่ประชุม มอบหมายภารกิจเตรียมความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีน COVID-19

ประชาสัมพันธ์ ทางหอกระจายข่าว   กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

ประชาสัมพันธ์ นักเรียน นักศึกษา                สถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ

ประชาสัมพันธ์ ทางสถานีวิทยุ                     ประชาสัมพันธ์ ทต. อบต. สสอ. รพร. ครู

หน่วยประชาสัมพันธ์ เคลื่อนที่                    รพร.เลิงนกทา รพ.สต.

การจัดสถานที่ ภายในหอประชุมเทศบาลเลิงนทา       ทต.เลิงนกทา

ระบบ Internet ความเร็วสูง            ปกครองอำเภอ

การจัดสถานที่  เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ นอกหอประชุม         ปกครองอำเภอเลิงนกทา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

จิตอาสา             ดูแล ผู้สูงอายุ และ กลุ่มเปราะบาง               สัสดีอำเภอ         สภ.เลิงนกทา  ปกครอง

บุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ วัสดุสนับสนุนให้บริการ 8 จุดบริการ      รพร.เลิงนกทา รพ.สต. สสอ.เลิงนกทา

การรับ-ส่งผู้รับบริการ รวมถึงประชาชนกลุ่มเปราะบาง  เทศบาล  / อบต.

อาหาร น้ำดื่ม ประชาชนแต่ละตำบล                         เทศบาล  / อบต. 

จัดเจ้าหน้าที่ร่วมให้บริการตามจุดต่างๆ  ตามเอกสารมอบหมายภารกิจ

บุคลากรตามผังการให้บริการ 8 จุดบริการ      รพร. สสอ. ปกครอง สภ. ทต. อบต.

การอำนวยการด้านการจราจร                      สภ.เลิงนกทา

การจัดการขยะ ห้องน้ำ ห้องส้วม                 เทศบาล เลิงนกทา

การสนับสนุน อาหาร น้ำดื่ม เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ภาคเอกชน  ธกส. กรุงไทย  ออมสิน  ประปา

โต๊ะ เก้าอี้ พัดลม สายไฟ และ อื่นๆ ในห้องประชุม ทต.เลิงนกทา ทต.สวาท ทต.สามแยก  อบต.สามแยก

  

หากคนเลิงนกทาเรา จะเอาความปกติสุขกลับคืนมา มีกิจกรรมดีดีร่วมกัน เรียกว่า

กิจกรรม I LOVE YOU ไม่ต้องเข้า ICU จากการติดเชื้อ  ต้องร่วมกัน ฉีดวัคซีน

หากออกกำลังกาย ก็ไม่ต้อง ใส่เครื่องช่วยหายใจ

ไม่เช่นนั้น หาก ไม่ฉีดวัคซีน เมื่อติดเชื้อ โอกาสที่ท่านจะได้รับการฉีด ฟอร์มาลีน

            

มีผู้เปรียบ โควิด 19 เป็นเชื้อไฟ กำลังไหม้บ้าน   ณ ตอนนี้ มีรถดับเพลิง(วัคซีน) มาจอดหน้าบ้านแล้ว 2 คัน

สิ่งควรทำ เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ ให้เขาฉีดดับไฟได้เลย แต่มีเจ้าของบ้านบางคน บอกว่าไม่ให้ฉีดน้ำเพราะ มีข้อกังวลจากผลข้างเคียงมากมาย เช่น  ไม่ใช่น้ำประปา ไปสูบมาจากบ่อไม่สะอาด รถไม่ได้ต่อทะเบียน นำรถออกมาผู้บังคับบัญชายังไม่ได้เซ็นต์อนุญาต  จอดไม่ถูกที่ กีดขวางการจราจร มาถึงตะโกนให้เปิดประตู ถือว่าพูดจาไม่สุภาพ ใบขับขี่ไม่มี ฉีดน้ำไม่ดีเกรงว่าตู้เสื้อผ้าในบ้านจะเปียก หนำซ้ำยังแต่งตัวไม่ถูกระเบียบ เป็นต้น

