6/19/16

2มิย.2559ประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร_มาตรการ331514

2มิย.2559ประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วันที่2มิถุนายน 2559  วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะหัวหน้าส่วนราชการ
เข้าร่วม ประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ณ หอประชุม ๑๐๐ ปี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นอภ.คำเขื่อนแก้ว พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ จำนวน ๔๒๘ คน ได้ร่วมรับฟังการประชุมมอบนโยบายจากคณะผู้บริหารจังหวัดผ่านระบบ Session call  เสร็จแล้วได้ประชุมประจำเดือนกำนัน ผญบ.ฯลฯ ณ หอประชุม ๑๐๐ ปี อำเภอคำเขื่อนแก้ด้วย
การติดตามงานนโยบายที่สำคัญ ช่วงเดือนนี้ คือ การพัฒนาตำบล ตำบลละ 5 ล้าน
และการเตรียมความพร้อม การแก้ปัญหาภัยแล้ง

ในโอกาสนี้ รับฟังการประชุม ทาง VDO Conference โดย นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้มอบนโยบาย และให้ กำนันผู้ใหญ่บ้าน รับฟังพร้อมกันทั้งจังหวัด ด้วย

















ด้านสาธารณสุข ผมนำเสนอ แจ้ง ให้ ทุกพื้นที่ กำจัดลูกน้ำยุงลาย และ ดำเนินงานตาม
มาตรการ 3-3-1-5-14 ป้องกันควบคุมโรค ( อ่านว่า สาม สาม หนึ่ง ห้า สิบสี่ )
หากพบผู้ป่วย ให้ใช้มาตรการ 3-3-1-5-14-28 ขณะนี้ได้ดำเนินการเข้มข้นทุกพื้นที่
โดยการ พิชิตลูกน้ำยุงลาย  ควบคุมป้องกันไม่ให้ระบาด ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอย่างเข้มข้น โดยให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศรณรงค์ให้ประชาชนดำเนินการตามมาตรการ 5   3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคจากยุงลาย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
และโรคไข้ปวดข้ออย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในพื้นที่ 6 โรง คือ โรงพยาบาล โรงเรือน โรงงาน โรงแรม โรงเรียน และโรงธรรม หากพบให้ใช้ มาตรการ 3-3-1-5-14-28 ป้องกันและควบคุมโรค ได้แก่
3 แรก คือ ชั่วโมง เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกภายใน 3 ชั่วโมง ต้องแจ้งข่าวให้พื้นที่ทราบ
( 10. น. และ 14 น. มี จนท. Stand by )  
3 ที่สอง คือ ชั่วโมง  ภายใน 3 ชั่วโมงต่อมา ทีมสอบสวนโรคมีการควบคุมโรคอย่างเร่งด่วยโดยใช้เสปรย์กำจัดยุง
1 คือ ภายใน 1 วัน ต่อมา มีการควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและรณรงค์กำจัดลูกน้ำ
พ่นยาฆ่ายุงลายในรัศมี 100 เมตร ภายใน 1 วัน
5 คือ รณรงค์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยประเมินจากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ภายใน 5 วันต้องเป็นศูนย์ คือ ไม่พบลูกน้ำยุงลายและ  ให้ ค่า HI,CI =0
14 คือ ภายใน ๑๔ วันควบคุมโรคให้สงบไม่มีผู้ป่วย
28 คือ หากพบผู้ป่วยหลังผู้ป่วยรายแรก ๑๔ วัน แต่ไม่เกิน ๒๘ วัน ให้นับเป็นผู้ป่วยระลอกสอง(Second generation) ถือว่าควบคุมโรค

ทั้งนี้ ระบบรายงานและควบคุมโรค ยโสธร ๓-๓-๑-๕-๑๔-๒๘
 ๒.๑ เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกภายใน ๓ ชั่วโมง มีการแจ้งข่าวให้พื้นที่ทราบ
 ๒.๒ ภายใน ๓ ชั่วโมงต่อมา มีการควบคุมโรคอย่างเร่งด่วยโดยใช้เสปรย์กำจัดยุง
 ๒.๓ ภายใน ๑ วัน ต่อมา มีการควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและรณรงค์กำจัดลูกน้ำ
 ๒.๔ ภายใน ๕ วัน มีการรณรงค์กำจัดลูกน้ำให้ ค่า HI,CI =0
 ๒.๕ ภายใน ๑๔ วัน ควบคุมโรคให้สงบไม่มีผู้ป่วย
 ๒.๖ หากพบผู้ป่วยหลังผู้ป่วยรายแรก ๑๔ วัน แต่ไม่เกิน ๒๘ วัน ให้นับเป็นผู้ป่วยระลอกสอง(Second generation) ถือว่าควบคุมโรค
            แหล่ง การตรวจสอบ จาก การดำเนินงาน ในพื้นที่ 5 ป. 1 ข. 1 ส.
สำหรับ 5 ป. ปราบยุงลาย ได้แก่  
. ปิด ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่  
. เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 
. ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ 
. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และ
. ปฏิบัติ เป็นประจำจนเป็นนิสัย  
ขัดไข่ยุงลาย เนื่องจากยุงลายจะไข่เหนือระดับน้ำ 1-2 เซนติเมตร นั้น เมื่อมีน้ำมาเติมจนท่วมหลังไข่ก็จะฟักตัวเป็นลูกน้ำ แต่หากไม่มีน้ำมาเติมจนท่วมถึงก็จะแห้งติดผนังภาชนะอย่างนั้นได้นานเป็นปี และเมื่อมีน้ำมาท่วมเมื่อใด ไข่ก็พร้อมจะแตกตัวเป็นลูกน้ำภายในได้ใน 30 นาที ซึ่งยุงตัวเมีย 1 ตัวไข่ครั้งละ 50-150 ฟอง4-6 ครั้งในช่วงชีวิตประมาณ 60 วันของยุง ฉะนั้นยุงตัวหนึ่งจะมีลูกได้ราว 500 ตัว  จึงจำเป็นต้องมีการขัดไข่ยุงลายในภาชนะด้วย โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุ่มช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดินเพื่อให้ไข่แห้งตายไปไม่ควรทิ้งลงท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งน้ำใสนิ่งทำให้ไข่บางส่วนรอดและเจริญเป็นลูกน้ำและยุงลายได้อีก 
ส. สำรวจ โดย อสม. ทุกสัปดาห์
สำรวจ โดย หมอครอบครัว ทุก 2 สัปดาห์
ขอบพระคุณ ข้อมูลประกอบ จาก

No comments:

Post a Comment