10/30/16

14ต.ค.2559ทุกคน ทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยี เริ่มที่ PCC_จ.ยโสธรพร้อมบริการ โดยทีมหมอครอบครัว

14ต.ค.2559ทุกคน ทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยี เริ่มที่ PCC_จ.ยโสธรพร้อมบริการ โดยทีมหมอครอบครัว
วันที่ 14 ตุลาคม 2559 วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง   จันทร์สว่าง เข้าร่วม ประชุม การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุมพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม และมอบนโยบาย โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร 







PCC จังหวัดยโสธร
Primary Care Cluster : PCC
ก่อนอื่น ผมนายพันธุ์ทอง   จันทร์สว่าง ต้องขอบพระคุณ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากต้นแบบที่ดี ในการให้บริการประชาชนด้วยหัวใจ จาก ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จากพื้นที่อำเภอเล็กๆ ที่เรียกว่า  ลำสนธิ โมเดล หรือ คนลำสนธิ ไม่ทอดทิ้งกัน และต้นแบบการจัดระบบ การให้บริการ ที่ดี จาก โครงการ Health care Reform หรือ โครงการ อยุทธยา ที่เป็นที่มาของ นโยบาย หมอครอบครัว จนได้ถูกบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ ปี 2559
Situation ของ PCC คือ
            สภาพปัญหา คือ แนวโน้ม ผู้สูงอายุมากขึ้น
โรค NCD โรคอุบัติเหตุ และ โรคอุบัติใหม่ มากขึ้น
ปชช.บางกลุ่ม เช่นในเขตเมือง เข้าไม่ถึงการบริการในระดับครอบครัว
           
โดยมี วิสัยทัศน์ การให้บริการ ของ PCC คือ
                   ภายในปี 2568 ประชาชนในทุกพื้นที่ ทุุกกลุ่มวัย มีสุขภาพดีภายใต้การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อย่างทั่วถึง เท่าเทียม เกิดความพอใจ และไม่เป็นภาระ ค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยทีมหมอครอบครัว และ มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลประจำครอบครัว ดุจญาติมิตร
โดยมี เป้าประสงค์ ของ PCC 2 ประการ คือ
1.    ประชาชนไทยทุกคนได้รับบริการทุกที่ ทุกอย่าง ในทุกช่วงเวลา โดยมีเทคโนโลยีสนับสนุน
2.    ประชาชนได้รับ การเสริมพลัง โดยทีมหมอครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สามารถดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัว เบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
ผลลัพธ์ ของ PCC อย่างน้อย 4 ประการ คือ
                   ลดป่วย ลดตาย ลดแออัด และมีการดูแลต่อเนื่อง
Key Word 2 ประการ คือ แพทย์ และ การวางระบบสนับสนุน
                   แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
                   ทุกครอบครัวมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวคอยดูแล
                   และการวางระบบสนับสนุน(หรือการอภิบาลระบบสนับสนุนการบริการ)
ทีมหมอครอบครัว ประกอบด้วยใครบ้าง
Family Medicine  1:10,000 (แพทย์Fam Med 3 คน ปชก. 30,000 คน สามารถ Registered เป็น PCC ได้ )
สหวิชาชีพ 1:1,250
Care Giver 1:25 อสม.
อสม./ มิตรภาพบำบัด 1:50

Family care team

การให้บริการ ส่งเสริม
ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู มีความเด่นในการ เยี่ยมบ้านผู้ป่วย
ทีมให้บริการประจำ ทีม

สนับสนุน หมุนเวียน โดยเฉพาะแพทย์ มีเวลา ให้พื้นที่น้อย
การรู้จักข้อมูลสุขภาพและ

ครอบครัว ไม่มีความต่อเนื่อง
ประชาชนเข้าถึง แต่ขาด

ความเชื่อมั่น
Primary Care Cluster
การให้บริการครบทุกมิติ ใน ทุกกลุ่ม ทั้งดี เสี่ยงและป่วย โดยทีมประจำ
การรู้จักข้อมูลสุขภาพและ ครอบครัว มีความต่อเนื่อง โดยจัด ให้เป็นทีมประจำทั้งแพทย์ ทีม สนับสนุน ใช้เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่ รับผิดชอบ
ประชาชนเข้าถึงและมีความเชื่อมั่น จากการมีแพทย์และทีมรับผิดชอบ ประจำชัดเจน.