               ( ภาษาวัยรุ่น บอกว่า เยอะ แปลว่า เรื่องมาก กับเรื่องที่ไม่มีความสำคัญ )

 















            เชื้อไวรัส มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติได้ไม่นาน เชื้อก็จะตาย   แต่ เชื้อหากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ก็จะแบ่งตัวได้  

แบ่งไปแบ่งมา โชคดีเราสู้เชื้อได้เรารอด โชคไม่ดีเราเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต  ผลอื่นๆ เชื้ออาจกลายพันธุ์

            ในเมื่อในความเป็นจริงคนเราป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าร่างกายได้ตลอดเวลา จึงต้องให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเชื้อได้

วิธีสร้างภูมิคุ้มกันได้ มี 2 วิธี คือ

1.    ปล่อยให้ติดเชื้อตามธรรมชาติ  

2.    ฉีดเชื้อเข้าไปในร่างกาย (วัคซีน)

วิธีที่ 1 ปล่อยให้ติดเชื้อตามธรรมชาติ จะติดเชื้อในสังคมเร็ว เกิดภูมิต้านทานหมู่ Herd Immunity เร็ว แต่ ข้อเสียรู้ไปเลยว่า เชื้อ จะสู้เราได้ไหม สู้ได้เราก็รอด สู้ไม้ได้ เราก็ตาย คนที่ร่างกายสู้เชื้อไม่ได้ ก็จะตายไป

วิธีที่ 2 ให้วัคซีน  หากทำได้เร็ว ในจำนวนที่มากพอ (70 % ขึ้นไป ) ก็จะช่วยควบคุมโรคได้เร็ว

      แต่ แม้จะควบคุมไม่ได้เร็ว แต่ สามารถลดการเจ็บป่วยรุนแรง หรือ ลดการตายได้ เกือบ 100 %

 

ภูมิต้านทานหมู่ ภาษาแพทย์ เรียก Herd Immunity ภาษาประชาชน คือ Population Immunity

หรือภูมิคุ้มกันของชุมชน   อธิบายง่าย ๆ  ฉีดเข้าร่างกาย เกิดภูมิคุ้มกันส่วนบุคคล หลาย ๆ คนฉีด จะเกิดภูมิตุ้มกันหมู่ได้ มากแค่ไหน ต้องฉีดทุกคนไหม

คำตอบ ไม่จำเป็น องค์การอนามัยโลก ยอมรับ ว่า หากคน 70 % ของประชากร มีภูมิคุ้มกัน จะส่งผลให้ ประชากร

ทั้งสังคมในชุมชนนั้น ๆ สามารถมีภูมิคุ้มกันได้

     

        อาการข้างเคียง หรือ อาการไม่พึงประสงค์ มีแน่นอน เพราะ ไม่มีอะไร  ก็เกิดได้อยู่แล้ว เรียกว่า

ปรากฎการณ์ ยา ผีบอก หรือ ยาหลอก  Placebo หรือภาษาไทยใช้คำว่า “ยาหลอก”

      ส่วนสิ่งที่เกิดนั้น เป็นผลจากเชื้อวัคซีน ออกฤทธิ์ หากไม่มีเลย ก็จะเทียบเท่ากับการฉีด น้ำกลั่น หรือ ยาหลอก

      สรุปผลจากการศึกษา และการรายงาน ของ องค์กรที่ปลอดจากค่าย ปลอดจาการครอบงำของบริษัทการค้า บริษัทยา หรือ อิทธิพลการเมือง ศึกษาจากการฉีดไปแล้ว 3 พันล้าน Dose  ยังไม่มีรายงานการตายจากการฉีดวัคซีน  แม้ใน ประเทศ USA CDC ของอเมริกา สรุปว่า 2 ร้อยล้าน Dose ยังไม่มีรายงานการตายจากการฉีดวัคซีน

 

แก่นของการฉีดวัคซีน

1.    ป้องกันความรุนแรงได้

2.    ป้องกันการเสียชีวิต

ส่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นั้นเป็นวัตถุประสงค์ ข้อรองลงไป คือ

3.    ประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรค

 

