2มิย.2559สะอาดี@เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
จ.ยโสธร
วันที่2มิถุนายน 2559 วันนี้
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ
เข้าร่วม
กิจกรรม การรณรงค์ ตามวาระ คำเขื่อนแก้ว
สะอาด ดี โดย นายสุริยันต์ เจริญชัย และคณะ จัดขึ้น
ณ สนามหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
ประธาน โดย
นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ทั้งนี้ เป็นการดำเนินงานตาม กระบวนการ 555 ขับเคลื่อนวาระสุขภาพอำเภอ 5ดี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
อำเภอคำเขื่อนแก้ว ขับเคลื่อนการพัฒนา ระบบสุขภาพอำเภอ
แบบมีส่วนร่วม
โดยใช้ 555 กระบวนการ 5 5 5 เพื่อขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี และงานตามนโยบายของรัฐบาล
กระบวนการ 555 ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการ จาก 5 เครือข่ายหลัก คือ ส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน
ครู ผู้นำศาสนา สาธารณสุข พร้อมสร้างและใช้กระบวนการให้ 5 เครือข่าย มีส่วนร่วม
ในการทำงานร่วมกัน ภายใต้หลัก ๕ ร่วม คือ ร่วมคิดและวางแผน
ร่วมดำเนินการตามแผนที่กำหนด ร่วมประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์
และร่วมพัฒนาให้มีความยั่งยืน
ทั้งนี้การดำเนินงานของ ๕ เครือข่าย
มีการดำเนินงานภายใต้ 5 คุณลักษณะ คือ
1) มีคณะกรรมการ
ที่มีโครงสร้างและบทบาท ที่ชัดเจน ในทุกระดับ
2) มีระบบข้อมูลข่าวสาร
โรคและภัยสุขภาพ ในเชิงระบาดวิทยา ที่สามารถใช้ในการวางแผนได้
3) มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ
ปฏิทินการทำงาน
4) มีการระดมทรัพยากร
จากเครือข่ายในชุมชน และ
5) มีการมุ่งผลลัพธ์การดำเนินงานร่วมกัน
โดย ทั้ง 5 เครือข่าย ใช้หลัก 5 ร่วม ดำเนินงาน ตาม กระบวนการ 5 ขั้นตอน เพื่อขับเคลื่อน
วาระสุขภาพอำเภอ 5 ด้าน หรือ วาระ 5 ดี ได้แก่ ดูแลกันและกันดี สะอาดดี
แม่และเด็กสุขภาพดี
วัยเรียน วัยรุ่น พฤติกรรมดี และดูแลสุขภาพตนเองดี ทั้งนี้ มีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้คนคำเขื่อนแก้ว
สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี และมีความสุข ต่อไป
ผลลัพธ์ จาก กระบวนการ 5 5 5 เพื่อขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี
ผลลัพธ์การพัฒนาเกิดเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพในอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ดังนี้
1.ดูแลสุขภาพตนเองดี วัยทำงาน โรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง
ยังเป็นปัญหาสุขภาพของ
คนคำเขื่อนแก้ว
อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีภาพรวมร้อยละ17.92 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์(เป้าหมายร้อย40)
และโรคความดันโลหิตสูงอัตราผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีร้อยละ33.94 ต่ำกว่าเกณฑ์ (เป้าหมายร้อย50) เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วย
รสอ.มีนโยบาย สร้างครูก. โดยกำหนดให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละ
3 คน (เป็นหมอครอบครัว 1 คน และผู้ช่วยหมอครอบครัว 2 คน)
อบรมหลักสูตรแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม 5 วัน ณ สวนป่านาบุญ จังหวัดมุกดาหาร
และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
รพ.สต.ละ 2-4 ค่ายๆละ 50 คน หลักสูตรเข้มข้น 2 วัน และส่งต่อให้หมอครอบครัวดูแล แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
บูรณาการ 3 อ 2 ส และสมาธิบำบัดแบบSKT
ในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง
มีโรงเรียนสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนในการดูแล เช่น
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ความดันโลหิตควบคุมไม่ได้ CVD Risk เสี่ยงสูงมากและเสี่ยงสูงอันตราย
2.สะอาดดี
มุ่งเน้นให้กลไกสุขภาพระดับระดับตำบล หมู่บ้าน ร่วมกับขับเคลื่อน
ให้หลังคาเรือน,ชุมชน,วัด,โรงเรียน,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย
