10/30/16

12 ต.ค.2559 Zika_คืออะไรEOC_อำเภอคำเขื่อนแก้ว พร้อมป้องกันซิก้า

12 ต.ค.2559 Zika_คืออะไรEOC_อำเภอคำเขื่อนแก้ว พร้อมป้องกันซิก้า
วันที่ 12 ตุลาคม 2559 วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง   จันทร์สว่าง  และ คณะ เข้าร่วม  การประชุมเตรียมความพร้อม
สำหรับรับมือกับ การระบาดของโรคที่มีสาเหตุจาก ยุงลาย ( ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อ และ ไข้ Zika)
ภายใต้ชื่อ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข อำเภอคำเขื่อนแก้ว (Emergency Operations Center, EOC)  ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธานระบบสุขภาพอำเภอ
หัวหน้าวิทยากรโดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
โดยมี นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะ จาก ทุกพื้นที่ ทุกตำบล เข้าร่วมประชุม
                   ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปร่วมกันคือ ให้ดำเนินการตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค ในทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่
เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อไวรัสซิกาและไข้เลือดออกอย่างเข้มงวด 
โดยจะมีการออกสุ่มประเมินจากคณะกรรมการ ระดับ อำเภอในวันที่ 25-26 ตุลาคม 2559 นี้










พร้อมทั้งให้ความรู้ ทางหอกระจายข่าวสาร โดยทั่วกัน ข้อความดังนี้
ความรู้เรื่อง ไวรัสซิกา ภัยร้ายจากยุงลาย
                   ไวรัสซิกาหรือไข้ซิกาเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7วัน แต่ที่ต้องระวังคือ หญิงตั้งครรภ์ ที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้บุตรในครรภ์มีศีรษะเล็กกว่าปกติได้ และผู้ป่วยบางคนมีการอักเสบของเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตได้
ไวรัสซิกา ได้มีการระบาดเริ่มต้นที่ประเทศบราซิลและแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้  กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ กลุ่มเสี่ยงของไวรัสซิกา
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ซึ่งหากติดเชื้อแล้วมีความเสี่ยงจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ
ไวรัสซิกาติดต่อได้อย่างไร
1. ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการ ถูกยุงที่มีเชื้อกัด โดยยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกา เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดไปยังไข่ยุงลายได้
2. ติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารก ในครรภ์
3. ติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัสซิกาอยู่ในน้ำอสุจิของผู้ป่วย ได้ถึง 6 เดือน
อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา
อาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออกแต่ไม่รุนแรง ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ปวดหัวแต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย ในระยะ 7 วันหรือช่วงทีมีไข้สามารถตรวจพบเชื้อในเลือด(แพร่เชื้อได้) และใน 30 วัน สามารถตรวจพบเชื้อในปัสสาวะ (แพร่เชื้อได้น้อยมาก)
ไวรัสซิการักษาอย่างไร
แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา
1. วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ พยายามอย่าให้ยุงกัดโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เช่น ทายากันยุงที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี นอนกางมุ้ง
3. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลาย ได้แก่ ไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง และโรคชิคุนกุนยา
มีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ด้วยความปารถนาดีจาก เครือข่ายกลไกสุขภาพสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว

No comments:

Post a Comment