            รวมพลัง เอาความปกติสุขของคนเลิงนกทากลับมา อาวุธ หลักคือ วัคซีน

เป้าหมายหลัก 80 % Vaccine Coverage  กลยุทธ์ ที่ดี คือ หาวิธี ให้ คนฉีดวัคซีน ให้มากที่สุด

            COVID-19 เป็นข้าศึกที่ไม่เห็นตัว เปรียบง่ายๆ ก็เหมือน ผี

                        วัคซีนก็เหมือนพระที่ปลุกเสกไล่ผี 

                        ณ วันนี้ คนไหน ๆ เขาก็ใส่พระ กันหมดแล้ว

                        เหลือ ท่านคนเดียว ที่ไม่ใสพระ

                        ลองคิดดูว่า ผี จะไปสิงอยู่กับใคร

 

คนชอบดูมวย ก็ เปรียบ สู้ โควิด เหมือน การชกมวย

ที่ผ่านมา เราตั้งการ์ด ป้องกัน

วันนี้ มีวัคซีน เป็นอาวุธ ที่สามารถใช้ เตะ ตัดขา หมัดน๊อค ศอก เข่า

            เราต้อง น๊อค โควิด ด้วยวัคซีน ครับ

 

 

 

Complicate        ช่วงแรก ๆ ประเทศเราไม่มีใครติดเชื้อเลย การแก้ปัญหาเชิงป้องกันทำได้ดี เริ่มเรียนรู้ เริ่มมีความเชี่ยวชาญ ในการแก้ปัญหา ในบริบทเดิม ๆ  พร้อมกับการศึกษาและพัฒนาวัคซีนไปพร้อมกันทั่วโลก

                       

Complexity        ปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น เป็นความซับซ้อนที่มีมิติอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง เช่น internet social media บริษัทข้ามชาติ การเมืองระหว่างประเทศ ฯ ความเชี่ยวชาญ ในการแก้ปัญหา ในบริบทเดิม ๆ อาจไม่ได้ แต่ละอำเภอต้องปรับไปตาม บริบท

 

เชื้อกลายพันธุ์

            สายพันธุ์อู่ฮั่น      หลัก ๆ คือมีไข้ จึงคัดกรองด้วย เครื่องวัดอุณภูมิ

            ปัจจุบันกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ 80 % ไม่มีไข้   จึงคัดกรองได้ยาก

                                    ควบคุมยาก 

            หนำซ้ำ ยังมี  การสื่อสารด้านลบ มีมาก เกินความจำเป็น  Fake news มีมาก

                                    เมื่อก่อน ผมอยู่สถานีอนามัย ฉีดเสร็จ ให้ยาลดไข้ พร้อมบอกว่า มีไข้เล็กน้อย ทานยานี้ 2-3 วันก็หายนะครับ เด็ก ๆ ผู้ปกครอง ก็ยอมรับได้ ( เด็ก ๆ สมัยนั้นก็พวกเราที่นั่งอยู่ที่นี่ )

            อาการข้างเคียงมีไหม มีครับ ปวด บวม แดง ร้อย มึนศรีษะ ชาต้นแขน ต้องมีบ้าง เป็นธรรมดา ของวัคซีน

หากไม่มี แสดงว่าน่าจะไม่ใช่วัคซีน

            เหรียญ มี 2 ด้านเสมอ ข้อดีของ อาการข้างเคียง ที่เกิดขึ้นเร็ว แสดงว่า วัคซีน ออกฤทธิ์ เร็ว  ออกฤทธิ์ เร็ว แสดงว่า ป้องกันได้เร็ว

            อาการข้างเคียง ที่กังวลมาก ๆ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ เกิดในผู้ที่ยังไม่ฉีด ผู้ที่ฉีดแล้ว ทั่วโลก หลายพันล้าน Dose เกิดแล้ว หายได้ในระยะเวลาอันสั้น

            แม้แต่ในประเทศไทย ฉีดแล้ว เกือบ 2 ล้าน Dose ก็หายได้ภายในเวลาอันสั้น

ฉะนั้น ผม (นายพันธุ์ทอง) ผู้ที่ฉีดแล้ว ยืนยันตามผู้เชี่ยวชาญว่า วัคซีนที่ดีที่สุดคือ วัคซีนที่เข้าสู่ตัวเราได้เร็วที่สุดครับ

