3 ตค.2559 หัวหน้าส่วนราชการ สนับสนุนโครงการ 3
ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย ณ อำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร
วันที่ 3 ตุลาคม
2559 วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วมประชุม หัวหน้าส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ณ
ห้องประชุมที่ว่าการ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
วาระ
จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คำเขื่อนแก้ว คือ
เรื่องที่ 1. การชี้แจง
การดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้บริหาร ให้กำลังใจ และสนับสนุน โครงการ “3 ล้าน 3 ปี
เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”
การบริโภคยาสูบส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคยาสูบและผู้ที่ได้รับสัมผัส
ควันบุหรี่ส่งผลต่อผู้ที่สูบและผู้ที่สัมผัส ทำให้เกิดอาการป่วยเป็นโรคและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเป้าหมายในการลดการสูบบุหรี่ในปี 2568 ให้ลดลง
ร้อยละ 30
จากการสำรวจ ในปี 2558
พบว่าประชากร 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ 11.7 ล้านคน
และจากการศึกษาภาระทางเศรษฐกิจจากโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องจากการสูบบุหรี่ใน
พบว่า มีคนตายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนอายุ 30
ปีขึ้นไป 50,710 คน หรือ ประมาณร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมด
ซึ่งโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุการตายหลักของโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
รองลงมาคือโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็งอื่นๆ ตามลำดับ และ จากการประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
พบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ ห้าหมื่นสองพันล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความสูญเสียทางเศรษฐกิจนี้
คิดเป็นร้อยละ 13 ของค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพทั้งหมด
และคิดเป็น ร้อยละ 73 ของงบประมาณทางด้านสาธารณสุข
ในภาพรวมของประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทสไทย ในการดำเนินงานในทุกด้าน
เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ ได้เกิดการตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ในประเทศไทยให้เกิด ความต่อเนื่อง
โดยตั้งเป้าหมายชักชวน เชิญชวน ท้าชวน ให้มีผู้เลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องให้ได้ไม่น้อยกว่า
6 เดือนหรือตลอดชีวิต ให้ได้จำนวน 3 ล้านคนในเวลา 3 ปี (ในปีพ.ศ. 2559 ถึงปี 2561)
จังหวัด ยโสธร ปีละ 10,000 คน และ
อำเภอคำเขื่อนแก้ว ปีละ 1,000 คน ซึ่งหากมีการดำเนินการ
โดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของพื้นที่
จัดกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ก่อให้เกิดการจัดกิจกรรมรักษ์สุขภาพอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่
และเชิญชวนให้คนสูบบุหรี่ ได้เข้าร่วมกิจกรรม
จนสามารถเลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง
ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยอาศัยความเข้มแข็งของเครือข่าย กลไกสุขภาพ และ
อสม. ที่มีอยู่แล้วในทุกพื้นที่ จะส่งผลให้สามารถลดอัตราการเจ็บป่วย
และการสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
ได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
ทั้งนี้ โดยการสนับสนุนของ
กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และในปี 2559 นี้
เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9
ทรงมีพระชนมายุครบ 89 พรรษา การที่ประชาชนในชาติและผู้สูบบุหรี่ จะได้มีโอกาส
ทำกิจกรรมสำคัญอันถือเป็นคุณงามความดี
ถวายแด่องค์ในหลวง ฯ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่นอกจากจะเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและลดความสูญเสียจากพิษภัยบุหรี่ของคนในชาติแล้ว
ยังนับเป็นการถวายความจงรักภักดีและร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาส ที่พระเจ้าอยู่หัว ฯ
มีพระชนมายุ ครบ90 พรรษา
ในปี 2560
โดยวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์และขับเคลื่อนให้ประชาชนเห็นความสำคัญของพิษภัยจากการสูบบุหรี่
ผลกระทบและความสูญเสีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม นำไปสู่การเลิกสูบบุหรี่และการลงมือปฏิบัติปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
และ มีการจัดกิจกรรมหรือกลุ่มกิจกรรมรักษ์สุขภาพ อย่างต่อเนื่องจากระดับหมู่บ้าน
ตำบล อำเภอและจังหวัดเพื่อให้เป็นพื้นที่รวมตัวกันทำกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
(เลิกเหล้า) เลิกบุหรี่ ทั่วประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องที่ 2.
การกระตุ้นและติดตาม การดำเนินงานตามวาระสะอาดดี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
บ้านเรือน สะอาด
ปราศจาคโรค และให้ดำเนินงาน 3 เก็บ 3 โรค เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรค
ที่อาจมากับยุงลาย
ได้แก่ ไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา
ความรู้เรื่อง
ไวรัสซิกา ภัยร้ายจากยุงลาย
ไวรัสซิกาหรือไข้ซิกาเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7วัน แต่ที่ต้องระวังคือ
หญิงตั้งครรภ์ ที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้บุตรในครรภ์มีศีรษะเล็กกว่าปกติได้ และผู้ป่วยบางคนมีการอักเสบของเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตได้
ไวรัสซิกา
ได้มีการระบาดเริ่มต้นที่ประเทศบราซิลและแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก
ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
กลุ่มเสี่ยงของไวรัสซิกา
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ซึ่งหากติดเชื้อแล้วมีความเสี่ยงจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย
คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ
ไวรัสซิกาติดต่อได้อย่างไร
1. ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ
ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการ ถูกยุงที่มีเชื้อกัด โดยยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกา
เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดไปยังไข่ยุงลายได้
2. ติดต่อได้ทางเลือด
หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารก ในครรภ์
3. ติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
เชื้อไวรัสซิกาอยู่ในน้ำอสุจิของผู้ป่วย ได้ถึง 6 เดือน
อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา
อาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออกแต่ไม่รุนแรง
ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ปวดหัวแต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ในระยะ 7
วันหรือช่วงทีมีไข้สามารถตรวจพบเชื้อในเลือด(แพร่เชื้อได้) และใน 30
วัน สามารถตรวจพบเชื้อในปัสสาวะ (แพร่เชื้อได้น้อยมาก)
ไวรัสซิการักษาอย่างไร
ไวรัสซิการักษาอย่างไร
แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง
แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด
ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ
ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา
1. วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ
พยายามอย่าให้ยุงกัดโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เช่น ทายากันยุงที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี
นอนกางมุ้ง
3. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก
เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลาย ได้แก่ ไวรัสซิกา
โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง และโรคชิคุนกุนยา
มีข้อสงสัย
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ด้วยความปารถนาดีจาก
เครือข่ายกลไกสุขภาพสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว
No comments:
Post a Comment