โดยให้ผนวกกิจกรรมการควบคุมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยวิธีทางกายภาพและชีวภาพ
เช่น การกำจัดขยะ และจัดหาที่เลี้ยงปลากระดี่,
ให้อสม.ทุกคนมีการจัดประกวดความสะอาดคุ้มและหมู่บ้านทุกตำบล
3.วัยเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมสุขภาพดี
ในปีงบประมาณ2558 วัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี ตั้งครรภ์ซ้ำ
ร้อยละ
16.28 (เป้าหมาย10) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ จึงกำหนดนโยบายให้โรงเรียนสอนทักษะชีวิต
และเพศศึกษารอบด้าน โดยใช้หลักสูตร PATH สอนโดยครู
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง สนับสนุนงบประมาณ เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์
คู่มือและค่าวิทยากร ในโรงเรียนมัธยม 5 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 12 แห่ง
ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย 100 % จัดหาตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญตำบลละ
2 แห่ง เพื่อให้การเข้าถึงถุงยางอนามัยได้สะดวก ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
4.แม่และเด็กสุขภาพดี
มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 37.58 (ข้อมูล
ต.ค.2557-ก.ย.2558) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย(ร้อยละ 50) กลวิธีสำคัญในการแก้ไขปัญหา
เน้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ให้ได้ตามเกณฑ์การฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพ
โดยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ ธนาคารนมแม่
มีอุปกรณ์ปั๊มนมแม่เป็นชุดของขวัญมอบให้
เมื่อมารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบ 6 เดือน
จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลต้นแบบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จัดหาตู้เย็นแช่แข็งนมตั้งเป็นธนาคารนม
มีระบบขนส่งและฝากนมแม่ที่มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนให้มารดาหลังคลอด(กรณีไปทำงานนอกพื้นที่
และไม่สามารถให้ลูกดื่มนมจากเต้าได้ตลอดเวลา) ให้ลูกได้ดื่มนมแม่ครบ 6 เดือน
มีระบบดูแลแม่และเด็กโดยทีมหมอครอบครัวดูแลอย่างใกล้ชิด
มีการตรวจพัฒนาการเด็กตามเป้าหมายอย่างครอบคลุมครบถ้วน ซึ่งพบเด็กมีพัฒนาการล่าช้า
จำนวน ๓ คน ส่งเข้าระบบการดูแล พร้อมจัดหาวัสดุอุปกรณ์
ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย ครบถ้วนในทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง เด็กมีพัฒนาการสมวัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ
5.ดูแลกันและกันดี
ผู้สูงอายุติดเตียง ๘๔ คน ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง ๒๓๕ คน ผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบประคับประครอง
๑๕ คน รวม ๓๓๔ คน ผู้สูงอายุติดเตียงเปลี่ยนมาติดบ้าน จำนวน ๗ คน (ข้อมูล ณ มี.ค.
2559) ได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนจากทีมหมอครอบครัว(FCT) หมอครอบครัว(CMหลักสูตร 420 ชั่วโมง
1 คน ) และผู้ดูแล(CGหลักสูตร 70
ชั่วโมง 6 คน) แบบดูแลกันและกันดีมีคุณภาพครอบคลุมและครบถ้วน
โดยบริการผ่านศูนย์การดูแลต่อเนื่องระดับอำเภอ(COC)
ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โดย ระบบสุขภาพอำเภอ
ร่วมกับกลไกสุขภาพจากทุกตำบล จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ ตั้งเป็นคลังวัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นให้ผู้รับบริการยืมใช้ ฟรี
มีแผนการดำเนินงานในปี
2559 คปสอ.คำเขื่อนแก้วกำหนด ตำบลแคนน้อย เป็นพื้นทีดำเนินการตำบลต้นแบบดูแลผู้ป่วยระยะยาว(
LTC )และ กำหนดให้มีการดำเนินงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ ครบทั้ง 13 ตำบล
ภายใต้การบริหารกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น ทั้ง 14 กองทุน ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยบริการ
เพื่อการพัฒนาสุขภาพประชากร 5 กลุ่มวัย สู่การพัฒนาเป็นตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการต่อไป
No comments:
Post a Comment