                                               

(ไม่รู้ใครเขียน แต่เขียนได้ดี).. ในสถาณการณ์ รับศึก  COVID-19

เพื่อนคนหนึ่ง พอหมอพร้อมเปิดลงทะเบียนปุ๊บ เขาลงปั๊บ ไม่มีคำถาม ไม่อ่านข่าว Fake ใน social แล้วก็ได้คิวฉีดก่อนใคร     เพื่อน ๆคนอื่น ๆ ถามว่า “ทำไมรีบตัดสินใจ ไม่อ่าน Line กลุ่มหรือ  ไม่เอ๊ะกับเค้าบ้างหรือ”   มัน บอก

“เวลาภาวะสงคราม กระสุนมันยิงมั่วไปทั่ว เขามีเสื้อเกราะมาแจก มึงจะมานั่งวิเคราะห์นั่งเลือกมั้ยว่าเสื้อเกราะยี่ห้ออะไร ซักหรือยัง ปักชื่อตรงกับชื่อตนเองไหม ใครเป็นคนซื้อ ซื้อจากประเทศอะไร ดีไม่ดี... กู รีบคว้าใส่ แล้วก็รีบวิ่งไปหลบกระสุนก่อนละโว้ยยย .. เชิญมึงวิเคราะห์กันต่อไป

 

 

 

 

 

ประสิทธิผลวัคซีน เดิมมีเฉพาะ ข้อมูลเริ่มจากการทดลองในสัตว์ ขั้นต่อมาทดลองในคน แต่เปรียบเทียบวัคซีนจริง กับวัคซีนหลอก ขั้นต่อมา ข้อมูลในคน แต่เป็นต่างประเทศ แต่ ศึกษา วัคซีน เป็นประเภท ๆ  หรือ แต่ละ ยี่ห้อ ๆ ไป

 

ผลจากต่างประเทศ ล่าสุดศึกษาที่ประเทศสก๊อตแลน ศึกษาผลหลังฉีดไปแล้ว 1 เข็ม เวลาเดียวกัน คนประเทศเดียวกัน ช่วงเวลาระยะเวลาเดียวกัน  AstraZeneca 88 %     วัคซีน Pfizer  89 %

 

ครั้งแรก ในประเทศไทย เยแพร่วันนี้(14 พ.ค.64) ผลการศึกษาประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนโรคโควิด-19 ทั้งสองชนิดที่ฉีดในคนไทย ของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

            หลังฉีดวัคซีน 4 สัปดาห์ ไปแล้ว

AstraZeneca ฉีดเข็มแรก กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้  97.26 %

Sinovac  ฉีด2เข็มแล้ว กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้  99.49 % ( รายละเอียดด้านล่าง)

 

 

 

                        วัคซีนในอุดมคติ           1. ป้องกันการติดเชื้อ 2. ป้องกันการป่วย       3. ป้องกันความรุนแรง 3. ป้องกันการตาย 4. ราคาถูก 5. ฉีดได้ง่ายและเร็ว

            องค์การอนามัยโลก : WHO เก็บข้อมูล 10 ล้าน Dose ใช้ Sinovax ณ ประเทศ ชิลี มีประสิทธิภาพป้องกันการเข้า ICU ได้ 90 %

ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง (ในดินแดนที่มีเชื้อกลายพันธุ์) WHO กำลังประกาศ ให้ เป็น วัคซีน ที่ใช้ในสถานกาณ์การระบาด หรือ Emergency ได้ต่อไป

ผลข้างเคียง

 

ล่าสุดศึกษาที่ประเทศสก๊อตแลน ฉีดไปแล้ว 1 เข็ม เวลาเดียวกัน คนประเทศเดียวกัน ช่วงเวลาระยะเวลาเดียวกัน