หมายถึง การรวมกลุ่มของหน่วยบริการปฐมภูมิให้เป็น เครือข่ายการดูแประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบร่วมกัน เป็นการประจำ ต่อเนื่องด้วยทีม สหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันและให้มีการบริหาร จัดการ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน

อ่านเพิ่ม ได้ในโน้ตไลน์กลุ่ม นะคะ~~~~~~~~~~~~~
เงื่อนไขของการเปิดดำเนินการคลินิกหมอครอบครัว PCC
​เพื่อให้การดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว Primary care cluster ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังจริงๆ ทั้งท่านรัฐมตรีและท่านปลัดกระทรวงฯได้ให้นโยบายไว้ชัดเจนว่า  เป็นการนำแพทย์ลงสู่ตำบล โดยให้เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว(Family medicine)ได้ปฏิบัติงานในบทบาทหมอประจำครอบครัวอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องออกกฎเหล็กหรือมาตรการที่เข้มข้นมากๆขึ้น  (และเพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม จึงต้องขอให้ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน) 
กฎ หรือเกณฑ์หลักในการจัดตั้งคลินิกหมอครอบครัว มีดังนี้
1. ต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกหมอครอบครัวกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์เท่านั้น จึงจะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งคลินิกหมอครอบครัวและขึ้นป้ายหรือนำ Logo ไปใช้ได้
2. แพทย์ที่ทำงานในคลินิกหมอครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
2.1 เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ที่มีใบอนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตร( อว. หรือ วว.)
2.2 เป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน ที่รับรองโดยราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
3. การขึ้นทะเบียนคลินิกหมอครอบครัว สามารถขึ้นทะเบียนได้ทั้งแบบที่จัดตั้งเป็น ทีม(Team)” 1ทีม ทำการดูแลประชากรประมาณ 10,000 คน หรือจัดเป็น กลุ่ม(Custer) ” หมายถึง กลุ่มที่ประกอบด้วยกลุ่มทีม 3 ทีมการดูแลประชากรประมาณ 30,000 คน
4. ในการปฏิบัติงานให้ทีมที่ลงทะเบียนแล้ว ทำงานประจำในขอบเขตของคลินิกหมอครอบครัว คือ การดูแลประชาชนที่รับผิดชอบเป็นการประจำและต่อเนื่อง  ไม่ให้ทำงานคาบเกี่ยวกับงานในโรงพยาบาลซึ่งเป็นการดูแลในระดับทุติยภูมิและไม่ใช่การดูแลประชาชนที่ได้ลงทะเบียนรับผิดชอบไว้ 
สำหรับการทำงานดูแลประชาชนในเขตของ Cluster ที่เป็นกิจกรรมการดูแลร่วมกับโรงพยาบาลจัดเป็นการทำงานของคลินิกหมอครอบครัว เช่น เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยของ Cluster ที่ได้รับการส่งต่อเข้ามานอนในโรงพยาบาลแต่ไม่ใช่เป็นแพทย์เจ้าของไข้ หรือ การจัดการข้อมูลของประชาชนใน Cluster ร่วมกับทีมโรงพยาบาล เป็นต้น

เป้าหมายการเปิดคลินิกหมอครอบครัวในแต่ละจังหวัด ของปีงบประมาณ 2560 คือ
1. อำเภอที่เป็นเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.)  ให้เปิดดำเนินการคลินิกหมอครอบครัว 1 Cluster หรือ 1 กลุ่ม
2. อำเภอที่เป็นเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลชุมชน ให้จัดตั้งทีมหมอครอบครัว(Family medical care team:FMCT) อย่างน้อย 1 ทีม /ที่มา:คุณหมอบี สนย.

   ขอบคุณมากคะ ...อารีรัตน์

No comments:

Post a Comment