10ธค.2559 เขาค้อ กังหันลม ครอบครัว จันทร์สว่าง at เนเธอร์แลนด์แดนไทย
วันที่ 10 ธันวาคม 2559 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง
สาธารณสุขอำเภอค้อวัง และ สมาชิกครอบครัว จันทร์สว่าง เที่ยวชมความงาม ของธรรมชาติ ณ อำเภอเขาค้อ
จังหวัด เพชรบูรณ์
เพชรบูรณ์
เมืองแห่งความสุข ของผู้อยู่และผู้มาเยือน
อาทิเช่น โครงการทุ่งกังหันลมเขาค้อ
เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลม จากกังหันลมขนาดใหญ่จำนวน 24 ต้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ของบ้านเพชรดำใน ต.ทุ่งสมอ
อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
บนยอดเนินเขาที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล
1,050 เมตร บนเนื้อที่ประมาณ 350
ไร่ มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 60 เมกกะวัตต์
ดำเนินงานโดย บริษัท เด็มโก้ (DEMCO)
พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก
ที่สร้างขึ้นในวโรกาสปีกาญจนาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เพื่อประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุที่ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งที่ความสงบสุขกลับสู่ชุมชมเขาค้อแห่งนี้อีกครั้ง) โดยเกิดจากการร่วมแรง ร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ที่เป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน
อนุสรณ์สถานผู้เสียสละ เขาค้อ
จากการับฟังการบรรยาย ความว่า เขาค้อ เคยได้ชื่อว่าเป็นดินแห่งคอมมิวนิสต์
เป็นพื้นที่สีแดงที่คุกรุ่นไปด้วยควันไฟของการสู้รบจากผู้ที่มีแนวคิดทางการ
เมืองที่แตกต่างกัน (ช่วง พ.ศ. 2511-2525 ) ในยุคที่เขาค้อถือเป็นดินแดนต้องห้ามที่คนทั่วไปไม่ควรเฉียดเข้าไปใกล้แม้
แต่น้อย เพราะถือว่าอันตรายสุดๆ
อนุสรณ์
สถานผู้เสียสละเขาค้อ ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา
โดดเด่นด้วยแท่งหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม ออกแบบโดย
ดร.กฤษฎา
อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีความหมายตามขนาดและรูปร่างดังนี้
-รูปทรางสามเหลี่ยม หมายถึงการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง สามภาคส่วนคือ
พลเรือน ตำรวจ และทหาร
- ฐานอนุสรณ์สถานกว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ.2511 อันเป็นปีเริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นี้ ( ปี เสียงปืนแตก)
- ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถาน 24 เมตร หมายถึงพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่ ( ยุทธการผาเมืองผเด็จศึก)
- ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตร หมายถึงปี 2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธ
-ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงปี 2526 อันเป็นปีเริ่มการก่อสร้างอนุสรณ์สถานผู้เสียสละแห่งนี้
- ฐานอนุสรณ์สถานกว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ.2511 อันเป็นปีเริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นี้ ( ปี เสียงปืนแตก)
- ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถาน 24 เมตร หมายถึงพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่ ( ยุทธการผาเมืองผเด็จศึก)
- ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตร หมายถึงปี 2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธ
-ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงปี 2526 อันเป็นปีเริ่มการก่อสร้างอนุสรณ์สถานผู้เสียสละแห่งนี้
อนุสรณ์ สถานแห่งนี้ พลเอก อาทิตย์
กำลังเอก ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไป
ได้มาทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2526 โดยสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาค
ของประชาชนและข้าราชการทุกฝ่าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ได้เสด็จฯ
มาเป็นองค์ประธานเปิดอนุสรณ์สถานแห่งนี้ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์
2527 เพื่อเตือนใจคนไทยทั้งชาติว่า
"ยามใดที่คนไทยขัดแย้งกัน จะต้องมีการสูญเสียอย่างผู้กล้าหาญ 1,171 ชีวิต ที่จารึกไว้กับองค์อนุสรณ์
จงอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก"
ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้กำหนดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา
ให้เป็นวันสมโภช อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อแห่งนี้
เที่ยวชม ไร่สตรอเบอรี่ แบบ เก็บเอง
แพคเอง จ่ายเอง เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์ อาวุธ (ฐานอิทธิ) ตั้งชื่อตาม พันเอก อิทธิ สิมารักษ์
ผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ยึดพื้นที่เขาค้อคืนจาก ผกค.ในปี พ.ศ.2524 บริเวณนี้เคยเป็นฐานปืนใหญ่ ยิงสนับสนุนการ
สู้รบ ปัจจุบันจัดให้ เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง มีอาวุธยุทโธปกรณ์
ที่ใช้ในการสู้รบตั้งอยู่มากมาย เช่น เครื่องบินขับไล่ เอฟ 5 รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่ ปืนใหญ่ขนาด 105 มม.
จำนวน 2 กระบอก ปืนใหญ่ ขนาด 155 มม.
ยิงได้ไกล 11 กิโลเมตร 1 กระบอก ฯลฯ
ภายในอาคารมีห้องบรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในยุทธภูมิเลือดเขาค้อ มีห้องจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า อาวุธของคอมมิวนิสต์ ส่วนด้านนอกอาคารยังมีฐานอาวุธ จัดแสดงอาวุธยุทโธปากรณ์ เช่น ปืนใหญ่ รถถัง รถแทรกเตอร์ บังเกอร์หลบภัย แต่ละจุดมีป้ายประวัติพร้อมคำอธิบายประกอบ
ภายในอาคารมีห้องบรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในยุทธภูมิเลือดเขาค้อ มีห้องจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า อาวุธของคอมมิวนิสต์ ส่วนด้านนอกอาคารยังมีฐานอาวุธ จัดแสดงอาวุธยุทโธปากรณ์ เช่น ปืนใหญ่ รถถัง รถแทรกเตอร์ บังเกอร์หลบภัย แต่ละจุดมีป้ายประวัติพร้อมคำอธิบายประกอบ
ทั้งนี้
เป็นกิจกรรม ของ ครอบครัวจันทร์สว่าง ระหว่างการเดินทางกลับ จากการแสดงความยินดีกับ
หลาน แอม หรือ นส.ฐิตินันท์
จันทร์สว่าง
ในโอกาสที่เข้ารับปริญญาพยาบาลศาสตร์
ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก เมื่อวันที่
10 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา
นส.ฐิตินันท์ จันทร์สว่าง สำเร็จการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ จังหวัด นครสวรรค์ ปัจจุบัน รับราชการที โรงพยาบาลป่าติ้ว จังหวัด
ยโสธร
No comments:
Post a Comment