            AstraZeneca 88 %        

            วัคซีน Pfizer  89 %        

เข็มที่ 2 ยังไม่ครบกำหนดเวลาทดลอง จึงยังไม่มีข้อมูล  

ประโยชน์ทางตรง เพื่อตัวเรา ครอบครัวเรา ชุมชนเรา

ประโยชน์ โดยอ้อม ลดการติดเชื่อในสังคม

 

ฉะนั้น ผลการศึกษา จึงต้องมีการ update อยู่ตลอดเวลา

เช่น America ไม่รอให้องค์การอนามัยโลกรับรอง ก็ ปูพรมฉีดไปเลย

เพราะ องค์การอนามัยโลกจะประชุมให้การรับรอง ตามลำดับเอกสารที่เสนอเข้าที่ประชุม

           

 

ข้อคิด   ติด โควิด = โดดเดี่ยว เดียวดาย โชคดี หาย โชคร้าย_ไร้ญาติ ไปงานศพ

            ตั้งแต่เมื่อรู้ว่า คุณติดเชื้อ เขาก็แยกตัว ออกจากผู้คนแล้ว

            จนคุณจากไป โดดเดี่ยว เดียวดาย

            ส่งไปเผา แม้แต่ เถ้ากระดูก ก็ไม่มีญาติ คนไหน รับกลับบ้าน

 

 

รายละเอียดความว่า วันนี้ (14 พ.ค.2564) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผย ว่า "ทั้งวัคซีนของซิโนแวค และวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดังนี้

97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า เข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์

99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวก สองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์

 

ในการศึกษานี้ ได้ทำการตรวจวัดระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเลือด ด้วยวิธี Roche Elecsys Electrochemiluminescence lmmunoassay (ECLIA) ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ เป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่

-กลุ่มผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด โดยเจาะเลือดหลังจากนั้น 4-8 สัปดาห์ เพื่อดูว่าการติดเชื้อโดยธรรมชาติจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่

-กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

-กลุ่มที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า โดยเจาะเลือดก่อนฉีด และหลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 4 สัปดาห์

-กลุ่มที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคโดยเจาะเลือดก่อนฉีด, หลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 3 สัปดาห์ และหลังฉีดเข็มที่สองแล้ว 4 สัปดาห์

 

ผลการตรวจวัดระดับแอนติบอดี และ % ตรวจพบแอนติบอดีในกลุ่มต่างๆ ซึ่งบ่งถึงการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นดังนี้

 

กรณีที่การติดเชื้อโดยธรรมชาติ

-กลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อและไม่ได้ฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

-กลุ่มผู้เคยมีการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ตรวจพบแอนติบอดี 92.40% (243 ใน 263 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 60.9 unit/ml

 

วัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า

-ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

-หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 97.26% (71 ใน 73 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 47.5 unit/ml

-ยังไม่มีผลการตรวจหลังฉีดเข็มที่สอง เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาฉีดเข็มที่สอง

 

เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุและตามเพศของผู้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า โดยละเอียดแล้ว พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า เข็มแรก เป็นเวลา 4 สัปดาห์นั้น

-เพศชาย ตรวจพบแอนติบอดี 93.55% (29 ใน 31 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 32.9 unit/ml

-เพศหญิง ตรวจพบแอนติบอดี 100% (42 ใน 42 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 62.3 unit/ml

 

-กลุ่มอายุ 18-59 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 100% (44 ใน 44 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 67.2 unit/ml

-กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 93.11 % (27 ใน 29 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 28.1 unit/ml

 

วัคซีนของซิโนแวค

-ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

-หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 65.96% (124 ใน 188 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 1.9 unit/ml

-หลังฉีดเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 99.49% (196 ใน 197 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 85.9 unit/ml

ดังนั้น วัคซีนซิโนแวค สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก โดยเริ่มสร้างแอนติบอดีหลังฉีดเข็มแรก (ระดับยังต่ำ) และเพิ่มมากขึ้นหลังฉีดครบสองเข็ม ซึ่ง 99.49% ของผู้ที่ฉีดครบสองเข็มแล้วสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูงมาก

 

สรุปว่า วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราซิเนกาเข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

No comments:

Post a Comment